ผู้จัดการรายวัน – เมื่อกลุ่มชาวบ้านมีฝีมือในการผลิตกระเป๋าอันประณีต คงหนีไม่พ้นจะได้รับความไว้วางจากผู้ผลิตรายใหญ่ ว่าจ้างผลิตกระเป๋าผ้าเพื่อการส่งออก อย่างเช่น "ป้ามณี เครือครุฑ" ที่จบมาทางด้านงานฝีมือและก้าวเป็นผู้ประกอบการผู้รับจ้างผลิตกระเป๋าผ้าให้แก่แบรนด์ "NaRaYa" จนประสบความสำเร็จ
มณี เครือครุฑ ผู้รับจ้างผลิตกระเป๋าผ้าให้กับแบรนด์ NaRaYa (นารายา) เล่าว่า ก่อนที่ตนเองจะได้รับโอกาสให้ผลิตกระเป๋าผ้าให้กับนารายานั้น ได้ผ่านการทำงานฝีมือเพื่อจำหน่ายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าไหมเทียม โดยอาศัยประสบการณ์จากที่ตนเองได้ศึกษาด้านงานฝีมือ อย่างงานผ้า และดอกไม้ ทำให้มีความเชี่ยวชาญ รวมถึงยังชื่นชอบออกแบบงานฝีมือของตนเองด้วย เพื่อสร้างความแตกต่าง
“พอเราเรียนจบมาก็ได้ผลิตสินค้าพวกงานฝีมือเพื่อจำหน่าย เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าไหมเทียม ดอกไม้จากผ้าและนำมาเพ้นท์เป็นลวดลายต่างๆ โดยนำไปขายที่โรงแรมดุสิตให้กับนักท่องเที่ยว และผลิตให้กับร้านชินวัตร ไหมไทย ซึ่งได้ทำมาหลายปี จนกระทั่งกระแสดอกไม้ประดิษฐ์จากไหมเทียมเริ่มลดความนิยมลง จึงหันมาเย็บกระเป๋าผ้าแทน ทั้งจากผ้าไหม และผ้าชนิดอื่นๆ ด้วย ซึ่งก็ประสบความสำเร็จ ลูกค้าประทับใจในฝีมือที่มีความประณีต จนกระทั่งเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 จึงต้องนำกระเป๋าที่เย็บ ไปเสนอให้กับแบรนด์นารายา เพราะเราเชื่อมั่นในฝีมือของเราที่สามารถเย็บกระเป๋าให้กับแบรนด์นารายาได้”
หลังจากที่ทางคุณป้ามณี ได้ หันมาเย็บกระเป๋าอย่างจริง ในรูปแบบที่ตนเองออกแบบและเลือกผ้าเอง จนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการผลิตกระเป๋าให้กับแบรนด์นารายา โดยได้รับการมอบหมายให้ผลิตกระเป๋ารูปทรงหอยเชลล์ จนกลายเป็นออเดอร์ประจำที่มียอดการผลิตประมาณ 1,000-3,000 ใบ/เดือน
“นอกจากครอบครัวของป้าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว แถมยังเป็นรายได้ที่ยั่งยืน ยังสามารถเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงมีงานทำ และใช้เวลาว่างจากการเป็นแม่บ้านให้มีรายได้เสริมขึ้นด้วย เพราะที่ผ่านมาป้ามีการกระจายงานให้กับชาวบ้านด้วย โดยเฉพาะแม่บ้านทหาร แถวราชวัตร ที่จะรับงานไปทำที่บ้าน ส่วนป้าก็จะจ่ายค่าจ้างเป็นรายชิ้น ซึ่งต้องผลิตให้ได้ตามมาตรฐานที่ต้องการทุกใบ ซึ่งการตรวจสอบคุณภาพสินค้า ป้าจะเป็นผู้ดูแลเองทั้งหมด ซึ่งที่ผ่านมาชาวบ้านส่วนใหญ่จะผลิตได้ประมาณ 100 ใบ/วัน”
ส่วนเงินลงทุนในธุรกิจนี้ในช่วงเริ่มต้นประมาณ 1 แสนบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน แต่ในช่วงหลังทางคุณป้ามณีต้องใช้เงินในการสต๊อกผ้า ที่ถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต จึงต้องขอความช่วยเหลือกับทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ ในการขอสินเชื่อจำนวน 2 แสนบาท เพื่อทำให้ธุรกิจหมุนเวียนและดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งนอกจากทางเอสเอ็มอีแบงก์จะช่วยเหลือเรื่องเงินทุนแล้ว ยังให้คำปรึกษาเรื่องการตลาดด้วย ทำให้ธุรกิจในการรับจ้างผลิตกระเป๋าผ้าเป็นที่รู้จักมากขึ้น
“สำหรับบริษัทนารายา ถือว่าเป็นผู้ประกอบการที่มีบุญคุณกับป้ามาก เพราะทำให้ป้ามีรายได้หล่อเลี้ยงครอบครัว มาอย่างยาวนาน และเป็นพันธมิตรที่ดีในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน ทำให้ป้ามีรายได้ และมีงานทำไม่ต้องอยู่บ้านเป็นแม่บ้านเฉยๆ รวมถึงป้ายังได้แสดงฝีมือในการออกแบบกระเป๋าเพื่อนำไปเสนอให้กับนารายาด้วย ทำให้เกิดความภาคภูมิใจ ที่ทางผู้ผลินกระเป๋ารายใหญ่ และส่งออกกระเป๋าผ้าไปยังประเทศญี่ปุ่น ให้ความสำคัญกับผู้ผลิตรายเล็กๆ อย่างเรา”
คงจะปฏิเสธฝีมือในด้านการเย็บกระเป๋าผ้าของคุณป้ามณี ไม่ได้ เพราะการได้เป็นผู้ผลิตให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกด้วย ใฝห้ความไว้วางใจ ดังนั้นหนทางในอนาคตบนเส้นทางธุรกิจนี้ของคุณป้ามณีคงจะอีกไกล ที่คู่แข่งยากจะตามทัน
สนใจติดต่อ 0-2243-5119, 08-6762-3637
มณี เครือครุฑ ผู้รับจ้างผลิตกระเป๋าผ้าให้กับแบรนด์ NaRaYa (นารายา) เล่าว่า ก่อนที่ตนเองจะได้รับโอกาสให้ผลิตกระเป๋าผ้าให้กับนารายานั้น ได้ผ่านการทำงานฝีมือเพื่อจำหน่ายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าไหมเทียม โดยอาศัยประสบการณ์จากที่ตนเองได้ศึกษาด้านงานฝีมือ อย่างงานผ้า และดอกไม้ ทำให้มีความเชี่ยวชาญ รวมถึงยังชื่นชอบออกแบบงานฝีมือของตนเองด้วย เพื่อสร้างความแตกต่าง
“พอเราเรียนจบมาก็ได้ผลิตสินค้าพวกงานฝีมือเพื่อจำหน่าย เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าไหมเทียม ดอกไม้จากผ้าและนำมาเพ้นท์เป็นลวดลายต่างๆ โดยนำไปขายที่โรงแรมดุสิตให้กับนักท่องเที่ยว และผลิตให้กับร้านชินวัตร ไหมไทย ซึ่งได้ทำมาหลายปี จนกระทั่งกระแสดอกไม้ประดิษฐ์จากไหมเทียมเริ่มลดความนิยมลง จึงหันมาเย็บกระเป๋าผ้าแทน ทั้งจากผ้าไหม และผ้าชนิดอื่นๆ ด้วย ซึ่งก็ประสบความสำเร็จ ลูกค้าประทับใจในฝีมือที่มีความประณีต จนกระทั่งเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 จึงต้องนำกระเป๋าที่เย็บ ไปเสนอให้กับแบรนด์นารายา เพราะเราเชื่อมั่นในฝีมือของเราที่สามารถเย็บกระเป๋าให้กับแบรนด์นารายาได้”
หลังจากที่ทางคุณป้ามณี ได้ หันมาเย็บกระเป๋าอย่างจริง ในรูปแบบที่ตนเองออกแบบและเลือกผ้าเอง จนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการผลิตกระเป๋าให้กับแบรนด์นารายา โดยได้รับการมอบหมายให้ผลิตกระเป๋ารูปทรงหอยเชลล์ จนกลายเป็นออเดอร์ประจำที่มียอดการผลิตประมาณ 1,000-3,000 ใบ/เดือน
“นอกจากครอบครัวของป้าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว แถมยังเป็นรายได้ที่ยั่งยืน ยังสามารถเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงมีงานทำ และใช้เวลาว่างจากการเป็นแม่บ้านให้มีรายได้เสริมขึ้นด้วย เพราะที่ผ่านมาป้ามีการกระจายงานให้กับชาวบ้านด้วย โดยเฉพาะแม่บ้านทหาร แถวราชวัตร ที่จะรับงานไปทำที่บ้าน ส่วนป้าก็จะจ่ายค่าจ้างเป็นรายชิ้น ซึ่งต้องผลิตให้ได้ตามมาตรฐานที่ต้องการทุกใบ ซึ่งการตรวจสอบคุณภาพสินค้า ป้าจะเป็นผู้ดูแลเองทั้งหมด ซึ่งที่ผ่านมาชาวบ้านส่วนใหญ่จะผลิตได้ประมาณ 100 ใบ/วัน”
ส่วนเงินลงทุนในธุรกิจนี้ในช่วงเริ่มต้นประมาณ 1 แสนบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน แต่ในช่วงหลังทางคุณป้ามณีต้องใช้เงินในการสต๊อกผ้า ที่ถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต จึงต้องขอความช่วยเหลือกับทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ ในการขอสินเชื่อจำนวน 2 แสนบาท เพื่อทำให้ธุรกิจหมุนเวียนและดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งนอกจากทางเอสเอ็มอีแบงก์จะช่วยเหลือเรื่องเงินทุนแล้ว ยังให้คำปรึกษาเรื่องการตลาดด้วย ทำให้ธุรกิจในการรับจ้างผลิตกระเป๋าผ้าเป็นที่รู้จักมากขึ้น
“สำหรับบริษัทนารายา ถือว่าเป็นผู้ประกอบการที่มีบุญคุณกับป้ามาก เพราะทำให้ป้ามีรายได้หล่อเลี้ยงครอบครัว มาอย่างยาวนาน และเป็นพันธมิตรที่ดีในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน ทำให้ป้ามีรายได้ และมีงานทำไม่ต้องอยู่บ้านเป็นแม่บ้านเฉยๆ รวมถึงป้ายังได้แสดงฝีมือในการออกแบบกระเป๋าเพื่อนำไปเสนอให้กับนารายาด้วย ทำให้เกิดความภาคภูมิใจ ที่ทางผู้ผลินกระเป๋ารายใหญ่ และส่งออกกระเป๋าผ้าไปยังประเทศญี่ปุ่น ให้ความสำคัญกับผู้ผลิตรายเล็กๆ อย่างเรา”
คงจะปฏิเสธฝีมือในด้านการเย็บกระเป๋าผ้าของคุณป้ามณี ไม่ได้ เพราะการได้เป็นผู้ผลิตให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกด้วย ใฝห้ความไว้วางใจ ดังนั้นหนทางในอนาคตบนเส้นทางธุรกิจนี้ของคุณป้ามณีคงจะอีกไกล ที่คู่แข่งยากจะตามทัน
สนใจติดต่อ 0-2243-5119, 08-6762-3637