เปิดศึกปะทะคารมเดือดกลางสภา "สมัคร" เฉ่ง "อภิสิทธิ์" เด็กเมื่อวานซืนมาสอนผู้ใหญ่ ยกคะแนนเสียง พปช.ข่ม พร้อมปฎิเสธมือเปื้อนเลือด ในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ท้า "สาบาน" ถ้าเกี่ยวข้องให้มีอันเป็นไป อ้างในชีวิตไม่เคยทำสิ่งสกปรก ไม่เช่นนั้นคนกรุงคงไม่เลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม.ถึงล้านเสียง ยันไม่เคยเนรคุณพรรค ปชป.แต่ออกมาตั้งพรรคสู้จนชนะ "มาร์ค" ถามกลับแล้วพรรคประชากรไทยตอนนี้ไปอยู่ไหน "ชวน" ให้ไปดูหลักฐานการอภิปราย "สมัคร" เยาะเย้ยพรรคเก่าอย่างไร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การอภิปรายนโยบายรัฐบาลในวันแรก วานนี้ (18 ก.พ.) เกิดการโต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อน หลังจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายท้วงติงนโยบายรัฐบาลถึงเรื่องการส่งเสริมเสรีภาพสื่อที่ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจน พร้อมกับกล่าวว่า สมัยที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่ง รมว.มหาดไทย ยุคเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ก็ทราบว่า เป็นยุคหนึ่งที่มีการสั่งปิดหนังสือพิมพ์มากที่สุดจึงไม่อยากให้มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก
"การแทรกแซงสื่อในวันนี้ไม่เหมือนสมัยที่ใช้อำนาจปิดหนังสือพิมพ์ แต่แทรกแซงมีความแนบเนียนผ่านกลไกของธุรกิจ นโยบายด้านสื่อของรัฐบาล ข้อ 8.3 ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางราชการและสื่อสาธารณะอื่นได้อย่าง กว้างขวางถูกต้องเป็นธรรม แต่ไม่ได้พูดเรื่องสิทธิเสรีภาพ ซึ่งร่างนโยบายที่เสนอเข้ารัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ นั้นไม่ได้เขียนเช่นนี้ แต่เขียนว่า ส่งเสริมให้สื่อสารมวลชนของรัฐและเอกชนมีสิทธิเสรีภาพ จึงไม่ทราบว่าครม.มีความจำเป็นอะไรที่ต้องตัดคำนี้ออก"
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กรณีนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ผู้จัดรายการ "มุมมองของเจิมศักดิ์" ทางวิทยคลื่น 105 วิสดอมเรดิโอ พูดถึงเรื่องเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ สืบเนื่องจาก นายกฯ ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศว่าเหตุการณ์ 6 ตุลา มีผู้เสียชีวิตคนเดียว จนมีผู้แย้งว่าไม่จริงในมือตนมีผู้ชันสูตรพลิกศพแล้ว 38 คน เฉพาะนักศึกษา และประชาชนที่เป็นผู้ต้องหาและนายเจิมศักดิ์ นำหนังสือที่นายวีระ มุสิกพงศ์เขียนมาอ่านให้ฟังว่า นายกฯ เคยบรรยาย เรื่อง 6 ตุลาคม ที่ฝรั่งเศส ไม่ตรงกับสิ่งที่ให้สัมภาษณ์ ปัจจุบัน กลไกที่ใช้มากที่สุดคือ รู้ว่าสื่อเป็นธุรกิจ ไม่ว่าวิทยุ โทรทัศน์ วิธีแทรกแซงสื่อคือ การสร้างความกลัวว่า ถ้าไปแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ ในทางที่ไม่ถูกใจ รัฐบาลแล้วจะทำธุรกิจต่อไม่ได้
อ้างไม่เคยปิดหนังสือพิมพ์มีแต่สู้ให้เปิด
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้ขอใช้สิทธิ์พาดพิง โดยกล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ใช้เวลาครึ่งชั่วโมงอบรมสั่งสอนคนเป็นนายกรัฐมนตรี ตนชื่อสมัคร สุนทรเวช เป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน มีสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้ง 233 คน หัวหน้าฝ่ายค้านที่วิพากษ์วิจารณ์ตนได้รับเลือกตั้งมา 165 คน ตนเลยได้เป็นนายกฯ การพูดจาเหมือนกับอบรมสั่งสอนคนเป็นนายกฯฟังดูก็คงจะโก้เก๋ เก่งกล้าดี แต่การจะใช้ข้อความต่างๆ ควรจะต้องมีความรอบคอบการใช้ตัวเลขมากกว่านี้ การ วิจารณ์ว่า เมื่อเป็นรมว.มหาดไทย สั่งปิดหนังสือพิมพ์มากที่สุดนั้น ตนเป็นรมว.มหาดไทย เมื่อปี พ.ศ.2519 ผ่านมาแล้ว 32 ปีคนที่อบรมสั่งสอนตนเมื่อครู่นี้ปีนี้อายุ43 ปี ตอนนั้นก็จะอายุ 11 เท่านั้น แล้วอยู่อังกฤษด้วย ถ้าไม่รู้ข้อมูลแล้วล่ะก็ ลองให้ท่าน เลขาธิการพรรค หรือประธานที่ปรึกษาพรรคช่วยเล่าให้ฟังหน่อยว่าเป็นอย่างไร
นายสมัคร ยืนยันว่า ตนเป็นรมว.มหาดไทย ไม่เคยสั่งปิดหนังสือพิมพ์ ที่ปิดอาจจะเป็นเจ้าพนักงานการพิมพ์ ถ้าเขาจะทำตามหน้าที่บ้างก็จำไม่ได้ว่ามีสักเท่าไหร่ แต่เมื่อเขาปฎิวัติวันที่ 6 ตุลาคม 2519 นั้น เขาปิดหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ซึ่งตนบอกว่า ไม่เห็นด้วย พรุ่งนี้คนไทยจะรู้ได้อย่างไรว่าคณะปฎิรูปเป็นใครมาจากไหน รุ่งขึ้นคณะปฎิรูปก็ตั้งคณะกรรมการ 5 คนมีทหารเป็นหัวหน้า และตนเป็นหนึ่งใน 5 และเป็นคนเปิดหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ พยานที่อ้างอิงได้ชื่อนายประพันธ์ เหตระกูล ตอนนั้นอยู่ นสพ.เดลินิวส์
ลั่นถ้าสกปรกสื่อถลกหนังหัวไปแล้ว
"การอบรมผม ไม่เป็นปัญหาหรอกครับผมฟังได้ผมอายุมากพอที่จะฟังคนที่อายุ 43 อบรมผมได้ ผมปีนี้ย่าง 73 แล้ว อายุแก่กว่าผู้พูดเพียง 30 ปีเท่านั้น ผมเห็นตื้นลึกหนาบางในบ้านเมืองนี้ และผมเป็นบุคคลที่อยู่ในแวดวงการเมือง ถ้าผมสกปรกคิดไม่เป็นทางการเมืองมาไม่ไกลได้ถึงขั้นนี้หรอก ผมฟ้องประธาน คตส. เพราะท่านมากล่าวหาผม (คดีรถดับเพลิง กทม.) ตอนนี้คดียังอยู่ที่ คตส. อยู่ในขั้นสอบสวน เรื่องยังไม่ถึงอัยการด้วยซ้ำไป ยังสอบคนไม่หมดเลย สื่อสารมวลชนว่า กล่าวกันรุนแรง เหมือนกับตนสกปรกเต็มที่ มีคนไปขุดออกมาด้วยซ้ำ ทิ้งขยะกันมา 3 ปี ผมพูดกับหนังสือพิพม์ว่า สุจริตเป็นเกราะบังศาสตร์พ้อง สกปรกบาทเดียวเป็นศัตรูกับสื่อสารมวลชนไม่ได้ เขาถลกหนังตายเลย ในเมืองไทยมีคนอย่างนี้กี่คน ที่ต่อปากต่อคำกับสื่อสารมวลชน ไม่ละเว้นเลย แต่สำคัญที่สุดนักการเมืองกี่คน ในบ้านนี้ ที่ถูกสื่อสารมวลชนสับโขกดุด่าว่ากล่าวเขียนกระทบกระแทกแดกดันผมก็ตอบโต้คนพวกนี้"
"ผมไม่ใช่คนสกปรก ไม่ใช่คนทุจริต ผมต้องแน่ใจในตัวผมเอง ผมถึงมาเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน อะไรที่อบรมเหมือนซักครู่นี้ผมเป็นเหมือนนายกฯ คนเก่าไหม ที่ปวดปัสวะตั้งแต่เริ่มต้นอ่าน อ่านอยู่1 ช.ม. หัวหน้าฝ่ายค้านพูดอภิปราย 2 -3 ช.ม. เพราะเกรงใจหัวหน้าฝ่ายค้าน หิวข้าวก็หิวปวดปัสสวะก็ปวด แต่ไม่ลุกเพื่อที่จะได้เห็น นึกว่าจะชมเชย กลับไปอ้างนายยกฯคนก่อน เขาจะคิดอะไรจะทำอะไร เขาเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีไม่ใช่ผม"
เย้ยออกมาตั้งพรรคสู้ ปชป.จนชนะ
นายสมัคร กล่าวว่า ใครๆ ก็รู้ว่าในพรรคของท่านหัวหน้าฝ่ายค้านเป็นอย่างไร ตนเกิดมาจากพรรคประชาธิปัตย์ แล้วมีคนบอกว่าออกจากพรรคนี้ไปเจ๊งทุกราย แต่ไม่ใช่คนชื่อสมัคร สุนทรเวช ที่ออกมาแล้วตั้งพรรคการเมืองเองไปสู้กับพรรคที่เคยอยู่ เลือกกันใน กทม. ทั้งประเทศมี 391 คน ตนเป็นพรรคตั้งใหม่สมัคร 35 คนได้รับเลือกตั้ง 32 คน กทม.สมัคร 32 ได้ 29 คน พรรคประชาธิปัตย์ได้ 1 คน พรรคตนชื่อพรรคประชากรไทยได้ 29 คน แล้วจะบอกให้ฟังว่า 1 คน
ส่วน เรื่องเหตุการณ์ 6 ตุลา ตนได้ตอบกับฝรั่งตามที่รู้เห็นอยู่สนามหลวง เขาทำอะไรกันไม่ทราบแต่ที่สนามหลวง มันมีคนที่ถูกตี แล้วเอายางมาเผา ตายที่สนามหลวง1 คน ถ้าฆาตกรเมืองเปื้อนเลือด คนกทม.รู้ดีกว่าใครหมด รู้สิ้นเห็นชาตินักการเมืองดีกว่าใครหมด ลงเลือกตั้งคู่ต่อสู้ได้ 5 แสนกว่า ตนได้ล้านกว่า คนมาใช้สิทธิ 2 ล้าน ทำไมฆาตกรมือเปื้อนเลือด ได้รับเลือกตั้งคะแนนล้านกว่า
"มาร์ค"ย้อนถามแล้วประชากรไทยอยู่ไหน
ด้าน นายอภิสิทธิ์ ลุกขึ้นขอใช้สิทธิพาดพิง โดยอภิปรายว่า สิ่งที่พูดก็ยืนยันเป็นข้อเท็จจริง มีเหตุมีผล ตนไม่ได้อบรมนายกฯ แต่ชี้ให้เห็นว่าวันนี้สังคมต้องการนายกฯตัวจริง ต้องการรัฐบาลที่มีท่าทีต่อประเด็นในเรื่องสิทธิเสรีภาพ และการเมืองภาคประชาชนอย่างไร ตนไม่ได้พูดสักคำในเรื่องว่าทุจริต หรือความไม่ดี ไม่เหมาะสม แต่มีท่าทีบางอย่างที่สังคมเขาวิตกกังวล ตนอายุ 43 ปีแต่กินเงินเดือนของประชาชนเท่ากับคนอายุเท่าไหร่ก็แล้วแต่ ก็ต้องทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนของประชาชน ตนไม่มีสิทธิ์ที่ไม่ทำหน้าที่ของตัวเอง
"แม้ผมจะอายุน้อยตอนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา แต่ก็สนใจการเมืองมาก่อนหน้านั้น ฟังท่านมาตั้งแต่อยู่พรรคประชาธิปัตย์ และได้พยายามศึกษาประวัติศาสตร์ และดูท่าทีของการเมืองว่าเป็นอย่างไร ขอท้าเหมือนกันว่าในบรรดาสื่อสารการเมืองขณะนั้นเขาจำท่านในฐานะรมว.มหาดไทยเป็นมิตรกับสื่อหรือไม่ ผมไม่ได้บอกว่าท่านสั่งปิด แต่ยุคท่านมีการปิดมากที่สุด แต่ก็ยอมรับเองว่าท่านก็ค่อยๆเปิด ผมก็ศึกษาประวัติศาสตร์และรู้ว่าท่านก็กระทบกระทั่งกับสื่อมาตลอด ท่านก็ไปเปิดหนังสือพิมพ์เดลิมิเลอร และท่านก็ออกไปจากพรรคประชาธิปัตย์ ท่านอาจจะอายุมากกว่าผม ผมก็ยอมรับ ท่านได้รับเสียงมากกว่าผมก็ยอมรับ แต่เราทำหน้าที่ตามวิถีทางประชาธิปไตย ไม่จำเป็นต้องหยิบยกเรื่องเหล่านี้มาถากถาง ท่านให้เหตุผลในการเปิดหนังสือพิมพ์ว่าเป็นห่วงฝ่ายปฎิวัติ นี่ก็เป็นตัวอย่าง ผมเกิดจากพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่คิดจะไปจากพรรคนี้ ช่วงที่พรรคประชากรไทยชนะพรรคประชาธิปัตย์ท่านก็เยาะเย้ยว่าพรรคประชาธิปัตย์จะอยู่ได้ไม่ยั่งยืนเหมือนพรรคท่าน แล้ววันนี้ท่านอาศัยพรรคท่านหรือไม่"
"สมัคร"ปากแข็งไม่เคยเยาะเย้ย ปชป.
ขณะที่นายสมัคร ลุกขึ้นโต้ว่า คนอย่างตนไม่เคยเยอะเย้ยพรรคประชาธิปัตย์ ไปหาหลักฐานมาได้ แต่เหตุผลที่ชี้แจงเรื่องทุจริต เพราะมีการกล่าวหาว่าจะยุบ คตส. ตนก็ยืนยันไปแล้วว่าเป็นปฏิปักษ์กับสื่อ ความคิดไม่ตรงกับสื่อ มีรัฐธรรมนูญมาตราไหนที่ห้ามคนเป็นนายกฯ รัฐมนตรี หรือนักการเมือง มีความคิดเป็นปฏิปักษ์ต่อสื่อ ที่พูดเพราะต้องการให้ได้สติบ้างครั้งก็นึกว่าตัวเองเก่งกาจ แต่คนทั้งบ้านทั้งเมืองเขาฟังอยู่เขาคิดว่าหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านอบรมนายกฯ
"ชวน"โชว์หลักฐานหมักเย้ย ปชป.
จากนั้น นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ได้ ลุกขึ้นขอใช้สิทธิ์พาดพิงว่า ในประเด็นเรื่องการปิดหนังสือพิมพ์นั้นตนไม่สามารถที่จะตอบได้เพราะตอนท่านหารือกันอยู่นั้นตนกำลังหนีอยู่ เพราะถูกกล่าวหาว่า เป็นคอมมิวนิสต์ ส่วนกรณีของคนที่เคยอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ ตนยอมรับในน้ำใจของคนที่สำนึกบุญคุณกับพรรค แต่บางคนไม่สึกนึกในบุญคุณ ทั้งที่พรรค ไม่เคยให้ร้ายกับคนเหล่านี้มีแต่ส่งเสริม
นายชวน กล่าวว่า ส่วนกรณีที่นายกฯ ระบุว่า ชนะการเลือกตั้ง ปี 2522 นั้นตนยอมรับว่าเป็นเรื่องจริง แต่ นายกฯ อาจจะลืมไปแล้วระหว่างอยู่ในสภา นายสมัครหัวเราะเยาะในวันหนึ่ง ประชาธิปัตย์อีกหน่อยเป็นพรรคต่ำ ไปดูรายงานการประชุมได้ เหมือนเคยเอาพระมาสาบานในสภาขณะที่ตนเป็นประธานสภาซึ่งตนบอกว่า อย่าสาบานเพราะอยู่กันหลายคน ถ้าสาบานเปรี้ยงไปก็ตายหมด ตนจำที่นายกฯ พูดถึงพรรคประชาธิปัตย์ว่าอีกหน่อยพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นพรรคต่ำสิบ แล้วในที่สุดพรรคประชาธิปัตย์ ไม่เคยต่ำสิบ แต่พรรคของนายสมัคร ในที่สุดก็ต่ำสิบ
"ผมไม่ได้วิจารณ์อะไรท่านมาก เพราะถือว่าเป็นนักการเมืองที่มาจากระบบเลือกตั้งด้วยกันแต่ท่านไปวัดได้ 200 กว่ากับ 165 มาเป็นความดี ไม่ดี ในฐานะเป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์ ผมภูมิใจที่อยู่พรรคนี้ เพราะพรรคส่วนให้ทำงาน การเมืองที่ซื่อสัตย์สุจริต ให้รักบ้านเมือง รักสถาบัน ดำรงความเป็นชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เอาไว้ นายกฯ รู้ดี ความขัดแย้งของท่าน และคนในพรรคหรือการวางบันไดตามขั้นเพื่อเป็นนายกฯในสมัยนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งจะไม่วิจารณ์"
"สมัคร"สาบานไม่เกี่ยวฆ่าหมู่ 6 ตุลาฯ
นายสมัคร ลุกขึ้นแย้งว่าไม่เคยออกจากพรรคประชาธิปัตย์ตอนที่พรรคพัง เพราะตอนที่ออกมานั้นยังไม่พัง แต่เหตุที่ตนต้องออกเพราะปฎิเสธไม่เป็นรัฐมนตรี ในปี 2519 มีบุคคลสำคัญจะเดินทางกลับเข้ามาในประเทศ ส.ส.อภิปรายโจมตี อย่างรุนแรงม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ประกาศลาออกในสภา และวันรุ่งขึ้นในการประชุมครม.ตนได้เสนอให้ม.ร.ว.เสนีย์ เป็นนายกฯ อีกครั้ง อาจจะทำให้ใครในพรรคประชาธิปัตย์ไม่พอใจเพราะเขากำลังจะเปลี่ยนแปลงอะไรตนไม่ทราบ คงคิดว่านายสมัคร มันเสือกแท้ ๆ เขาจัดประชุมกันตอนบ่ายสองโมง แต่บ่ายโมงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เรียบร้อย ทำให้ตนไม่สามารถ เป็นรัฐมนตรีได้อีกทั้งที่ม.ร.ว.เสนีย์ ต้องการให้เป็น นั่นคือสาเหตุที่ตนต้องลาออกจาก พรรคประชาธิปัตย์
"หลังจากนั้นวันที่ 1 ตุลาคม 2519 ก็มีเรื่องมีราวกันมาตลอด ซึ่งผมไม่เกี่ยวข้อง ด้วยเลย ผมเป็นคนชอบสาบาน ถ้าผมไปเกี่ยวข้องกับเรื่อง 6 ตุลา แม้แต่นิดเดียว ต้องให้มีอันเป็นไป อย่าได้มีความเจริญในชีวิตนี้ นับแต่วันนี้ต่อไป วันนี้ดีจริง ๆ ที่ได้พูดเรื่องนี้ ผมเป็นรัฐมนตรีมหาดไทยวันที่ 22 ตุลา 2519 ดังนั้นเหตุการณ์ 6 ตุลา ผมจึงไม่มีสถานะจะไปทำร้ายใครได้เลย 14 ตุลา ก็ไม่เคยเกี่ยวข้อง 6 ตุลา ก็ไม่เคยเกี่ยวข้อง ถ้าผมเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ด้วยประการใดๆ ให้มีอันเป็นไปนับตั้งแต่วันนี้ แต่ถ้าผมไม่เกี่ยวข้องเลยขอให้นายสมัครมีความรุ่งเรืองในทางการเมือง และในชีวิตทั้งหมด"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การอภิปรายนโยบายรัฐบาลในวันแรก วานนี้ (18 ก.พ.) เกิดการโต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อน หลังจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายท้วงติงนโยบายรัฐบาลถึงเรื่องการส่งเสริมเสรีภาพสื่อที่ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจน พร้อมกับกล่าวว่า สมัยที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่ง รมว.มหาดไทย ยุคเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ก็ทราบว่า เป็นยุคหนึ่งที่มีการสั่งปิดหนังสือพิมพ์มากที่สุดจึงไม่อยากให้มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก
"การแทรกแซงสื่อในวันนี้ไม่เหมือนสมัยที่ใช้อำนาจปิดหนังสือพิมพ์ แต่แทรกแซงมีความแนบเนียนผ่านกลไกของธุรกิจ นโยบายด้านสื่อของรัฐบาล ข้อ 8.3 ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางราชการและสื่อสาธารณะอื่นได้อย่าง กว้างขวางถูกต้องเป็นธรรม แต่ไม่ได้พูดเรื่องสิทธิเสรีภาพ ซึ่งร่างนโยบายที่เสนอเข้ารัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ นั้นไม่ได้เขียนเช่นนี้ แต่เขียนว่า ส่งเสริมให้สื่อสารมวลชนของรัฐและเอกชนมีสิทธิเสรีภาพ จึงไม่ทราบว่าครม.มีความจำเป็นอะไรที่ต้องตัดคำนี้ออก"
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กรณีนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ผู้จัดรายการ "มุมมองของเจิมศักดิ์" ทางวิทยคลื่น 105 วิสดอมเรดิโอ พูดถึงเรื่องเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ สืบเนื่องจาก นายกฯ ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศว่าเหตุการณ์ 6 ตุลา มีผู้เสียชีวิตคนเดียว จนมีผู้แย้งว่าไม่จริงในมือตนมีผู้ชันสูตรพลิกศพแล้ว 38 คน เฉพาะนักศึกษา และประชาชนที่เป็นผู้ต้องหาและนายเจิมศักดิ์ นำหนังสือที่นายวีระ มุสิกพงศ์เขียนมาอ่านให้ฟังว่า นายกฯ เคยบรรยาย เรื่อง 6 ตุลาคม ที่ฝรั่งเศส ไม่ตรงกับสิ่งที่ให้สัมภาษณ์ ปัจจุบัน กลไกที่ใช้มากที่สุดคือ รู้ว่าสื่อเป็นธุรกิจ ไม่ว่าวิทยุ โทรทัศน์ วิธีแทรกแซงสื่อคือ การสร้างความกลัวว่า ถ้าไปแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ ในทางที่ไม่ถูกใจ รัฐบาลแล้วจะทำธุรกิจต่อไม่ได้
อ้างไม่เคยปิดหนังสือพิมพ์มีแต่สู้ให้เปิด
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้ขอใช้สิทธิ์พาดพิง โดยกล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ใช้เวลาครึ่งชั่วโมงอบรมสั่งสอนคนเป็นนายกรัฐมนตรี ตนชื่อสมัคร สุนทรเวช เป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน มีสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้ง 233 คน หัวหน้าฝ่ายค้านที่วิพากษ์วิจารณ์ตนได้รับเลือกตั้งมา 165 คน ตนเลยได้เป็นนายกฯ การพูดจาเหมือนกับอบรมสั่งสอนคนเป็นนายกฯฟังดูก็คงจะโก้เก๋ เก่งกล้าดี แต่การจะใช้ข้อความต่างๆ ควรจะต้องมีความรอบคอบการใช้ตัวเลขมากกว่านี้ การ วิจารณ์ว่า เมื่อเป็นรมว.มหาดไทย สั่งปิดหนังสือพิมพ์มากที่สุดนั้น ตนเป็นรมว.มหาดไทย เมื่อปี พ.ศ.2519 ผ่านมาแล้ว 32 ปีคนที่อบรมสั่งสอนตนเมื่อครู่นี้ปีนี้อายุ43 ปี ตอนนั้นก็จะอายุ 11 เท่านั้น แล้วอยู่อังกฤษด้วย ถ้าไม่รู้ข้อมูลแล้วล่ะก็ ลองให้ท่าน เลขาธิการพรรค หรือประธานที่ปรึกษาพรรคช่วยเล่าให้ฟังหน่อยว่าเป็นอย่างไร
นายสมัคร ยืนยันว่า ตนเป็นรมว.มหาดไทย ไม่เคยสั่งปิดหนังสือพิมพ์ ที่ปิดอาจจะเป็นเจ้าพนักงานการพิมพ์ ถ้าเขาจะทำตามหน้าที่บ้างก็จำไม่ได้ว่ามีสักเท่าไหร่ แต่เมื่อเขาปฎิวัติวันที่ 6 ตุลาคม 2519 นั้น เขาปิดหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ซึ่งตนบอกว่า ไม่เห็นด้วย พรุ่งนี้คนไทยจะรู้ได้อย่างไรว่าคณะปฎิรูปเป็นใครมาจากไหน รุ่งขึ้นคณะปฎิรูปก็ตั้งคณะกรรมการ 5 คนมีทหารเป็นหัวหน้า และตนเป็นหนึ่งใน 5 และเป็นคนเปิดหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ พยานที่อ้างอิงได้ชื่อนายประพันธ์ เหตระกูล ตอนนั้นอยู่ นสพ.เดลินิวส์
ลั่นถ้าสกปรกสื่อถลกหนังหัวไปแล้ว
"การอบรมผม ไม่เป็นปัญหาหรอกครับผมฟังได้ผมอายุมากพอที่จะฟังคนที่อายุ 43 อบรมผมได้ ผมปีนี้ย่าง 73 แล้ว อายุแก่กว่าผู้พูดเพียง 30 ปีเท่านั้น ผมเห็นตื้นลึกหนาบางในบ้านเมืองนี้ และผมเป็นบุคคลที่อยู่ในแวดวงการเมือง ถ้าผมสกปรกคิดไม่เป็นทางการเมืองมาไม่ไกลได้ถึงขั้นนี้หรอก ผมฟ้องประธาน คตส. เพราะท่านมากล่าวหาผม (คดีรถดับเพลิง กทม.) ตอนนี้คดียังอยู่ที่ คตส. อยู่ในขั้นสอบสวน เรื่องยังไม่ถึงอัยการด้วยซ้ำไป ยังสอบคนไม่หมดเลย สื่อสารมวลชนว่า กล่าวกันรุนแรง เหมือนกับตนสกปรกเต็มที่ มีคนไปขุดออกมาด้วยซ้ำ ทิ้งขยะกันมา 3 ปี ผมพูดกับหนังสือพิพม์ว่า สุจริตเป็นเกราะบังศาสตร์พ้อง สกปรกบาทเดียวเป็นศัตรูกับสื่อสารมวลชนไม่ได้ เขาถลกหนังตายเลย ในเมืองไทยมีคนอย่างนี้กี่คน ที่ต่อปากต่อคำกับสื่อสารมวลชน ไม่ละเว้นเลย แต่สำคัญที่สุดนักการเมืองกี่คน ในบ้านนี้ ที่ถูกสื่อสารมวลชนสับโขกดุด่าว่ากล่าวเขียนกระทบกระแทกแดกดันผมก็ตอบโต้คนพวกนี้"
"ผมไม่ใช่คนสกปรก ไม่ใช่คนทุจริต ผมต้องแน่ใจในตัวผมเอง ผมถึงมาเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน อะไรที่อบรมเหมือนซักครู่นี้ผมเป็นเหมือนนายกฯ คนเก่าไหม ที่ปวดปัสวะตั้งแต่เริ่มต้นอ่าน อ่านอยู่1 ช.ม. หัวหน้าฝ่ายค้านพูดอภิปราย 2 -3 ช.ม. เพราะเกรงใจหัวหน้าฝ่ายค้าน หิวข้าวก็หิวปวดปัสสวะก็ปวด แต่ไม่ลุกเพื่อที่จะได้เห็น นึกว่าจะชมเชย กลับไปอ้างนายยกฯคนก่อน เขาจะคิดอะไรจะทำอะไร เขาเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีไม่ใช่ผม"
เย้ยออกมาตั้งพรรคสู้ ปชป.จนชนะ
นายสมัคร กล่าวว่า ใครๆ ก็รู้ว่าในพรรคของท่านหัวหน้าฝ่ายค้านเป็นอย่างไร ตนเกิดมาจากพรรคประชาธิปัตย์ แล้วมีคนบอกว่าออกจากพรรคนี้ไปเจ๊งทุกราย แต่ไม่ใช่คนชื่อสมัคร สุนทรเวช ที่ออกมาแล้วตั้งพรรคการเมืองเองไปสู้กับพรรคที่เคยอยู่ เลือกกันใน กทม. ทั้งประเทศมี 391 คน ตนเป็นพรรคตั้งใหม่สมัคร 35 คนได้รับเลือกตั้ง 32 คน กทม.สมัคร 32 ได้ 29 คน พรรคประชาธิปัตย์ได้ 1 คน พรรคตนชื่อพรรคประชากรไทยได้ 29 คน แล้วจะบอกให้ฟังว่า 1 คน
ส่วน เรื่องเหตุการณ์ 6 ตุลา ตนได้ตอบกับฝรั่งตามที่รู้เห็นอยู่สนามหลวง เขาทำอะไรกันไม่ทราบแต่ที่สนามหลวง มันมีคนที่ถูกตี แล้วเอายางมาเผา ตายที่สนามหลวง1 คน ถ้าฆาตกรเมืองเปื้อนเลือด คนกทม.รู้ดีกว่าใครหมด รู้สิ้นเห็นชาตินักการเมืองดีกว่าใครหมด ลงเลือกตั้งคู่ต่อสู้ได้ 5 แสนกว่า ตนได้ล้านกว่า คนมาใช้สิทธิ 2 ล้าน ทำไมฆาตกรมือเปื้อนเลือด ได้รับเลือกตั้งคะแนนล้านกว่า
"มาร์ค"ย้อนถามแล้วประชากรไทยอยู่ไหน
ด้าน นายอภิสิทธิ์ ลุกขึ้นขอใช้สิทธิพาดพิง โดยอภิปรายว่า สิ่งที่พูดก็ยืนยันเป็นข้อเท็จจริง มีเหตุมีผล ตนไม่ได้อบรมนายกฯ แต่ชี้ให้เห็นว่าวันนี้สังคมต้องการนายกฯตัวจริง ต้องการรัฐบาลที่มีท่าทีต่อประเด็นในเรื่องสิทธิเสรีภาพ และการเมืองภาคประชาชนอย่างไร ตนไม่ได้พูดสักคำในเรื่องว่าทุจริต หรือความไม่ดี ไม่เหมาะสม แต่มีท่าทีบางอย่างที่สังคมเขาวิตกกังวล ตนอายุ 43 ปีแต่กินเงินเดือนของประชาชนเท่ากับคนอายุเท่าไหร่ก็แล้วแต่ ก็ต้องทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนของประชาชน ตนไม่มีสิทธิ์ที่ไม่ทำหน้าที่ของตัวเอง
"แม้ผมจะอายุน้อยตอนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา แต่ก็สนใจการเมืองมาก่อนหน้านั้น ฟังท่านมาตั้งแต่อยู่พรรคประชาธิปัตย์ และได้พยายามศึกษาประวัติศาสตร์ และดูท่าทีของการเมืองว่าเป็นอย่างไร ขอท้าเหมือนกันว่าในบรรดาสื่อสารการเมืองขณะนั้นเขาจำท่านในฐานะรมว.มหาดไทยเป็นมิตรกับสื่อหรือไม่ ผมไม่ได้บอกว่าท่านสั่งปิด แต่ยุคท่านมีการปิดมากที่สุด แต่ก็ยอมรับเองว่าท่านก็ค่อยๆเปิด ผมก็ศึกษาประวัติศาสตร์และรู้ว่าท่านก็กระทบกระทั่งกับสื่อมาตลอด ท่านก็ไปเปิดหนังสือพิมพ์เดลิมิเลอร และท่านก็ออกไปจากพรรคประชาธิปัตย์ ท่านอาจจะอายุมากกว่าผม ผมก็ยอมรับ ท่านได้รับเสียงมากกว่าผมก็ยอมรับ แต่เราทำหน้าที่ตามวิถีทางประชาธิปไตย ไม่จำเป็นต้องหยิบยกเรื่องเหล่านี้มาถากถาง ท่านให้เหตุผลในการเปิดหนังสือพิมพ์ว่าเป็นห่วงฝ่ายปฎิวัติ นี่ก็เป็นตัวอย่าง ผมเกิดจากพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่คิดจะไปจากพรรคนี้ ช่วงที่พรรคประชากรไทยชนะพรรคประชาธิปัตย์ท่านก็เยาะเย้ยว่าพรรคประชาธิปัตย์จะอยู่ได้ไม่ยั่งยืนเหมือนพรรคท่าน แล้ววันนี้ท่านอาศัยพรรคท่านหรือไม่"
"สมัคร"ปากแข็งไม่เคยเยาะเย้ย ปชป.
ขณะที่นายสมัคร ลุกขึ้นโต้ว่า คนอย่างตนไม่เคยเยอะเย้ยพรรคประชาธิปัตย์ ไปหาหลักฐานมาได้ แต่เหตุผลที่ชี้แจงเรื่องทุจริต เพราะมีการกล่าวหาว่าจะยุบ คตส. ตนก็ยืนยันไปแล้วว่าเป็นปฏิปักษ์กับสื่อ ความคิดไม่ตรงกับสื่อ มีรัฐธรรมนูญมาตราไหนที่ห้ามคนเป็นนายกฯ รัฐมนตรี หรือนักการเมือง มีความคิดเป็นปฏิปักษ์ต่อสื่อ ที่พูดเพราะต้องการให้ได้สติบ้างครั้งก็นึกว่าตัวเองเก่งกาจ แต่คนทั้งบ้านทั้งเมืองเขาฟังอยู่เขาคิดว่าหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านอบรมนายกฯ
"ชวน"โชว์หลักฐานหมักเย้ย ปชป.
จากนั้น นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ได้ ลุกขึ้นขอใช้สิทธิ์พาดพิงว่า ในประเด็นเรื่องการปิดหนังสือพิมพ์นั้นตนไม่สามารถที่จะตอบได้เพราะตอนท่านหารือกันอยู่นั้นตนกำลังหนีอยู่ เพราะถูกกล่าวหาว่า เป็นคอมมิวนิสต์ ส่วนกรณีของคนที่เคยอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ ตนยอมรับในน้ำใจของคนที่สำนึกบุญคุณกับพรรค แต่บางคนไม่สึกนึกในบุญคุณ ทั้งที่พรรค ไม่เคยให้ร้ายกับคนเหล่านี้มีแต่ส่งเสริม
นายชวน กล่าวว่า ส่วนกรณีที่นายกฯ ระบุว่า ชนะการเลือกตั้ง ปี 2522 นั้นตนยอมรับว่าเป็นเรื่องจริง แต่ นายกฯ อาจจะลืมไปแล้วระหว่างอยู่ในสภา นายสมัครหัวเราะเยาะในวันหนึ่ง ประชาธิปัตย์อีกหน่อยเป็นพรรคต่ำ ไปดูรายงานการประชุมได้ เหมือนเคยเอาพระมาสาบานในสภาขณะที่ตนเป็นประธานสภาซึ่งตนบอกว่า อย่าสาบานเพราะอยู่กันหลายคน ถ้าสาบานเปรี้ยงไปก็ตายหมด ตนจำที่นายกฯ พูดถึงพรรคประชาธิปัตย์ว่าอีกหน่อยพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นพรรคต่ำสิบ แล้วในที่สุดพรรคประชาธิปัตย์ ไม่เคยต่ำสิบ แต่พรรคของนายสมัคร ในที่สุดก็ต่ำสิบ
"ผมไม่ได้วิจารณ์อะไรท่านมาก เพราะถือว่าเป็นนักการเมืองที่มาจากระบบเลือกตั้งด้วยกันแต่ท่านไปวัดได้ 200 กว่ากับ 165 มาเป็นความดี ไม่ดี ในฐานะเป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์ ผมภูมิใจที่อยู่พรรคนี้ เพราะพรรคส่วนให้ทำงาน การเมืองที่ซื่อสัตย์สุจริต ให้รักบ้านเมือง รักสถาบัน ดำรงความเป็นชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เอาไว้ นายกฯ รู้ดี ความขัดแย้งของท่าน และคนในพรรคหรือการวางบันไดตามขั้นเพื่อเป็นนายกฯในสมัยนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งจะไม่วิจารณ์"
"สมัคร"สาบานไม่เกี่ยวฆ่าหมู่ 6 ตุลาฯ
นายสมัคร ลุกขึ้นแย้งว่าไม่เคยออกจากพรรคประชาธิปัตย์ตอนที่พรรคพัง เพราะตอนที่ออกมานั้นยังไม่พัง แต่เหตุที่ตนต้องออกเพราะปฎิเสธไม่เป็นรัฐมนตรี ในปี 2519 มีบุคคลสำคัญจะเดินทางกลับเข้ามาในประเทศ ส.ส.อภิปรายโจมตี อย่างรุนแรงม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ประกาศลาออกในสภา และวันรุ่งขึ้นในการประชุมครม.ตนได้เสนอให้ม.ร.ว.เสนีย์ เป็นนายกฯ อีกครั้ง อาจจะทำให้ใครในพรรคประชาธิปัตย์ไม่พอใจเพราะเขากำลังจะเปลี่ยนแปลงอะไรตนไม่ทราบ คงคิดว่านายสมัคร มันเสือกแท้ ๆ เขาจัดประชุมกันตอนบ่ายสองโมง แต่บ่ายโมงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เรียบร้อย ทำให้ตนไม่สามารถ เป็นรัฐมนตรีได้อีกทั้งที่ม.ร.ว.เสนีย์ ต้องการให้เป็น นั่นคือสาเหตุที่ตนต้องลาออกจาก พรรคประชาธิปัตย์
"หลังจากนั้นวันที่ 1 ตุลาคม 2519 ก็มีเรื่องมีราวกันมาตลอด ซึ่งผมไม่เกี่ยวข้อง ด้วยเลย ผมเป็นคนชอบสาบาน ถ้าผมไปเกี่ยวข้องกับเรื่อง 6 ตุลา แม้แต่นิดเดียว ต้องให้มีอันเป็นไป อย่าได้มีความเจริญในชีวิตนี้ นับแต่วันนี้ต่อไป วันนี้ดีจริง ๆ ที่ได้พูดเรื่องนี้ ผมเป็นรัฐมนตรีมหาดไทยวันที่ 22 ตุลา 2519 ดังนั้นเหตุการณ์ 6 ตุลา ผมจึงไม่มีสถานะจะไปทำร้ายใครได้เลย 14 ตุลา ก็ไม่เคยเกี่ยวข้อง 6 ตุลา ก็ไม่เคยเกี่ยวข้อง ถ้าผมเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ด้วยประการใดๆ ให้มีอันเป็นไปนับตั้งแต่วันนี้ แต่ถ้าผมไม่เกี่ยวข้องเลยขอให้นายสมัครมีความรุ่งเรืองในทางการเมือง และในชีวิตทั้งหมด"