เชียงราย– “ณรงค์ชัย" ควง "หม่อมอุ๋ย" ขึ้นเวทีกระตุ้นทุนไทยปรับตัวบุกตลาดเพื่อนบ้านรับการเปิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ภายใต้กรอบสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ชี้อนาคต “เชียงราย” เดินหน้าสู่พื้นที่ศูนย์กลางกระจายสินค้า หรือสิงคโปร์น้อย แนะผู้ประกอบการเร่งพัฒนาศักยภาพกุมโอกาสใหม่ที่กำลังเกิด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการสัมมนาเรื่อง “ปรับตัวให้ทันยุค บุกตลาดประเทศเพื่อนบ้าน” ที่สำนักโลจิสติกส์การค้า กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ จัดขึ้น ที่โรงแรมเดอะริเวอร์ เฮ้าส์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.เชียงราย เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยมีดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) และ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก นางกุลณี อิศดิศัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก นายฉัตรชัย บุณรัตน์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย ร่วมบรรยาย และมีนายปรีชา กมลบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และนักธุรกิจชั้นนำของจังหวัด ราว 70 คน เข้ารับฟัง
ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) ได้กล่าวถึงศักยภาพของจังหวัดเชียงราย ที่จะเป็นศูนย์กลางการเดินรถจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (ตอนใต้) ซึ่งตัดถนน R3a จากจีนตอนใต้ ผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว )เชื่อมต่อ อ.เชียงของ จ.เชียงราย รับกับสะพานข้ามแม่น้ำโขง ไทย-ลาว ที่จะเสร็จราวปี 2554 อีกเส้นทางหนึ่งคือ ถนนจากจีนตอนใต้ ผ่านพม่า มาเชื่อมที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย หรือ R3b ซึ่งถนนมีสภาพเกือบสมบูรณ์ แต่ยังติดขัดเรื่องผ่านแดน แต่ทราบว่าหอการค้าจังหวัดเชียงราย พยายามผลักดันการใช้เส้นทางถนนด้านนี้เหมือนกัน
เขามองว่า ถนน 2 สายนี้จึงมีลักษณะคล้ายคีม ที่มีจุดเชื่อม คือจังหวัดเชียงราย ซึ่งประเทศจีนมุ่งที่จะลำเลียงสินค้าผ่านบริเวณนี้เพื่อไปยังมหาสมุทรของไทย ดังนั้น อยากให้ภาคเอกชนไทย พยายามเร่งพัฒนาศักยภาพของตนเอง เนื่องจากการรอภาครัฐอย่างเดียวจะช้า เพราะรัฐบาลผสมภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เพิ่งจะเริ่มงานถึงแม้จะมีการสนับสนุนด้านการค้าอย่างเต็มที่ แต่ก็เป็นรัฐบาลหลายพรรคที่มีความเสี่ยงสูง เพราะยังมีปัญหาหลายประการ
โดยประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สปป.ลาว หรือ พม่า น่าจะเป็นประเทศที่นักธุรกิจไทยจะร่วมมือกันเป็นเป็นเครือข่ายการท่องเที่ยวและการค้าต่อกัน เพราะยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจบริเวณนี้จำนวนมาก แต่การส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐก็ต้องทำอย่างเต็มที่ เช่น ระบบลอจิสติกส์ ถึงแม้บางอย่างอาจจะต้องขาดทุนก็ต้องทำ เช่น ค่าโดยสารเครื่องบิน เพราะรายได้จะเกิดในภาคการท่องเที่ยว
ด้าน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเข้ามาลงทุนทำโรงแรมที่จังหวัดเชียงรายด้วย กล่าวว่า เชื่อมั่นในศักยภาพของจังหวัดเชียงราย แต่ภาคธุรกิจไทยจะต้องเร่งหาทางออกไปทำการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านมากกว่าจะตั้งรับ เนื่องจากการค้าบางอย่างต้องเข้าไปทำตลาดในต่างประเทศ และพิจารณาถึงความได้เปรียบเสียเปรียบในการลงทุนด้วย
เขาเชื่อว่า ไทยไม่จำเป็นต้องผลิตสินค้าทุกชนิดเพื่อส่งขาย แต่เลือกที่จะเป็นคนกลางในการกระจายสินค้า แบบประเทศสิงคโปร์ เช่น การลำเลียงผลไม้จากจีน ทั้งแอปเปิล สาลี่ ส่งกระจายไปทั่วภูมิภาคด้วยรถยนต์ ก็น่าจะเป็นรายได้ของไทย
ส่วนนางกุลณี อิศดิศัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก ระบุว่า ธุรกิจประเภทสิ่งทออัญมณี และสินค้าอีกหลายชนิดที่ไทยเริ่มสูญเสียการเป็นฐานการผลิต ก็น่าจะไปลงทุนตั้งฐานการผลิตในประเทศเพื่อนบ้านเช่นจีนจะดีกว่า นอกจากนี้ธุรกิจ สปา นวดแผนไทย อู่ซ่อมรถ ก็เป็นธุรกิจที่สามารถทำเงินได้ดีหากมีการไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน
นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย สนับสนุนแนวคิดการที่จังหวัดเชียงราย จะเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้า หรือ เป็น “สิงคโปร์น้อย” เพราะลักษณะพื้นที่ของเชียงราย มีทั้งเส้นทางถนน และทางแม่น้ำโขง ที่เชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน พม่า-ลาว และจีนได้ง่ายมาก หอการค้าพยายามเร่งส่งเสริมนักธุรกิจให้มีความพร้อมเต็มที่ ที่จะรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นกับจังหวัด ที่เริ่มมีนักลงทุนไทย-ต่างประเทศ เข้ามาลงทุนในตัวจังหวัดและประเทศเพื่อนบ้าน เช่น แนวถนน R3a ใน สปป.ลาว ซึ่งภาคเอกชนหลายรายก็อยากให้มีการสนับสนุนเงินลงทุนต่างๆให้ดีด้วย
ขณะที่นายชูชัย อุดมโภชน์ นายด่านศุลกากรแม่สาย จ.เชียงราย ระบุว่า แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยว อ.แม่สาย จำนวนมาก ส่วนหนึ่งข้ามแดนไปยังจังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศสหภาพพม่า ที่มีสินค้าจีนนานาชนิดวางจำหน่าย เช่นเสื้อผ้า ของใช้ อาหาร เครื่องดื่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และผู้ว่าราชการจังหวัดก็ถือเป็นนโยบายที่จะส่งเสริม ถึงแม้ว่าจะมีพ่อค้าไทยชี้ว่า นักท่องเที่ยวซื้อสินค้าจีนเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ก็เป็นเรื่องปกติของเมืองชายแดนที่ต้องมีจุดขาย แต่ก็มีการคุมเข้มป้องกันปราบปรามการลักลอบนำสินค้าจีนที่ไม่เสียภาษีเข้ามาขายเช่นกัน ส่วน ท่าเรือเชียแสน จะมีผัก ผลไม้ ที่ผ่านข้อตกลงเสรีการค้า ผัก ผลไม้ หรือ FTA เข้ามา ซึ่งก็เป็นข้อตกลงที่ได้ประโยชน์ทั้งไทยและจีน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการสัมมนาเรื่อง “ปรับตัวให้ทันยุค บุกตลาดประเทศเพื่อนบ้าน” ที่สำนักโลจิสติกส์การค้า กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ จัดขึ้น ที่โรงแรมเดอะริเวอร์ เฮ้าส์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.เชียงราย เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยมีดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) และ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก นางกุลณี อิศดิศัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก นายฉัตรชัย บุณรัตน์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย ร่วมบรรยาย และมีนายปรีชา กมลบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และนักธุรกิจชั้นนำของจังหวัด ราว 70 คน เข้ารับฟัง
ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) ได้กล่าวถึงศักยภาพของจังหวัดเชียงราย ที่จะเป็นศูนย์กลางการเดินรถจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (ตอนใต้) ซึ่งตัดถนน R3a จากจีนตอนใต้ ผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว )เชื่อมต่อ อ.เชียงของ จ.เชียงราย รับกับสะพานข้ามแม่น้ำโขง ไทย-ลาว ที่จะเสร็จราวปี 2554 อีกเส้นทางหนึ่งคือ ถนนจากจีนตอนใต้ ผ่านพม่า มาเชื่อมที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย หรือ R3b ซึ่งถนนมีสภาพเกือบสมบูรณ์ แต่ยังติดขัดเรื่องผ่านแดน แต่ทราบว่าหอการค้าจังหวัดเชียงราย พยายามผลักดันการใช้เส้นทางถนนด้านนี้เหมือนกัน
เขามองว่า ถนน 2 สายนี้จึงมีลักษณะคล้ายคีม ที่มีจุดเชื่อม คือจังหวัดเชียงราย ซึ่งประเทศจีนมุ่งที่จะลำเลียงสินค้าผ่านบริเวณนี้เพื่อไปยังมหาสมุทรของไทย ดังนั้น อยากให้ภาคเอกชนไทย พยายามเร่งพัฒนาศักยภาพของตนเอง เนื่องจากการรอภาครัฐอย่างเดียวจะช้า เพราะรัฐบาลผสมภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เพิ่งจะเริ่มงานถึงแม้จะมีการสนับสนุนด้านการค้าอย่างเต็มที่ แต่ก็เป็นรัฐบาลหลายพรรคที่มีความเสี่ยงสูง เพราะยังมีปัญหาหลายประการ
โดยประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สปป.ลาว หรือ พม่า น่าจะเป็นประเทศที่นักธุรกิจไทยจะร่วมมือกันเป็นเป็นเครือข่ายการท่องเที่ยวและการค้าต่อกัน เพราะยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจบริเวณนี้จำนวนมาก แต่การส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐก็ต้องทำอย่างเต็มที่ เช่น ระบบลอจิสติกส์ ถึงแม้บางอย่างอาจจะต้องขาดทุนก็ต้องทำ เช่น ค่าโดยสารเครื่องบิน เพราะรายได้จะเกิดในภาคการท่องเที่ยว
ด้าน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเข้ามาลงทุนทำโรงแรมที่จังหวัดเชียงรายด้วย กล่าวว่า เชื่อมั่นในศักยภาพของจังหวัดเชียงราย แต่ภาคธุรกิจไทยจะต้องเร่งหาทางออกไปทำการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านมากกว่าจะตั้งรับ เนื่องจากการค้าบางอย่างต้องเข้าไปทำตลาดในต่างประเทศ และพิจารณาถึงความได้เปรียบเสียเปรียบในการลงทุนด้วย
เขาเชื่อว่า ไทยไม่จำเป็นต้องผลิตสินค้าทุกชนิดเพื่อส่งขาย แต่เลือกที่จะเป็นคนกลางในการกระจายสินค้า แบบประเทศสิงคโปร์ เช่น การลำเลียงผลไม้จากจีน ทั้งแอปเปิล สาลี่ ส่งกระจายไปทั่วภูมิภาคด้วยรถยนต์ ก็น่าจะเป็นรายได้ของไทย
ส่วนนางกุลณี อิศดิศัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก ระบุว่า ธุรกิจประเภทสิ่งทออัญมณี และสินค้าอีกหลายชนิดที่ไทยเริ่มสูญเสียการเป็นฐานการผลิต ก็น่าจะไปลงทุนตั้งฐานการผลิตในประเทศเพื่อนบ้านเช่นจีนจะดีกว่า นอกจากนี้ธุรกิจ สปา นวดแผนไทย อู่ซ่อมรถ ก็เป็นธุรกิจที่สามารถทำเงินได้ดีหากมีการไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน
นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย สนับสนุนแนวคิดการที่จังหวัดเชียงราย จะเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้า หรือ เป็น “สิงคโปร์น้อย” เพราะลักษณะพื้นที่ของเชียงราย มีทั้งเส้นทางถนน และทางแม่น้ำโขง ที่เชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน พม่า-ลาว และจีนได้ง่ายมาก หอการค้าพยายามเร่งส่งเสริมนักธุรกิจให้มีความพร้อมเต็มที่ ที่จะรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นกับจังหวัด ที่เริ่มมีนักลงทุนไทย-ต่างประเทศ เข้ามาลงทุนในตัวจังหวัดและประเทศเพื่อนบ้าน เช่น แนวถนน R3a ใน สปป.ลาว ซึ่งภาคเอกชนหลายรายก็อยากให้มีการสนับสนุนเงินลงทุนต่างๆให้ดีด้วย
ขณะที่นายชูชัย อุดมโภชน์ นายด่านศุลกากรแม่สาย จ.เชียงราย ระบุว่า แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยว อ.แม่สาย จำนวนมาก ส่วนหนึ่งข้ามแดนไปยังจังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศสหภาพพม่า ที่มีสินค้าจีนนานาชนิดวางจำหน่าย เช่นเสื้อผ้า ของใช้ อาหาร เครื่องดื่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และผู้ว่าราชการจังหวัดก็ถือเป็นนโยบายที่จะส่งเสริม ถึงแม้ว่าจะมีพ่อค้าไทยชี้ว่า นักท่องเที่ยวซื้อสินค้าจีนเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ก็เป็นเรื่องปกติของเมืองชายแดนที่ต้องมีจุดขาย แต่ก็มีการคุมเข้มป้องกันปราบปรามการลักลอบนำสินค้าจีนที่ไม่เสียภาษีเข้ามาขายเช่นกัน ส่วน ท่าเรือเชียแสน จะมีผัก ผลไม้ ที่ผ่านข้อตกลงเสรีการค้า ผัก ผลไม้ หรือ FTA เข้ามา ซึ่งก็เป็นข้อตกลงที่ได้ประโยชน์ทั้งไทยและจีน