เซ็นทรัลรีเทล ยกเครื่องระบบซัปพลายเชนใหม่ รับการเติบโตธุรกิจ 7 บริษัท และขยายสาขารุกตลาดต่างประเทศ ทุ่ม 1,500 ล้านบาท ผุดศูนย์กระจายสินค้าใหม่ บนพื้นที่ 50,000 ตร.ม. พร้อมโยกศูนย์ฯ เดิม 6 แห่งไว้ที่ใหม่ หวังลดค่าใช้จ่ายขนส่ง 12% หรือกว่า 30 ล้านบาทต่อปี เท 300 ล้านบาท เชื่อมโยงบริหารคลังสินค้าใหม่ ปรับตัวลดต้นทุนนำพลังงานทดแทนมาใช้
นายดนัย คาลัสซี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายซัปพลายเชน บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือซีอาร์ซี เปิดเผยว่า บริษัทฯได้เตรียมทุ่มงบประมาณ 1,500 ล้านบาท ลงทุนศูนย์กระจายสินค้าแห่งใหม่ เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจของบริษัทในเครือ 7 บริษัท (ไม่รวม บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล หรือ ท็อปส์) ตลอดจนการดำเนินธุรกิจรีเทลในต่างประเทศ อย่างเช่นในประเทศจีน เป็นต้น ซึ่งขณะนี้กำลังเล็งทำเลว่าจะตั้งอยู่ย่านพระราม 2 หรือบางนา คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปี 2553
ทั้งนี้บริษัทฯได้วางแผนโยกศูนย์กระจายสินค้าเดิมทั้งหมด 6 แห่ง ได้แก่ เชิงสะพานกรุงเทพ เพาเวอร์บาย ปทุมธานี ย่านโรบินสัน บางแค และสุขสวัสดิ์ 76 ประกอบด้วย 3 กลุ่มสินค้า คือ ซูเปอร์สปอร์ต ออฟฟิศดีโป โฮมเวิร์ค มาไว้ที่ศูนย์กระจายสินค้าแห่งใหม่ทั้งหมด ซึ่งศูนย์ฯเดิมทั้ง 6 แห่ง ใกล้จะหมดสัญญาแล้วในปี 2551-2552 นี้
สำหรับศูนย์กระจายสินค้าใหม่ บริษัทฯจะหาพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญการบริหารมาพัฒนาเป็นหลัก และเป็นศูนย์ฯในรูปแบบการเช่า เพราะมีความคล่องตัวมากกว่า โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่เป็นที่ดิน บนพื้นที่ 50,000 ตร.ม. ระบบการจัดการ อาทิ การหยิบสินค้าด้วยเสียง แสงไฟ นอกจากนี้ยังปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศใหม่ทั้งระบบ ให้สามารถรองรับการใช้งาน RFID(Radio Frequency Identification) เพื่อติดตามจำนวนสินค้าและความเคลื่อนไหวต่างๆ ในระบบโลจิสติกส์แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้จะมุ่งเน้นการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างคู่ค้า
ทั้งนี้เฟสแรกในช่วง 2-3 ปี ของการบริหารศูนย์ฯใช้พื้นที่ 30,000 ตร.ม. และคาดว่า 5 ปี ศูนย์จะสมบูรณ์แบบ และจากการโยกศูนย์กระจายสินค้าไว้ที่เดียวกัน ช่วยส่งสินค้าได้เร็วมากขึ้น และสร้างความเชื่อมั่นการลงทุนของซัปพลายเออร์ และจากการรวมศูนย์กระจายสินค้า สามารถลดค่าใช้จ่ายขนส่งได้ลงประมาณ 12% หรือกว่า 30 ล้านบาทต่อปี อย่างไรก็ตามได้เตรียมนำระบบการจัดการได้มาใช้ใน 6 ศูนย์กระจายสินค้าบ้างแล้ว เพื่อนำร่องก่อนที่จะใช้ระบบการจัดการอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต
“ธุรกิจค้าปลีกของเซ็นทรัลรีเทล มีการขยายการเติบโตอยู่ตลอดในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา บริษัทฯตระหนักว่าระบบลอจิสติกส์และซัปพลายเชนจำเป็นอย่างมาก สำหรับสภาพการแข่งขันในภาวะปัจจุบันที่น้ำมันมีราคาสูง จาก 14 บาทต่อลิตรเป็น 29-30 บาทต่อลิตร หรือเรียกว่าขึ้น 100% ดังนั้นการบริหารคลังสินค้า สินค้าคงคลัง และการกระจายสินค้า ตลอดจนการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างบริษัท จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะช่วยลดขั้นตอนการทำงานและลดค่าใช้จ่ายโดยรวมระบบซัปพลายเชน”
**ทุ่ม300ล.เชื่อมโยงบริหารคลังใหม่ **
นายดนัย กล่าวว่า ได้ทุ่มงบ 300 ล้านบาท นำระบบบริหารคลังสินค้าเชื่อมโยงกระบวนการทำงาน สินค้าและข้อมูลในระบบซัปพลายเชน นำไปสู่การพัฒนาโครงการต่างๆ ที่เสริมความสัมพันธ์กับบริษัทคู่ค้า ในการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ซัปพลายเชนยังวางแผนระบบการขนส่งสินค้าที่มีจุดหมายปลายทางเดียวหรือใกล้เคียงกันจัดส่งไปด้วยกัน ขณะเดียวกันขากลับก็วิ่งรับรถเปล่าแวะรับสินค้ากลับมาด้วย ก่อนหน้านี้ร่วมกับบริษัทคู่ค้ารายใหญ่ โดยมีสินค้าที่ร่วมถึง 12 แบรนด์ ได้แก่ ซีเอ็มจี สตาร์แฟชั่น และล่าสุดเริ่มทำกับคู่ค้าเอสเอ็มอี สามารถ ช่วยลดค่าใช้จ่ายกว่า 40%
อีกทั้งได้ศึกษาการใช้พลังงานการเลือกอย่าง NGV และ ไบโอดีเซล รวมถึงการขนส่งรถไฟ คาดว่าจะช่วยลดต้นทุนอย่างน้อย 20%รวมทั้งปีนี้ได้พัฒนาระบบ Wed Tracking เพื่อให้ทุกฝ่ายทั้งผู้ส่งและผู้รับสินค้าสามารถตรวจสอบสินค้าสถานะแบบเรียลไทม์ ขณะเดียวกันได้เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่จากเดิมใช้ลังมาเป็นพลาสติก เพื่อป้องกันการชำรุดและส่งสินค้าได้มากขึ้น รวมทั้งจัดระบบการขนส่งสินค้าที่มีราคาแพง โดยจับมือร่วมกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญ
ปัจจุบันเซ็นทรัลรีเทล มีรถบรรทุกทั้งหมด 400 คัน ได้แก่ รถ 6 ล้อ จำนวน 100 คัน และรถ 4 ล้อ 300 คัน และมีซัปพลายเออร์จำนวน 5,000 ราย หรือคิดเป็น 70-80% ที่ใช้ศูนย์กระจายสินค้าผ่านบริษัทฯ ส่วนอีก 20-30% เป็นสินค้าใหม่ที่บริหารการกระจายสินค้าเอง
นายดนัย คาลัสซี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายซัปพลายเชน บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือซีอาร์ซี เปิดเผยว่า บริษัทฯได้เตรียมทุ่มงบประมาณ 1,500 ล้านบาท ลงทุนศูนย์กระจายสินค้าแห่งใหม่ เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจของบริษัทในเครือ 7 บริษัท (ไม่รวม บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล หรือ ท็อปส์) ตลอดจนการดำเนินธุรกิจรีเทลในต่างประเทศ อย่างเช่นในประเทศจีน เป็นต้น ซึ่งขณะนี้กำลังเล็งทำเลว่าจะตั้งอยู่ย่านพระราม 2 หรือบางนา คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปี 2553
ทั้งนี้บริษัทฯได้วางแผนโยกศูนย์กระจายสินค้าเดิมทั้งหมด 6 แห่ง ได้แก่ เชิงสะพานกรุงเทพ เพาเวอร์บาย ปทุมธานี ย่านโรบินสัน บางแค และสุขสวัสดิ์ 76 ประกอบด้วย 3 กลุ่มสินค้า คือ ซูเปอร์สปอร์ต ออฟฟิศดีโป โฮมเวิร์ค มาไว้ที่ศูนย์กระจายสินค้าแห่งใหม่ทั้งหมด ซึ่งศูนย์ฯเดิมทั้ง 6 แห่ง ใกล้จะหมดสัญญาแล้วในปี 2551-2552 นี้
สำหรับศูนย์กระจายสินค้าใหม่ บริษัทฯจะหาพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญการบริหารมาพัฒนาเป็นหลัก และเป็นศูนย์ฯในรูปแบบการเช่า เพราะมีความคล่องตัวมากกว่า โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่เป็นที่ดิน บนพื้นที่ 50,000 ตร.ม. ระบบการจัดการ อาทิ การหยิบสินค้าด้วยเสียง แสงไฟ นอกจากนี้ยังปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศใหม่ทั้งระบบ ให้สามารถรองรับการใช้งาน RFID(Radio Frequency Identification) เพื่อติดตามจำนวนสินค้าและความเคลื่อนไหวต่างๆ ในระบบโลจิสติกส์แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้จะมุ่งเน้นการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างคู่ค้า
ทั้งนี้เฟสแรกในช่วง 2-3 ปี ของการบริหารศูนย์ฯใช้พื้นที่ 30,000 ตร.ม. และคาดว่า 5 ปี ศูนย์จะสมบูรณ์แบบ และจากการโยกศูนย์กระจายสินค้าไว้ที่เดียวกัน ช่วยส่งสินค้าได้เร็วมากขึ้น และสร้างความเชื่อมั่นการลงทุนของซัปพลายเออร์ และจากการรวมศูนย์กระจายสินค้า สามารถลดค่าใช้จ่ายขนส่งได้ลงประมาณ 12% หรือกว่า 30 ล้านบาทต่อปี อย่างไรก็ตามได้เตรียมนำระบบการจัดการได้มาใช้ใน 6 ศูนย์กระจายสินค้าบ้างแล้ว เพื่อนำร่องก่อนที่จะใช้ระบบการจัดการอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต
“ธุรกิจค้าปลีกของเซ็นทรัลรีเทล มีการขยายการเติบโตอยู่ตลอดในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา บริษัทฯตระหนักว่าระบบลอจิสติกส์และซัปพลายเชนจำเป็นอย่างมาก สำหรับสภาพการแข่งขันในภาวะปัจจุบันที่น้ำมันมีราคาสูง จาก 14 บาทต่อลิตรเป็น 29-30 บาทต่อลิตร หรือเรียกว่าขึ้น 100% ดังนั้นการบริหารคลังสินค้า สินค้าคงคลัง และการกระจายสินค้า ตลอดจนการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างบริษัท จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะช่วยลดขั้นตอนการทำงานและลดค่าใช้จ่ายโดยรวมระบบซัปพลายเชน”
**ทุ่ม300ล.เชื่อมโยงบริหารคลังใหม่ **
นายดนัย กล่าวว่า ได้ทุ่มงบ 300 ล้านบาท นำระบบบริหารคลังสินค้าเชื่อมโยงกระบวนการทำงาน สินค้าและข้อมูลในระบบซัปพลายเชน นำไปสู่การพัฒนาโครงการต่างๆ ที่เสริมความสัมพันธ์กับบริษัทคู่ค้า ในการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ซัปพลายเชนยังวางแผนระบบการขนส่งสินค้าที่มีจุดหมายปลายทางเดียวหรือใกล้เคียงกันจัดส่งไปด้วยกัน ขณะเดียวกันขากลับก็วิ่งรับรถเปล่าแวะรับสินค้ากลับมาด้วย ก่อนหน้านี้ร่วมกับบริษัทคู่ค้ารายใหญ่ โดยมีสินค้าที่ร่วมถึง 12 แบรนด์ ได้แก่ ซีเอ็มจี สตาร์แฟชั่น และล่าสุดเริ่มทำกับคู่ค้าเอสเอ็มอี สามารถ ช่วยลดค่าใช้จ่ายกว่า 40%
อีกทั้งได้ศึกษาการใช้พลังงานการเลือกอย่าง NGV และ ไบโอดีเซล รวมถึงการขนส่งรถไฟ คาดว่าจะช่วยลดต้นทุนอย่างน้อย 20%รวมทั้งปีนี้ได้พัฒนาระบบ Wed Tracking เพื่อให้ทุกฝ่ายทั้งผู้ส่งและผู้รับสินค้าสามารถตรวจสอบสินค้าสถานะแบบเรียลไทม์ ขณะเดียวกันได้เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่จากเดิมใช้ลังมาเป็นพลาสติก เพื่อป้องกันการชำรุดและส่งสินค้าได้มากขึ้น รวมทั้งจัดระบบการขนส่งสินค้าที่มีราคาแพง โดยจับมือร่วมกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญ
ปัจจุบันเซ็นทรัลรีเทล มีรถบรรทุกทั้งหมด 400 คัน ได้แก่ รถ 6 ล้อ จำนวน 100 คัน และรถ 4 ล้อ 300 คัน และมีซัปพลายเออร์จำนวน 5,000 ราย หรือคิดเป็น 70-80% ที่ใช้ศูนย์กระจายสินค้าผ่านบริษัทฯ ส่วนอีก 20-30% เป็นสินค้าใหม่ที่บริหารการกระจายสินค้าเอง