ผู้จัดการรายวัน- “ เจ๊เกียว” เตรียมขอขึ้นค่าโดยสารอีก 9 สตางค์ต่อกิโลเมตร หลังน้ำมันโลกเพิ่มอีกระลอก ระบุต้นทุนเพิ่ม รายได้ลดเพราะผู้โดยสารหนีไปใช้ รถตู้ - ปิคอัพ เถื่อน ด้าน”สันติ”เล็งหาทางแก้ปัญหาค่าป้ายเหลืองขายช่วงปั่นราคาแล้วบวกเป็นต้นทุนค่าโดยสาร ขณะที่บขส.ดิ้นหาบริการเสริม เพิ่มรายได้
นางสุจินดา เชิดชัย นายกสมาคมผู้ประกอบการรถยนต์โดยสาร เปิดเผยว่า ภายในต้นเดือนมี.ค.นี้ สมาคมฯจะยื่นหนังสือขอปรับค่าโดยสารรถร่วมบขส. ขึ้นกม.ละ 9 สตางค์ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากค่าน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งจำนวนผู้โดยสารปรับลดลงมาก เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว รวมทั้งถูกรถตู้ และรถปิคอัพ แย่งผู้โดยสาร ซึ่งบางรายเป็นรถส่วนบุคคล ซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย ต้องการให้รัฐกวดขันมากขึ้น โดยรถดังกล่าว มีข้อได้เปรียบ จะรับส่งผู้โดยสารถึงบ้าน หรือโรงงาน ทำให้ขณะนี้ผู้ประกอบการเริ่มขาดทุนแล้ว อยากให้รัฐเห็นใจด้วย
“ภาวะตอนนี้ผู้ประกอบการต้องการขอปรับขึ้นค่าโดยสารเลยแต่เห็นว่า รัฐบาลเพิ่งแถลงนโยบาย อยากให้เวลารัฐเตรียมตัวก่อน และอยากให้รัฐเข้าใจผู้ประกอบการด้วย ที่ต้องทนแบกรับภาระต้นทุนที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ผู้โดยสารลดลงมาก จากปัจจัยและเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการได้รับความเดือดร้อนมาก ” นางสุจินดากล่าว
ด้านนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ต้นทุนของรถโดยสารมีหลายปัจจัยซึ่งยอมรับว่า น้ำมันเป็นต้นทุนสำคัญแต่ไม่อยากแก้ปัญหาด้วยการขึ้นค่าโดยสารเมื่อน้ำมันขึ้นราคา ดังนั้นต้องหาแนวทางการลดค่าใช้จ่ายตัวอื่นๆ ของผู้ประกอบการ เพื่อช่วยเหลือ โดยตนได้ให้เจ้าหน้าที่ศึกษาในประเด็นค่าป้ายรถโดยสารประจำทาง (ป้ายเหลือง) เนื่องจากขณะนี้พบว่า มีการขายช่วงต่อป้ายเหลืองสูงถึงป้ายละ 3 -4 ล้านบาท ทำให้ผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทาง นำต้นทุนในส่วนนี้มาคำนวณรวมเป็นต้นทุนค่าโดยสาร ซึ่งถือเป็นการผลักภาระให้ประชาชน
นายสันติกล่าวว่า เข้าใจภาระต้นทุนของผู้ประกอบการรถโดยสารที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ก็ไม่อยากให้ประชาชนเดือดร้อนมาก ซึ่งในส่วนของรถ บขส. ซึ่งเป็นของรัฐ ได้ขอความร่วมมือให้ตรึงค่าโดยสารออกไปถึงวันที่ 30 เม.ย. นี้ เนื่องจาก ผู้บริหารบขส.ระบุว่า แม้ไม่ปรับค่าโดยสารขึ้นอีก 3 สตางค์ ต่อกิโลเมตร ตามมติคณะกรรมการขนส่งทางบกกลาง บขส.ก็ยังมีกำไรประมาณ 1.4 ล้านบาทต่อเดือน และหากปรับค่าโดยสารจะทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้นอีก 1.8 ล้าน เป็นเดือนละ 3.2 ล้านบาท
ในขณะที่นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กล่าวว่า เร็วๆ นี้ เตรียมหารือกับบริษัทไปรษณีย์ไทย เพื่อขอความร่วมมือให้บขส. ให้บริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) จากเดิมการส่งEMS ของไปรษณีย์ไทย ระหว่างวันต้องส่งก่อน 14.00 น. แต่ถ้าส่งกับบขส. จะสามารถยืดเวลาส่งได้ถึง 19.00 – 20.00 น. เนื่องจากรถบขส. มีรถวิ่งตลอดทั้งวัน รวมทั้งจะร่วมกับไปรษณีย์ รับบริการจัดส่งอาหารจากทั่วประเทศ ในโครงการอร่อยทั่วไทย กับไปรษณีย์ ซึ่งจะทำให้บขส.มีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยรายได้จากการที่รัฐขอความร่วมมือให้ตรึงราคาค่าโดยสารถึง 30 เม.ย.
นางสุจินดา เชิดชัย นายกสมาคมผู้ประกอบการรถยนต์โดยสาร เปิดเผยว่า ภายในต้นเดือนมี.ค.นี้ สมาคมฯจะยื่นหนังสือขอปรับค่าโดยสารรถร่วมบขส. ขึ้นกม.ละ 9 สตางค์ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากค่าน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งจำนวนผู้โดยสารปรับลดลงมาก เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว รวมทั้งถูกรถตู้ และรถปิคอัพ แย่งผู้โดยสาร ซึ่งบางรายเป็นรถส่วนบุคคล ซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย ต้องการให้รัฐกวดขันมากขึ้น โดยรถดังกล่าว มีข้อได้เปรียบ จะรับส่งผู้โดยสารถึงบ้าน หรือโรงงาน ทำให้ขณะนี้ผู้ประกอบการเริ่มขาดทุนแล้ว อยากให้รัฐเห็นใจด้วย
“ภาวะตอนนี้ผู้ประกอบการต้องการขอปรับขึ้นค่าโดยสารเลยแต่เห็นว่า รัฐบาลเพิ่งแถลงนโยบาย อยากให้เวลารัฐเตรียมตัวก่อน และอยากให้รัฐเข้าใจผู้ประกอบการด้วย ที่ต้องทนแบกรับภาระต้นทุนที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ผู้โดยสารลดลงมาก จากปัจจัยและเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการได้รับความเดือดร้อนมาก ” นางสุจินดากล่าว
ด้านนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ต้นทุนของรถโดยสารมีหลายปัจจัยซึ่งยอมรับว่า น้ำมันเป็นต้นทุนสำคัญแต่ไม่อยากแก้ปัญหาด้วยการขึ้นค่าโดยสารเมื่อน้ำมันขึ้นราคา ดังนั้นต้องหาแนวทางการลดค่าใช้จ่ายตัวอื่นๆ ของผู้ประกอบการ เพื่อช่วยเหลือ โดยตนได้ให้เจ้าหน้าที่ศึกษาในประเด็นค่าป้ายรถโดยสารประจำทาง (ป้ายเหลือง) เนื่องจากขณะนี้พบว่า มีการขายช่วงต่อป้ายเหลืองสูงถึงป้ายละ 3 -4 ล้านบาท ทำให้ผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทาง นำต้นทุนในส่วนนี้มาคำนวณรวมเป็นต้นทุนค่าโดยสาร ซึ่งถือเป็นการผลักภาระให้ประชาชน
นายสันติกล่าวว่า เข้าใจภาระต้นทุนของผู้ประกอบการรถโดยสารที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ก็ไม่อยากให้ประชาชนเดือดร้อนมาก ซึ่งในส่วนของรถ บขส. ซึ่งเป็นของรัฐ ได้ขอความร่วมมือให้ตรึงค่าโดยสารออกไปถึงวันที่ 30 เม.ย. นี้ เนื่องจาก ผู้บริหารบขส.ระบุว่า แม้ไม่ปรับค่าโดยสารขึ้นอีก 3 สตางค์ ต่อกิโลเมตร ตามมติคณะกรรมการขนส่งทางบกกลาง บขส.ก็ยังมีกำไรประมาณ 1.4 ล้านบาทต่อเดือน และหากปรับค่าโดยสารจะทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้นอีก 1.8 ล้าน เป็นเดือนละ 3.2 ล้านบาท
ในขณะที่นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กล่าวว่า เร็วๆ นี้ เตรียมหารือกับบริษัทไปรษณีย์ไทย เพื่อขอความร่วมมือให้บขส. ให้บริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) จากเดิมการส่งEMS ของไปรษณีย์ไทย ระหว่างวันต้องส่งก่อน 14.00 น. แต่ถ้าส่งกับบขส. จะสามารถยืดเวลาส่งได้ถึง 19.00 – 20.00 น. เนื่องจากรถบขส. มีรถวิ่งตลอดทั้งวัน รวมทั้งจะร่วมกับไปรษณีย์ รับบริการจัดส่งอาหารจากทั่วประเทศ ในโครงการอร่อยทั่วไทย กับไปรษณีย์ ซึ่งจะทำให้บขส.มีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยรายได้จากการที่รัฐขอความร่วมมือให้ตรึงราคาค่าโดยสารถึง 30 เม.ย.