ผู้จัดการรายวัน-"พาณิชย์"โหยกระแส "อูมามิ"บูม เตรียมผลักดันน้ำปลาไทยบุกสหรัฐฯ หลังตลาดมีความต้องการมากขึ้น ทูตการค้าแนะให้ทำผลิตภัณฑ์ให้เล็กกะทัดรัด สวยงาม เพื่อดึงดูดใจผู้ซื้อ พร้อมชูจุดขายให้แตกต่างจากคู่แข่ง เผยสินค้าชุมชนอย่างปลาแห้ง กุ้งแห้ง และปลาหมึกแห้ง ก็มีโอกาสเช่นเดียวกัน
นางจันทิรา ยิมเรวัต ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส เปิดเผยว่า ขณะนี้สหรัฐฯ ได้มีการตื่นตัวในเรื่องรสชาติอาหารที่เรียกว่า อูมามิ (UMAMI) ซึ่งเป็นรสชาติของโปรตีนที่มาจากเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น เนยแข็ง หรือพืช เช่น เห็ด หัวหอม สาหร่าย ไวน์ ที่ทำให้อาหารคาวมีรถดีขึ้น และถือว่าเป็นเครื่องปรุงที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ที่สำคัญรสชาติอันนี้ยังได้มาจากซ้อสต่างๆ เช่น ซีอิ้ว น้ำปลา ด้วย
ขณะนี้ กระแสอูมามิ เริ่มเป็นที่สนใจกันอย่างแพร่หลายในสหรัฐฯ สื่อต่างๆ ทั้งวงการหนังสือและโทรทัศน์ ต่างมีการพูดถึงเรื่องนี้ ที่สำคัญ รายการ TODAY SHOW ของสถานีโทรทัศน์ NBC ได้มีการสาธิตในเรื่องนี้ โดยใช้น้ำปลาไทยในการเพิ่มรสชาติของอาหาร และกลุ่มผู้บริโภคในสหรัฐฯ เริ่มสนใจในการเพิ่มรถชาติอาหารด้วยการใช้อูมามิมากขึ้น จากเดิมที่เป็นที่รู้จักกันแต่ในวงการของพ่อครัว (เซ็ฟ) เท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีการพูดถึงประโยชน์ของการใช้อูมามิในอาหาร คือ ทำให้อาหารมีรสอร่อยขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเติมเกลือ หรือ ไขมัน ซึ่งเดิมเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มรสอาหาร ดังนั้น ถือว่าเป็นประโยชน์กับสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคที่รับประทานเกลือหรือไขมันมากไม่ได้ ซึ่งเป็นจุดขายอีกจุดหนึ่งของอูมามิ
นางจันทิรากล่าวว่า จากกระแสการบูมของอูมามิ ได้ส่งผลดีต่ออาหารไทย และยิ่งทำให้อาหารไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้น เพราะปัจจุบันอาหารไทยเป็นที่ยอมรับในสหรัฐฯ ว่าเป็นอาหารที่มีเครื่องปรุงที่หลากหลาย เช่น น้ำปลา มะขามเปียก เครื่องแกง กะทิ และยิ่งรายการโทรทัศน์ของ NBC ยังได้มีการเสนอเรื่องอูมามิ และมีการสาธิตการเพิ่มรสชาติของชุบไก่ธรรมดา กับชุบไก่ที่ใส่น้ำปลาไทยด้วยแล้ว ผลที่เกิดขึ้น ก็คือ ชุบไก่ใส่น้ำปลาไทยมีรสชาติดีกว่า
"จึงเป็นโอกาสดีที่ไทยจะใช้กระแสอูมามิบูมในครั้งนี้ ขยายการส่งออกน้ำปลาและเครื่องปรุงรสอื่นๆ จากไทยไปสหรัฐฯ โดยให้เสนอแนวคิดที่ว่าน้ำปลาและเครื่องปรุงรสหรือซ้อสอื่นๆ นั้น ไม่จำกัดใช้แค่กับอาหารไทยเท่านั้น แต่สามารถนำไปใช้กับอาหารชาติต่างๆ ได้ด้วย ซึ่งจะทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง และที่สำคัญ จะต้องผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานสุขอนามัยตามที่สหรัฐฯ กำหนด"นางจันทิรากล่าว
สำหรับกลยุทธ์ในการบุกเจาะตลาด ควรบรรจุขวดขนาดเล็ก บรรจุภัณฑ์สวยงาม เพื่อดึงดูดให้ผู้ที่ยังไม่เคยใช้ ซื้อไปทดลองใช้ นอกจากตลาดระดับกลางและล่างที่มีจำหน่ายอยู่แล้ว ควรวางตำแหน่งสินค้าเพิ่มขึ้นให้เป็นสินค้าระดับสูง gourmet โดยอาจนำเสนอว่าเป็นน้ำปลาจากปลาประเภทใดบ้าง เป็นปลาที่มีเฉพาะประเทศไทย เพื่อสร้างความแตกต่างจากน้ำปลาเวียดนาม หรือเป็นน้ำปลาจากปลาหมึก หรือ น้ำปลาน้ำซีอิ้วจากเห็ดสำหรับผู้บริโภคที่เป็นมังสะวิรัติ หรืออื่นๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าต่อหน่วย
ขณะเดียวกัน ควรใช้โอกาสนี้ในการส่งเสริมสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนอื่นๆ เช่น ปลาแห้ง กุ้งแห้ง ปลาหมึกแห้ง เพราะสามารถนำมาต้มน้ำซุปหรือใช้ปรุงอาหารให้รสชาติอูมามิได้เช่นเดียวกัน
คำว่า อูมามิ มาจากภาษาญี่ปุ่น ที่หมายถึง รสอร่อย รสชาติที่เป็นรสของคาว ภาษาของวงการเช็ฟ จะใช้คำว่า mouth feel หรือภาษาไทยอาจเรียกว่า มีรสมีชาติ ภาษาอังกฤษยังไม่มีคำบัญญัติไว้ และในขณะนี้ ใช้คำว่า อูมามิ กันแพร่หลาย โดยในสหรัฐฯ มหาวิทยาลัยไมอามี่ ได้ค้นพบเรื่องการรับรู้รสชาติอาหารว่าประสาทสัมผัสของลิ้นคนสามารถรับรสได้ 5 รส คือ เปรี้ยว เค็ม หวาน ขมและอูมามิ ซึ่งเดิมเชื่อว่าลิ้นรับรสได้เพียง 4 รส คือ เปรี้ยว เค็ม หวานและขม มาตั้งแต่ปี 2000 แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป แต่หลังจากมีผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ และรายการโทรทัศน์ให้ความสนใจ กระแสการตอบรับอูมามิจึงมีมากขึ้น
นางจันทิรา ยิมเรวัต ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส เปิดเผยว่า ขณะนี้สหรัฐฯ ได้มีการตื่นตัวในเรื่องรสชาติอาหารที่เรียกว่า อูมามิ (UMAMI) ซึ่งเป็นรสชาติของโปรตีนที่มาจากเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น เนยแข็ง หรือพืช เช่น เห็ด หัวหอม สาหร่าย ไวน์ ที่ทำให้อาหารคาวมีรถดีขึ้น และถือว่าเป็นเครื่องปรุงที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ที่สำคัญรสชาติอันนี้ยังได้มาจากซ้อสต่างๆ เช่น ซีอิ้ว น้ำปลา ด้วย
ขณะนี้ กระแสอูมามิ เริ่มเป็นที่สนใจกันอย่างแพร่หลายในสหรัฐฯ สื่อต่างๆ ทั้งวงการหนังสือและโทรทัศน์ ต่างมีการพูดถึงเรื่องนี้ ที่สำคัญ รายการ TODAY SHOW ของสถานีโทรทัศน์ NBC ได้มีการสาธิตในเรื่องนี้ โดยใช้น้ำปลาไทยในการเพิ่มรสชาติของอาหาร และกลุ่มผู้บริโภคในสหรัฐฯ เริ่มสนใจในการเพิ่มรถชาติอาหารด้วยการใช้อูมามิมากขึ้น จากเดิมที่เป็นที่รู้จักกันแต่ในวงการของพ่อครัว (เซ็ฟ) เท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีการพูดถึงประโยชน์ของการใช้อูมามิในอาหาร คือ ทำให้อาหารมีรสอร่อยขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเติมเกลือ หรือ ไขมัน ซึ่งเดิมเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มรสอาหาร ดังนั้น ถือว่าเป็นประโยชน์กับสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคที่รับประทานเกลือหรือไขมันมากไม่ได้ ซึ่งเป็นจุดขายอีกจุดหนึ่งของอูมามิ
นางจันทิรากล่าวว่า จากกระแสการบูมของอูมามิ ได้ส่งผลดีต่ออาหารไทย และยิ่งทำให้อาหารไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้น เพราะปัจจุบันอาหารไทยเป็นที่ยอมรับในสหรัฐฯ ว่าเป็นอาหารที่มีเครื่องปรุงที่หลากหลาย เช่น น้ำปลา มะขามเปียก เครื่องแกง กะทิ และยิ่งรายการโทรทัศน์ของ NBC ยังได้มีการเสนอเรื่องอูมามิ และมีการสาธิตการเพิ่มรสชาติของชุบไก่ธรรมดา กับชุบไก่ที่ใส่น้ำปลาไทยด้วยแล้ว ผลที่เกิดขึ้น ก็คือ ชุบไก่ใส่น้ำปลาไทยมีรสชาติดีกว่า
"จึงเป็นโอกาสดีที่ไทยจะใช้กระแสอูมามิบูมในครั้งนี้ ขยายการส่งออกน้ำปลาและเครื่องปรุงรสอื่นๆ จากไทยไปสหรัฐฯ โดยให้เสนอแนวคิดที่ว่าน้ำปลาและเครื่องปรุงรสหรือซ้อสอื่นๆ นั้น ไม่จำกัดใช้แค่กับอาหารไทยเท่านั้น แต่สามารถนำไปใช้กับอาหารชาติต่างๆ ได้ด้วย ซึ่งจะทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง และที่สำคัญ จะต้องผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานสุขอนามัยตามที่สหรัฐฯ กำหนด"นางจันทิรากล่าว
สำหรับกลยุทธ์ในการบุกเจาะตลาด ควรบรรจุขวดขนาดเล็ก บรรจุภัณฑ์สวยงาม เพื่อดึงดูดให้ผู้ที่ยังไม่เคยใช้ ซื้อไปทดลองใช้ นอกจากตลาดระดับกลางและล่างที่มีจำหน่ายอยู่แล้ว ควรวางตำแหน่งสินค้าเพิ่มขึ้นให้เป็นสินค้าระดับสูง gourmet โดยอาจนำเสนอว่าเป็นน้ำปลาจากปลาประเภทใดบ้าง เป็นปลาที่มีเฉพาะประเทศไทย เพื่อสร้างความแตกต่างจากน้ำปลาเวียดนาม หรือเป็นน้ำปลาจากปลาหมึก หรือ น้ำปลาน้ำซีอิ้วจากเห็ดสำหรับผู้บริโภคที่เป็นมังสะวิรัติ หรืออื่นๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าต่อหน่วย
ขณะเดียวกัน ควรใช้โอกาสนี้ในการส่งเสริมสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนอื่นๆ เช่น ปลาแห้ง กุ้งแห้ง ปลาหมึกแห้ง เพราะสามารถนำมาต้มน้ำซุปหรือใช้ปรุงอาหารให้รสชาติอูมามิได้เช่นเดียวกัน
คำว่า อูมามิ มาจากภาษาญี่ปุ่น ที่หมายถึง รสอร่อย รสชาติที่เป็นรสของคาว ภาษาของวงการเช็ฟ จะใช้คำว่า mouth feel หรือภาษาไทยอาจเรียกว่า มีรสมีชาติ ภาษาอังกฤษยังไม่มีคำบัญญัติไว้ และในขณะนี้ ใช้คำว่า อูมามิ กันแพร่หลาย โดยในสหรัฐฯ มหาวิทยาลัยไมอามี่ ได้ค้นพบเรื่องการรับรู้รสชาติอาหารว่าประสาทสัมผัสของลิ้นคนสามารถรับรสได้ 5 รส คือ เปรี้ยว เค็ม หวาน ขมและอูมามิ ซึ่งเดิมเชื่อว่าลิ้นรับรสได้เพียง 4 รส คือ เปรี้ยว เค็ม หวานและขม มาตั้งแต่ปี 2000 แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป แต่หลังจากมีผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ และรายการโทรทัศน์ให้ความสนใจ กระแสการตอบรับอูมามิจึงมีมากขึ้น