วันที่เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั้น ผมยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมที่ต่างจังหวัด ยังจำได้มาจนถึงทุกวันนี้ว่า ผมตื่นเต้นกับข่าวที่ออกมาจากกรมประชาสัมพันธ์ในขณะนั้นอย่างมาก ที่ให้ข่าวจนรู้สึกว่าบ้านเมืองของเรากำลังเกิดสงครามกลางเมือง
แต่ที่แปลกใจก็คือ เหตุใดคนที่กำลังจะยึดบ้านยึดเมืองจึงเป็นนักเรียนช่างกลกับนิสิตนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่ผมเอาใจช่วยและเชียร์อย่างเต็มที่ และยิ่งเขาเน้นคำว่า “กลุ่มหนึ่ง” ด้วยแล้ว ผมก็ยิ่งแปลกใจมากขึ้นว่า กะอีแค่คนกลุ่มหนึ่งทำไมจึงสามารถยึดบ้านยึดเมืองได้ยาวนานเป็นวันหว่า? ซ้ำพอวันรุ่งขึ้นวันที่ 15 การยึดบ้านยึดเมืองที่ว่าแทนที่จะทุเลาเบาบางลง แต่กลับกลายเป็นขยายวงกว้างออกไปเสียอีก
ครับ...กว่าทุกอย่างจะลงเอย คนไทยทั้งประเทศก็มีวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ให้ต้องจดจำและยกย่องคนที่ถูกกล่าวหาเมื่อไม่กี่วันว่ากำลังยึดบ้านยึดเมืองให้เป็นวีรชนมาจนถึงทุกวันนี้ (?) และหลังจากวันนั้นเป็นต้นมา บ้านเมืองไทยก็ผันแปรในทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ความผันแปรนี้โดยรวมแล้วมาจากการเผชิญหน้าของคน 2 กลุ่มที่มีอุดมการณ์ต่างกัน ซึ่งต่อมามักจะเรียกให้เข้าใจกันง่ายๆ ว่าเป็นการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวา ถ้าเป็นฝ่ายซ้ายแล้วภาพที่ออกมาก็จะเป็นขบวนการนิสิตนักศึกษา พ่วงตามมาด้วยขบวนการกรรมกรและชาวนา หรือผู้ยากไร้อื่นๆ ที่ออกมาต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรม
แต่ถ้าเป็นฝ่ายขวาแล้วภาพที่ออกมาหากใช้ภาษาที่แพร่หลายในช่วงปีสองปีที่ผ่านมาก็คงพอเรียกได้ว่าคือ “กลุ่มอำนาจเก่า” ซึ่งโดยหลักๆ แล้วก็คือ ทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน กลุ่มอำนาจเก่าพวกนี้ไม่พอใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นวันที่ 14 ตุลาคม เพราะผลจากเหตุการณ์ครั้งนั้นได้กระทบต่อโครงสร้างทางอำนาจของคนกลุ่มนี้อย่างรุนแรง แต่ด้วยเหตุที่ผลดังกล่าวไม่ได้สะเทือนมาถึงเก้าอี้ที่คนเหล่านี้นั่งอยู่ การปรับตัวเพื่อทวงคืนอำนาจเดิมของตนจึงเกิดขึ้น
แต่ที่พิเศษไปกว่านั้นของฝ่ายขวาก็คือว่า ด้วยความที่อำนาจเดิมได้ฝังรากลึกมาช้านาน จึงยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่อยู่วงนอกออกไปที่ยังมีความผูกพันกับคนกลุ่มนี้ คนวงนอกที่ว่านี้มีหลากหลายอาชีพ คือตั้งแต่พ่อค้า-แม่ค้าแบบหาเช้ากินค่ำจนถึงนักธุรกิจ นักเขียน-นักประพันธ์ นักการเมือง ดารานักแสดงรวมทั้งผู้สร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ ฯลฯ
ที่สำคัญคือ มีแม้กระทั่งครูบาอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยอีกด้วย
ดังนั้น พอเริ่มปรับตัวได้ ฝ่ายขวาเหล่านี้จึงไม่เพียงจะโงหัวตัวเองขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่งเท่านั้น หากด้วยกลไกทางอำนาจที่ยังอยู่กับมืออย่างเต็มที่ ฝ่ายขวาจึงได้คนวงนอกข้างต้นมาเป็นพวกไปด้วย และที่ได้นั้นไม่ใช่คนสองคนเสียด้วย แต่ได้มาเป็นขบวนเลยก็ว่าได้ พอรวมตัวกันได้เช่นนั้น ฝ่ายขวาก็เริ่มปฏิบัติการทวงคืนอำนาจเก่าของตนให้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง การทวงคืนนี้มีหลายกรณีที่ชี้ให้เห็นว่าเป็นการ “เอาคืน” ด้วยซ้ำไป คือทวงกันถึงชีวิตและเลือดเนื้อกันเลยทีเดียว
ตอนที่ฝ่ายขวาปรับตัวได้และเริ่มทวงคืนอำนาจเก่าของตนนั้น ฝ่ายขวาใช้เวลาเพียงแค่ปีเดียวหรืออาจไม่ถึงปีด้วยซ้ำไป และตัวผมเองก็ยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมเหมือนเดิม ที่ไม่เหมือนเดิมก็คือ ผมเริ่มห่างเหินกับชีวิตที่วัยรุ่นทั้งหลายในขณะนั้นมีกันและเป็นกัน (ที่นึกขึ้นมาทีไร ยังอดรู้สึกเสียดาย “อิ๊บอ๋าย” ไม่ได้มาจนทุกวันนี้) และเริ่มหันมาสนใจการเมืองแทน ด้วยเหตุนี้ ผมจึงมีความทรงจำเรื่องทำนองนี้ได้ดีพอควร
มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ผมจำได้ไม่ลืมก็คือ การที่ฝ่ายขวาใช้สื่อของรัฐมาเป็นกลไกในการทวงคืนอำนาจอย่างเปิดเผยและดุดัน โดยเป้าหมายหรือปฏิปักษ์ที่จะถูกโจมตีก็หาใช่ใครที่ไหน หากคือ ฝ่ายซ้าย นั่นเอง
ตอนนั้น คุณสมัคร สุนทรเวช ยังอยู่พรรคประชาธิปัตย์ และถือว่าเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ที่หลายคนคาดหวัง ด้วยเป็นที่รู้กันว่า ก่อนหน้านั้น คุณสมัคร ไม่เพียงจะเป็นนักพูดที่มีลีลาชวนฟังและชวนเชื่อเท่านั้น หากยังเป็นนักเขียนนักวิจารณ์การเมืองที่ดีอีกด้วย ฉะนั้น พอ คุณสมัคร ก้าวขึ้นมาเป็นนักการเมืองเต็มตัวหลายคนจึงดีใจต้อนรับ
แต่ในจังหวะที่ฝ่ายขวาปรับตัวได้และ คุณสมัคร เริ่มมีตำแหน่งทางการเมืองนั้นเอง การณ์กลับปรากฏว่า คุณสมัคร เกิดไปมีความคิดอ่านเหมือนกับฝ่ายขวาอย่างเป็นปี่เป็นขลุ่ย และก็เพราะคิดอ่านเช่นว่า ตัวของ คุณสมัคร จึงมีโอกาสได้ออกสื่อของรัฐแสดงความคิดอ่านของตนอยู่เสมอ
ลองคิดดูก็แล้วกันว่า คนที่พูดเก่งอย่าง คุณสมัคร พอได้มาออกสื่อเช่นนั้น การถ่ายทอดความคิดอ่านแบบขวาๆ จะมีประสิทธิภาพขนาดไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ นอกจากลีลาการพูดที่มีลักษณะเฉพาะตัวแล้ว คุณสมัคร ยังสามารถพูดเรื่องยากให้เข้าใจได้ง่ายๆ อีกด้วย ดังนั้น คนวงนอกทั้งที่ผูกพันกับค่านิยมทางการเมืองแบบเก่าๆ หรือที่ยังไม่แน่ใจว่าใครผิดใครถูก พอฟัง คุณสมัคร พูดก็เหมือนกับบรรลุและพร้อมที่จะร่วมหัวจมท้ายไปด้วยในที่สุด
ด้วยเหตุนี้ จึงไม่แปลกที่การประท้วงเพื่อขับไล่ฐานทัพสหรัฐฯ ออกจากไทยก็ดี การเรียกร้องความเป็นธรรมของกรรมกร-ชาวนา หรือผู้ยากไร้อื่นๆ ก็ดี หรือแม้แต่การแสดงความเห็นอย่างมีเหตุมีผลและรองรับด้วยหลักวิชาการของปัญญาชนนักวิชาการก็ดี จึงมักถูก คุณสมัคร และฝ่ายขวาที่มีลีลาคล้ายกันออกมาโจมตีอย่างต่อเนื่อง และที่จะขาดเสียมิได้ในการพูดโจมตีหลายต่อหลายครั้งก็คือ การตั้งข้อหาฝ่ายซ้ายว่าเป็นคอมมิวนิสต์บ้าง กำลังทำลายสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์บ้าง ซึ่งล้วนเป็นเรื่องเลื่อนลอยทั้งสิ้น
นับจากปี 2518 เรื่อยมา การตั้งข้อหาดังกล่าวเริ่มดังขึ้นๆ โดยที่ฝ่ายซ้ายไม่ได้เฉลียวใจว่ามันจะได้ผล ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะฝ่ายซ้ายเชื่อสนิทใจว่า อะไรที่บิดเบือนหรือไม่เป็นความจริง ย่อมไม่มีผลต่อความเชื่อของมวลชน (ซึ่งฝ่ายซ้ายถือเป็นวีรชน)
แต่การณ์หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะพอเวลาผ่านไปๆ เรื่องโกหกพกลมที่สำรอกออกมาจากปากของฝ่ายขวาก็ทำให้มวลชนจำนวนไม่น้อยเชื่อจริงๆ จากนั้นกระบวนการที่ตามมาจึงเป็นการปลุกเร้าให้มีการใช้กำลังความรุนแรงกับฝ่ายซ้ายผ่านสื่อของรัฐแทบจะทุกวัน ทั้งนี้โดยมี คุณสมัคร เป็น 1 ในผู้มีบทบาททำนองนั้นอยู่ด้วยเป็นระยะๆ ถึงตอนนั้นเราก็พบว่า คุณสมัคร ก็มีคนจำนวนไม่น้อยพร้อมที่จะเชื่อจะฟัง เรียกได้ว่าเป็นแฟนานุแฟนตัวจริงเสียงจริงเลยก็ว่าได้
ครั้นถึงปี 2519 การเผชิญหน้าดังกล่าวก็ทวีความตึงเครียดมากขึ้น ตอนนั้นผมเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ แล้ว จึงมีส่วนรู้เห็นเหตุการณ์ในช่วงนั้นใกล้ชิดยิ่งขึ้น และในช่วงนี้เอง คุณสมัคร ก็ได้ก้าวขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีช่วยมหาดไทยในวัยเพียง 41 จากตำแหน่งนี้นับว่าเอื้อต่อ คุณสมัคร อย่างมากในการขยายความคิดอ่านของตนให้กว้างไกลออกไป โดยเฉพาะ คุณสมัคร กล้าชนแม้กระทั่งหัวหน้าพรรคของตนเอง (ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช) ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลด้วย ฉะนั้น นักการเมืองคนอื่นๆ จึงไม่ต้องพูดถึง ว่าจะโดน คุณสมัคร ชนแรงขนาดไหน
คำพูดที่หยาบและดุดันอย่างคำว่า ไอ้ เสือก มัน แก๊ง มึง กู ฯลฯ ถือเป็นเรื่องปกติของ คุณสมัคร จนกลายเป็นบุคลิกประจำตัวไป และเมื่อฝ่ายขวาสามารถปลุกกระแสจนสุกงอมได้ที่แล้ว จากนั้นจึงได้ “เด็ด” ชีพฝ่ายซ้ายในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 และพอถึงเย็นวันเดียวกัน คณะทหารก็ก่อการรัฐประหารเป็นผลสำเร็จ
จากที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้ หากใช้มาตรฐานตามที่ คุณสมัคร กล่าวอ้างว่า ตนไม่ได้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์สังหารหมู่ในวันที่ 6 ตุลาคมกันจริงๆ ทื่อๆ แล้ว คุณสมัคร ก็ไม่ได้ร่วมในเหตุการณ์นั้นจริง แต่ถ้าใช้มาตรฐานที่ว่านี้ต่อไป ประวัติศาสตร์โลกก็คงฉิบหายวายป่วงเป็นแน่
เพราะด้วยมาตรฐานนี้ เลนิน ก็ย่อมไม่มีบทบาทในการปฏิวัติรัสเซีย ท่าน โคไมนี ก็คงไม่มีบทบาทในการปฏิวัติอิหร่าน หรือ ดร.ซุนยัดเซ็น ยิ่งไม่มีทางมีบทบาทในการปฏิวัติสาธารณรัฐจีนอย่างแน่นอน ทั้งนี้ด้วยเหตุที่ว่า ตอนนั้นทั้งสามท่านต่างก็ไม่ได้อยู่ในประเทศของตัวท่านเลย
แต่ที่นักประวัติศาสตร์เห็นว่าท่านทั้งสาม (รวมทั้งท่านอื่นๆ ที่มีบทบาททางการเมืองที่สำคัญอีกนับไม่ถ้วน) มีบทบาทอย่างสำคัญก็เพราะต่างยอมรับในบทบาทชี้นำและเคลื่อนไหวของท่านเหล่านี้ก่อนหน้าเหตุการณ์ชี้ขาดจะเกิดขึ้นด้วย และด้วยมาตรฐานนี้ผมไม่เห็นว่าจะต่างกับบทบาทของ คุณสมัคร ก่อนเกิดเหตุการณ์ “6 ตุลา” ตรงไหนอย่างไร
ฉะนั้น ยิ่ง คุณสมัคร บอกว่า เหตุการณ์ในวันนั้นไม่มีคนตาย นอกจากคนโชคร้ายคนหนึ่งที่ถูกเผาแล้วเผาอีก (ซึ่งตัวเลขผู้เสียชีวิตจากทางการคือ 46 คน ในขณะที่เชื่อกันว่ามีนับร้อย) จึงเป็นการปัดความรับผิดชอบ หลงลืม หรือไม่ก็แกล้งโง่ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคุณวิบัติของการเป็นผู้นำทั้งสิ้น
ที่ผมบอกเล่าและคิดเห็นเช่นนี้คงไม่ทำให้ผู้ที่เสียชีวิต ผู้สูญเสีย ผู้ถูกทำร้ายทางกายและจิตใจ รวมตลอดจนผู้ถูกจองจำในวันนั้นให้หลุดพ้นจากการเป็น “จำเลย” ไปได้ ซึ่งจนทุกวันนี้ก็ยังคงเป็น “จำเลย” อยู่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ที่ผมบอกเล่าและคิดเห็นเช่นนั้นในฐานะที่เป็นทั้ง “โจทย์” และ “พยาน” ทางประวัติศาสตร์คนหนึ่งเท่านั้น ที่ซึ่งยังไงเสียคนอย่าง คุณสมัคร หรือใครอื่นก็ไม่มีทางจะลบล้างฐานะนี้ไปได้
ยกเว้นเสียแต่คนเดือนตุลาคมเท่านั้น
แต่ที่แปลกใจก็คือ เหตุใดคนที่กำลังจะยึดบ้านยึดเมืองจึงเป็นนักเรียนช่างกลกับนิสิตนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่ผมเอาใจช่วยและเชียร์อย่างเต็มที่ และยิ่งเขาเน้นคำว่า “กลุ่มหนึ่ง” ด้วยแล้ว ผมก็ยิ่งแปลกใจมากขึ้นว่า กะอีแค่คนกลุ่มหนึ่งทำไมจึงสามารถยึดบ้านยึดเมืองได้ยาวนานเป็นวันหว่า? ซ้ำพอวันรุ่งขึ้นวันที่ 15 การยึดบ้านยึดเมืองที่ว่าแทนที่จะทุเลาเบาบางลง แต่กลับกลายเป็นขยายวงกว้างออกไปเสียอีก
ครับ...กว่าทุกอย่างจะลงเอย คนไทยทั้งประเทศก็มีวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ให้ต้องจดจำและยกย่องคนที่ถูกกล่าวหาเมื่อไม่กี่วันว่ากำลังยึดบ้านยึดเมืองให้เป็นวีรชนมาจนถึงทุกวันนี้ (?) และหลังจากวันนั้นเป็นต้นมา บ้านเมืองไทยก็ผันแปรในทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ความผันแปรนี้โดยรวมแล้วมาจากการเผชิญหน้าของคน 2 กลุ่มที่มีอุดมการณ์ต่างกัน ซึ่งต่อมามักจะเรียกให้เข้าใจกันง่ายๆ ว่าเป็นการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวา ถ้าเป็นฝ่ายซ้ายแล้วภาพที่ออกมาก็จะเป็นขบวนการนิสิตนักศึกษา พ่วงตามมาด้วยขบวนการกรรมกรและชาวนา หรือผู้ยากไร้อื่นๆ ที่ออกมาต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรม
แต่ถ้าเป็นฝ่ายขวาแล้วภาพที่ออกมาหากใช้ภาษาที่แพร่หลายในช่วงปีสองปีที่ผ่านมาก็คงพอเรียกได้ว่าคือ “กลุ่มอำนาจเก่า” ซึ่งโดยหลักๆ แล้วก็คือ ทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน กลุ่มอำนาจเก่าพวกนี้ไม่พอใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นวันที่ 14 ตุลาคม เพราะผลจากเหตุการณ์ครั้งนั้นได้กระทบต่อโครงสร้างทางอำนาจของคนกลุ่มนี้อย่างรุนแรง แต่ด้วยเหตุที่ผลดังกล่าวไม่ได้สะเทือนมาถึงเก้าอี้ที่คนเหล่านี้นั่งอยู่ การปรับตัวเพื่อทวงคืนอำนาจเดิมของตนจึงเกิดขึ้น
แต่ที่พิเศษไปกว่านั้นของฝ่ายขวาก็คือว่า ด้วยความที่อำนาจเดิมได้ฝังรากลึกมาช้านาน จึงยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่อยู่วงนอกออกไปที่ยังมีความผูกพันกับคนกลุ่มนี้ คนวงนอกที่ว่านี้มีหลากหลายอาชีพ คือตั้งแต่พ่อค้า-แม่ค้าแบบหาเช้ากินค่ำจนถึงนักธุรกิจ นักเขียน-นักประพันธ์ นักการเมือง ดารานักแสดงรวมทั้งผู้สร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ ฯลฯ
ที่สำคัญคือ มีแม้กระทั่งครูบาอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยอีกด้วย
ดังนั้น พอเริ่มปรับตัวได้ ฝ่ายขวาเหล่านี้จึงไม่เพียงจะโงหัวตัวเองขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่งเท่านั้น หากด้วยกลไกทางอำนาจที่ยังอยู่กับมืออย่างเต็มที่ ฝ่ายขวาจึงได้คนวงนอกข้างต้นมาเป็นพวกไปด้วย และที่ได้นั้นไม่ใช่คนสองคนเสียด้วย แต่ได้มาเป็นขบวนเลยก็ว่าได้ พอรวมตัวกันได้เช่นนั้น ฝ่ายขวาก็เริ่มปฏิบัติการทวงคืนอำนาจเก่าของตนให้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง การทวงคืนนี้มีหลายกรณีที่ชี้ให้เห็นว่าเป็นการ “เอาคืน” ด้วยซ้ำไป คือทวงกันถึงชีวิตและเลือดเนื้อกันเลยทีเดียว
ตอนที่ฝ่ายขวาปรับตัวได้และเริ่มทวงคืนอำนาจเก่าของตนนั้น ฝ่ายขวาใช้เวลาเพียงแค่ปีเดียวหรืออาจไม่ถึงปีด้วยซ้ำไป และตัวผมเองก็ยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมเหมือนเดิม ที่ไม่เหมือนเดิมก็คือ ผมเริ่มห่างเหินกับชีวิตที่วัยรุ่นทั้งหลายในขณะนั้นมีกันและเป็นกัน (ที่นึกขึ้นมาทีไร ยังอดรู้สึกเสียดาย “อิ๊บอ๋าย” ไม่ได้มาจนทุกวันนี้) และเริ่มหันมาสนใจการเมืองแทน ด้วยเหตุนี้ ผมจึงมีความทรงจำเรื่องทำนองนี้ได้ดีพอควร
มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ผมจำได้ไม่ลืมก็คือ การที่ฝ่ายขวาใช้สื่อของรัฐมาเป็นกลไกในการทวงคืนอำนาจอย่างเปิดเผยและดุดัน โดยเป้าหมายหรือปฏิปักษ์ที่จะถูกโจมตีก็หาใช่ใครที่ไหน หากคือ ฝ่ายซ้าย นั่นเอง
ตอนนั้น คุณสมัคร สุนทรเวช ยังอยู่พรรคประชาธิปัตย์ และถือว่าเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ที่หลายคนคาดหวัง ด้วยเป็นที่รู้กันว่า ก่อนหน้านั้น คุณสมัคร ไม่เพียงจะเป็นนักพูดที่มีลีลาชวนฟังและชวนเชื่อเท่านั้น หากยังเป็นนักเขียนนักวิจารณ์การเมืองที่ดีอีกด้วย ฉะนั้น พอ คุณสมัคร ก้าวขึ้นมาเป็นนักการเมืองเต็มตัวหลายคนจึงดีใจต้อนรับ
แต่ในจังหวะที่ฝ่ายขวาปรับตัวได้และ คุณสมัคร เริ่มมีตำแหน่งทางการเมืองนั้นเอง การณ์กลับปรากฏว่า คุณสมัคร เกิดไปมีความคิดอ่านเหมือนกับฝ่ายขวาอย่างเป็นปี่เป็นขลุ่ย และก็เพราะคิดอ่านเช่นว่า ตัวของ คุณสมัคร จึงมีโอกาสได้ออกสื่อของรัฐแสดงความคิดอ่านของตนอยู่เสมอ
ลองคิดดูก็แล้วกันว่า คนที่พูดเก่งอย่าง คุณสมัคร พอได้มาออกสื่อเช่นนั้น การถ่ายทอดความคิดอ่านแบบขวาๆ จะมีประสิทธิภาพขนาดไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ นอกจากลีลาการพูดที่มีลักษณะเฉพาะตัวแล้ว คุณสมัคร ยังสามารถพูดเรื่องยากให้เข้าใจได้ง่ายๆ อีกด้วย ดังนั้น คนวงนอกทั้งที่ผูกพันกับค่านิยมทางการเมืองแบบเก่าๆ หรือที่ยังไม่แน่ใจว่าใครผิดใครถูก พอฟัง คุณสมัคร พูดก็เหมือนกับบรรลุและพร้อมที่จะร่วมหัวจมท้ายไปด้วยในที่สุด
ด้วยเหตุนี้ จึงไม่แปลกที่การประท้วงเพื่อขับไล่ฐานทัพสหรัฐฯ ออกจากไทยก็ดี การเรียกร้องความเป็นธรรมของกรรมกร-ชาวนา หรือผู้ยากไร้อื่นๆ ก็ดี หรือแม้แต่การแสดงความเห็นอย่างมีเหตุมีผลและรองรับด้วยหลักวิชาการของปัญญาชนนักวิชาการก็ดี จึงมักถูก คุณสมัคร และฝ่ายขวาที่มีลีลาคล้ายกันออกมาโจมตีอย่างต่อเนื่อง และที่จะขาดเสียมิได้ในการพูดโจมตีหลายต่อหลายครั้งก็คือ การตั้งข้อหาฝ่ายซ้ายว่าเป็นคอมมิวนิสต์บ้าง กำลังทำลายสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์บ้าง ซึ่งล้วนเป็นเรื่องเลื่อนลอยทั้งสิ้น
นับจากปี 2518 เรื่อยมา การตั้งข้อหาดังกล่าวเริ่มดังขึ้นๆ โดยที่ฝ่ายซ้ายไม่ได้เฉลียวใจว่ามันจะได้ผล ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะฝ่ายซ้ายเชื่อสนิทใจว่า อะไรที่บิดเบือนหรือไม่เป็นความจริง ย่อมไม่มีผลต่อความเชื่อของมวลชน (ซึ่งฝ่ายซ้ายถือเป็นวีรชน)
แต่การณ์หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะพอเวลาผ่านไปๆ เรื่องโกหกพกลมที่สำรอกออกมาจากปากของฝ่ายขวาก็ทำให้มวลชนจำนวนไม่น้อยเชื่อจริงๆ จากนั้นกระบวนการที่ตามมาจึงเป็นการปลุกเร้าให้มีการใช้กำลังความรุนแรงกับฝ่ายซ้ายผ่านสื่อของรัฐแทบจะทุกวัน ทั้งนี้โดยมี คุณสมัคร เป็น 1 ในผู้มีบทบาททำนองนั้นอยู่ด้วยเป็นระยะๆ ถึงตอนนั้นเราก็พบว่า คุณสมัคร ก็มีคนจำนวนไม่น้อยพร้อมที่จะเชื่อจะฟัง เรียกได้ว่าเป็นแฟนานุแฟนตัวจริงเสียงจริงเลยก็ว่าได้
ครั้นถึงปี 2519 การเผชิญหน้าดังกล่าวก็ทวีความตึงเครียดมากขึ้น ตอนนั้นผมเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ แล้ว จึงมีส่วนรู้เห็นเหตุการณ์ในช่วงนั้นใกล้ชิดยิ่งขึ้น และในช่วงนี้เอง คุณสมัคร ก็ได้ก้าวขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีช่วยมหาดไทยในวัยเพียง 41 จากตำแหน่งนี้นับว่าเอื้อต่อ คุณสมัคร อย่างมากในการขยายความคิดอ่านของตนให้กว้างไกลออกไป โดยเฉพาะ คุณสมัคร กล้าชนแม้กระทั่งหัวหน้าพรรคของตนเอง (ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช) ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลด้วย ฉะนั้น นักการเมืองคนอื่นๆ จึงไม่ต้องพูดถึง ว่าจะโดน คุณสมัคร ชนแรงขนาดไหน
คำพูดที่หยาบและดุดันอย่างคำว่า ไอ้ เสือก มัน แก๊ง มึง กู ฯลฯ ถือเป็นเรื่องปกติของ คุณสมัคร จนกลายเป็นบุคลิกประจำตัวไป และเมื่อฝ่ายขวาสามารถปลุกกระแสจนสุกงอมได้ที่แล้ว จากนั้นจึงได้ “เด็ด” ชีพฝ่ายซ้ายในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 และพอถึงเย็นวันเดียวกัน คณะทหารก็ก่อการรัฐประหารเป็นผลสำเร็จ
จากที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้ หากใช้มาตรฐานตามที่ คุณสมัคร กล่าวอ้างว่า ตนไม่ได้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์สังหารหมู่ในวันที่ 6 ตุลาคมกันจริงๆ ทื่อๆ แล้ว คุณสมัคร ก็ไม่ได้ร่วมในเหตุการณ์นั้นจริง แต่ถ้าใช้มาตรฐานที่ว่านี้ต่อไป ประวัติศาสตร์โลกก็คงฉิบหายวายป่วงเป็นแน่
เพราะด้วยมาตรฐานนี้ เลนิน ก็ย่อมไม่มีบทบาทในการปฏิวัติรัสเซีย ท่าน โคไมนี ก็คงไม่มีบทบาทในการปฏิวัติอิหร่าน หรือ ดร.ซุนยัดเซ็น ยิ่งไม่มีทางมีบทบาทในการปฏิวัติสาธารณรัฐจีนอย่างแน่นอน ทั้งนี้ด้วยเหตุที่ว่า ตอนนั้นทั้งสามท่านต่างก็ไม่ได้อยู่ในประเทศของตัวท่านเลย
แต่ที่นักประวัติศาสตร์เห็นว่าท่านทั้งสาม (รวมทั้งท่านอื่นๆ ที่มีบทบาททางการเมืองที่สำคัญอีกนับไม่ถ้วน) มีบทบาทอย่างสำคัญก็เพราะต่างยอมรับในบทบาทชี้นำและเคลื่อนไหวของท่านเหล่านี้ก่อนหน้าเหตุการณ์ชี้ขาดจะเกิดขึ้นด้วย และด้วยมาตรฐานนี้ผมไม่เห็นว่าจะต่างกับบทบาทของ คุณสมัคร ก่อนเกิดเหตุการณ์ “6 ตุลา” ตรงไหนอย่างไร
ฉะนั้น ยิ่ง คุณสมัคร บอกว่า เหตุการณ์ในวันนั้นไม่มีคนตาย นอกจากคนโชคร้ายคนหนึ่งที่ถูกเผาแล้วเผาอีก (ซึ่งตัวเลขผู้เสียชีวิตจากทางการคือ 46 คน ในขณะที่เชื่อกันว่ามีนับร้อย) จึงเป็นการปัดความรับผิดชอบ หลงลืม หรือไม่ก็แกล้งโง่ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคุณวิบัติของการเป็นผู้นำทั้งสิ้น
ที่ผมบอกเล่าและคิดเห็นเช่นนี้คงไม่ทำให้ผู้ที่เสียชีวิต ผู้สูญเสีย ผู้ถูกทำร้ายทางกายและจิตใจ รวมตลอดจนผู้ถูกจองจำในวันนั้นให้หลุดพ้นจากการเป็น “จำเลย” ไปได้ ซึ่งจนทุกวันนี้ก็ยังคงเป็น “จำเลย” อยู่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ที่ผมบอกเล่าและคิดเห็นเช่นนั้นในฐานะที่เป็นทั้ง “โจทย์” และ “พยาน” ทางประวัติศาสตร์คนหนึ่งเท่านั้น ที่ซึ่งยังไงเสียคนอย่าง คุณสมัคร หรือใครอื่นก็ไม่มีทางจะลบล้างฐานะนี้ไปได้
ยกเว้นเสียแต่คนเดือนตุลาคมเท่านั้น