ผู้จัดการรายวัน-อุตสาหกรรมเพลงไทยวิกฤติ เหตุเจอเทปผีซีดีเถื่อนผลิตแข่ง แถมละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านการดาวโหลด ทำรายได้หดหายปีละกว่า 5 พันล้านบาท ขณะที่ยอดขายก็ลดวูบจาก 6 พันล้านเหลือแค่ 3.5 พันล้าน ทั้งๆ ยอดการบริโภคเพลงเพิ่ม แต่คนส่วนใหญ่ไปซื้อของปลอมมาใช้ เผยผลสำรวจร้านค้าย่านบ้านหม้อ คลองถม สะพานเหล็ก ตลาดนัดต่างจังหวัด ล้วนแต่มีร้านขายของปลอม ร้านของแท้หดหาย เรียกร้องรัฐบาลใหม่เข้ามาช่วยเหลือด่วน
นายสุทธิศักดิ์ ประศาสน์ครุการ เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเพลงไทย เปิดเผยว่า ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมเพลงไทยอยู่ในขั้นอันตรายเนื่องจากประสบปัญหาในหลายๆ ด้าน อาทิ ปัญหาอันเกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปแบบของ เทปผีซีดีเถื่อน ซึ่งในปีหนึ่งหนึ่งมีผู้ลักลอบผลิตและจำหน่าย เทปผีซีดีเถื่อนไม่น้อยกว่า 20 ล้านแผ่นต่อปี ซึ่งสร้างผลกระทบความเสียหายให้กับผลิตภัณฑ์ ซีดี ที่เป็นของจริงไม่น้อยกว่า 2,500 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน ยังมีการละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปแบบอื่นๆ เช่น การ Download Rington, Calling melody, Full song หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่าเสียงสายเรียกเข้าที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ตามร้านค้าจำหน่ายโทรศัพท์ทั่วไปและตามศูนย์การค้า นอกจากนี้ ยังมีการลักลอบให้ Download ผ่านอินเตอร์เน็ท โดยมีการจดทะเบียนเว็ปไซด์ ที่ต่างประเทศ และมีการแลกเปลี่ยนไฟล์เพลงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิ ซึ่งทั้ง 3 ส่วนรวมมูลค่าได้ไม่น้อยกว่า 2,500 ล้านบาท
นายสุทธิศักดิ์ กล่าวว่า ในปัจจุบันแม้ว่าประชาชนจะสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเพลงซึ่งถือว่าเป็นการผ่อนคลายที่ดีที่สุด และมีการแพร่หลายมากที่สุด รวมถึงความสะดวกในการใช้ผ่านเทคโนโลยีต่างๆ ก็สะดวก กระชับ ฉับไวและรวดเร็ว เช่น เครื่องเล่น mp3 มือถือ หรือเครื่องเล่นซีดีทั่วไป แม้แต่ในรถยนต์ส่วนบุคคล และรถยนต์สาธารณ ซึ่งในปีหนึ่งๆ มีรถยนต์ผลิตเพิ่มขึ้นและมีช่องทางการผลิตและจัดจำหน่ายประมาณ 6.31 แสนคันต่อปี รวมถึงรถยนต์สาธารณะที่มีการใช้บริการไม่ต่ำกว่า 30,000 คันก็ตาม
แต่การใช้ผลงานเพลงเหล่านั้น ส่วนใหญ่กลับพบว่าเป็นงานเพลงที่มีการทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิหรือส่วนใหญ่จะมีการใช้แผ่นซีดีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์เทปผีซีดีเถื่อนจากท้องตลาดนั้นเอง ซึ่งผลที่เกิดขึ้นทำให้อุตสาหกรรมเพลงไทยมีการหดตัว 3,500 ล้านบาท จากเดิม 6,000 ล้านบาท เป็นเพราะช่องทางการจำหน่ายของจริงลดลง เพราะตัวแทนผู้จัดจำหน่ายหรือยี่ปั๊ว ขาดสภาพคล่องและถูกรุมเร้าจากปัญหาของเทปผีซีดีเถื่อนซ้ำ
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบยังพบว่า การดำเนินกิจการการขายจากการละเมิดลิขสิทธิ์ เทปผีซีดีเถื่อน ในตลาดบ้านหม้อ คลองถม สะพานเหล็ก มีการลักลอบขายของปลอมกว่า 350 แผง ส่วนของร้านขายของจริงทั้ง 3 แห่ง มีประมาณ 20 แผง รวมถึงตามตลาดนัดทั่วไป ก็มีแผงขายของจริงลดลง บางแห่งแถบจะไม่มีหรือไม่มีให้เห็นเลย ซึ่งพบว่าตลาดมืดหลายแห่งๆ มีการขายของปลอมตั้งแต่ 2-10 แผง ซึ่งทยอยเปิดอย่างสบายใจโดยไม่มีการเกรงกลัวต่อด้านกฎหมายการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่นเพื่อการค้าซึ่งมีโทษทางด้านกฎหมาย ทั้งที่ผิดศีลธรรมอันดีงามสร้างความเสียหายและต่อทรัพย์สินผู้อื่นรวมถึงเป็นแหล่งเสื่อมโทรมทางด้านสังคมและวัฒนธรรมอันดีงามต่อประเทศชาติ
ส่วนภาคการผลิตและสร้างสรรค์เพลง ก็พบว่ามีผู้ประกอบการค่ายเพลงลูกทุ่งหลายแห่งมีการปิดกิจการเพิ่มขึ้น เพราะจริงๆแล้วอุตสาหกรรมเพลง ถูกกระทำมากขึ้นในผลของเทคโนโลยีและจริยธรรมที่เสื่อมทรามลง
นายสุทธิศักดิ์ กล่าวว่า ในปัจจุบันเท่าที่ดูสถิติการขึ้นทะเบียนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ขององค์กรการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ทั้งหมดมีประมาณ 200,000 กว่าเพลง ซึ่งถือว่าตั้งแต่ที่มีการตั้งประเทศไทย เป็นต้นจนถึงปัจจุบันและเปรียบเทียบประชากร 64 ล้านคน กับปริมาณงานเพลงของเราพบว่ามีน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประชากร ในปัจจุบันตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นมีการเข้าถึงการใช้งานเพลงก็ตามก็ไม่อาจทำให้มีผู้ผลิตหรือผู้สร้างสรรค์มากขึ้น
ในปีที่ผ่านมาคาดว่า อุตสาหกรรมเพลงเพิ่มขึ้นและแพร่หลายในระบบจะมีเพลงใหม่ทั้งอุตสาหกรรมไม่เกิน 1,000 เพลง จึงอยากจะฝากรัฐบาลใหม่ที่เข้ามาบริหารประเทศไทยต่อไปได้ให้ความสำคัญและหามาตรการส่งเสริมการสร้างสรรค์เพลงเพิ่มมากขึ้นและหามาตรการคุ้มครองอันเป็นแรงจูงใจให้ได้รับสิทธิประเภทต่างๆ และมาตรการปกป้องผู้ที่ลักลอบการใช้เพลงผู้อื่นโดยมีประสิทธิภาพและเด็ดขาดอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสมาคมอุตสาหกรรมเพลงไทย ก็มีการพูดคุยกันและระดมความคิดเห็นและพยายามกำหนดแนวทางทิศทางอุตสาหกรรมเพลงไทยให้ได้รับความเอาใจใส่ดูแลจากหน่วยงานของภาครัฐ ทางด้านการพัฒนาสนับสนุนการผลักดันอุตสาหกรรมเพลงไทยให้มีผลผลิตงานมากขึ้น
“ถ้าเป็นไปได้สมาคมอุตสาหกรรมเพลงไทยอาจจะริเริ่มโครงการและประสานงานกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ หันไปริเริ่มโครงการ 1 อัลบั้ม 1 อบต. เพื่อแข่งขัน ,ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจให้เติบโตและมีรายได้ อาชีพเสริมหมุนเวียนในพื้นที่ต่างๆ รวมถึงสร้างความเข้มแข็ง, เพิ่มรายได้และพึ่งพาตนเองได้ ก็อาจจะเป็นไปได้ และเราจะได้เพลงดีๆเข้าสู่อุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น”นายสุทธิศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้ สมาคมอยากเห็นว่า เพลงเป็นส่วนหนึ่งของงานด้านลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่อยู่ใกล้ชิดกับคนไทยมามากที่สุดตั้งแต่การเกิดจนเสียชีวิต ยกตัวอย่าง ตอนเกิดก็จะมีการร้องเพลงกล่อมเด็กนอน วัยกลางคนมีการแต่งงานก็ต้องใช้เพลงเปิดในงาน ตอนเสียชีวิตก็ใช้วงปี่พาทย์มาบรรเลง เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทย คนไทยอยู่อีสานก็สามารถร้องเพลงคนใต้ คนใต้ก็สามารถร้องเพลงคนอีสานได้ ร่วมถึงภาคต่างๆ ด้วย
นายสุทธิศักดิ์ ประศาสน์ครุการ เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเพลงไทย เปิดเผยว่า ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมเพลงไทยอยู่ในขั้นอันตรายเนื่องจากประสบปัญหาในหลายๆ ด้าน อาทิ ปัญหาอันเกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปแบบของ เทปผีซีดีเถื่อน ซึ่งในปีหนึ่งหนึ่งมีผู้ลักลอบผลิตและจำหน่าย เทปผีซีดีเถื่อนไม่น้อยกว่า 20 ล้านแผ่นต่อปี ซึ่งสร้างผลกระทบความเสียหายให้กับผลิตภัณฑ์ ซีดี ที่เป็นของจริงไม่น้อยกว่า 2,500 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน ยังมีการละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปแบบอื่นๆ เช่น การ Download Rington, Calling melody, Full song หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่าเสียงสายเรียกเข้าที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ตามร้านค้าจำหน่ายโทรศัพท์ทั่วไปและตามศูนย์การค้า นอกจากนี้ ยังมีการลักลอบให้ Download ผ่านอินเตอร์เน็ท โดยมีการจดทะเบียนเว็ปไซด์ ที่ต่างประเทศ และมีการแลกเปลี่ยนไฟล์เพลงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิ ซึ่งทั้ง 3 ส่วนรวมมูลค่าได้ไม่น้อยกว่า 2,500 ล้านบาท
นายสุทธิศักดิ์ กล่าวว่า ในปัจจุบันแม้ว่าประชาชนจะสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเพลงซึ่งถือว่าเป็นการผ่อนคลายที่ดีที่สุด และมีการแพร่หลายมากที่สุด รวมถึงความสะดวกในการใช้ผ่านเทคโนโลยีต่างๆ ก็สะดวก กระชับ ฉับไวและรวดเร็ว เช่น เครื่องเล่น mp3 มือถือ หรือเครื่องเล่นซีดีทั่วไป แม้แต่ในรถยนต์ส่วนบุคคล และรถยนต์สาธารณ ซึ่งในปีหนึ่งๆ มีรถยนต์ผลิตเพิ่มขึ้นและมีช่องทางการผลิตและจัดจำหน่ายประมาณ 6.31 แสนคันต่อปี รวมถึงรถยนต์สาธารณะที่มีการใช้บริการไม่ต่ำกว่า 30,000 คันก็ตาม
แต่การใช้ผลงานเพลงเหล่านั้น ส่วนใหญ่กลับพบว่าเป็นงานเพลงที่มีการทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิหรือส่วนใหญ่จะมีการใช้แผ่นซีดีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์เทปผีซีดีเถื่อนจากท้องตลาดนั้นเอง ซึ่งผลที่เกิดขึ้นทำให้อุตสาหกรรมเพลงไทยมีการหดตัว 3,500 ล้านบาท จากเดิม 6,000 ล้านบาท เป็นเพราะช่องทางการจำหน่ายของจริงลดลง เพราะตัวแทนผู้จัดจำหน่ายหรือยี่ปั๊ว ขาดสภาพคล่องและถูกรุมเร้าจากปัญหาของเทปผีซีดีเถื่อนซ้ำ
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบยังพบว่า การดำเนินกิจการการขายจากการละเมิดลิขสิทธิ์ เทปผีซีดีเถื่อน ในตลาดบ้านหม้อ คลองถม สะพานเหล็ก มีการลักลอบขายของปลอมกว่า 350 แผง ส่วนของร้านขายของจริงทั้ง 3 แห่ง มีประมาณ 20 แผง รวมถึงตามตลาดนัดทั่วไป ก็มีแผงขายของจริงลดลง บางแห่งแถบจะไม่มีหรือไม่มีให้เห็นเลย ซึ่งพบว่าตลาดมืดหลายแห่งๆ มีการขายของปลอมตั้งแต่ 2-10 แผง ซึ่งทยอยเปิดอย่างสบายใจโดยไม่มีการเกรงกลัวต่อด้านกฎหมายการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่นเพื่อการค้าซึ่งมีโทษทางด้านกฎหมาย ทั้งที่ผิดศีลธรรมอันดีงามสร้างความเสียหายและต่อทรัพย์สินผู้อื่นรวมถึงเป็นแหล่งเสื่อมโทรมทางด้านสังคมและวัฒนธรรมอันดีงามต่อประเทศชาติ
ส่วนภาคการผลิตและสร้างสรรค์เพลง ก็พบว่ามีผู้ประกอบการค่ายเพลงลูกทุ่งหลายแห่งมีการปิดกิจการเพิ่มขึ้น เพราะจริงๆแล้วอุตสาหกรรมเพลง ถูกกระทำมากขึ้นในผลของเทคโนโลยีและจริยธรรมที่เสื่อมทรามลง
นายสุทธิศักดิ์ กล่าวว่า ในปัจจุบันเท่าที่ดูสถิติการขึ้นทะเบียนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ขององค์กรการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ทั้งหมดมีประมาณ 200,000 กว่าเพลง ซึ่งถือว่าตั้งแต่ที่มีการตั้งประเทศไทย เป็นต้นจนถึงปัจจุบันและเปรียบเทียบประชากร 64 ล้านคน กับปริมาณงานเพลงของเราพบว่ามีน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประชากร ในปัจจุบันตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นมีการเข้าถึงการใช้งานเพลงก็ตามก็ไม่อาจทำให้มีผู้ผลิตหรือผู้สร้างสรรค์มากขึ้น
ในปีที่ผ่านมาคาดว่า อุตสาหกรรมเพลงเพิ่มขึ้นและแพร่หลายในระบบจะมีเพลงใหม่ทั้งอุตสาหกรรมไม่เกิน 1,000 เพลง จึงอยากจะฝากรัฐบาลใหม่ที่เข้ามาบริหารประเทศไทยต่อไปได้ให้ความสำคัญและหามาตรการส่งเสริมการสร้างสรรค์เพลงเพิ่มมากขึ้นและหามาตรการคุ้มครองอันเป็นแรงจูงใจให้ได้รับสิทธิประเภทต่างๆ และมาตรการปกป้องผู้ที่ลักลอบการใช้เพลงผู้อื่นโดยมีประสิทธิภาพและเด็ดขาดอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสมาคมอุตสาหกรรมเพลงไทย ก็มีการพูดคุยกันและระดมความคิดเห็นและพยายามกำหนดแนวทางทิศทางอุตสาหกรรมเพลงไทยให้ได้รับความเอาใจใส่ดูแลจากหน่วยงานของภาครัฐ ทางด้านการพัฒนาสนับสนุนการผลักดันอุตสาหกรรมเพลงไทยให้มีผลผลิตงานมากขึ้น
“ถ้าเป็นไปได้สมาคมอุตสาหกรรมเพลงไทยอาจจะริเริ่มโครงการและประสานงานกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ หันไปริเริ่มโครงการ 1 อัลบั้ม 1 อบต. เพื่อแข่งขัน ,ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจให้เติบโตและมีรายได้ อาชีพเสริมหมุนเวียนในพื้นที่ต่างๆ รวมถึงสร้างความเข้มแข็ง, เพิ่มรายได้และพึ่งพาตนเองได้ ก็อาจจะเป็นไปได้ และเราจะได้เพลงดีๆเข้าสู่อุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น”นายสุทธิศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้ สมาคมอยากเห็นว่า เพลงเป็นส่วนหนึ่งของงานด้านลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่อยู่ใกล้ชิดกับคนไทยมามากที่สุดตั้งแต่การเกิดจนเสียชีวิต ยกตัวอย่าง ตอนเกิดก็จะมีการร้องเพลงกล่อมเด็กนอน วัยกลางคนมีการแต่งงานก็ต้องใช้เพลงเปิดในงาน ตอนเสียชีวิตก็ใช้วงปี่พาทย์มาบรรเลง เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทย คนไทยอยู่อีสานก็สามารถร้องเพลงคนใต้ คนใต้ก็สามารถร้องเพลงคนอีสานได้ ร่วมถึงภาคต่างๆ ด้วย