ภาวะการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) สัปดาห์ที่ผ่านมา (21-25 ม.ค.50) ช่วงต้นสัปดาห์แม้ว่าปัจจัยทางการเมืองภายในประเทศจะมีความชัดเจนเพิ่มมากขึ้นแต่ไม่เพียงพอที่จะหยุดการดิ่งลงของตลาดหุ้นไทยตามตลาดหุ้นทั่วโลกได้
อย่างไรก็ตามช่วงกลางสัปดาห์หลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สร้างความประหลาดให้กับทั่วโลกด้วยการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยประเภทระยะสั้น (fed funds rate) ลงครั้งเดียว 0.75% ทำให้สถานการณ์การลงทุนทั่วโลก รวมถึงตลาดหุ้นไทยกลับมาดีขึ้นอีกครั้งแต่ยังไม่สามารถกลับมาปิดในแดนบวกได้ ต่อมาข่าวเทรดเดอร์ที่ซอคเจนมีปัญหาฉ้อโกง ประกอบกับแรงเทขายหุ้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีที่ยังคงมีอยู่ก็เป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นให้ดิ่งลงแรงอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับภาวะการซื้อขายในวันสุดท้ายของสัปดาห์ รอยยิ้มเริ่มกลับขึ้นมาสู้ใบหน้านักลงทุนอีกครั้ง เมื่อดัชนีสามารถกลับมาสู่แดนบวกสดใส จากปัจจัยหนุนตามตลาดต่างประเทศ ที่คาดหวังว่าเฟดน่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมช่วงสิ้นเดือนมกราคมที่จะถึงนี้ โดยดัชนีพุ่งแรงตั้งแต่ช่วงเช้าต่อเนื่อง ก่อนที่จะปิดสัปดาห์ที่ 759.72 จุด เพิ่มขึ้น 31.14 จุด หรือ 4.27% แต่การเพิ่มขึ้นยังไม่สามารถทดแทนรอยห่างจากการทรุดลงในช่วงต้นสัปดาห์ได้ โดยดัชนีปิดสัปดาห์ยังคงปรับตัวลดลงจากดัชนีเปิดต้นสัปดาห์ที่ 789.67 จุด กว่า 29.95 จุด หรือ 3.79% มูลค่าการซื้อขายรวมตลอด 5 วันทำการ 112,709.71 ล้านบาท เฉลี่ยเป็นการซื้อขาย 22,541.942 ล้านบาทต่อวัน
โดยดัชนีทำจุดสุงสุดที่ 802.77 จุด ในวันที่ 21 ม.ค. 51 และมีจุดต่ำสุดที่ 728.58 จุด ในวันที่ 24 ม.ค. 51 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 10,830.82 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 3,500.99 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 7,329.83 ล้านบาท
ส่วนสัปดาห์นี้นั้น ตลาดหุ้นจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด ปัจจัยจากการประชุมของเฟดจะส่งผลดีบ้างหรือไม่ ... ติดตามมุมมองจากผู้จัดการกองทุน
นายกรวุฒิ ลีนะบรรจง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด กล่าวว่า การที่เฟดปรับลดดอกเบี้ย fed funds rate ลงถึง 0.75% และแนวโน้มของธนาคารกลางในหลายประเทศที่จะมีการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินมากขึ้น ทำให้มีปัจจัยบวกเพิ่มขึ้นในตลาด และทำให้ภาวะความตึงตัวในตลาดการเงินผ่อนคลายลง ซึ่งส่งผลดีทางจิตวิทยา ทำให้แนวโน้มตลาดหุ้นในระยะสั้นปรับตัวดีขึ้น ส่วนในระยะยาวคงจะต้องขึ้นอยู่กับพื้นฐานขอประเทศและนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นมา
อย่างไรก็ถามสภาวะของตลาดหุ้นทั่วโลกในขณะนี้มีความอ่อนไหวค่อนข้างมาก แม้ว่าในปลายสัปดาห์ก่อนดัชนีจะสามารถกลับมาปรับตัวขึ้นได้อีกครั้ง ซึ่งถ้าหลังจากนี้มีข่าวเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) เกิดขึ้นอีก ก็จะเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดการเทขายหุ้นแบบ Panic Sell ได้
แหล่งข่าวจากตลาดทุน กล่าวถึงมุมมองของตลาดหุ้นว่า ตลาดน่าจะยังจะรีบาวน์ขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ แต่พอถึงกลางสัปดาห์อาจจะมีแรงขายทำกำไรออกมา ทำให้ตลาดมีโอกาสที่จะปรับตัวลงได้ ทั้งนี้ให้แนวรับไว้ที่ 725 จุด แนวต้าน 780 จุด พร้อมแนะนำให้นักลงทุนหาจังหวะขาย เนื่องจากยังไม่เชื่อว่าตลาดจะปรับขึ้นจริง เพราะเศรษฐกิจทั่วโลกเป็นขาลง
อย่างไรก็ตามช่วงกลางสัปดาห์หลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สร้างความประหลาดให้กับทั่วโลกด้วยการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยประเภทระยะสั้น (fed funds rate) ลงครั้งเดียว 0.75% ทำให้สถานการณ์การลงทุนทั่วโลก รวมถึงตลาดหุ้นไทยกลับมาดีขึ้นอีกครั้งแต่ยังไม่สามารถกลับมาปิดในแดนบวกได้ ต่อมาข่าวเทรดเดอร์ที่ซอคเจนมีปัญหาฉ้อโกง ประกอบกับแรงเทขายหุ้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีที่ยังคงมีอยู่ก็เป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นให้ดิ่งลงแรงอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับภาวะการซื้อขายในวันสุดท้ายของสัปดาห์ รอยยิ้มเริ่มกลับขึ้นมาสู้ใบหน้านักลงทุนอีกครั้ง เมื่อดัชนีสามารถกลับมาสู่แดนบวกสดใส จากปัจจัยหนุนตามตลาดต่างประเทศ ที่คาดหวังว่าเฟดน่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมช่วงสิ้นเดือนมกราคมที่จะถึงนี้ โดยดัชนีพุ่งแรงตั้งแต่ช่วงเช้าต่อเนื่อง ก่อนที่จะปิดสัปดาห์ที่ 759.72 จุด เพิ่มขึ้น 31.14 จุด หรือ 4.27% แต่การเพิ่มขึ้นยังไม่สามารถทดแทนรอยห่างจากการทรุดลงในช่วงต้นสัปดาห์ได้ โดยดัชนีปิดสัปดาห์ยังคงปรับตัวลดลงจากดัชนีเปิดต้นสัปดาห์ที่ 789.67 จุด กว่า 29.95 จุด หรือ 3.79% มูลค่าการซื้อขายรวมตลอด 5 วันทำการ 112,709.71 ล้านบาท เฉลี่ยเป็นการซื้อขาย 22,541.942 ล้านบาทต่อวัน
โดยดัชนีทำจุดสุงสุดที่ 802.77 จุด ในวันที่ 21 ม.ค. 51 และมีจุดต่ำสุดที่ 728.58 จุด ในวันที่ 24 ม.ค. 51 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 10,830.82 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 3,500.99 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 7,329.83 ล้านบาท
ส่วนสัปดาห์นี้นั้น ตลาดหุ้นจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด ปัจจัยจากการประชุมของเฟดจะส่งผลดีบ้างหรือไม่ ... ติดตามมุมมองจากผู้จัดการกองทุน
นายกรวุฒิ ลีนะบรรจง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด กล่าวว่า การที่เฟดปรับลดดอกเบี้ย fed funds rate ลงถึง 0.75% และแนวโน้มของธนาคารกลางในหลายประเทศที่จะมีการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินมากขึ้น ทำให้มีปัจจัยบวกเพิ่มขึ้นในตลาด และทำให้ภาวะความตึงตัวในตลาดการเงินผ่อนคลายลง ซึ่งส่งผลดีทางจิตวิทยา ทำให้แนวโน้มตลาดหุ้นในระยะสั้นปรับตัวดีขึ้น ส่วนในระยะยาวคงจะต้องขึ้นอยู่กับพื้นฐานขอประเทศและนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นมา
อย่างไรก็ถามสภาวะของตลาดหุ้นทั่วโลกในขณะนี้มีความอ่อนไหวค่อนข้างมาก แม้ว่าในปลายสัปดาห์ก่อนดัชนีจะสามารถกลับมาปรับตัวขึ้นได้อีกครั้ง ซึ่งถ้าหลังจากนี้มีข่าวเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) เกิดขึ้นอีก ก็จะเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดการเทขายหุ้นแบบ Panic Sell ได้
แหล่งข่าวจากตลาดทุน กล่าวถึงมุมมองของตลาดหุ้นว่า ตลาดน่าจะยังจะรีบาวน์ขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ แต่พอถึงกลางสัปดาห์อาจจะมีแรงขายทำกำไรออกมา ทำให้ตลาดมีโอกาสที่จะปรับตัวลงได้ ทั้งนี้ให้แนวรับไว้ที่ 725 จุด แนวต้าน 780 จุด พร้อมแนะนำให้นักลงทุนหาจังหวะขาย เนื่องจากยังไม่เชื่อว่าตลาดจะปรับขึ้นจริง เพราะเศรษฐกิจทั่วโลกเป็นขาลง