แม้ข้าวของเครื่องใช้อาจเสียหายไปบ้าง แต่การระเบิดอารมณ์ใส่กันระหว่างสามี-ภรรยาได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นหนึ่งในเคล็ดลับยาอายุวัฒนะ
ในทางกลับกัน คู่ที่เก็บกดความคิดเห็นที่แตกต่างและอารมณ์โกรธไว้ในอก มีแนวโน้มเสียชีวิตเร็วกว่า เนื่องจากการพยายามแก้ไขความขัดแย้ง แม้ด้วยวิธีการที่รุนแรง เป็นผลดีต่อสุขภาพมากกว่าการสะสมความเครียดไว้กับตัวเอง
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ศึกษาสามี-ภรรยา 192 คู่นาน 17 ปี โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มๆ แรกประกอบด้วยคู่ที่ทั้งคู่ระบายอารมณ์คุกรุ่นใส่กัน กลุ่มที่สอง สามีแสดงความฉุนเฉียวออกมา ส่วนภรรยาสะกดกลั้น
กลุ่มที่สาม ภรรยาฮึ่มใส่สามีฝ่ายเดียว และกลุ่มสุดท้าย เงียบงันกันทั้งคู่
นักวิจัยพบว่า อัตราการเสียชีวิตของกลุ่มสุดท้ายในระหว่างการติดตามผลสูงกว่าทุกกลุ่ม และแนวโน้มนี้ชัดเจนแม้นำปัจจัยอื่นๆ อาทิ อายุ การสูบบุหรี่ น้ำหนักตัว ความดันโลหิต ปัญหาเกี่ยวกับหลอดลม และความเสี่ยงโรคหัวใจมาพิจารณาประกอบด้วย
ในกลุ่มสุดท้าย ซึ่งประกอบด้วยสามี-ภรรยา 26 คู่นั้น มีผู้เสียชีวิต 13 ราย ขณะที่อีก 166 คู่ที่เหลือ เสียชีวิตเพียง 41 ราย
“เมื่อคนเราอยู่กินกัน หนึ่งในภารกิจหลักคือการแก้ไขข้อขัดแย้ง ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่มีสอนอยู่ในตำรา แต่ถ้ามีคู่ที่ดี อีกฝ่ายก็จะเลียนแบบ แต่ปกติแล้ว เรามักละเลยกระบวนการแก้ไขข้อขัดแย้ง ประเด็นสำคัญก็คือ เมื่อทะเลาะกัน คุณแก้ปัญหาอย่างไร” เออร์เนสต์ ฮาร์เบิร์ก ศาสตราจารย์กิตติคุณของคณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมิชิแกน ซึ่งเป็นผู้ศึกษาเรื่องนี้กล่าว
อย่างไรก็ดี ศาสตราจารย์ฮาร์เบิร์กย้ำว่า นี่เป็นเพียงผลการศึกษาเบื้องต้นที่ครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กมาก และขณะนี้ นักวิจัยกำลังเก็บข้อมูลและขยายเวลาการติดตามผลออกไปเป็นเกิน 30 ปี
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ แอนดริว มาร์แชล นักบำบัดปัญหาสัมพันธภาพของบริษัทที่ปรึกษา รีเลต ระบุเช่นเดียวกันว่า การโต้เถียงดีต่อความสัมพันธ์ หลังพบว่าคู่ที่ไม่มีความสุขมักเป็นคู่ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเงียบเฉย แม้ไม่เข้าใจในความคิดเห็นของอีกฝ่ายก็ตาม
โดยเฉพาะคู่ที่มีลูก ทำให้หมกมุ่นกับการทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกด้วยการไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ซึ่งแท้ที่จริงกลับนำไปสู่ปัญหารุนแรงขึ้น เช่น การหย่าร้าง
ในทางกลับกัน มาร์แชลเชื่อว่า การเห็นพ่อแม่โต้เถียงกันแรงๆ จะทำให้เด็กได้เรียนรู้บทเรียนสำคัญเรื่องความซื่อสัตย์ การประนีประณอม และการปรองดอง
ในทางกลับกัน คู่ที่เก็บกดความคิดเห็นที่แตกต่างและอารมณ์โกรธไว้ในอก มีแนวโน้มเสียชีวิตเร็วกว่า เนื่องจากการพยายามแก้ไขความขัดแย้ง แม้ด้วยวิธีการที่รุนแรง เป็นผลดีต่อสุขภาพมากกว่าการสะสมความเครียดไว้กับตัวเอง
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ศึกษาสามี-ภรรยา 192 คู่นาน 17 ปี โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มๆ แรกประกอบด้วยคู่ที่ทั้งคู่ระบายอารมณ์คุกรุ่นใส่กัน กลุ่มที่สอง สามีแสดงความฉุนเฉียวออกมา ส่วนภรรยาสะกดกลั้น
กลุ่มที่สาม ภรรยาฮึ่มใส่สามีฝ่ายเดียว และกลุ่มสุดท้าย เงียบงันกันทั้งคู่
นักวิจัยพบว่า อัตราการเสียชีวิตของกลุ่มสุดท้ายในระหว่างการติดตามผลสูงกว่าทุกกลุ่ม และแนวโน้มนี้ชัดเจนแม้นำปัจจัยอื่นๆ อาทิ อายุ การสูบบุหรี่ น้ำหนักตัว ความดันโลหิต ปัญหาเกี่ยวกับหลอดลม และความเสี่ยงโรคหัวใจมาพิจารณาประกอบด้วย
ในกลุ่มสุดท้าย ซึ่งประกอบด้วยสามี-ภรรยา 26 คู่นั้น มีผู้เสียชีวิต 13 ราย ขณะที่อีก 166 คู่ที่เหลือ เสียชีวิตเพียง 41 ราย
“เมื่อคนเราอยู่กินกัน หนึ่งในภารกิจหลักคือการแก้ไขข้อขัดแย้ง ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่มีสอนอยู่ในตำรา แต่ถ้ามีคู่ที่ดี อีกฝ่ายก็จะเลียนแบบ แต่ปกติแล้ว เรามักละเลยกระบวนการแก้ไขข้อขัดแย้ง ประเด็นสำคัญก็คือ เมื่อทะเลาะกัน คุณแก้ปัญหาอย่างไร” เออร์เนสต์ ฮาร์เบิร์ก ศาสตราจารย์กิตติคุณของคณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมิชิแกน ซึ่งเป็นผู้ศึกษาเรื่องนี้กล่าว
อย่างไรก็ดี ศาสตราจารย์ฮาร์เบิร์กย้ำว่า นี่เป็นเพียงผลการศึกษาเบื้องต้นที่ครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กมาก และขณะนี้ นักวิจัยกำลังเก็บข้อมูลและขยายเวลาการติดตามผลออกไปเป็นเกิน 30 ปี
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ แอนดริว มาร์แชล นักบำบัดปัญหาสัมพันธภาพของบริษัทที่ปรึกษา รีเลต ระบุเช่นเดียวกันว่า การโต้เถียงดีต่อความสัมพันธ์ หลังพบว่าคู่ที่ไม่มีความสุขมักเป็นคู่ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเงียบเฉย แม้ไม่เข้าใจในความคิดเห็นของอีกฝ่ายก็ตาม
โดยเฉพาะคู่ที่มีลูก ทำให้หมกมุ่นกับการทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกด้วยการไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ซึ่งแท้ที่จริงกลับนำไปสู่ปัญหารุนแรงขึ้น เช่น การหย่าร้าง
ในทางกลับกัน มาร์แชลเชื่อว่า การเห็นพ่อแม่โต้เถียงกันแรงๆ จะทำให้เด็กได้เรียนรู้บทเรียนสำคัญเรื่องความซื่อสัตย์ การประนีประณอม และการปรองดอง