เศรษฐกิจไม่มีผลต่อตลาดโรงเรียนพิเศษ เชื่อพ่อแม่ จะตัดงบการเรียนของลูกเป็นอันดับสุดท้าย หากวิกฤติด้านรายได้ “คุมอง” เดินหน้าทดลองหลักสูตรภาษาไทย หวังดันนักเรียนแตะ 90,000 คนในสิ้นปี เผยปีนี้ผุดสาขาแฟรนไชส์น้อยเพียง 36 สาขา จากปกติเปิดไม่ต่ำกว่า 60 สาขาต่อปี เพื่อเตรียมความพร้อมของหลักสูตรใหม่
นายหฤษฎ์พันธุ์ ปรีชพันธุ์ ผู้จัดการอาวุโส บริษัท คุมอง (ไทยแลนด์) จำกัด สถาบันการศึกษาพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์และภาษา คุมอง เปิดเผยว่า ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา รวมถึง สถาบันสอนพิเศษ ต่างๆ มองว่าเป็นตลาดที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจหรือการเมืองแต่อย่างไร ซึ่งหากพ่อแม่เด็กมีปัญหาด้านการเงินจริง เชื่อว่าค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนของลูกจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะตัดให้ลดลง
ดังนั้นแผนการดำเนินธุรกิจของคุมองปีนี้ จึงยังคงเน้นเรื่องของการพัฒนาทักษะให้กับเด็กๆ ล่าสุดกำลังพัฒนาทักษะ เกี่ยวกับ ภาษาไทย ขึ้นมาอีก 1 ภาษา จากเดิมที่มีสอน ภาษาอังกฤษเพียงภาษาเดียว โดยขณะนี้ได้เริ่มเปิดทดลองภายในตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. เป็นต้นมา ในศูนย์คุมองจำนวน 16 ศูนย์ สำหรับเด็กอนุบาล จนถึง ประถมศึกษาปีที่1 คาดว่าช่วงครึ่งปีหลังจะสามารถเปิดให้นักเรียนเข้ารับการพัฒนาได้ทุกศูนย์ที่มีอยู่ ซึ่งจากนี้ไปอีก 3 ปี คาดว่าจะเห็นหลักสูตรภาษาไทย ทั้งหมด 20 ระดับการสอน ได้เช่นเดียวกับอีก 2 หลักสูตรที่มีอยู่ คือ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
อย่างไรก็ตามปีนี้ทางคุมอง เตรียมที่จะเปิดศูนย์แฟรนไชส์คุมองอีกประมาณ 36 แห่ง แบ่งเป็น กรุงเทพฯ 40% และ ต่างจังหวัด 60% จากเดิมที่มีอยู่ 380 ศูนย์ในปัจจุบัน คาดว่าสิ้นปีนี้จะทำให้มียอดนักเรียนเพิ่มขึ้น 30% เป็นจำนวน 90,000 คน จาก 74,127 คน ในปีที่ผ่านมา ซึ่งจำนวนแฟรนไชส์ที่เปิดปีนี้ ถือว่าน้อยที่สุดที่เคยเปิดมา จากปกติเฉลี่ยจะเปิดไม่ต่ำกว่า 60 ศูนย์ขึ้นไป ทั้งนี้เนื่องจากต้องการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับหลักสูตรภาษาไทย เพื่อให้ทุกศูนย์พร้อมที่จะสอนในช่วงครึ่งปีหลังที่จะถึงนี้
ทั้งนี้โดยเฉลี่ยนักเรียนที่เข้ารับการพัฒนาจากคุมอง จะเรียนจบหลักสูตร จะใช้เวลา 5ปีครึ่ง ซึ่งแต่ละเดือนของนักเรียนตั้งแต่อนุบาล-ป.6 จะมีค่าใช้จ่ายในการเรียน 1,284 บาท ต่อเดือน ส่วน นักเรียนระดับ ม.1 ขึ้นปี จะมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนประมาณ 1,391 บาท
นายหฤษฎ์พันธุ์ ปรีชพันธุ์ ผู้จัดการอาวุโส บริษัท คุมอง (ไทยแลนด์) จำกัด สถาบันการศึกษาพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์และภาษา คุมอง เปิดเผยว่า ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา รวมถึง สถาบันสอนพิเศษ ต่างๆ มองว่าเป็นตลาดที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจหรือการเมืองแต่อย่างไร ซึ่งหากพ่อแม่เด็กมีปัญหาด้านการเงินจริง เชื่อว่าค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนของลูกจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะตัดให้ลดลง
ดังนั้นแผนการดำเนินธุรกิจของคุมองปีนี้ จึงยังคงเน้นเรื่องของการพัฒนาทักษะให้กับเด็กๆ ล่าสุดกำลังพัฒนาทักษะ เกี่ยวกับ ภาษาไทย ขึ้นมาอีก 1 ภาษา จากเดิมที่มีสอน ภาษาอังกฤษเพียงภาษาเดียว โดยขณะนี้ได้เริ่มเปิดทดลองภายในตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. เป็นต้นมา ในศูนย์คุมองจำนวน 16 ศูนย์ สำหรับเด็กอนุบาล จนถึง ประถมศึกษาปีที่1 คาดว่าช่วงครึ่งปีหลังจะสามารถเปิดให้นักเรียนเข้ารับการพัฒนาได้ทุกศูนย์ที่มีอยู่ ซึ่งจากนี้ไปอีก 3 ปี คาดว่าจะเห็นหลักสูตรภาษาไทย ทั้งหมด 20 ระดับการสอน ได้เช่นเดียวกับอีก 2 หลักสูตรที่มีอยู่ คือ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
อย่างไรก็ตามปีนี้ทางคุมอง เตรียมที่จะเปิดศูนย์แฟรนไชส์คุมองอีกประมาณ 36 แห่ง แบ่งเป็น กรุงเทพฯ 40% และ ต่างจังหวัด 60% จากเดิมที่มีอยู่ 380 ศูนย์ในปัจจุบัน คาดว่าสิ้นปีนี้จะทำให้มียอดนักเรียนเพิ่มขึ้น 30% เป็นจำนวน 90,000 คน จาก 74,127 คน ในปีที่ผ่านมา ซึ่งจำนวนแฟรนไชส์ที่เปิดปีนี้ ถือว่าน้อยที่สุดที่เคยเปิดมา จากปกติเฉลี่ยจะเปิดไม่ต่ำกว่า 60 ศูนย์ขึ้นไป ทั้งนี้เนื่องจากต้องการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับหลักสูตรภาษาไทย เพื่อให้ทุกศูนย์พร้อมที่จะสอนในช่วงครึ่งปีหลังที่จะถึงนี้
ทั้งนี้โดยเฉลี่ยนักเรียนที่เข้ารับการพัฒนาจากคุมอง จะเรียนจบหลักสูตร จะใช้เวลา 5ปีครึ่ง ซึ่งแต่ละเดือนของนักเรียนตั้งแต่อนุบาล-ป.6 จะมีค่าใช้จ่ายในการเรียน 1,284 บาท ต่อเดือน ส่วน นักเรียนระดับ ม.1 ขึ้นปี จะมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนประมาณ 1,391 บาท