แม่ฮ่องสอน – การค้าไทย-พม่าผ่านชายแดนแม่ฮ่องสอน มีสิทธิ์วูบต่อเนื่อง หลังยอดการค้ารวมปี 50 ลดลงไม่หยุด เมื่อเทียบกับปี 49 เพราะเงินบาทแข็งค่า-น้ำมันแพงขึ้นทั้งปี ทำต้นทุนสินค้าไทยพุ่งตาม ล่าสุดรัฐบาลพม่าปิดทางขนไม้พม่าผ่านแม่ฮ่องสอนเข้าลาวเด็ดขาด
นายสมพร วิริยานุภาพพงศ์ พาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า ปี 2550 การส่งออกสินค้าด้านแม่ฮ่องสอน ไปยังพม่า มีมูลค่าการค้ารวม 613.00 ล้านบาท ลดลง 24.28%หรือลดลง 196.54 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2549 ที่มียอดการค้า 809.54 ล้านบาท เนื่องจากเกิดสถานการณ์ไม่สงบขึ้นตามแนวชายแดน ส่งผลให้มีการปิดช่องทางการค้า รวมถึงปัญหาการแข็งค่าของเงินบาท และราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นตลอดทั้งปี ทำให้ต้นทุนสินค้าไทยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
แยกเป็นส่งออก 550.57 ล้านบาท ลดลง 21.46 ล้านบาท หรือ 3.75 % เมื่อเทียบกับปี 2549 ที่มียอด 572.03 ล้านบาท สินค้าที่ส่งออก 10 อันดับแรก ได้แก่ รองเท้าแตะฟองน้ำ เครื่องอุปโภคบริโภค น้ำมันพืช ทีวีสี หลอดฟลูออเรสเซนต์ไม่เกิน 100 วัตต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า น้ำอัดลม ผ้าโพลิเอสเตอร์ 100 % ผ้าทอ และน้ำมันหล่อลื่น
ส่วนการนำเข้า มียอด 62.43 ล้านบาท ลดลง 175.08 ล้านบาท หรือ 73.72% เมื่อเทียบกับปี 2549 ที่มียอดนำเข้า 237.51 ล้านบาท เนื่องจากการนำเข้าสินค้าปศุสัตว์ (โค กระบือ มีชีวิต) สินค้าเกษตร (พริกแห้ง งาดำ งาขาว และถั่วต่าง ๆ) ลดลง ขณะที่สินค้านำเข้า 10 อันดับแรกได้แก่ โค-กระบือ มีชีวิต พริกแห้ง สินค้าอุปโภค บริโภคเบ็ดเตล็ด เมล็ดงา ชิ้นไม้กฤษณา สินแร่ดีบุก สิ่งประดิษฐ์จากไม้ สินแร่พลวง ถั่วลิสง และล้อเกวียน
อย่างไรก็ตาม ในปี 2550 ไทยเกินดุลการค้า 488.14 ล้านบาท เมื่อเทียบปี 2549 จำนวน 334 ล้านบาท ถือว่าเกินดุลเพิ่มขึ้น 153.61 ล้านบาท หรือ 45.92%
พาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวอีกว่า สำหรับสถานการณ์การค้าชายแดนด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปี 2551 คาดว่าจะมีมูลค่าการค้าลดลงจากปี 2550 เนื่องจากปัจจัยด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกประการหนึ่งคือความไม่ชัดเจนด้านการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพเท่าที่ควร
สำหรับช่องทางที่มีการนำเข้า-ส่งออก ด้านแม่ฮ่องสอนประกอบไปด้วยช่องทางบ้านห้วยผึ้ง ต.ห้วยผา อ.เมือง ช่องทางบ้านน้ำเพียงดิน ต.ผาบ่อง อ.เมือง ชองทางบ้านห้วยต้นนุ่น ต.แม่เงา อ.ขุนยวม ช่องทางบ้านเสาหิน ต.เสาหิน อ.แม่สะเรียง และช่องทางบ้านแม่สามแลบ ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน พม่าปิดทางส่งไม้ผ่านไทยเข้าลาว
นอกจากนี้ ยังมีรายงานข่าวแจ้งว่า บริษัท อันตน จำกัด (ANTON.CO,LTD) ที่ได้ขออนุญาตการนำเข้าไม้สักท่อนจากประเทศพม่าลักษณะผ่านแดน (ผ่านประเทศไทย) ไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) ผ่านช่องทางบ้านน้ำเพียงดิน ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน โดยบริษัทฯ ดังกล่าวได้ยื่นเอกสารเสนอสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)ผ่านจังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้พิจารณาตามคำขอของบริษัทอันตนจำกัดนั้น
ล่าสุด พล.ท.ศิรพงษ์ บุญพัฒน์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ( สมช.) ได้มีหนังสือแจ้งมายังจังหวัดแม่ฮ่องสอน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามหนังสือที่ นร.0803/2053 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 ระบุว่า กระทรวงพาณิชย์พม่า มิได้ออกใบอนุญาตการนำเข้า-ส่งออกไม้สักให้แก่บริษัท อันตน จำกัด แต่อย่างใด
เมื่อคราว พล.ท.ศิรพงษ์ ได้เดินทางมาตรวจราชการที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ศูนย์ที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยจากากรสู้รบบ้านใหม่ในสอย ต.ปางหมู อ.เมือง และช่องทางบ้านห้วยผึ้ง ต.ห้วยผา อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อ 11-12 มกราคม 2551 ที่ผ่านมา ก็ได้ระบุว่า ไม่เห็นด้วยที่จะมีการนำเข้าไม้สักท่อนผ่านพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เกรงว่าจะเกิดปัญหาการลกลอบตัดไม้สักท่อนในฝั่งไทย อย่างไรก็ตาม หากทางการพม่าออกใบอนุญาตให้แก่บริษัททำไม้ไทย ทางเราก็ไม่ขัดข้อง
นายสมพร วิริยานุภาพพงศ์ พาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า ปี 2550 การส่งออกสินค้าด้านแม่ฮ่องสอน ไปยังพม่า มีมูลค่าการค้ารวม 613.00 ล้านบาท ลดลง 24.28%หรือลดลง 196.54 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2549 ที่มียอดการค้า 809.54 ล้านบาท เนื่องจากเกิดสถานการณ์ไม่สงบขึ้นตามแนวชายแดน ส่งผลให้มีการปิดช่องทางการค้า รวมถึงปัญหาการแข็งค่าของเงินบาท และราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นตลอดทั้งปี ทำให้ต้นทุนสินค้าไทยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
แยกเป็นส่งออก 550.57 ล้านบาท ลดลง 21.46 ล้านบาท หรือ 3.75 % เมื่อเทียบกับปี 2549 ที่มียอด 572.03 ล้านบาท สินค้าที่ส่งออก 10 อันดับแรก ได้แก่ รองเท้าแตะฟองน้ำ เครื่องอุปโภคบริโภค น้ำมันพืช ทีวีสี หลอดฟลูออเรสเซนต์ไม่เกิน 100 วัตต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า น้ำอัดลม ผ้าโพลิเอสเตอร์ 100 % ผ้าทอ และน้ำมันหล่อลื่น
ส่วนการนำเข้า มียอด 62.43 ล้านบาท ลดลง 175.08 ล้านบาท หรือ 73.72% เมื่อเทียบกับปี 2549 ที่มียอดนำเข้า 237.51 ล้านบาท เนื่องจากการนำเข้าสินค้าปศุสัตว์ (โค กระบือ มีชีวิต) สินค้าเกษตร (พริกแห้ง งาดำ งาขาว และถั่วต่าง ๆ) ลดลง ขณะที่สินค้านำเข้า 10 อันดับแรกได้แก่ โค-กระบือ มีชีวิต พริกแห้ง สินค้าอุปโภค บริโภคเบ็ดเตล็ด เมล็ดงา ชิ้นไม้กฤษณา สินแร่ดีบุก สิ่งประดิษฐ์จากไม้ สินแร่พลวง ถั่วลิสง และล้อเกวียน
อย่างไรก็ตาม ในปี 2550 ไทยเกินดุลการค้า 488.14 ล้านบาท เมื่อเทียบปี 2549 จำนวน 334 ล้านบาท ถือว่าเกินดุลเพิ่มขึ้น 153.61 ล้านบาท หรือ 45.92%
พาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวอีกว่า สำหรับสถานการณ์การค้าชายแดนด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปี 2551 คาดว่าจะมีมูลค่าการค้าลดลงจากปี 2550 เนื่องจากปัจจัยด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกประการหนึ่งคือความไม่ชัดเจนด้านการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพเท่าที่ควร
สำหรับช่องทางที่มีการนำเข้า-ส่งออก ด้านแม่ฮ่องสอนประกอบไปด้วยช่องทางบ้านห้วยผึ้ง ต.ห้วยผา อ.เมือง ช่องทางบ้านน้ำเพียงดิน ต.ผาบ่อง อ.เมือง ชองทางบ้านห้วยต้นนุ่น ต.แม่เงา อ.ขุนยวม ช่องทางบ้านเสาหิน ต.เสาหิน อ.แม่สะเรียง และช่องทางบ้านแม่สามแลบ ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน พม่าปิดทางส่งไม้ผ่านไทยเข้าลาว
นอกจากนี้ ยังมีรายงานข่าวแจ้งว่า บริษัท อันตน จำกัด (ANTON.CO,LTD) ที่ได้ขออนุญาตการนำเข้าไม้สักท่อนจากประเทศพม่าลักษณะผ่านแดน (ผ่านประเทศไทย) ไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) ผ่านช่องทางบ้านน้ำเพียงดิน ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน โดยบริษัทฯ ดังกล่าวได้ยื่นเอกสารเสนอสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)ผ่านจังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้พิจารณาตามคำขอของบริษัทอันตนจำกัดนั้น
ล่าสุด พล.ท.ศิรพงษ์ บุญพัฒน์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ( สมช.) ได้มีหนังสือแจ้งมายังจังหวัดแม่ฮ่องสอน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามหนังสือที่ นร.0803/2053 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 ระบุว่า กระทรวงพาณิชย์พม่า มิได้ออกใบอนุญาตการนำเข้า-ส่งออกไม้สักให้แก่บริษัท อันตน จำกัด แต่อย่างใด
เมื่อคราว พล.ท.ศิรพงษ์ ได้เดินทางมาตรวจราชการที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ศูนย์ที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยจากากรสู้รบบ้านใหม่ในสอย ต.ปางหมู อ.เมือง และช่องทางบ้านห้วยผึ้ง ต.ห้วยผา อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อ 11-12 มกราคม 2551 ที่ผ่านมา ก็ได้ระบุว่า ไม่เห็นด้วยที่จะมีการนำเข้าไม้สักท่อนผ่านพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เกรงว่าจะเกิดปัญหาการลกลอบตัดไม้สักท่อนในฝั่งไทย อย่างไรก็ตาม หากทางการพม่าออกใบอนุญาตให้แก่บริษัททำไม้ไทย ทางเราก็ไม่ขัดข้อง