พปช.จัดสรรเก้าอี้เลขาฯ-ที่ปรึกษา “เหลิม” ส่ง “ลูกวัน” นั่งเลขา รมช.สาธารณสุข เบียด “ศุภมาศ” คนสนิท “เจ๊หน่อย” ตกเก้าอี้ “สมพรต” เลขาฯ รมว.สาธารณสุข “เฉลิมชัย” เลขาฯ รมว.พัฒนาสังคมฯ “ศิลัมพา” เลขาฯ รมว.ต่างประเทศ ขณะที่ อดีต ส.ส.กทม. ร้องขอตำแหน่ง อ้างคะแนนเสียงฉันทานุมัติจากประชาชน ส่วนบอร์ดสมัย “สุรยุทธ์” 251 คณะส่อถึงคิวยุบหากขัดนโยบาย
รายงานข่าวจากพรรคพลังประชาชน เปิดเผยความคืบหน้าการจัดสรรตำแหน่งเลขา และที่ปรึกษารัฐมนตรี ในส่วนภาค กทม.ว่า ล่าสุดมีความลงตัวในระดับหนึ่ง โดย นายเฉลิมชัย ธีระวิจารณะ อดีตส.ส.กทม. จะเป็นเลขาฯ รมว.พัฒนาสังคมฯ (นายสุธา ชันแสง) และ นายเอนก หุตังคหบดี เป็นที่ปรึกษา, น.ส.ศิลัมพา เลิศนุวัตน์ อดีตส.ส.กทม. เป็นเลขาฯ รมว.ต่างประเทศ (นายนพดล ปัทมะ)
ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการเปลี่ยนแปลง โดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย ขอฝากโควตาให้ นายวัน อยู่บำรุง บุตรชายให้ไปเป็นเลขาฯนายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รมช.สาธารณสุข แทนนางศุภมาศ อิสรภักดี อดีต ส.ส.กทม.ซึ่งเป็น คนใกล้ชิดของ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เนื่องจากก่อนหน้านี้ พรรคตกลงยอมรับเงื่อนไขกับการแลกเข้าพรรคของ ร.ต.อ.เฉลิม ว่า หาก ร.ต.อ.เฉลิม เข้าพรรคพลังประชาชน แต่ไม่ส่งบุตรชายลงสมัคร ก็จะให้ตำแหน่งอื่นแทน ขณะที่นายสมพรต สาระโกเศศ อดีตผู้สมัครส.ส.สัดส่วน เป็นเลขานุการ รมว.สาธารณสุข (นายไชยา สะสมทรัพย์)
นายวัฒนา เซ่งไพเราะ อดีต ส.ส.กทม.กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางกลุ่มภาค กทม.ได้หารือเป็นการภายในเรื่องหลักเกณฑ์การจัดสรรโควตาของอดีต ส.ส.ที่สอบตกในสมัยนี้ว่าควรให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเป็นที่ปรึกษาส่วนใดบ้าง ซึ่งได้มีการเสนอข้อคิดเห็นไปยังคณะกรรมการบริหารที่เป็นตัวแทนภาค กทม. เช่น นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล ในฐานะประธานภาค และ นายสุธา ชันแสง เพื่อให้แจ้งความคิดเห็นว่า อยากให้พรรคดูแลอดีต ส.ส.กทม.เหล่านี้ โดยการจัดสรรตำแหน่งและงานให้ เนื่องจากที่ผ่านมากลุ่ม ส.ส.กทม.ได้ร่วมต่อสู้กับพรรคมาตลอด ทั้งๆ ที่ถูกสถานการณ์การเมืองกดดัน และแม้จะแพ้การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา แต่ ส.ส.กทม.แต่ละคนก็ได้คะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า 7-8 หมื่น ซึ่งถือเป็นฉันทานุมัติจากประชาชนระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ ก็สอดคล้องกับคำพูดของนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรค ที่ระบุว่า แม้จะสอบตกแต่อดีต ส.ส.เหล่านี้ก็ต้องได้รับการดูแล ดังนั้นหากพรรคไม่ดูแลผู้สมัครของพรรคตามที่บอกไว้ ในฐานะที่เป็นตัวแทนประชาชน แล้วจะหวังอะไรกับการบริหารบ้านเมือง เพราะการให้คำมั่นสัญญาในการจัดสรรตำแหน่งก่อนหลัง ก็ถือเป็นการบริหารงานปกครองเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีรายงานข่าวว่า รัฐบาลสมัคร 1 ได้อนุมัติให้คณะกรรมการต่างๆ ที่คณะรัฐมนตรี ชุด พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ แต่งตั้งไว้ จำนวน 251 คณะ (ไม่รวมถึงคณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งไว้ตามระเบียบต่างๆ หรือตามกฎหมายหนึ่งกฎหมายใด หรือคณะกรรมการที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งไว้) คงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนถึงวันที่ 31 มี.ค.51 โดยให้กระทรวง กรม พิจารณาถึงความสำคัญ และความจำเป็นในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน รวมทั้งการเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ขอให้แจ้งยืนยันไปยังสำนักเลขาธิการ ครม.ภายในวันที่ 31 มี.ค.51 ว่าจะให้คณะกรรมการใดคงอยู่ หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าคณะกรรมการที่กระทรวง กรม ไม่ได้ยืนยันให้คงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเป็นอันสิ้นสุดลง ทั้งนี้ คณะกรรมการชุดใดที่กระทรวง กรม เสนอให้คงอยู่หากสามารถกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานและภารกิจสิ้นสุดที่ชัดเจนได้ให้ระบุวันสิ้นสุดของคณะกรรมการไว้ด้วย ตามสำนักเลขาธิการ ครม. เสนอ
รายงานข่าวจากพรรคพลังประชาชน เปิดเผยความคืบหน้าการจัดสรรตำแหน่งเลขา และที่ปรึกษารัฐมนตรี ในส่วนภาค กทม.ว่า ล่าสุดมีความลงตัวในระดับหนึ่ง โดย นายเฉลิมชัย ธีระวิจารณะ อดีตส.ส.กทม. จะเป็นเลขาฯ รมว.พัฒนาสังคมฯ (นายสุธา ชันแสง) และ นายเอนก หุตังคหบดี เป็นที่ปรึกษา, น.ส.ศิลัมพา เลิศนุวัตน์ อดีตส.ส.กทม. เป็นเลขาฯ รมว.ต่างประเทศ (นายนพดล ปัทมะ)
ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการเปลี่ยนแปลง โดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย ขอฝากโควตาให้ นายวัน อยู่บำรุง บุตรชายให้ไปเป็นเลขาฯนายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รมช.สาธารณสุข แทนนางศุภมาศ อิสรภักดี อดีต ส.ส.กทม.ซึ่งเป็น คนใกล้ชิดของ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เนื่องจากก่อนหน้านี้ พรรคตกลงยอมรับเงื่อนไขกับการแลกเข้าพรรคของ ร.ต.อ.เฉลิม ว่า หาก ร.ต.อ.เฉลิม เข้าพรรคพลังประชาชน แต่ไม่ส่งบุตรชายลงสมัคร ก็จะให้ตำแหน่งอื่นแทน ขณะที่นายสมพรต สาระโกเศศ อดีตผู้สมัครส.ส.สัดส่วน เป็นเลขานุการ รมว.สาธารณสุข (นายไชยา สะสมทรัพย์)
นายวัฒนา เซ่งไพเราะ อดีต ส.ส.กทม.กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางกลุ่มภาค กทม.ได้หารือเป็นการภายในเรื่องหลักเกณฑ์การจัดสรรโควตาของอดีต ส.ส.ที่สอบตกในสมัยนี้ว่าควรให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเป็นที่ปรึกษาส่วนใดบ้าง ซึ่งได้มีการเสนอข้อคิดเห็นไปยังคณะกรรมการบริหารที่เป็นตัวแทนภาค กทม. เช่น นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล ในฐานะประธานภาค และ นายสุธา ชันแสง เพื่อให้แจ้งความคิดเห็นว่า อยากให้พรรคดูแลอดีต ส.ส.กทม.เหล่านี้ โดยการจัดสรรตำแหน่งและงานให้ เนื่องจากที่ผ่านมากลุ่ม ส.ส.กทม.ได้ร่วมต่อสู้กับพรรคมาตลอด ทั้งๆ ที่ถูกสถานการณ์การเมืองกดดัน และแม้จะแพ้การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา แต่ ส.ส.กทม.แต่ละคนก็ได้คะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า 7-8 หมื่น ซึ่งถือเป็นฉันทานุมัติจากประชาชนระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ ก็สอดคล้องกับคำพูดของนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรค ที่ระบุว่า แม้จะสอบตกแต่อดีต ส.ส.เหล่านี้ก็ต้องได้รับการดูแล ดังนั้นหากพรรคไม่ดูแลผู้สมัครของพรรคตามที่บอกไว้ ในฐานะที่เป็นตัวแทนประชาชน แล้วจะหวังอะไรกับการบริหารบ้านเมือง เพราะการให้คำมั่นสัญญาในการจัดสรรตำแหน่งก่อนหลัง ก็ถือเป็นการบริหารงานปกครองเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีรายงานข่าวว่า รัฐบาลสมัคร 1 ได้อนุมัติให้คณะกรรมการต่างๆ ที่คณะรัฐมนตรี ชุด พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ แต่งตั้งไว้ จำนวน 251 คณะ (ไม่รวมถึงคณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งไว้ตามระเบียบต่างๆ หรือตามกฎหมายหนึ่งกฎหมายใด หรือคณะกรรมการที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งไว้) คงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนถึงวันที่ 31 มี.ค.51 โดยให้กระทรวง กรม พิจารณาถึงความสำคัญ และความจำเป็นในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน รวมทั้งการเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ขอให้แจ้งยืนยันไปยังสำนักเลขาธิการ ครม.ภายในวันที่ 31 มี.ค.51 ว่าจะให้คณะกรรมการใดคงอยู่ หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าคณะกรรมการที่กระทรวง กรม ไม่ได้ยืนยันให้คงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเป็นอันสิ้นสุดลง ทั้งนี้ คณะกรรมการชุดใดที่กระทรวง กรม เสนอให้คงอยู่หากสามารถกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานและภารกิจสิ้นสุดที่ชัดเจนได้ให้ระบุวันสิ้นสุดของคณะกรรมการไว้ด้วย ตามสำนักเลขาธิการ ครม. เสนอ