คตส. กับอัยการมองต่างมุมสำนวนหวยบนดิน “อุดม” ยืนยันสำนวนแน่นหนา แต่อัยการย้ำยังไม่สมบูรณ์ “นาม” หาทางออก ทำหนังสือขอทนายความอาวุโสจากสภาทนายความมาเป็น กก.ตรวจสอบสำนวน คาดอาจต้องส่งฟัองเอง
ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน วานนี้ (25 ม.ค.) มีการประชุมร่วมคณะทำงานร่วมระหว่างตัวแทนอัยการสูงสุด และตัวแทนคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เพื่อพิจารณาหาทางออกในคดี การออกสลากพิเศษ 2-3 ตัว หรือหวยบนดิน โดยทางอัยการสูงสุด (อสส.) ซึ่งมีตัวแทนเป็นคณะทำงาน 5 คน แต่มาร่วมประชุมเพียง 4 คนนำโดยนายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ขณะที่ตัวแทนฝ่ายคตส.เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง 5 คน นำโดยนายอุดม เฟื่องฟุ้ง ประธานคณะกรรมการไต่สวน ในคดีดังกล่าว ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการประชุมดังกล่าวได้จัดให้สองฝ่ายนั่งตรงกันข้ามกันในลักษณะประจันหน้ากันอย่างชัดเจน
นายสัก กอแสงเรือง โฆษก คตส แถงภายการประชุม เพื่อพิจารณาความ ไม่สมบูรณ์พอของสำนวนการดำเนินคดีการออกสลากพิเศษ 2-3 ตัว หรือหวยบนดิน ว่า ในที่ประชุมคณะทำงานของอัยการสูงสุด ยังยืนยันข้อเท็จจริงตามหนังสือที่ได้แจ้งข้อไม่สมบูรณ์ทั้ง 5 ประเด็นเกี่ยวกับสำนวนการดำเนินคดี ขณะที่ตัวแทนของคตส.เห็นว่า สำนวนของคตส.ถูกต้องสมบูรณ์แล้ว ไม่ต้องดำเนินการสอบสวนพยานหรือรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมอีก ดังนั้น ที่ประชุมทั้ง 2 ฝ่ายจึงมีความเห็นไม่ตรงกันทั้ง 5 ประเด็นโดยจะมีการนัดประชุมอีกครั้งในวันที่1ก.พ.เวลา14.00 น.เพื่อพิจารณาว่าจะมีทางออกอย่างไรบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายยังยืนยันในข้อเท็จจริงและสำนวนของตัวเองจะมีทางออกในเรื่องนี้อย่างไร นายสัก กล่าวว่า ทางออกในเรื่องนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมาตรา10 ระบุว่า เมื่อคตส.ส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดสั่งฟ้องคดีแต่อัยการสูงสุดเห็นว่าสำนวนยังไม่สมบูรณ์ ก็ให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อพิจารณาข้อเท็จจริง ภายใน14วัน แต่หากอัยการสูงสุดยังยืนยันที่จะไม่ดำเนินการ หากพบกำหนดภายใน 30 วัน ตามมาตรา11 วรรค 2 ของกฎหมายดังกล่าว คตส.สามารถดำเนินการแต่งตั้งทีมทนายหรือดำเนินการฟ้องร้องเองภายใน14 วัน นับตั้งแต่วันที่ 21ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งคตส.ได้มีมติตั้งคณะทำงานร่วม
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตัวแทนอัยการสูงสุดได้ให้เหตุผลหรือไม่ถึงการยืนยันทั้ง 5 ประเด็น นายสัก กล่าวว่า ที่ประชุมต้องมีการหารือในครั้งต่อไป และต้องดูว่าการประชุมมีความเห็นสอดคล้องกันหรือไม่ ถ้าหากเห็นตรงกันก็หาทางออกได้ แต่หากมีความเห็นไม่ตรงกันอีก คตส.ก็สามารถดำเนินการของ คตส.เอง ซึ่งจะต้องมีการมาคุยกันอีกครั้ง
นายสัก กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้นายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคตส.ได้ส่งหนังสือ ขอความอนุเคราะห์ขอความร่วมมือไปยังสภาทนายความเพื่อส่งทีมทนายเข้ามา พิจารณาสำนวนร่วมกับ คตส.โดยล่าสุด ทางสภาทนายความได้ส่งทนายความอาวุโส จำนวน 5 คน ประกอบด้วย 1.นายสิทธิโชค ศรีเจริญ ประธานคณะกรรมการมารยาทสภาทนายความ 2.นายบำรุง ตันจิตติวัฒน์ อดีตอุปนายกสภาทนายความ 3.นาย สุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล อุปนายกสภาทนายความ 4.นายสมชาย หอมละออ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ และ5.นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย อดีตอุปนายกของสภาทนายความ มา โดยนายนามได้มีการลงนามออกคำสั่งแต่งตั้งตัวแทนจากสภาทนายความทั้ง 5 คน เป็นอนุกรรมการตรวจสอบสำนวนในคดีนี้แล้ว โดยคณะกรรมการชุดนี้จะมีการประชุมครั้งแรกในวันจันทร์ที่ 28 ม.ค.นี้
“คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงหลักฐานว่าสำนวนดังกล่าว มีพยานหลักฐานถูกต้องเพียงพอที่จะสั่งฟ้องต่อหรือไม่ เพราะทั้ง 5 คนเป็นทนายความ ที่มีความรู้และมีประสบการณ์และสามารถดำเนินการให้ทันภายในระยะเวลา 14 วัน”
ผู้สื่อข่าวถามว่าทั้ง 5 คนนี้ จะต้องเป็นทีมทนายความฟ้องร้องให้กับคตส. ด้วยหรือไม่ นายสัก กล่าวว่า ต้องรอการประชุมร่วม คตส.กับอัยการสูงสุดวันที่1ก.พ. ก่อนหากทั้ง 2 ฝ่ายยังยืนยันเหมือนเดิม คตส.จำเป็นต้องใช้ช่องทางออกตามกฎหมาย เพื่อดำเนินคดีความให้เสร็จสิ้น ส่วนเรื่องงบประมาณไม่น่าจะมีปัญหาเพราะตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ได้กำหนดให้รัฐบาลเป็นผู้จัดสรรสนับสนุนงบประมาณในการ ดำเนินคดี ซึ่งเรื่องนี้ไม่น่าจะมีข้อจำกัด ขณะเดียวกันที่ผ่านมาสภาทนายความ ดำเนินการฟ้องร้องก็ไม่ได้เรียกร้องเรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งหากไม่มีงบประมาณจริงๆ ก็จะต้องมีการเปิดให้มีการบริจาค
ด้าน นายอุดม เฟื่องฟุ้ง กล่าวว่า ยังยืนยันว่าสำนวน คตส.แน่นหนาพอแล้วและการที่ คตส.ให้สภาทนายความส่งทนายความเข้ามาร่วมพิจารณาตรวจสอบสำนวน เนื่องจากต้องการให้กระบวนการยุติธรรมในส่วนของภาคเอกชนร่วมพิจารณาอีกครั้งเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น และหากอัยการสูงสุดมีความเห็นไม่ตรงกับ คตส.อีก คตส.ก็มีอำนาจดำเนินการฟ้องตามช่องทางกฎหมายได้ ทั้งนี้ ต้องหารือ ในที่ประชุม คตส.วันที่28ม.ค.ก่อนว่าจะมีความเห็นอย่างไร
นายอุดม กล่าวว่า การแต่งตั้งคณะทำงานจากสภาทนายความทั้ง 5 คน เป็นไปตามระเบียบของ คตส.ข้อ 10 ที่ให้อำนาจ คตส.แต่งตั้งอนุกรรมการ ขึ้นมาพิจารณาสำนวนอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม การตั้งคณะทำงานขึ้นมานี้ไม่ได้มีปัญหากับทางอัยการสูงสุดแต่ในเมื่อความเห็น ทางกฎหมายในสำนวนไม่ตรงกัน คตส.ก็จำเป็นต้องหาข้อยุติ ซึ่งตามกฎหมายของเปิดโอกาสให้ คตส.ได้แต่งตั้งทีมทนายความฟ้องร้องเองได้
ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน วานนี้ (25 ม.ค.) มีการประชุมร่วมคณะทำงานร่วมระหว่างตัวแทนอัยการสูงสุด และตัวแทนคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เพื่อพิจารณาหาทางออกในคดี การออกสลากพิเศษ 2-3 ตัว หรือหวยบนดิน โดยทางอัยการสูงสุด (อสส.) ซึ่งมีตัวแทนเป็นคณะทำงาน 5 คน แต่มาร่วมประชุมเพียง 4 คนนำโดยนายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ขณะที่ตัวแทนฝ่ายคตส.เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง 5 คน นำโดยนายอุดม เฟื่องฟุ้ง ประธานคณะกรรมการไต่สวน ในคดีดังกล่าว ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการประชุมดังกล่าวได้จัดให้สองฝ่ายนั่งตรงกันข้ามกันในลักษณะประจันหน้ากันอย่างชัดเจน
นายสัก กอแสงเรือง โฆษก คตส แถงภายการประชุม เพื่อพิจารณาความ ไม่สมบูรณ์พอของสำนวนการดำเนินคดีการออกสลากพิเศษ 2-3 ตัว หรือหวยบนดิน ว่า ในที่ประชุมคณะทำงานของอัยการสูงสุด ยังยืนยันข้อเท็จจริงตามหนังสือที่ได้แจ้งข้อไม่สมบูรณ์ทั้ง 5 ประเด็นเกี่ยวกับสำนวนการดำเนินคดี ขณะที่ตัวแทนของคตส.เห็นว่า สำนวนของคตส.ถูกต้องสมบูรณ์แล้ว ไม่ต้องดำเนินการสอบสวนพยานหรือรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมอีก ดังนั้น ที่ประชุมทั้ง 2 ฝ่ายจึงมีความเห็นไม่ตรงกันทั้ง 5 ประเด็นโดยจะมีการนัดประชุมอีกครั้งในวันที่1ก.พ.เวลา14.00 น.เพื่อพิจารณาว่าจะมีทางออกอย่างไรบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายยังยืนยันในข้อเท็จจริงและสำนวนของตัวเองจะมีทางออกในเรื่องนี้อย่างไร นายสัก กล่าวว่า ทางออกในเรื่องนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมาตรา10 ระบุว่า เมื่อคตส.ส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดสั่งฟ้องคดีแต่อัยการสูงสุดเห็นว่าสำนวนยังไม่สมบูรณ์ ก็ให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อพิจารณาข้อเท็จจริง ภายใน14วัน แต่หากอัยการสูงสุดยังยืนยันที่จะไม่ดำเนินการ หากพบกำหนดภายใน 30 วัน ตามมาตรา11 วรรค 2 ของกฎหมายดังกล่าว คตส.สามารถดำเนินการแต่งตั้งทีมทนายหรือดำเนินการฟ้องร้องเองภายใน14 วัน นับตั้งแต่วันที่ 21ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งคตส.ได้มีมติตั้งคณะทำงานร่วม
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตัวแทนอัยการสูงสุดได้ให้เหตุผลหรือไม่ถึงการยืนยันทั้ง 5 ประเด็น นายสัก กล่าวว่า ที่ประชุมต้องมีการหารือในครั้งต่อไป และต้องดูว่าการประชุมมีความเห็นสอดคล้องกันหรือไม่ ถ้าหากเห็นตรงกันก็หาทางออกได้ แต่หากมีความเห็นไม่ตรงกันอีก คตส.ก็สามารถดำเนินการของ คตส.เอง ซึ่งจะต้องมีการมาคุยกันอีกครั้ง
นายสัก กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้นายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคตส.ได้ส่งหนังสือ ขอความอนุเคราะห์ขอความร่วมมือไปยังสภาทนายความเพื่อส่งทีมทนายเข้ามา พิจารณาสำนวนร่วมกับ คตส.โดยล่าสุด ทางสภาทนายความได้ส่งทนายความอาวุโส จำนวน 5 คน ประกอบด้วย 1.นายสิทธิโชค ศรีเจริญ ประธานคณะกรรมการมารยาทสภาทนายความ 2.นายบำรุง ตันจิตติวัฒน์ อดีตอุปนายกสภาทนายความ 3.นาย สุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล อุปนายกสภาทนายความ 4.นายสมชาย หอมละออ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ และ5.นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย อดีตอุปนายกของสภาทนายความ มา โดยนายนามได้มีการลงนามออกคำสั่งแต่งตั้งตัวแทนจากสภาทนายความทั้ง 5 คน เป็นอนุกรรมการตรวจสอบสำนวนในคดีนี้แล้ว โดยคณะกรรมการชุดนี้จะมีการประชุมครั้งแรกในวันจันทร์ที่ 28 ม.ค.นี้
“คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงหลักฐานว่าสำนวนดังกล่าว มีพยานหลักฐานถูกต้องเพียงพอที่จะสั่งฟ้องต่อหรือไม่ เพราะทั้ง 5 คนเป็นทนายความ ที่มีความรู้และมีประสบการณ์และสามารถดำเนินการให้ทันภายในระยะเวลา 14 วัน”
ผู้สื่อข่าวถามว่าทั้ง 5 คนนี้ จะต้องเป็นทีมทนายความฟ้องร้องให้กับคตส. ด้วยหรือไม่ นายสัก กล่าวว่า ต้องรอการประชุมร่วม คตส.กับอัยการสูงสุดวันที่1ก.พ. ก่อนหากทั้ง 2 ฝ่ายยังยืนยันเหมือนเดิม คตส.จำเป็นต้องใช้ช่องทางออกตามกฎหมาย เพื่อดำเนินคดีความให้เสร็จสิ้น ส่วนเรื่องงบประมาณไม่น่าจะมีปัญหาเพราะตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ได้กำหนดให้รัฐบาลเป็นผู้จัดสรรสนับสนุนงบประมาณในการ ดำเนินคดี ซึ่งเรื่องนี้ไม่น่าจะมีข้อจำกัด ขณะเดียวกันที่ผ่านมาสภาทนายความ ดำเนินการฟ้องร้องก็ไม่ได้เรียกร้องเรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งหากไม่มีงบประมาณจริงๆ ก็จะต้องมีการเปิดให้มีการบริจาค
ด้าน นายอุดม เฟื่องฟุ้ง กล่าวว่า ยังยืนยันว่าสำนวน คตส.แน่นหนาพอแล้วและการที่ คตส.ให้สภาทนายความส่งทนายความเข้ามาร่วมพิจารณาตรวจสอบสำนวน เนื่องจากต้องการให้กระบวนการยุติธรรมในส่วนของภาคเอกชนร่วมพิจารณาอีกครั้งเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น และหากอัยการสูงสุดมีความเห็นไม่ตรงกับ คตส.อีก คตส.ก็มีอำนาจดำเนินการฟ้องตามช่องทางกฎหมายได้ ทั้งนี้ ต้องหารือ ในที่ประชุม คตส.วันที่28ม.ค.ก่อนว่าจะมีความเห็นอย่างไร
นายอุดม กล่าวว่า การแต่งตั้งคณะทำงานจากสภาทนายความทั้ง 5 คน เป็นไปตามระเบียบของ คตส.ข้อ 10 ที่ให้อำนาจ คตส.แต่งตั้งอนุกรรมการ ขึ้นมาพิจารณาสำนวนอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม การตั้งคณะทำงานขึ้นมานี้ไม่ได้มีปัญหากับทางอัยการสูงสุดแต่ในเมื่อความเห็น ทางกฎหมายในสำนวนไม่ตรงกัน คตส.ก็จำเป็นต้องหาข้อยุติ ซึ่งตามกฎหมายของเปิดโอกาสให้ คตส.ได้แต่งตั้งทีมทนายความฟ้องร้องเองได้