จับตาทีพีบีเอส เปิดทางผู้จัดรายการเสนอรูปแบบเข้ามา กลุ่มรายย่อยหวั่นชวดแสดงฝีมือ กลัวรายใหญ่ได้งานไปหมด แตกบริษัทลูกเป็นฐานะรายย่อยคว้างานไป
การดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายองค์การการกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือ สถานีโทรทัศน์สาธารณะ ไทยพีบีเอส ในขณะนี้ อยู่ระหว่างการเร่งมือในเรื่องของการหาผู้จัดรายการที่จะเข้ามารับผิดชอบในการผลิตรายการรูปแบบต่างๆตามนโยบายของทีพีบีเอส
อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่น่าสนใจอย่างมาก ซึ่งมากกว่าหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการฯจะนำมาพิจารณาคัดเลือกผู้จัดทั้งหลาย ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีมาตรการหรือหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนออกมาแต่อย่างใด นั่นก็คือ ประเด็น ผู้จัดรายย่อยจริงๆจะได้มีโอกาสเข้าไปรับงานผลิตให้ทีพีบีเอส หรือไม่ กับนโยบายที่ทีพีบีเอสเปิดกว้างออกมา
แหล่งข่าวจากผู้ผลิตรายการรายเล็กให้ความเห็นว่า การเปิดกว้างของคณะกรรมการทีพีบีเอสที่ให้ผู้ผลิตสามารถเสนอรายการเข้ามาเพื่อให้ทีพีบีเอสพิจารณานั้นถือเป็นเรื่องที่ดี ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของการก่อเกิดทีวีสาธารณะ แต่คณะกรมการฯจะเอาหลักเกณฑ์อะไรมาพิจารณาคัดเลือกผู้จัดรายการ โดยเฉพาะระหว่างผู้จัดรายการรายใหญ่กับผู้จัดรายการรายเล็ก
เนื่องจากว่า หากผู้จัดรายใหญ่แตกตัวบริษัทลูกออกมาเพื่อสร้างโอกาสในการรับจ้างผลิตรายการให้กับทีพีบีเอสนั้น จะถือว่าบริษัทใหม่เหล่านี้ที่เกิดขึ้นเป็นรายเล็กหรือไม่ ถ้าหากตีความเป็นรายเล็ก บริษัทเหล่านั้นย่อมมีความได้เปรียบกว่าบริษัทเล็กเดิมในตลาดที่มีอยู่ทั้งในแง่ของ ความพร้อมอุปกรณ์ ช่องทาง ชื่อเสียง ขณะที่รายย่อยเดิมจริงๆ ก็คงจะหมดโอกาสในการแสดงฝีมือผลิตรายการดีๆอีกเช่นเดิม
ตามรอยที่ทีพีบีเอสรับอดีตพนักงานทีไอทีวีเข้ามามากถึง 80% เพราะบอกว่า อยู่ในช่วงเร่งด่วนจำเป็นต้องเอาคนที่มีประสบการณ์และคุ้นเคยกับทีวีอยู่แล้วเข้ามาดำเนินการ ตรงนี้แหละที่ผู้ผลิตรายย่อยกลัวว่าจะเป็นเหตุผลเดียวกับการที่เลือกเอาผู้จัดรายใหญ่เข้ามาผลิตรายการ เพราะว่า มีประสบการณ์มาอย่างดีแล้ว
แม้ว่า นายเทพชัย หย่อง รักษาการผู้อำนวยการทีพีบีเอส จะย้ำว่า จะต้องพิจารณาคัดเลือกผู้จัดรายการอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม เพราะว่าทีพีบีเอสถูกจับตามอง
จากสื่อมวลชนและสังคมอย่างมาก ดังนั้นเราต้องมีเหตุผลในการที่จะเลือกใครมาผลิตรายการ
ทั้งนี้ผู้จัดทุกรายจะต้องเสนอรูปแบบรายการเข้ามาให้ทีพีบีเอสพิจารณา ซึ่งจากนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการพิจารณารายการขึ้นมา 1 ชุด และจะตั้งคณะอนุกรรมการฯขึ้นมาแต่ละกลุ่มรายการ เพื่อพิจารณา โดยที่เวลานี้ก็ยังไม่มีกฎเกณฑ์ที่ชัดแจนในการยึดเป็นธงเลย
ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯได้เรียกกลุ่มผู้จัดรายการมาประชุมกันบ้างแล้วหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้ผลิตรายการสาระความรู้ กลุ่มผู้ผลิตรายการเด็ก กลุ่มผู้ผลิตในนามของสมาชิกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ประมาณ 23 ราย เป็นต้น
รายใหญ่ทุกรายก็แสดงออกถึงท่าทีที่สนใจจะเข้ามารับจ้างผลิตรายการให้ทีพีบีเอส โดยมีค่าจ้างผลิตตอบแทน ซึ่งทีพีบีเอส คิดคร่าวๆว่า ต้นทุนการผลิตต่อตอนน่าจะอยู่ที่ 200,000 บาท ซึ่งถือเป็นมูลค่าที่ไม่น้อยเลย ซึ่งเป็นต้นทุนที่ใกล้เคียงกับรายการเด็กของทุ่งแสงตะวันที่มีต้นทุนผลิตอยู่ที่ 200,000 บาทโดยเฉลี่ยเช่นกัน
“ผู้จัดรายการมีเต็มไปหมด แต่เวลาที่มีอยู่ก็มีจำกัด ตรงนี้คงต้องแย่งกันสนุก เพราะว่า ใครก็ตามที่มารับจ้างผลิตให้กับทีพีบีเอสนี้ จะได้รับเงินค่าผลิตที่แน่นอน ไม่ต้องมาเหนื่อยกับการแย่งเช่าเวลาแล้วไปหาโฆษณาเอาเองเหมือนกับช่องฟรีทีวีอื่น เพราะเป็นทีวีสาธารณะที่ไม่มีโฆษณา มีเงินอุดหนุนจากรัฐบาลปีละกว่า 2,000 ล้านบาท” อีกความเห็นของผู้จัดรายการรายย่อย
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนที่เสนอเข้ามาว่าต้องการรายการประเภทอะไรผ่านทาง เว๊บไซต์ของ ทีพีบีเอส ซึ่งจัดอันดับประเภทรายการที่มีผู้เสนอเข้ามามากที่สุด พบว่า
อันดับที่ 1 คือ รายการเกี่ยวกับกีฬา และการแข่งขันกีฬาต่างๆ ในประเทศ เช่น ถ่ายทอดสดฟุตบอลไทย กีฬาชกมวย การแข่งขันกีฬาต่างๆ ของคนไทย อันดับที่ 2 รายการสารคดีต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อันดับที่ 3 รายการข่าวที่เข้มข้น เจาะลึก (ไม่ใช่มานั่งอ่านหนังสือพิมพ์ให้ฟัง) อันดับที่ 4 รายการเพื่อการศึกษาของเยาวชน และการ์ตูน อันดับที่ 5 รายกายเกี่ยวกับการช่วยเหลือสังคม เช่น ร่วมมือร่วมใจ
การดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายองค์การการกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือ สถานีโทรทัศน์สาธารณะ ไทยพีบีเอส ในขณะนี้ อยู่ระหว่างการเร่งมือในเรื่องของการหาผู้จัดรายการที่จะเข้ามารับผิดชอบในการผลิตรายการรูปแบบต่างๆตามนโยบายของทีพีบีเอส
อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่น่าสนใจอย่างมาก ซึ่งมากกว่าหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการฯจะนำมาพิจารณาคัดเลือกผู้จัดทั้งหลาย ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีมาตรการหรือหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนออกมาแต่อย่างใด นั่นก็คือ ประเด็น ผู้จัดรายย่อยจริงๆจะได้มีโอกาสเข้าไปรับงานผลิตให้ทีพีบีเอส หรือไม่ กับนโยบายที่ทีพีบีเอสเปิดกว้างออกมา
แหล่งข่าวจากผู้ผลิตรายการรายเล็กให้ความเห็นว่า การเปิดกว้างของคณะกรรมการทีพีบีเอสที่ให้ผู้ผลิตสามารถเสนอรายการเข้ามาเพื่อให้ทีพีบีเอสพิจารณานั้นถือเป็นเรื่องที่ดี ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของการก่อเกิดทีวีสาธารณะ แต่คณะกรมการฯจะเอาหลักเกณฑ์อะไรมาพิจารณาคัดเลือกผู้จัดรายการ โดยเฉพาะระหว่างผู้จัดรายการรายใหญ่กับผู้จัดรายการรายเล็ก
เนื่องจากว่า หากผู้จัดรายใหญ่แตกตัวบริษัทลูกออกมาเพื่อสร้างโอกาสในการรับจ้างผลิตรายการให้กับทีพีบีเอสนั้น จะถือว่าบริษัทใหม่เหล่านี้ที่เกิดขึ้นเป็นรายเล็กหรือไม่ ถ้าหากตีความเป็นรายเล็ก บริษัทเหล่านั้นย่อมมีความได้เปรียบกว่าบริษัทเล็กเดิมในตลาดที่มีอยู่ทั้งในแง่ของ ความพร้อมอุปกรณ์ ช่องทาง ชื่อเสียง ขณะที่รายย่อยเดิมจริงๆ ก็คงจะหมดโอกาสในการแสดงฝีมือผลิตรายการดีๆอีกเช่นเดิม
ตามรอยที่ทีพีบีเอสรับอดีตพนักงานทีไอทีวีเข้ามามากถึง 80% เพราะบอกว่า อยู่ในช่วงเร่งด่วนจำเป็นต้องเอาคนที่มีประสบการณ์และคุ้นเคยกับทีวีอยู่แล้วเข้ามาดำเนินการ ตรงนี้แหละที่ผู้ผลิตรายย่อยกลัวว่าจะเป็นเหตุผลเดียวกับการที่เลือกเอาผู้จัดรายใหญ่เข้ามาผลิตรายการ เพราะว่า มีประสบการณ์มาอย่างดีแล้ว
แม้ว่า นายเทพชัย หย่อง รักษาการผู้อำนวยการทีพีบีเอส จะย้ำว่า จะต้องพิจารณาคัดเลือกผู้จัดรายการอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม เพราะว่าทีพีบีเอสถูกจับตามอง
จากสื่อมวลชนและสังคมอย่างมาก ดังนั้นเราต้องมีเหตุผลในการที่จะเลือกใครมาผลิตรายการ
ทั้งนี้ผู้จัดทุกรายจะต้องเสนอรูปแบบรายการเข้ามาให้ทีพีบีเอสพิจารณา ซึ่งจากนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการพิจารณารายการขึ้นมา 1 ชุด และจะตั้งคณะอนุกรรมการฯขึ้นมาแต่ละกลุ่มรายการ เพื่อพิจารณา โดยที่เวลานี้ก็ยังไม่มีกฎเกณฑ์ที่ชัดแจนในการยึดเป็นธงเลย
ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯได้เรียกกลุ่มผู้จัดรายการมาประชุมกันบ้างแล้วหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้ผลิตรายการสาระความรู้ กลุ่มผู้ผลิตรายการเด็ก กลุ่มผู้ผลิตในนามของสมาชิกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ประมาณ 23 ราย เป็นต้น
รายใหญ่ทุกรายก็แสดงออกถึงท่าทีที่สนใจจะเข้ามารับจ้างผลิตรายการให้ทีพีบีเอส โดยมีค่าจ้างผลิตตอบแทน ซึ่งทีพีบีเอส คิดคร่าวๆว่า ต้นทุนการผลิตต่อตอนน่าจะอยู่ที่ 200,000 บาท ซึ่งถือเป็นมูลค่าที่ไม่น้อยเลย ซึ่งเป็นต้นทุนที่ใกล้เคียงกับรายการเด็กของทุ่งแสงตะวันที่มีต้นทุนผลิตอยู่ที่ 200,000 บาทโดยเฉลี่ยเช่นกัน
“ผู้จัดรายการมีเต็มไปหมด แต่เวลาที่มีอยู่ก็มีจำกัด ตรงนี้คงต้องแย่งกันสนุก เพราะว่า ใครก็ตามที่มารับจ้างผลิตให้กับทีพีบีเอสนี้ จะได้รับเงินค่าผลิตที่แน่นอน ไม่ต้องมาเหนื่อยกับการแย่งเช่าเวลาแล้วไปหาโฆษณาเอาเองเหมือนกับช่องฟรีทีวีอื่น เพราะเป็นทีวีสาธารณะที่ไม่มีโฆษณา มีเงินอุดหนุนจากรัฐบาลปีละกว่า 2,000 ล้านบาท” อีกความเห็นของผู้จัดรายการรายย่อย
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนที่เสนอเข้ามาว่าต้องการรายการประเภทอะไรผ่านทาง เว๊บไซต์ของ ทีพีบีเอส ซึ่งจัดอันดับประเภทรายการที่มีผู้เสนอเข้ามามากที่สุด พบว่า
อันดับที่ 1 คือ รายการเกี่ยวกับกีฬา และการแข่งขันกีฬาต่างๆ ในประเทศ เช่น ถ่ายทอดสดฟุตบอลไทย กีฬาชกมวย การแข่งขันกีฬาต่างๆ ของคนไทย อันดับที่ 2 รายการสารคดีต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อันดับที่ 3 รายการข่าวที่เข้มข้น เจาะลึก (ไม่ใช่มานั่งอ่านหนังสือพิมพ์ให้ฟัง) อันดับที่ 4 รายการเพื่อการศึกษาของเยาวชน และการ์ตูน อันดับที่ 5 รายกายเกี่ยวกับการช่วยเหลือสังคม เช่น ร่วมมือร่วมใจ