ผู้จัดการรายวัน – สพท.ผุดโครงการ “ฟรชอัพ” พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรมแบบบูรณาการ เตรียมทำเรื่องขอใช้งบกลางกว่า 170 ล้านบาท ผ่าน”วีระศักดิ์” พร้อมเตรียมจัดบ้านรับโอนงานธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ภายในวันที่ 6 เม.ย.51นี้
นางธนิฏฐา มณีโชติ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า สพท.อยู่ระหว่างจัดทำโครงการ “เฟรชอัพ” ยื่นเสนอต่อนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ เพื่อของบประมาณดำเนินการ ซึ่งโครงการนี้จะเป็นโครงการระยะ 4 ปี นำร่องพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่เสื่อมโทรมในแต่ละภูมิภาครวม 4 แห่ง ได้แก่ พัทยา เกาะสมุย เชียงใหม่ และ กาญจนบุรี และสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวด้วย เช่น ห้องสุขา ทางเดิน และ ป้ายบอกทาง เป็นต้น คาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งสิ้นราว 170 ล้านบาท ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกคาดว่าจะใช้เพียง 20 ล้านบาท
“ที่ผ่านมาจะมีแต่โครงการคลีนอัพ คือ การดูแลเรื่องความสะอาดของแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น เพราะหลายแหล่งท่องเที่ยวของเราเปิดรับนักท่องเที่ยวมานาน แต่ขาดการดูแลฟื้นฟูอย่างเหมาะสม ทำให้มีปัญหาแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม โครงการเฟรชอัพนี้ จะของบจากงบกลาง และ งบลงทุน ซึ่งจะจัดอยู่ในหมวดของงบฉุกเฉินกลางปี ที่ไม่ใช่งบปกติที่ สพท.จะได้รับจัดสรรจากงบประมาณแผ่นดิน” นางธนิฏฐา กล่าว
สำหรับส่วนงานความรับผิดชอบเรื่องธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เบื้องต้นจะเดินหน้าจัดโครงการอบรมภาษาให้แก่มัคคุเทศก์อย่างต่อเนื่อง เน้นภาษาที่ขาดแคลน เช่น รัสเซีย เกาหลี เป็นต้น ลำดับแรกจะนำเงินจากงบประจำปี 2551 ที่อยู่ในส่วนของการใช้จ่ายของสำนักทะเบียนและมัคคุเทศก์ ที่ สพท.จะรับถ่ายโอนมาจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ภายใน 2 เดือนนี้ มาจัดทำโครงการก่อน ซึ่งน่าจะใช้เงินราว 2-3 ล้านบาท นอกจากนั้น ยังได้ทำเรื่องเสนอขอเงินจากงบกลางอีกราว 5 ล้านบาท เพื่อใช้อบรมมัคคุเทศก์ในภาษาที่ขาดแคลนนี้ด้วย
**เล็งตั้งอนุกรรมการแก้ปัญหาไกด์เถื่อน**
ภายหลังจากการตั้งคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ซึ่งจะคงต้องรอหลังวันที่ 6 เมษายน 2551 จะเป็นวันที่พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ขณะนี้ สพท.ก็เตรียมเรื่องของบุคคลากรและสถานที่ทำงานไว้รองรับ โดย สพท. จะเสนอต่อคณะกรรมการดังกล่าว ให้จัดตั้ง คณะอนุกรรมการแก้ปัญหาไกด์เถื่อน เพราะเห็นเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่ต้องรีบดำเนินการ และมองว่าเป็นปัญหาที่สะสมมานาน
“ในส่วนของธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์นี้ มีหลายปัญหาที่ต้องเร่งสะสาง ซึ่งไกด์เถื่อนถือเป็นปัญหาที่สะสมมานานและขยายตัวออกไปหลายตลาด โดยเร็วๆนี้จะหารือกับสมาคมและชมรมไกด์ ร่วมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังปัญหาและขอเสนอแนะ เพื่อจัดทำเป็นแผนการทำงานร่วมกัน”
อย่างไรก็ตามในส่วนของคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เน้นดูแลนักท่องเที่ยวที่ถูกกระทำจากไกด์และบริษัทนำเที่ยว ส่วนปัญหาของบริษัทนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ การแก้ไขจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ซึ่งหากมาอยู่ในความดูและของ สพท.แล้ว ก็ต้องดูเรื่องของอำนาจหน้าที่ว่าจะสามารถปรับกฏเกณฑ์อะไรได้บ้างเพื่อแก้ไขปัญหา เช่น กฎเกณฑ์การออกใบอนุญาตบริษัทนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ที่ต้องรัดกุมขึ้น โดยใบอนุญาตมัคคุเทศก์ต้องระบุด้วยว่าเป็นมัคคุเทศก์ภาษาอะไร จากเดิมที่ระบุเพียงภาษาต่างประเทศ ส่วนเรื่องวงเงินค้ำประกันของบริษัทนำเที่ยว ต้องนำเข้าหารือกับคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ว่าสมควรปรับหรือไม่ในอัตราเท่าใด
นางธนิฏฐา มณีโชติ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า สพท.อยู่ระหว่างจัดทำโครงการ “เฟรชอัพ” ยื่นเสนอต่อนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ เพื่อของบประมาณดำเนินการ ซึ่งโครงการนี้จะเป็นโครงการระยะ 4 ปี นำร่องพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่เสื่อมโทรมในแต่ละภูมิภาครวม 4 แห่ง ได้แก่ พัทยา เกาะสมุย เชียงใหม่ และ กาญจนบุรี และสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวด้วย เช่น ห้องสุขา ทางเดิน และ ป้ายบอกทาง เป็นต้น คาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งสิ้นราว 170 ล้านบาท ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกคาดว่าจะใช้เพียง 20 ล้านบาท
“ที่ผ่านมาจะมีแต่โครงการคลีนอัพ คือ การดูแลเรื่องความสะอาดของแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น เพราะหลายแหล่งท่องเที่ยวของเราเปิดรับนักท่องเที่ยวมานาน แต่ขาดการดูแลฟื้นฟูอย่างเหมาะสม ทำให้มีปัญหาแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม โครงการเฟรชอัพนี้ จะของบจากงบกลาง และ งบลงทุน ซึ่งจะจัดอยู่ในหมวดของงบฉุกเฉินกลางปี ที่ไม่ใช่งบปกติที่ สพท.จะได้รับจัดสรรจากงบประมาณแผ่นดิน” นางธนิฏฐา กล่าว
สำหรับส่วนงานความรับผิดชอบเรื่องธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เบื้องต้นจะเดินหน้าจัดโครงการอบรมภาษาให้แก่มัคคุเทศก์อย่างต่อเนื่อง เน้นภาษาที่ขาดแคลน เช่น รัสเซีย เกาหลี เป็นต้น ลำดับแรกจะนำเงินจากงบประจำปี 2551 ที่อยู่ในส่วนของการใช้จ่ายของสำนักทะเบียนและมัคคุเทศก์ ที่ สพท.จะรับถ่ายโอนมาจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ภายใน 2 เดือนนี้ มาจัดทำโครงการก่อน ซึ่งน่าจะใช้เงินราว 2-3 ล้านบาท นอกจากนั้น ยังได้ทำเรื่องเสนอขอเงินจากงบกลางอีกราว 5 ล้านบาท เพื่อใช้อบรมมัคคุเทศก์ในภาษาที่ขาดแคลนนี้ด้วย
**เล็งตั้งอนุกรรมการแก้ปัญหาไกด์เถื่อน**
ภายหลังจากการตั้งคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ซึ่งจะคงต้องรอหลังวันที่ 6 เมษายน 2551 จะเป็นวันที่พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ขณะนี้ สพท.ก็เตรียมเรื่องของบุคคลากรและสถานที่ทำงานไว้รองรับ โดย สพท. จะเสนอต่อคณะกรรมการดังกล่าว ให้จัดตั้ง คณะอนุกรรมการแก้ปัญหาไกด์เถื่อน เพราะเห็นเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่ต้องรีบดำเนินการ และมองว่าเป็นปัญหาที่สะสมมานาน
“ในส่วนของธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์นี้ มีหลายปัญหาที่ต้องเร่งสะสาง ซึ่งไกด์เถื่อนถือเป็นปัญหาที่สะสมมานานและขยายตัวออกไปหลายตลาด โดยเร็วๆนี้จะหารือกับสมาคมและชมรมไกด์ ร่วมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังปัญหาและขอเสนอแนะ เพื่อจัดทำเป็นแผนการทำงานร่วมกัน”
อย่างไรก็ตามในส่วนของคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เน้นดูแลนักท่องเที่ยวที่ถูกกระทำจากไกด์และบริษัทนำเที่ยว ส่วนปัญหาของบริษัทนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ การแก้ไขจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ซึ่งหากมาอยู่ในความดูและของ สพท.แล้ว ก็ต้องดูเรื่องของอำนาจหน้าที่ว่าจะสามารถปรับกฏเกณฑ์อะไรได้บ้างเพื่อแก้ไขปัญหา เช่น กฎเกณฑ์การออกใบอนุญาตบริษัทนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ที่ต้องรัดกุมขึ้น โดยใบอนุญาตมัคคุเทศก์ต้องระบุด้วยว่าเป็นมัคคุเทศก์ภาษาอะไร จากเดิมที่ระบุเพียงภาษาต่างประเทศ ส่วนเรื่องวงเงินค้ำประกันของบริษัทนำเที่ยว ต้องนำเข้าหารือกับคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ว่าสมควรปรับหรือไม่ในอัตราเท่าใด