ปลัดฯกลาโหม เตรียมนัดนายกฯ พร้อม ผบ.เหล่าทัพหารือการปรับย้ายนายทหารกลางปี มั่นใจการเมืองไม่แทรกแซงเพราะ “สมัคร” พูดไว้ชัดแล้ว “ชลิต” เชื่อฝีมือคนกองทัพอากาศออกใบปลิวโจมตีการซื้อเครื่องบินรบ กริพเพน จากสวีดเดน สั่งตั้งกรรมการสอบแล้ว ติงรัฐบาลแก้ไข รธน.ต้องทำเพื่อประโยชน์ของคนทั่งชาติ ไม่ใช่เฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หนุนทำประชาพิจารย์ก่อนแก้ไข
พล.อ.วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ขณะนี้กำลังกำหนดวันหารือกับ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม พร้อมกับ ผบ.สส.และผู้บัญชาการเหล่าทัพ โดยต้องดูเวลาว่างให้ตตรงกัน และต้องดูว่านายกรัฐมนตรีมีเวลาหรือไม่ด้วย หากท่านพร้อมก็จะคุยกันทันที
“เรื่องหารือหลักคงเป็นการปรับย้ายนายทหารในช่วงเดือนเมษายนนี้ เพราะตามข้อบังคับใหม่ต้องทำให้เสร็จก่อนวันที่ 15 มีนาคมนี้” พล.อ.วินัยกล่าว และ ว่า นอกจากนั้นยังมีเร่งด่วนที่เป็นนโยบายรัฐบาลในการป้องกันประเทศ
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ว่าการโยกย้ายทหารจะไม่มีการเมืองแทรกแซง พล.อ.วินัย กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีพูดชัดเจนแล้ว ทั้งกับสื่อมวลชนและการประชุมกับผู้บัญชาการเหล่าทัพในครั้งแรกที่เข้ามาทำงาน รวมถึงมีระเบียบข้อบังคับ และ พ.ร.บ.จัดระเบียบกกระทรวงกลาโหม ก็ต้องปฎิบัติ ดังนั้น ทุกเหล่าทัพมีคณะกรรมการพิจารณาของตนเอง ก่อนที่จะเสนอขึ้นมาให้ รมว.กลาโหมเป็นประธานการพิจารณา
ส่วนความมั่นใจในเอกภาพของผู้บัญชาการเหล่าทัพในการพิจารณาปรับย้ายนายทหารนั้น พล.อ.วินัย กล่าวว่า คงคุยกันด้วยเหตุผล และความเหมาะสม เพราะทุกคนมีความปรารถนาดีต่อสถาบันด้วยกันทั้งนั้น เมื่อถามว่า กลัวอำนาจที่มองไม่เห็นเข้ามาแทรกแซงการทำงานของกระทรวงกลาโหมหรือไม่ พล.อ.วินัย กล่าวว่า คงไม่มี เพราะอำนาจสูงสุดอยู่ที่นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ดังนั้น คงไม่มีอำนาจอื่นที่เหนือกว่านี้แล้ว
ทางด้าน พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวถึงการที่ ผบ.เหล่าทัพ จะหารือกับ รมว.กลาโหมว่า คงต้องให้ท่านเข้าใจในส่วนที่กองทัพอากาศรับผิดชอบเพราะแต่ละเหล่ากองทัพมีความแตกต่างกันในความรับผิดชอบ แต่เราคงไม่ไปลงในรายละเอียดที่มากเกินไปนัก แต่ท่านจะต้องมีความเข้าใจและสามารถสนับสนุนได้ ซึ่งคิดว่ารมว.กลาโหมจะสามารถดำเนินการได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการพัฒนาประเทศอีกหลายด้านด้วย
ส่วนที่นายสมัคร จะมีการหารือร่วมกับผบ.เหล่าทัพ เพื่อพิจารณาถึงการ ยกเลิกประกาศกฎอัยการศึกในพื้นที่เหลือหรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า คงจะไปรับฟังว่าแต่ละเหล่าทัพมองภาพอย่างไรการประกาศกฎอัยการมีทั้งดีและไม่ดี โดยทั่วไปไม่มีใครที่อยากทำในสิ่งที่ไม่ดี เราก็อยากทำในสิ่งที่ดีที่สุด สิ่งแวดล้อมแต่ละที่ไม่เหมือนกัน และภัยคุกคามในแต่ละด้านของประเทศมีความแตกต่างกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเมืองไม่ควรเข้าแทรกแซงกองทัพใช่หรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ตนคิดว่าเมื่อรัฐบาลอาสาเข้ามารับภาระในแต่ละกระทรวง ซึ่งเป็นภาระของบรัฐมนตรีที่จะบริหาร ถ้าบริหารดีประชาชนก็จะพึงพอใจและได้รับเลือกตั้งเข้ามาใหม่ แต่ถ้าบริหารไม่ได้ประชาชนก็จะไม่ชื่นชม และเขาก็จะเลือกคนใหม่ ไม่เลือกคนนั้น ซึ่งตัวอย่างในต่างประเทศมีให้เห็นเยอะ ดังนั้น ตรงนี้เป็นภาระของรัฐมนตรี
พล.อ.อ.ชลิต ยังกล่าวถึงกรณีที่มีการแจกใบปลิวโจมตีในการจัดซื้อเครื่องบิน กริฟเพน 39 ซีดี จากสวีเดนว่า ตนทราบเพียงคร่าวๆแต่ยังไม่เห็นใบปลิว ซึ่งใบปลิวดังกล่าวระบุว่าเป็นนายทหารชั้นประทวน ซึ่งตนคิดว่าไม่น่าจะเป็นนายทหารชั้นประทวน เพราะนายทหารชั้นประทวนคงไม่มีข้อคิดตรงจุดนี้ เพราะเป็นเรื่องของการจัดหาระหว่างรัฐบาลและรัฐบาล มีกระทรวงทบวงกรมของไทย ในส่วนของสวีเดนก็มีคณะกรรมการจัดหา ซึ่งการดำเนินการเรื่องนี้เขาก็ระมัดระวัง เราเองก็ระมัดระวัง
“น่าจะเป็นคนในกองทัพอากาศ ขณะนี้ เราตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนและจะได้เชิญมาชี้แจงให้เข้าใจ ซึ่งขณะนี้กำลังหาข้อมูลอยู่ แต่ยังไม่ทราบว่าเป็นใคร ขณะนี้กำลังหาอยู่ จะเห็นได้ว่าใกล้ช่วงโยกย้าย ซึ่งมักจะมีอยู่ในทุกกองทัพและในที่ต่างๆ ซึ่งอาจจะมีส่วนเชื่อมโยงกับการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร” พล.อ.อ.ชลิต กล่าว
ผู้บัญชาการทหารอากาศ ยืนยันว่า การจัดซื้อครั้งนี้มีความโปร่งใส เพราะไม่ได้ทำอยู่คนเดียว มีคณะทำงานหมุนเวียนตลอดเวลา หลังการเซ็นสัญญาแล้วจะมีการประชุมปีนี้ 4 ครั้ง มีคณะทำงานแบ่งเป็นแต่ละฝ่ายเป็นอนุกรรมการ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทางสวีเดน ซึ่งปัจจุบัน เชค ฮังการี แอฟริกาใต้ อังกฤษ และประเทศในแถบสแกนดิเนเวียนให้ความสนใจ
ส่วนที่โจมตีเรื่องการใช้งบประมาณในการสร้างบ้านพักไปใช้ในโครงการดังกล่าวนั้น ก็ขอเรียนว่า กองทัพอากาศได้มีการจัดสรรงบประมาณในเรื่องเบี้ยเลี้ยง เงินเดือน อยู่ที่ประมาณ 50 % ในปี 50 ก็นำมาใช่ในส่วนสวัสดิการข้าราชการ ซ่อมแซมอาคารสถานที่ งบปี 51 ได้เพิ่มงบฯพัฒนาบุคลากร และขณะนี้ทางกองทัพมีโครงการลดค่าใช้จ่ายของข้าราชการและครอบครัวซึ่งได้รับความร่วมมือจากบริษัทใหญ่ๆของประเทศ
พล.อ.อ. ชลิต กล่าว์ถึงกรณีที่รัฐบาลบรรจุการแก้ไขรัฐธรรมนูญในแถลง นโยบาย ของรัฐบาลว่า กฎหมายทุกประการสามารถที่จะแก้ไขได้ทั้งนั้น รัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายใดถ้าผู้มีอำนาจในการที่จะแก้ไขข้อคิดเห็นก็สามารถทำได้ ทั้งนี้ ตนคิดว่า ประชาชนจะเป็นผู้สนับสนุนหรือไม่เห็นชอบ เพราะผู้แทนราษฏรหรือรัฐบาลคือตัวแทนของประชาชน
“ส่วนตัวแล้วผมก็คิดว่าไม่จำเป็นจะต้องแก้ทั้งหมด กฎหมายของเรามีมาตั้งแต่ปี 2475 รัฐธรรมนูญของไทยมีการแก้ไขปรับปรุงมาโดยตลอด และพัฒนามาโดยตลอดเพราะสิ่งแวดล้อมต่างๆของประเทศเปลี่ยนแปลงไป”
ส่วนที่เกรงว่าจะมีการแก้ไขเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มอำนาจเก่านั้น พล.อ.อ. ชลิต กล่าวว่า การแก้กฎหมายหรือสร้างกฎหมายจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการยอมรับของคนในชาติ หากแก้ไปแล้วไม่ถูกต้องตามประสงค์ของประชาชนโดนเฉพาะสื่อที่จะเป็นผู้ถ่ายทอดข้อคิดจากประชาชนถึงรัฐ และจากรัฐสื่อไปถึงประชาชนก็จะมีกลุ่มที่เสนอแนะหรือทักท้วง
ผู้สื่อข่าวถามว่าการแก้กฏหมายของรัฐบาลจะเป็นการไม่รับฟังเสียงส่วนใหญ่ ของประชาชนที่ลงประชามติเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต นิ่งคิดก่อนตอบว่า.. อืม ต้องฟังดูว่าเขาจะแก้ไขด้วยประเด็นใดเพื่ออำนวยประโยชน์ให้กับใคร โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญต้องเป็นประโยชน์ต่อคนทั้งชาติไม่ใช่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า จำเป็นต้องทำประชาพิจารณ์อีกหรือไม่หากจะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผบ.ทอ.กล่าวว่า เป็นไปได้ทั้งสองประเด็น ถ้าทำเพื่อกลุ่มคนโดยรวมและในภาพรวมเห็นชอบก็ไม่จำเป็นต้องทำประชาพิจารณ์แต่บางเรื่องที่มีความก้ำกึ่ง ถ้าทำประชาพิจารณ์ก็จะเป็นการดี เพราะว่ารัฐธรรมนูญที่ผ่านมาเสียงของคนส่วนใหญ่ เห็นชอบมีการลงประชามติมีขั้นตอนต่างๆ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีการนิรโทษกรรมให้กับอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยทั้ง 111 คน จะเป็นการเอื้อประโยชน์กับคนบางกลุ่มหรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ลงในรายละเอียดจะต้องเป็นกฎหมาย เพราะรัฐธรรมนูญจะพูดถึงเรื่องปลีกย่อยไม่ได้
ส่วนกรณีที่มีการเสนอให้อดีตกรรมบริหารพรรคไทยรักไทยทั้ง111 คน เป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจเหมาะสมหรือไม่นั้นพล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า โดยทั่วไปตนคิดว่า ทุกคนมีความหวังดีกับรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐหลายคนมีประสบการณ์ที่ดี และในบอร์ดที่หลากหลายอาชีพหลายกลุ่มที่ช่วยกันทำให้หน่วยงาน หรือองค์กรหน่วยงานนั้นก้าว ต้องพยายามอย่าติล้วงหน้า แต่บางครั้งต้องมีการเสนอแนะที่ดี เรื่องที่ทำและตัดสินใจหรือการประชุมเปิดเผยไม่มีอะไรปิดบังต่อสาธารณชนหากมีการประชุมแล้วมีการลงมติก็จะเปิดเผยออกมาทั้งหมดคิดว่าไม่น่าห่วง และไม่สามารถเข้าไปแสวงผลประโยชน์ใดๆ ได้ เป็นเรื่องของการพิจารณาภาพรวมของรัฐวิสาหกิจ
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มอำนาจเก่ากลับมาทุจริตอีก หรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ค่อนข้างที่จะยาก เพราะการประชุมของบอร์ดใดๆ ต้องเป็นเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งท่านที่ไม่เห็นด้วยสามารถบันทึกไว้ในบันทึกประชุมว่า ไม่เห็นด้วย และข้อทักท้วงประการใด ถ้าเสียงส่วนใหญ่ตัดสินใจไป ผู้ที่ตัดสินใจจะต้องรับผิดชอบในกรณีที่มีผลเสียงต่อองค์กรนั้น
พล.อ.วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ขณะนี้กำลังกำหนดวันหารือกับ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม พร้อมกับ ผบ.สส.และผู้บัญชาการเหล่าทัพ โดยต้องดูเวลาว่างให้ตตรงกัน และต้องดูว่านายกรัฐมนตรีมีเวลาหรือไม่ด้วย หากท่านพร้อมก็จะคุยกันทันที
“เรื่องหารือหลักคงเป็นการปรับย้ายนายทหารในช่วงเดือนเมษายนนี้ เพราะตามข้อบังคับใหม่ต้องทำให้เสร็จก่อนวันที่ 15 มีนาคมนี้” พล.อ.วินัยกล่าว และ ว่า นอกจากนั้นยังมีเร่งด่วนที่เป็นนโยบายรัฐบาลในการป้องกันประเทศ
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ว่าการโยกย้ายทหารจะไม่มีการเมืองแทรกแซง พล.อ.วินัย กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีพูดชัดเจนแล้ว ทั้งกับสื่อมวลชนและการประชุมกับผู้บัญชาการเหล่าทัพในครั้งแรกที่เข้ามาทำงาน รวมถึงมีระเบียบข้อบังคับ และ พ.ร.บ.จัดระเบียบกกระทรวงกลาโหม ก็ต้องปฎิบัติ ดังนั้น ทุกเหล่าทัพมีคณะกรรมการพิจารณาของตนเอง ก่อนที่จะเสนอขึ้นมาให้ รมว.กลาโหมเป็นประธานการพิจารณา
ส่วนความมั่นใจในเอกภาพของผู้บัญชาการเหล่าทัพในการพิจารณาปรับย้ายนายทหารนั้น พล.อ.วินัย กล่าวว่า คงคุยกันด้วยเหตุผล และความเหมาะสม เพราะทุกคนมีความปรารถนาดีต่อสถาบันด้วยกันทั้งนั้น เมื่อถามว่า กลัวอำนาจที่มองไม่เห็นเข้ามาแทรกแซงการทำงานของกระทรวงกลาโหมหรือไม่ พล.อ.วินัย กล่าวว่า คงไม่มี เพราะอำนาจสูงสุดอยู่ที่นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ดังนั้น คงไม่มีอำนาจอื่นที่เหนือกว่านี้แล้ว
ทางด้าน พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวถึงการที่ ผบ.เหล่าทัพ จะหารือกับ รมว.กลาโหมว่า คงต้องให้ท่านเข้าใจในส่วนที่กองทัพอากาศรับผิดชอบเพราะแต่ละเหล่ากองทัพมีความแตกต่างกันในความรับผิดชอบ แต่เราคงไม่ไปลงในรายละเอียดที่มากเกินไปนัก แต่ท่านจะต้องมีความเข้าใจและสามารถสนับสนุนได้ ซึ่งคิดว่ารมว.กลาโหมจะสามารถดำเนินการได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการพัฒนาประเทศอีกหลายด้านด้วย
ส่วนที่นายสมัคร จะมีการหารือร่วมกับผบ.เหล่าทัพ เพื่อพิจารณาถึงการ ยกเลิกประกาศกฎอัยการศึกในพื้นที่เหลือหรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า คงจะไปรับฟังว่าแต่ละเหล่าทัพมองภาพอย่างไรการประกาศกฎอัยการมีทั้งดีและไม่ดี โดยทั่วไปไม่มีใครที่อยากทำในสิ่งที่ไม่ดี เราก็อยากทำในสิ่งที่ดีที่สุด สิ่งแวดล้อมแต่ละที่ไม่เหมือนกัน และภัยคุกคามในแต่ละด้านของประเทศมีความแตกต่างกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเมืองไม่ควรเข้าแทรกแซงกองทัพใช่หรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ตนคิดว่าเมื่อรัฐบาลอาสาเข้ามารับภาระในแต่ละกระทรวง ซึ่งเป็นภาระของบรัฐมนตรีที่จะบริหาร ถ้าบริหารดีประชาชนก็จะพึงพอใจและได้รับเลือกตั้งเข้ามาใหม่ แต่ถ้าบริหารไม่ได้ประชาชนก็จะไม่ชื่นชม และเขาก็จะเลือกคนใหม่ ไม่เลือกคนนั้น ซึ่งตัวอย่างในต่างประเทศมีให้เห็นเยอะ ดังนั้น ตรงนี้เป็นภาระของรัฐมนตรี
พล.อ.อ.ชลิต ยังกล่าวถึงกรณีที่มีการแจกใบปลิวโจมตีในการจัดซื้อเครื่องบิน กริฟเพน 39 ซีดี จากสวีเดนว่า ตนทราบเพียงคร่าวๆแต่ยังไม่เห็นใบปลิว ซึ่งใบปลิวดังกล่าวระบุว่าเป็นนายทหารชั้นประทวน ซึ่งตนคิดว่าไม่น่าจะเป็นนายทหารชั้นประทวน เพราะนายทหารชั้นประทวนคงไม่มีข้อคิดตรงจุดนี้ เพราะเป็นเรื่องของการจัดหาระหว่างรัฐบาลและรัฐบาล มีกระทรวงทบวงกรมของไทย ในส่วนของสวีเดนก็มีคณะกรรมการจัดหา ซึ่งการดำเนินการเรื่องนี้เขาก็ระมัดระวัง เราเองก็ระมัดระวัง
“น่าจะเป็นคนในกองทัพอากาศ ขณะนี้ เราตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนและจะได้เชิญมาชี้แจงให้เข้าใจ ซึ่งขณะนี้กำลังหาข้อมูลอยู่ แต่ยังไม่ทราบว่าเป็นใคร ขณะนี้กำลังหาอยู่ จะเห็นได้ว่าใกล้ช่วงโยกย้าย ซึ่งมักจะมีอยู่ในทุกกองทัพและในที่ต่างๆ ซึ่งอาจจะมีส่วนเชื่อมโยงกับการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร” พล.อ.อ.ชลิต กล่าว
ผู้บัญชาการทหารอากาศ ยืนยันว่า การจัดซื้อครั้งนี้มีความโปร่งใส เพราะไม่ได้ทำอยู่คนเดียว มีคณะทำงานหมุนเวียนตลอดเวลา หลังการเซ็นสัญญาแล้วจะมีการประชุมปีนี้ 4 ครั้ง มีคณะทำงานแบ่งเป็นแต่ละฝ่ายเป็นอนุกรรมการ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทางสวีเดน ซึ่งปัจจุบัน เชค ฮังการี แอฟริกาใต้ อังกฤษ และประเทศในแถบสแกนดิเนเวียนให้ความสนใจ
ส่วนที่โจมตีเรื่องการใช้งบประมาณในการสร้างบ้านพักไปใช้ในโครงการดังกล่าวนั้น ก็ขอเรียนว่า กองทัพอากาศได้มีการจัดสรรงบประมาณในเรื่องเบี้ยเลี้ยง เงินเดือน อยู่ที่ประมาณ 50 % ในปี 50 ก็นำมาใช่ในส่วนสวัสดิการข้าราชการ ซ่อมแซมอาคารสถานที่ งบปี 51 ได้เพิ่มงบฯพัฒนาบุคลากร และขณะนี้ทางกองทัพมีโครงการลดค่าใช้จ่ายของข้าราชการและครอบครัวซึ่งได้รับความร่วมมือจากบริษัทใหญ่ๆของประเทศ
พล.อ.อ. ชลิต กล่าว์ถึงกรณีที่รัฐบาลบรรจุการแก้ไขรัฐธรรมนูญในแถลง นโยบาย ของรัฐบาลว่า กฎหมายทุกประการสามารถที่จะแก้ไขได้ทั้งนั้น รัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายใดถ้าผู้มีอำนาจในการที่จะแก้ไขข้อคิดเห็นก็สามารถทำได้ ทั้งนี้ ตนคิดว่า ประชาชนจะเป็นผู้สนับสนุนหรือไม่เห็นชอบ เพราะผู้แทนราษฏรหรือรัฐบาลคือตัวแทนของประชาชน
“ส่วนตัวแล้วผมก็คิดว่าไม่จำเป็นจะต้องแก้ทั้งหมด กฎหมายของเรามีมาตั้งแต่ปี 2475 รัฐธรรมนูญของไทยมีการแก้ไขปรับปรุงมาโดยตลอด และพัฒนามาโดยตลอดเพราะสิ่งแวดล้อมต่างๆของประเทศเปลี่ยนแปลงไป”
ส่วนที่เกรงว่าจะมีการแก้ไขเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มอำนาจเก่านั้น พล.อ.อ. ชลิต กล่าวว่า การแก้กฎหมายหรือสร้างกฎหมายจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการยอมรับของคนในชาติ หากแก้ไปแล้วไม่ถูกต้องตามประสงค์ของประชาชนโดนเฉพาะสื่อที่จะเป็นผู้ถ่ายทอดข้อคิดจากประชาชนถึงรัฐ และจากรัฐสื่อไปถึงประชาชนก็จะมีกลุ่มที่เสนอแนะหรือทักท้วง
ผู้สื่อข่าวถามว่าการแก้กฏหมายของรัฐบาลจะเป็นการไม่รับฟังเสียงส่วนใหญ่ ของประชาชนที่ลงประชามติเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต นิ่งคิดก่อนตอบว่า.. อืม ต้องฟังดูว่าเขาจะแก้ไขด้วยประเด็นใดเพื่ออำนวยประโยชน์ให้กับใคร โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญต้องเป็นประโยชน์ต่อคนทั้งชาติไม่ใช่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า จำเป็นต้องทำประชาพิจารณ์อีกหรือไม่หากจะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผบ.ทอ.กล่าวว่า เป็นไปได้ทั้งสองประเด็น ถ้าทำเพื่อกลุ่มคนโดยรวมและในภาพรวมเห็นชอบก็ไม่จำเป็นต้องทำประชาพิจารณ์แต่บางเรื่องที่มีความก้ำกึ่ง ถ้าทำประชาพิจารณ์ก็จะเป็นการดี เพราะว่ารัฐธรรมนูญที่ผ่านมาเสียงของคนส่วนใหญ่ เห็นชอบมีการลงประชามติมีขั้นตอนต่างๆ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีการนิรโทษกรรมให้กับอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยทั้ง 111 คน จะเป็นการเอื้อประโยชน์กับคนบางกลุ่มหรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ลงในรายละเอียดจะต้องเป็นกฎหมาย เพราะรัฐธรรมนูญจะพูดถึงเรื่องปลีกย่อยไม่ได้
ส่วนกรณีที่มีการเสนอให้อดีตกรรมบริหารพรรคไทยรักไทยทั้ง111 คน เป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจเหมาะสมหรือไม่นั้นพล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า โดยทั่วไปตนคิดว่า ทุกคนมีความหวังดีกับรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐหลายคนมีประสบการณ์ที่ดี และในบอร์ดที่หลากหลายอาชีพหลายกลุ่มที่ช่วยกันทำให้หน่วยงาน หรือองค์กรหน่วยงานนั้นก้าว ต้องพยายามอย่าติล้วงหน้า แต่บางครั้งต้องมีการเสนอแนะที่ดี เรื่องที่ทำและตัดสินใจหรือการประชุมเปิดเผยไม่มีอะไรปิดบังต่อสาธารณชนหากมีการประชุมแล้วมีการลงมติก็จะเปิดเผยออกมาทั้งหมดคิดว่าไม่น่าห่วง และไม่สามารถเข้าไปแสวงผลประโยชน์ใดๆ ได้ เป็นเรื่องของการพิจารณาภาพรวมของรัฐวิสาหกิจ
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มอำนาจเก่ากลับมาทุจริตอีก หรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ค่อนข้างที่จะยาก เพราะการประชุมของบอร์ดใดๆ ต้องเป็นเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งท่านที่ไม่เห็นด้วยสามารถบันทึกไว้ในบันทึกประชุมว่า ไม่เห็นด้วย และข้อทักท้วงประการใด ถ้าเสียงส่วนใหญ่ตัดสินใจไป ผู้ที่ตัดสินใจจะต้องรับผิดชอบในกรณีที่มีผลเสียงต่อองค์กรนั้น