ผู้จัดการรายวัน - สำนักงาน ก.ล.ต. โชว์ผลงานเอาผิดคดีปั่นหุ้น-ไซฟ่อนเงิน ส่งหลายคดีให้ "ดีเอสไอ" เชือดต่อ ระบุอยู่ในขั้นตอนสรุปสำนวนที่ต้องใช้เวลาพิจารณา "ประสงค์" แจงเตรียมคัดเลือกบอร์ดใหม่ภายใน180 วันหลังพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับใหม่ประกาศใช้-ตั้งคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ด้านประธานบอร์ด ขณะที่ประธานบอร์ด รมว.คลังเป็นผู้เสนอชื่อ
นายประสงค์ วินัยแพทย์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) เปิดเผยถึง ความคืบหน้าการพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ขณะนี้สำนักงานก.ล.ต. ได้ดำเนินการกล่าวโทษ โดยมีหลายคดีที่ได้ส่งเรื่องต่อให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ ) ดำเนินการสืบสวนต่อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคดีที่เกี่ยวกับการสร้างราคาหลักทรัพย์ (ปั่นหุ้น) หรือคดีการฟอกเงิน (ไซฟ่อนเงิน) ทั้งนี้ คดีความเหล่านั้นยังอยู่ในขั้นตอนของการสรุปสำนวน ทำให้ต้องใช้เวลาในการดำเนินการบ้าง
"ที่ผ่านทาง ก.ล.ต. ได้มีการไปให้ถ้อยคำในเรื่องการสอบสวนว่าเป็นย่างไรบ้าง หาก ก.ล.ต.พบความไม่ชอบมาพากลของผู้บริหาร และกรรมการตุกติก จะมีการส่งไปให้ดีเอสไอเป็นปกติอยู่แล้ว แต่ต้องเป็นคดีที่ใหญ่พอสมควร หากยิบย่อยเกินไปก็สงสารทางดีเอสไอ เพราะมีงานเยอะอยู่แล้ว โดยเรื่องที่ ก.ล.ต. ส่งต่อให้ดีเอสไอสอบสวนนั้น เพราะ ก.ล.ต.ไม่มีอำนาจสอบสวนต่อได้ จึงต้องพึ่งมือของดีเอสไอจากที่มีเครื่องมีการสอบสวนที่ครบถ้วน" นายประสงค์ กล่าว
ด้านความพร้อมในการประกาศใช้พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฉบับใหม่ ที่อยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้น นายประสงค์ กล่าวว่า หากพ.ร.บ.ตลาดทุนฉบับใหม่มีผลใช้บังคับ ทางก.ล.ต.จะต้องเลือกตัวประธานและเลขาธิการ ก.ล.ต. คนใหม่ ภายใน 180 วัน ซึ่งรวมถึงตำแหน่งในคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ด้วย โดยปัจจุบันก.ล.ต.อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมในเรื่องเหล่านี้
"ตอนนี้อยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา หากมีการประกาศเมื่อใด บอร์ดก.ล.ต.ชุดปัจจุบันจะหมดวาระลงทันที ซึ่งจะต้องมีการเรียกประชุมผู้เกี่ยวข้อ งเพื่อคัดสรรบอร์ดและเลขาธิการก.ล.ต.ใหม่ในการประชุมครั้งถัดไป หรือจะเรียกประชุมวาระเร่งด่วนก็ได้" นายประสงค์กล่าว
สำหรับขั้นตอนการคัดสรรคณะกรรมการ ก.ล.ต. นั้น ในส่วนของประธานคณะกรรมการก.ล.ต. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะเป็นผู้เสนอชื่อบุคคลที่จะเข้ามาเป็นประธาน เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ ซึ่งต้องดำเนินการภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ.มีผลใช้บังคับ
ส่วนกรรมการก.ล.ต.ชุดปัจจุบัน ต้องจับฉลากออกให้เหลือ 3 คน ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ พ.ร.บ.มีผลใช้บังคับเช่นกัน ขณะเดียวกันประธานก.ล.ต.และกรรมการที่เป็นโดยตำแหน่ง จะต้องคัดเลือกบุคคลที่เข้ามาทำหน้าที่แทนกรรมการที่จับฉลากออก และเสนอต่อ รมว.คลังพิจารณา ซึ่งต้องดำเนินการคัดเลือกภายใน 30 วัน
ทั้งนี้คณะกรรมการก.ล.ต.ชุดใหม่ ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่ง 3 คน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขณะเดียวกันจะมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่จะถูกเลือกเข้ามาอีก 4-6 คน ขณะที่ตำแหน่งเลขาธิการ ก.ล.ต. นั้น เมื่อพ.ร.บ.ใหม่มีผลใช้บังคับ เลขาธิการคนปัจจุบันจะหมดวาระลงในทันที หลังจากนั้น คณะกรรมการก.ล.ต.ชุดใหม่จะเป็นผู้คัดและเสนอบุคคลที่เข้ามารับตำแหน่งดังกล่าวต่อ รมว.คลัง และรมว.คลังจะเสนอต่อ ครม. เพื่ออนุมัติแต่งตั้งต่อไป
สำหรับกระบวนการคัดเลือกคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ในส่วนของประธานคณะกรรมการตลาดทุนนั้น เลขาธิการก.ล.ต.จะนั่งเป็นประธานโดยตำแหน่ง ขณะเดียวกันก็จะมีกรรมการโดยตำแหน่งอีก 2 คน ได้แก่ รองเลขาธิการ ก.ล.ต. 1 คน และผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) หรือ รองผู้อำนวยการสศค. 1 คน
นอกจากนี้จะมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 4 คน ซึ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒินี้ต้องได้รับแต่งตั้งจาก รมว.คลัง โดยกระบวนการคัดสรรนั้น ทางประธานคณะกรรมการก.ล.ต. และเลขาธิการก.ล.ต. จะเป็นผู้เสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติให้คณะกรรมการคัดสรรพิจารณา และคณะกรรมการคัดสรรก็จะเป็นผู้คัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเสนอต่อให้ รมว.คลัง แต่งตั้ง
สำหรับคณะกรรมการคัดสรรมี 7 คน ซึ่งแต่งตั้งจากบุคคลที่เคยดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการ สศค. ผู้ว่าธปท. เลขาธิการก.ล.ต. หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการก.ล.ต.
ทั้งนี้ คณะกรรมการคัดสรรได้รับการแต่งตั้งโดย รมว.คลัง ซึ่งควรดำเนินการโดยเร็ว เพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือกกำหนดระเบียบว่าด้วยการเสนอรายชื่อ การพิจารณาและการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เสนอให้ รมว.คลัง พิจารณาภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และเมื่อ รมว. คลังเห็นชอบแล้ว ประธานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และกรรมการ ก.ล.ต. จะได้ใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต่อไป
นายประสงค์ วินัยแพทย์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) เปิดเผยถึง ความคืบหน้าการพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ขณะนี้สำนักงานก.ล.ต. ได้ดำเนินการกล่าวโทษ โดยมีหลายคดีที่ได้ส่งเรื่องต่อให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ ) ดำเนินการสืบสวนต่อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคดีที่เกี่ยวกับการสร้างราคาหลักทรัพย์ (ปั่นหุ้น) หรือคดีการฟอกเงิน (ไซฟ่อนเงิน) ทั้งนี้ คดีความเหล่านั้นยังอยู่ในขั้นตอนของการสรุปสำนวน ทำให้ต้องใช้เวลาในการดำเนินการบ้าง
"ที่ผ่านทาง ก.ล.ต. ได้มีการไปให้ถ้อยคำในเรื่องการสอบสวนว่าเป็นย่างไรบ้าง หาก ก.ล.ต.พบความไม่ชอบมาพากลของผู้บริหาร และกรรมการตุกติก จะมีการส่งไปให้ดีเอสไอเป็นปกติอยู่แล้ว แต่ต้องเป็นคดีที่ใหญ่พอสมควร หากยิบย่อยเกินไปก็สงสารทางดีเอสไอ เพราะมีงานเยอะอยู่แล้ว โดยเรื่องที่ ก.ล.ต. ส่งต่อให้ดีเอสไอสอบสวนนั้น เพราะ ก.ล.ต.ไม่มีอำนาจสอบสวนต่อได้ จึงต้องพึ่งมือของดีเอสไอจากที่มีเครื่องมีการสอบสวนที่ครบถ้วน" นายประสงค์ กล่าว
ด้านความพร้อมในการประกาศใช้พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฉบับใหม่ ที่อยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้น นายประสงค์ กล่าวว่า หากพ.ร.บ.ตลาดทุนฉบับใหม่มีผลใช้บังคับ ทางก.ล.ต.จะต้องเลือกตัวประธานและเลขาธิการ ก.ล.ต. คนใหม่ ภายใน 180 วัน ซึ่งรวมถึงตำแหน่งในคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ด้วย โดยปัจจุบันก.ล.ต.อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมในเรื่องเหล่านี้
"ตอนนี้อยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา หากมีการประกาศเมื่อใด บอร์ดก.ล.ต.ชุดปัจจุบันจะหมดวาระลงทันที ซึ่งจะต้องมีการเรียกประชุมผู้เกี่ยวข้อ งเพื่อคัดสรรบอร์ดและเลขาธิการก.ล.ต.ใหม่ในการประชุมครั้งถัดไป หรือจะเรียกประชุมวาระเร่งด่วนก็ได้" นายประสงค์กล่าว
สำหรับขั้นตอนการคัดสรรคณะกรรมการ ก.ล.ต. นั้น ในส่วนของประธานคณะกรรมการก.ล.ต. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะเป็นผู้เสนอชื่อบุคคลที่จะเข้ามาเป็นประธาน เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ ซึ่งต้องดำเนินการภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ.มีผลใช้บังคับ
ส่วนกรรมการก.ล.ต.ชุดปัจจุบัน ต้องจับฉลากออกให้เหลือ 3 คน ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ พ.ร.บ.มีผลใช้บังคับเช่นกัน ขณะเดียวกันประธานก.ล.ต.และกรรมการที่เป็นโดยตำแหน่ง จะต้องคัดเลือกบุคคลที่เข้ามาทำหน้าที่แทนกรรมการที่จับฉลากออก และเสนอต่อ รมว.คลังพิจารณา ซึ่งต้องดำเนินการคัดเลือกภายใน 30 วัน
ทั้งนี้คณะกรรมการก.ล.ต.ชุดใหม่ ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่ง 3 คน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขณะเดียวกันจะมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่จะถูกเลือกเข้ามาอีก 4-6 คน ขณะที่ตำแหน่งเลขาธิการ ก.ล.ต. นั้น เมื่อพ.ร.บ.ใหม่มีผลใช้บังคับ เลขาธิการคนปัจจุบันจะหมดวาระลงในทันที หลังจากนั้น คณะกรรมการก.ล.ต.ชุดใหม่จะเป็นผู้คัดและเสนอบุคคลที่เข้ามารับตำแหน่งดังกล่าวต่อ รมว.คลัง และรมว.คลังจะเสนอต่อ ครม. เพื่ออนุมัติแต่งตั้งต่อไป
สำหรับกระบวนการคัดเลือกคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ในส่วนของประธานคณะกรรมการตลาดทุนนั้น เลขาธิการก.ล.ต.จะนั่งเป็นประธานโดยตำแหน่ง ขณะเดียวกันก็จะมีกรรมการโดยตำแหน่งอีก 2 คน ได้แก่ รองเลขาธิการ ก.ล.ต. 1 คน และผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) หรือ รองผู้อำนวยการสศค. 1 คน
นอกจากนี้จะมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 4 คน ซึ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒินี้ต้องได้รับแต่งตั้งจาก รมว.คลัง โดยกระบวนการคัดสรรนั้น ทางประธานคณะกรรมการก.ล.ต. และเลขาธิการก.ล.ต. จะเป็นผู้เสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติให้คณะกรรมการคัดสรรพิจารณา และคณะกรรมการคัดสรรก็จะเป็นผู้คัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเสนอต่อให้ รมว.คลัง แต่งตั้ง
สำหรับคณะกรรมการคัดสรรมี 7 คน ซึ่งแต่งตั้งจากบุคคลที่เคยดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการ สศค. ผู้ว่าธปท. เลขาธิการก.ล.ต. หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการก.ล.ต.
ทั้งนี้ คณะกรรมการคัดสรรได้รับการแต่งตั้งโดย รมว.คลัง ซึ่งควรดำเนินการโดยเร็ว เพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือกกำหนดระเบียบว่าด้วยการเสนอรายชื่อ การพิจารณาและการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เสนอให้ รมว.คลัง พิจารณาภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และเมื่อ รมว. คลังเห็นชอบแล้ว ประธานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และกรรมการ ก.ล.ต. จะได้ใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต่อไป