ผู้จัดการรายวัน - ด้วยฝีมือของ “สมชาย ชูธรรม” วัย 48 ปี ศิลปินจาก ต.ซากไทย กิ่ง อ.เขาคิชฌกูฎ จ.จันทบุรี สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมโลหะจำลอง โดยใช้ศิลปะไทยเป็นแรงบันดาลใจสร้างต้นแบบ พร้อมเพิ่มเติมจินตนาการส่วนตัวลงไป ส่งให้ชิ้นงานมีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว
“จากที่ผมเคยรับจ้างทำงานปั้น และแกะสลักเกี่ยวกับงานศิลปะไทย มีความรู้สึกว่า รูปแบบประติมากรรมที่ทำกันมา ไม่ค่อยหลากหลาย และเข้าถึงได้ยาก ซึ่งผมเชื่อว่า ตัวเองน่าจะทำได้ดีกว่านั้น ทำให้ผมเกิดความรู้สึกอยากทำชิ้นงานที่เป็นศิลปะไทยให้ชาวต่างชาติชื่นชอบ”
ด้วยแรงบันดาลใจดังกล่าว สมชายมองที่การผลิตสินค้าเกี่ยวกับของที่ระลึกเป็นประติมากรรมจำลอง เพื่อนักท่องเที่ยวซื้อติดตัวกลับไป โดยต้นแบบที่เลือก คือ “อัปสรสีห์” เกิดจากความคิดง่ายๆ ที่เชื่อว่า ชาวต่างชาติมากรุงเทพฯ ส่วนมากจะไม่พลาดแวะชมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และมุมรูปปั้น “อัปสรสีห์” คือ จุดยอดฮิตที่นักท่องเที่ยวต้องชักภาพเก็บไว้ ดังนั้น นักท่องเที่ยวน่าจะอยากได้รูปจำลอง “อัปสรสีห์” กลับไปเป็นที่ระลึกด้วย
นอกจากนั้น เสริมด้วยนำตัวละครจากป่าหิมพานต์อย่าง “กินนร” ถือธงชาติไทยเพื่อสื่อถึงประเทศไทยชัดเจนขึ้น ตามด้วยแบบ “หัวเรือสุพรรณหงษ์” โดยทั้งสามแบบมีให้เลือก 3 สี ได้แก่ เงิน ทองเหลือง และสำริด ขนาดความสูง 4 นิ้ว ตั้งอยู่บนฐานหินอ่อน
จุดเด่นของประติมากรรมจำลอง คือ ฝีมือการปั้น และแกะสลักตัวต้นแบบอันประณีตของสมชาย ซึ่งสะสมฝีมือช่างมากกว่า 30 ปี ทำให้เมื่อหล่อออกมาแล้ว ชิ้นงานมีความละเอียดสูง และสัดส่วนถูกต้องเหมือนจริงทุกประการ
สมชาย เผยว่า ผลงานประติมากรรมโลหะจำลอง ได้รับคัดเลือกเป็นสินค้าโอทอประดับ 4 ดาวในปี 2546 โดยมีช่องทางตลาด ฝากขายที่ นารายณ์ภัณฑ์ , คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ ฟรี สยามดิสเคาเวอรี่ และหน้าวัดพระแก้ว
ทว่า อุปสรรคเวลานั้น เพราะเขาเป็นเพียงผู้ประกอบการรายจิ๋ว เงินทุนมีจำกัด การนำสินค้าไปฝากขายตามร้านดังกล่าว ต้องยอมนำทุนไปจมกับการผลิต เพื่อรอลูกค้ามาซื้อสินค้า ขณะที่กำไรต้องแบ่งกับร้านค้าอีก เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องในการซื้อวัตถุดิบ ซึ่งราคาสูง ไม่ว่าจะเป็นดีบุก และทองเหลือง
ในที่สุด สมชายต้องเลิกฝากขายตามร้าน ปรับรูปแบบมารับผลิตตามคำสั่งซื้อ ปัจจุบัน ลูกค้าหลัก คือโรงแรมต่างๆ และร้านค้าตามแหล่งท่องเที่ยว กับออกขายเองตามงานสินค้าโอทอป เป็นต้น สนนราคา ส่งขายอยู่ตัวละ 350 บาท แต่เมื่อไปถึงหน้าร้านจะถูกบวกเพิ่มเป็นตัวละ 550-800 บาท ทั้งนี้ มียอดขายเฉลี่ย 300-500 ตัวต่อเดือน
นอกจากประติมากรรมโลหะจำลองแล้ว สมชายใช้ฝีมือทางช่างรับจ้างผลิตสินค้าที่ระลึกให้องค์กร หรือบริษัท ต่างๆ ไว้แจ้งลูกค้าตามเทศกาลสำคัญ รวมถึง รับจ้างออกแบบและผลิตงานหล่อพระขนาดเล็กอีกด้วย
สำหรับเส้นทางอาชีพนั้น สมชายเล่าให้ฟังว่า ศึกษามาด้านประติมากรรมโดยตรง จากวิทยาลัยช่างศิลป์ เริ่มทำงานเมื่อปี 2518 ในหลายองค์กร ตั้งแต่เป็นลูกมือจนเป็นนายช่างใหญ่ที่ลูกค้าวางไว้ และเมื่อมั่นใจว่ามีฝีมือพร้อม จึงออกมาเปิดโรงหล่อโลหะขนาดเล็กของตัวเอง ใน ต.ซากไทย กิ่ง อ.เขาคิชฌกูฎ จ.จันทบุรี รับงานออกแบบและหล่อประติมากรรมโลหะ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับศิลปะไทย โดยทำเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน มีศักยภาพผลิตประมาณ 2,500 ชิ้นต่อเดือน
สมชาย เสริมว่า ธุรกิจนี้ใช้เงินทุนค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่เป็นค่าเครื่องจักร เครื่องมือช่าง และวัตถุดิบ โดยพยายาม ทยอยซื้อที่ละชิ้นตามกำลังทุน และความจำเป็นในการใช้งา น รวมถึง กู้เงินจำนวน 100,000 บาท จากสถาบันการเงินอย่างธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เพื่อซื้อเครื่องมือเพิ่มเติม
เจ้าของผลงาน ยอมรับว่า ตัวเองยังอ่อนด้านการตลาด แม้ฝีมือช่างจะเป็นที่ยอมรับ แต่ความสามารถในการนำเสนอสินค้าแก่ตลาด หรือกลุ่มเป้าหมายยังเป็นปัญหา อย่างไรก็ตาม กำลังพยายามปรับปรุง โดยออกแบบใหม่ๆ เพิ่มเติม เพื่อตอบสนองลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น เช่น นำตัวละครอื่นๆ จากป่าหิมพานต์มาทำสินค้าที่ระลึก รวมถึง เพิ่มรูปแบบให้ใช้งานได้ อีกทั้ง พยายามเพิ่มตลาดรับจ้างผลิตสินค้าที่ระลึกให้หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนมากขึ้นด้วย
โทร. 039 373090 หรือ 081-449-8188
“จากที่ผมเคยรับจ้างทำงานปั้น และแกะสลักเกี่ยวกับงานศิลปะไทย มีความรู้สึกว่า รูปแบบประติมากรรมที่ทำกันมา ไม่ค่อยหลากหลาย และเข้าถึงได้ยาก ซึ่งผมเชื่อว่า ตัวเองน่าจะทำได้ดีกว่านั้น ทำให้ผมเกิดความรู้สึกอยากทำชิ้นงานที่เป็นศิลปะไทยให้ชาวต่างชาติชื่นชอบ”
ด้วยแรงบันดาลใจดังกล่าว สมชายมองที่การผลิตสินค้าเกี่ยวกับของที่ระลึกเป็นประติมากรรมจำลอง เพื่อนักท่องเที่ยวซื้อติดตัวกลับไป โดยต้นแบบที่เลือก คือ “อัปสรสีห์” เกิดจากความคิดง่ายๆ ที่เชื่อว่า ชาวต่างชาติมากรุงเทพฯ ส่วนมากจะไม่พลาดแวะชมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และมุมรูปปั้น “อัปสรสีห์” คือ จุดยอดฮิตที่นักท่องเที่ยวต้องชักภาพเก็บไว้ ดังนั้น นักท่องเที่ยวน่าจะอยากได้รูปจำลอง “อัปสรสีห์” กลับไปเป็นที่ระลึกด้วย
นอกจากนั้น เสริมด้วยนำตัวละครจากป่าหิมพานต์อย่าง “กินนร” ถือธงชาติไทยเพื่อสื่อถึงประเทศไทยชัดเจนขึ้น ตามด้วยแบบ “หัวเรือสุพรรณหงษ์” โดยทั้งสามแบบมีให้เลือก 3 สี ได้แก่ เงิน ทองเหลือง และสำริด ขนาดความสูง 4 นิ้ว ตั้งอยู่บนฐานหินอ่อน
จุดเด่นของประติมากรรมจำลอง คือ ฝีมือการปั้น และแกะสลักตัวต้นแบบอันประณีตของสมชาย ซึ่งสะสมฝีมือช่างมากกว่า 30 ปี ทำให้เมื่อหล่อออกมาแล้ว ชิ้นงานมีความละเอียดสูง และสัดส่วนถูกต้องเหมือนจริงทุกประการ
สมชาย เผยว่า ผลงานประติมากรรมโลหะจำลอง ได้รับคัดเลือกเป็นสินค้าโอทอประดับ 4 ดาวในปี 2546 โดยมีช่องทางตลาด ฝากขายที่ นารายณ์ภัณฑ์ , คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ ฟรี สยามดิสเคาเวอรี่ และหน้าวัดพระแก้ว
ทว่า อุปสรรคเวลานั้น เพราะเขาเป็นเพียงผู้ประกอบการรายจิ๋ว เงินทุนมีจำกัด การนำสินค้าไปฝากขายตามร้านดังกล่าว ต้องยอมนำทุนไปจมกับการผลิต เพื่อรอลูกค้ามาซื้อสินค้า ขณะที่กำไรต้องแบ่งกับร้านค้าอีก เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องในการซื้อวัตถุดิบ ซึ่งราคาสูง ไม่ว่าจะเป็นดีบุก และทองเหลือง
ในที่สุด สมชายต้องเลิกฝากขายตามร้าน ปรับรูปแบบมารับผลิตตามคำสั่งซื้อ ปัจจุบัน ลูกค้าหลัก คือโรงแรมต่างๆ และร้านค้าตามแหล่งท่องเที่ยว กับออกขายเองตามงานสินค้าโอทอป เป็นต้น สนนราคา ส่งขายอยู่ตัวละ 350 บาท แต่เมื่อไปถึงหน้าร้านจะถูกบวกเพิ่มเป็นตัวละ 550-800 บาท ทั้งนี้ มียอดขายเฉลี่ย 300-500 ตัวต่อเดือน
นอกจากประติมากรรมโลหะจำลองแล้ว สมชายใช้ฝีมือทางช่างรับจ้างผลิตสินค้าที่ระลึกให้องค์กร หรือบริษัท ต่างๆ ไว้แจ้งลูกค้าตามเทศกาลสำคัญ รวมถึง รับจ้างออกแบบและผลิตงานหล่อพระขนาดเล็กอีกด้วย
สำหรับเส้นทางอาชีพนั้น สมชายเล่าให้ฟังว่า ศึกษามาด้านประติมากรรมโดยตรง จากวิทยาลัยช่างศิลป์ เริ่มทำงานเมื่อปี 2518 ในหลายองค์กร ตั้งแต่เป็นลูกมือจนเป็นนายช่างใหญ่ที่ลูกค้าวางไว้ และเมื่อมั่นใจว่ามีฝีมือพร้อม จึงออกมาเปิดโรงหล่อโลหะขนาดเล็กของตัวเอง ใน ต.ซากไทย กิ่ง อ.เขาคิชฌกูฎ จ.จันทบุรี รับงานออกแบบและหล่อประติมากรรมโลหะ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับศิลปะไทย โดยทำเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน มีศักยภาพผลิตประมาณ 2,500 ชิ้นต่อเดือน
สมชาย เสริมว่า ธุรกิจนี้ใช้เงินทุนค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่เป็นค่าเครื่องจักร เครื่องมือช่าง และวัตถุดิบ โดยพยายาม ทยอยซื้อที่ละชิ้นตามกำลังทุน และความจำเป็นในการใช้งา น รวมถึง กู้เงินจำนวน 100,000 บาท จากสถาบันการเงินอย่างธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เพื่อซื้อเครื่องมือเพิ่มเติม
เจ้าของผลงาน ยอมรับว่า ตัวเองยังอ่อนด้านการตลาด แม้ฝีมือช่างจะเป็นที่ยอมรับ แต่ความสามารถในการนำเสนอสินค้าแก่ตลาด หรือกลุ่มเป้าหมายยังเป็นปัญหา อย่างไรก็ตาม กำลังพยายามปรับปรุง โดยออกแบบใหม่ๆ เพิ่มเติม เพื่อตอบสนองลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น เช่น นำตัวละครอื่นๆ จากป่าหิมพานต์มาทำสินค้าที่ระลึก รวมถึง เพิ่มรูปแบบให้ใช้งานได้ อีกทั้ง พยายามเพิ่มตลาดรับจ้างผลิตสินค้าที่ระลึกให้หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนมากขึ้นด้วย
โทร. 039 373090 หรือ 081-449-8188