เอเอฟพี - ประธานเอดีบีเตือนเอเชียไม่รอดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในสหรัฐฯ คาดวิกฤติดังกล่าวทำเศรษฐกิจเอเชียโตช้า แนะรัฐบาลควรใช้แผนกระตุ้นการคลัง แต่มองชาติเอเชียบางประเทศ เช่น จีน เผชิญภาวะเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป เงินเฟ้อพุ่งสูง มากกว่าความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะถดถอย
ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ประธานธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย(เอดีบี) แถลงต่อเวทีเสวนาในกรุงโตเกียว ญี่ปุ่น เมื่อวันศุกร์(8)ว่า "เศรษฐกิจเอเชียไม่รอดพ้นจากความปั่นป่วนในตลาดโลกและการพัฒนาในด้านลบ
"ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอยอันฝังรากลึกและยืดเยื้อนั้น หากเกิดขึ้นจริงก็อาจมาพร้อมกับการที่เศรษฐกิจเอเชียโตช้าลงยิ่งขึ้น" คุโรดะกล่าว
คุโรดะกล่าวเสริมว่าการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวอย่างมากจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเอเชียอย่างแน่นอนที่สุด โดยผลกระทบดังกล่าวจะเกิดขึ้นผ่านทางการเชื่อมโยงทางการค้า การลงทุน และการเงิน ระหว่างสหรัฐฯกับเอเชีย
ประธานเอดีบีเตือนว่า ผลกระทบจากตลาดการเงินใหญ่ที่สุด 3 อันดับแรก อันได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น อาจมีขนาดใหญ่มาก อีกทั้งเรียกร้องให้บรรดาผู้กำหนดนโยบายของเอเชียดำเนินการเพื่อทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจต่อตลาดการเงินในภูมิภาค
จริงๆแล้ว ธนาคารในเอเชียประสบภาวะขาดทุนจากหลักทรัพย์ที่อิงกับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภท"ซับไพรม์" น้อยกว่าธนาคารในสหรัฐฯและยุโรป อย่างไรก็ดี ผู้คนยังคงมองกันว่า หุ้นเอเชียหลายตัวยังผันผวน
คุโรดะแนะนำว่า รัฐบาลชาติต่างๆต้องดำเนินนโยบายการจัดการเศรษฐกิจมหภาพที่ยังคงดำเนินไปได้ด้วยดี เพิ่มความแข็งแกร่งต่อมาตรการควบคุมสถาบันการเงินอย่างรอบคอบ และควรปรับปรุงการฟื้นกลับในเชิงโครงสร้าง โดยใช้แนวทางปฏิรูปที่ครอบคลุมมากกว่าที่เป็นอยู่
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันพฤหัสบดี(7) รัฐสภาสหรัฐฯได้ลงมติอนุมัติแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ากว่าแสนล้านดอลลาร์ แต่รัฐบาลสหรัฐฯได้เรียกร้องให้รัฐบาลชาติเศรษฐกิจใหญ่ชาติอื่นๆใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นกัน
คุโรดะกล่าวว่าชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกซึ่งรวมถึงญี่ปุ่นและจีน สามารถใช้แผนกระตุ้นการคลังได้ หากการเติบโตของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง แต่ ณ ตอนนี้ยังไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้น
อย่างไรก็ดี ประธานเอดีบีกล่าวว่า เมื่อปีที่แล้ว ชาติเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในเอเชีย อาทิเช่น จีน ประสบภาวะเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไปอันเป็นผลมาจากภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับชาติเหล่านี้แล้ว ความท้าทายที่สำคัญก็คือ จะทำอย่างไรจึงจะลดแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อได้ โดยสิ่งนี้สำคัญมากกว่าการประกาศใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจ
" ในขั้นนี้ เศรษฐกิจเอเชียกำลังเผชิญกับแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ มากกว่าแนวโน้มที่เศรษฐกิจจะถดถอย" คุโรดะกล่าว
อนึ่ง คุโรดะได้คาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นปีต่อปีอยู่ที่ 1- 1.5% ลดลงจากต้นปีที่แล้วซึ่งอัตราการเติบโตอยู่ที่ 2%
ทั้งนี้ ผู้คนมองว่าคุโรดะซึ่งเคยเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงการคลังญี่ปุ่น มีแนวโน้มที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น(บีโอเจ) ต่อจากโทชิฮิโกะ ฟุคุอิ ซึ่งจะหมดวาระดำรงตำแหน่งในเดือนมีนาคมนี้
ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ประธานธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย(เอดีบี) แถลงต่อเวทีเสวนาในกรุงโตเกียว ญี่ปุ่น เมื่อวันศุกร์(8)ว่า "เศรษฐกิจเอเชียไม่รอดพ้นจากความปั่นป่วนในตลาดโลกและการพัฒนาในด้านลบ
"ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอยอันฝังรากลึกและยืดเยื้อนั้น หากเกิดขึ้นจริงก็อาจมาพร้อมกับการที่เศรษฐกิจเอเชียโตช้าลงยิ่งขึ้น" คุโรดะกล่าว
คุโรดะกล่าวเสริมว่าการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวอย่างมากจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเอเชียอย่างแน่นอนที่สุด โดยผลกระทบดังกล่าวจะเกิดขึ้นผ่านทางการเชื่อมโยงทางการค้า การลงทุน และการเงิน ระหว่างสหรัฐฯกับเอเชีย
ประธานเอดีบีเตือนว่า ผลกระทบจากตลาดการเงินใหญ่ที่สุด 3 อันดับแรก อันได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น อาจมีขนาดใหญ่มาก อีกทั้งเรียกร้องให้บรรดาผู้กำหนดนโยบายของเอเชียดำเนินการเพื่อทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจต่อตลาดการเงินในภูมิภาค
จริงๆแล้ว ธนาคารในเอเชียประสบภาวะขาดทุนจากหลักทรัพย์ที่อิงกับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภท"ซับไพรม์" น้อยกว่าธนาคารในสหรัฐฯและยุโรป อย่างไรก็ดี ผู้คนยังคงมองกันว่า หุ้นเอเชียหลายตัวยังผันผวน
คุโรดะแนะนำว่า รัฐบาลชาติต่างๆต้องดำเนินนโยบายการจัดการเศรษฐกิจมหภาพที่ยังคงดำเนินไปได้ด้วยดี เพิ่มความแข็งแกร่งต่อมาตรการควบคุมสถาบันการเงินอย่างรอบคอบ และควรปรับปรุงการฟื้นกลับในเชิงโครงสร้าง โดยใช้แนวทางปฏิรูปที่ครอบคลุมมากกว่าที่เป็นอยู่
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันพฤหัสบดี(7) รัฐสภาสหรัฐฯได้ลงมติอนุมัติแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ากว่าแสนล้านดอลลาร์ แต่รัฐบาลสหรัฐฯได้เรียกร้องให้รัฐบาลชาติเศรษฐกิจใหญ่ชาติอื่นๆใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นกัน
คุโรดะกล่าวว่าชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกซึ่งรวมถึงญี่ปุ่นและจีน สามารถใช้แผนกระตุ้นการคลังได้ หากการเติบโตของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง แต่ ณ ตอนนี้ยังไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้น
อย่างไรก็ดี ประธานเอดีบีกล่าวว่า เมื่อปีที่แล้ว ชาติเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในเอเชีย อาทิเช่น จีน ประสบภาวะเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไปอันเป็นผลมาจากภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับชาติเหล่านี้แล้ว ความท้าทายที่สำคัญก็คือ จะทำอย่างไรจึงจะลดแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อได้ โดยสิ่งนี้สำคัญมากกว่าการประกาศใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจ
" ในขั้นนี้ เศรษฐกิจเอเชียกำลังเผชิญกับแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ มากกว่าแนวโน้มที่เศรษฐกิจจะถดถอย" คุโรดะกล่าว
อนึ่ง คุโรดะได้คาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นปีต่อปีอยู่ที่ 1- 1.5% ลดลงจากต้นปีที่แล้วซึ่งอัตราการเติบโตอยู่ที่ 2%
ทั้งนี้ ผู้คนมองว่าคุโรดะซึ่งเคยเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงการคลังญี่ปุ่น มีแนวโน้มที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น(บีโอเจ) ต่อจากโทชิฮิโกะ ฟุคุอิ ซึ่งจะหมดวาระดำรงตำแหน่งในเดือนมีนาคมนี้