รอยเตอร์/เอเอฟพี - ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช แถลงนโยบายประจำปีเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันจันทร์(28) พยายามปลอบขวัญชาวอเมริกันเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจ และเตือนไม่ให้เร่งถอนทหารออกจากอิรัก
เหลือเวลาอีกไม่ถึง 1 ปีก่อนที่จะลงจากตำแหน่ง บุชยังให้คำมั่นว่าจะ "เผชิญหน้า" กับอิหร่านในเรื่องที่จำเป็น และจะ "ทำทุกอย่างที่ทำได้" เพื่อให้บรรลุข้อตกลงสันติภาพในตะวันออกกลาง
ในตอนนี้ความกังวลมากที่สุดของชาวอเมริกันคือปัญหาเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งเข้ามาแทนที่เรื่องสงครามอิรัก โดยบุชยอมรับในการแถลงนโยบายครั้งนี้ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นกำลังชะลอตัว แต่ก็ยืนยันว่า ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในระยะยาวของสหรัฐฯยังดีอยู่
เขาเร่งให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 150,000 ล้านดอลลาร์ให้รวดเร็ว และเขาก็ไม่หวั่นไหวต่อการล่อใจที่ฝั่งแดโมแครตเสนอให้เพิ่มมาตรการความช่วยเหลือ ซึ่งทางรีพับลิกันมองว่าเป็นการเพิ่มภาระให้แผนดังกล่าว
"ในระยะยาว ชาวอเมริกันมั่นใจในการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ แต่ในระยะสั้นแล้ว เราทุกคนต่างเห็นว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจกำลังชะลอตัว" บุชแถลงนโยบายประจำปีต่อรัฐสภา
ความนิยมในตัวบุชย่ำแย่มากอันเนื่องมาจากเรื่องสงครามอิรัก และศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ก็กำลังร้อนแรง อีกทั้งบุชเองก็พยายามปลดเปลื้องตัวเองจากสถานะประธานาธิบดีเป็ดง่อย แต่กระนั้น เขาก็ไม่ได้เสนอความคิดใหม่ๆที่โดดเด่น
บุชขอให้คนอเมริกันอดทนกับภารกิจในอิรักซึ่งกินเวลามาแล้วเกือบ 5 ปี โดยชี้ว่า ความมั่นคงในอิรักนั้นดีขึ้นอันเป็นผลมาจากนโยบายเพิ่มทหาร 30,000 นายเมื่อปีที่แล้ว เขายังเตือนว่า การรีบถอนทหารจะทำให้ความคืบหน้าเรื่องการเมืองและความมั่นคงในอิรักที่ระส่ำระสายอยู่แล้ว พังพินาศลง
อย่างไรก็ตาม บุชไม่ได้บอกใบ้ว่าจะมีการลดทหารในอิรักเพิ่มเติมหรือไม่อย่างไร บอกแต่เพียงว่า การตัดสินใจเช่นนั้นจะขึ้นอยู่กับคำแนะนำของผู้บัญชาการทหาร
"เป้าหมายของเราในปีที่กำลังจะมาถึงก็คือ รักษาและต่อยอดความสำเร็จที่เราทำได้ในปี 2007 ขณะเดียวกันก็กำลังเปลี่ยนเข้าสู่ขั้นต่อไปของยุทธศาสตร์ ทหารอเมริกันจะเปลี่ยนจากการเป็นแนวหน้า ไปเป็นหุ้นส่วนกับกองกำลังอิรัก และในที่สุด จะเพียงปฏิบัติภารกิจตรวจพิทักษ์เท่านั้น" บุชกล่าว
บุชยังขอให้อิหร่าน "สารภาพ" โครงการนิวเคลียร์ให้หมด และเตือนรัฐบาลเตหะรานด้วยว่า "เหนือสิ่งอื่นใด รู้ไว้ด้วยว่า อเมริกาจะเผชิญหน้ากับผู้ที่สร้างภัยคุกคามต่อกองทัพของเรา เราจะอยู่เคียงข้างพันธมิตรของเรา และเราจะปกป้องผลประโยชน์ของเราที่อยู่ในแถบอ่าวเปอร์เซีย"
นอกจากนี้ บุชเผยว่า สหรัฐฯจะมอบเงินจำนวน 2,000 ล้านดอลลาร์ในช่วง 3 ปีข้างหน้าให้กองทุนระหว่างประเทศที่จะก่อตั้งขึ้นใหม่ เพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานสะอาด และต่อสู้เรื่องภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
"เรามาก่อตั้งกองทุนใหม่ระดับนานาชาติเกี่ยวกับเทคโนโลยีสะอาด ซึ่งจะช่วยให้เทศกำลังพัฒนาอย่างจีนและอินเดีย ใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานสะอาดได้มากยิ่งขึ้น" บุชกล่าว
เขาบอกว่า สหรัฐฯมุ่งมั่นจะร่วมมือกับประเทศเศรษฐกิจหลักๆและองค์การสหประชาชาติ เพื่อบรรลุข้อตกลงระหว่างประเทศที่ "มีศักยภาพในการชะลอ หยุดยั้ง และที่สุดจะพลิกกลับการเติบโตของก๊าซเรือนกระจกได้"
"ข้อตกลงนี้จะเป็นผลก็ต่อเมื่อประเทศเศรษฐกิจใหญ่ๆทุกประเทศเข้าร่วม และไม่ปล่อยเว้นให้ประเทศใดได้ขึ้นรถฟรี" บุชระบุ "สหรัฐฯมุ่งมั่นจริงจังในการเพิ่มความแข็งแกร่งในเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน และต่อสู้กับเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก"
แต่กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็ไม่พอใจ โดยบอกว่า ความพยายามลดก๊าซเรือนกระจกแบบสมัครใจของบุชนั้น เป็นวิธีเก่าๆที่ไม่ได้ผล
บุชบอกว่า สหรัฐฯต้องผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหินสะอาด พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลมให้มากยิ่งขึ้น เขายังเรียกร้องให้มีการลงทุนมากขึ้นในการพัฒนาแบตเตอรีแบบก้าวหน้า และเชื้อเพลิงแบบหมุนเวียน ซึ่งจะนำมาเป็นพลังงานให้แก่รถยนต์และรถบรรทุกในอนาคต
เหลือเวลาอีกไม่ถึง 1 ปีก่อนที่จะลงจากตำแหน่ง บุชยังให้คำมั่นว่าจะ "เผชิญหน้า" กับอิหร่านในเรื่องที่จำเป็น และจะ "ทำทุกอย่างที่ทำได้" เพื่อให้บรรลุข้อตกลงสันติภาพในตะวันออกกลาง
ในตอนนี้ความกังวลมากที่สุดของชาวอเมริกันคือปัญหาเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งเข้ามาแทนที่เรื่องสงครามอิรัก โดยบุชยอมรับในการแถลงนโยบายครั้งนี้ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นกำลังชะลอตัว แต่ก็ยืนยันว่า ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในระยะยาวของสหรัฐฯยังดีอยู่
เขาเร่งให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 150,000 ล้านดอลลาร์ให้รวดเร็ว และเขาก็ไม่หวั่นไหวต่อการล่อใจที่ฝั่งแดโมแครตเสนอให้เพิ่มมาตรการความช่วยเหลือ ซึ่งทางรีพับลิกันมองว่าเป็นการเพิ่มภาระให้แผนดังกล่าว
"ในระยะยาว ชาวอเมริกันมั่นใจในการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ แต่ในระยะสั้นแล้ว เราทุกคนต่างเห็นว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจกำลังชะลอตัว" บุชแถลงนโยบายประจำปีต่อรัฐสภา
ความนิยมในตัวบุชย่ำแย่มากอันเนื่องมาจากเรื่องสงครามอิรัก และศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ก็กำลังร้อนแรง อีกทั้งบุชเองก็พยายามปลดเปลื้องตัวเองจากสถานะประธานาธิบดีเป็ดง่อย แต่กระนั้น เขาก็ไม่ได้เสนอความคิดใหม่ๆที่โดดเด่น
บุชขอให้คนอเมริกันอดทนกับภารกิจในอิรักซึ่งกินเวลามาแล้วเกือบ 5 ปี โดยชี้ว่า ความมั่นคงในอิรักนั้นดีขึ้นอันเป็นผลมาจากนโยบายเพิ่มทหาร 30,000 นายเมื่อปีที่แล้ว เขายังเตือนว่า การรีบถอนทหารจะทำให้ความคืบหน้าเรื่องการเมืองและความมั่นคงในอิรักที่ระส่ำระสายอยู่แล้ว พังพินาศลง
อย่างไรก็ตาม บุชไม่ได้บอกใบ้ว่าจะมีการลดทหารในอิรักเพิ่มเติมหรือไม่อย่างไร บอกแต่เพียงว่า การตัดสินใจเช่นนั้นจะขึ้นอยู่กับคำแนะนำของผู้บัญชาการทหาร
"เป้าหมายของเราในปีที่กำลังจะมาถึงก็คือ รักษาและต่อยอดความสำเร็จที่เราทำได้ในปี 2007 ขณะเดียวกันก็กำลังเปลี่ยนเข้าสู่ขั้นต่อไปของยุทธศาสตร์ ทหารอเมริกันจะเปลี่ยนจากการเป็นแนวหน้า ไปเป็นหุ้นส่วนกับกองกำลังอิรัก และในที่สุด จะเพียงปฏิบัติภารกิจตรวจพิทักษ์เท่านั้น" บุชกล่าว
บุชยังขอให้อิหร่าน "สารภาพ" โครงการนิวเคลียร์ให้หมด และเตือนรัฐบาลเตหะรานด้วยว่า "เหนือสิ่งอื่นใด รู้ไว้ด้วยว่า อเมริกาจะเผชิญหน้ากับผู้ที่สร้างภัยคุกคามต่อกองทัพของเรา เราจะอยู่เคียงข้างพันธมิตรของเรา และเราจะปกป้องผลประโยชน์ของเราที่อยู่ในแถบอ่าวเปอร์เซีย"
นอกจากนี้ บุชเผยว่า สหรัฐฯจะมอบเงินจำนวน 2,000 ล้านดอลลาร์ในช่วง 3 ปีข้างหน้าให้กองทุนระหว่างประเทศที่จะก่อตั้งขึ้นใหม่ เพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานสะอาด และต่อสู้เรื่องภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
"เรามาก่อตั้งกองทุนใหม่ระดับนานาชาติเกี่ยวกับเทคโนโลยีสะอาด ซึ่งจะช่วยให้เทศกำลังพัฒนาอย่างจีนและอินเดีย ใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานสะอาดได้มากยิ่งขึ้น" บุชกล่าว
เขาบอกว่า สหรัฐฯมุ่งมั่นจะร่วมมือกับประเทศเศรษฐกิจหลักๆและองค์การสหประชาชาติ เพื่อบรรลุข้อตกลงระหว่างประเทศที่ "มีศักยภาพในการชะลอ หยุดยั้ง และที่สุดจะพลิกกลับการเติบโตของก๊าซเรือนกระจกได้"
"ข้อตกลงนี้จะเป็นผลก็ต่อเมื่อประเทศเศรษฐกิจใหญ่ๆทุกประเทศเข้าร่วม และไม่ปล่อยเว้นให้ประเทศใดได้ขึ้นรถฟรี" บุชระบุ "สหรัฐฯมุ่งมั่นจริงจังในการเพิ่มความแข็งแกร่งในเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน และต่อสู้กับเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก"
แต่กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็ไม่พอใจ โดยบอกว่า ความพยายามลดก๊าซเรือนกระจกแบบสมัครใจของบุชนั้น เป็นวิธีเก่าๆที่ไม่ได้ผล
บุชบอกว่า สหรัฐฯต้องผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหินสะอาด พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลมให้มากยิ่งขึ้น เขายังเรียกร้องให้มีการลงทุนมากขึ้นในการพัฒนาแบตเตอรีแบบก้าวหน้า และเชื้อเพลิงแบบหมุนเวียน ซึ่งจะนำมาเป็นพลังงานให้แก่รถยนต์และรถบรรทุกในอนาคต