ผู้จัดการรายวัน – สทน.เตรียมเสนอแนวคิดรัฐมนตรีฯท่องเที่ยวคนใหม่ ใช้นโยบายสมดุลย์ มองตลาดทุกเซกเมนต์สำคัญเท่ากัน ชี้หน้าที่ททท.ควรกระตุ้นดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาทุกระดับ ฉะการทำงานที่ผ่านมาเรื่องความร่วมมือกับภาคเอกชนมีแต่เสียงพูด แต่ไม่ได้ปฎิบัติจริง ระบุโฉมหน้ารัฐบาลชุดใหม่หวั่นเกิดความวุ่นวายอีกครั้ง
นายเจริญ วังอนานนท์ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) เปิดเผยว่า ได้เตรียมเรื่องที่จะเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคนใหม่ว่า ภาคเอกชนต้องการให้เดินแผนนโยบายด้านการท่องเที่ยวแบบสมดุลย์ ใน 2 ส่วนหลัก คือ 1.ด้านนักท่องเที่ยวต่างชาติ ต้องความสำคัญกับตลาดในทุกเซกเมนต์ เพื่อกระจายรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการทุกภาคส่วน ตั้งแต่ระดับไฮเอนด์ ลงไปจนถึงระดับผู้ประกอบการท้องถิ่นและเอสเอ็มอี 2.ให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศ(โดเมสติก) เท่ากับๆกับตลาดต่างประเทศ เพราะปัจจุบัน มองว่า ททท.ให้ความสำคัญกับตลาดต่างประเทศมากกว่า
ทั้งนี้ สทน.ต้องการให้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะกำกับดูและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) มอบนโยบาบให้ ททท. เดินแผนงานแบบสมดุลย์ เพราะทุกตลาดมีความสำคัญเทียบเท่ากัน และ หน้าที่ การตลาดของ ททท. จะต้องไม่เลือก หรือแบ่งทำเพียงตลาดไฮเอนด์ เท่านั้น เพื่อให้ได้รายได้เข้าประเทศจำนวนมาก แต่ไม่คำนึงความอยู่รอดของผู้ประกอบการรายเล็ก ส่วนตลาดโดเมสติก
“อยากให้มองว่าทุกตลาดมีความสำคัญเท่ากัน ททท.ต้องหานักท่องเที่ยวมาเติมเต็มทุกเซกเมนต์ ไม่ใช่ว่านักท่องเที่ยวไฮเอนด์จะดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมได้เพียงตลาดเดียว ส่วนตลาดในประเทศ ถ้าททท.มีนโยบายมุ่งมั่นชัดเจนเหมือนแผนของตลาดต่างประเทศก็เชื่อว่าตลาดจะดีขึ้น เพราะดูจากมูลค่าตลาดโดเมสติก ที่ผ่านมา ที่ก่อเกิดเงินหมุนเวียน 3-4 แสนล้านบาทต่อปี ก็เป็นเม็ดเงินที่ไม่น้อยเลย ซึ่งประเทศ จีน และ ญี่ปุ่น มีรายได้จากโดเมสติกเฉลี่ย 70% ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมด”
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ยังคงมีอยู่ในทุกรัฐบาลของอุตสาหกรรมกรท่องเที่ยว คือ ไม่สามารถเห็นภาพความร่วมมือระหว่างรัฐกับเอกชน ใน 3 หน่วยงานหลัก ที่เป็นผู้นำของอุตสาหกรรมนี้ คือ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คือ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ , การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) และเอกชนที่อยู่ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย เติบโตได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น หากเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง อย่างสิงคโปร์ ฮ่องกง ซึ่งประเทศไทยเหนือกว่าตรงที่ มีพื้นที่กว้างใหญ่กว่า หาดทรายชายทะเล และ สินค้าท่องเที่ยว่หลากหลาย แต่ประเทศไทยยังบริหารจัดการไม่เป็น และการต่อยอดความคิดก็สู้สิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศเล็กๆไม่ได้
“ทุกวันนี้มีแต่พูดกันว่ารัฐกับเอกชนจะทำงานร่วมกันมากขึ้นแต่ในทางปฎิบัติ ยังไม่สามารถทำได้จริง ถ้าทำได้เชื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยจะโตปีละกว่า 10% จากปัจจุบันโตเฉลี่ย 5-6%” นายเจริญ กล่าว
ด้านแหล่งข่าวจากภาคเอกชนท่องเที่ยว กล่าวเสริมว่า ปัญหาทางการเมืองก็เป็นปัจจัยลบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ล่าสุดโฉมหน้าของคณะรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ มองว่าส่อไปในทางพร้อมที่จะเผชิญหน้ากัน จึงกังวลว่าจะเกิดความรุนแรงซึ่งจะกระทบต่อตลาดการท่องเที่ยวโดยตรง
นายเจริญ วังอนานนท์ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) เปิดเผยว่า ได้เตรียมเรื่องที่จะเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคนใหม่ว่า ภาคเอกชนต้องการให้เดินแผนนโยบายด้านการท่องเที่ยวแบบสมดุลย์ ใน 2 ส่วนหลัก คือ 1.ด้านนักท่องเที่ยวต่างชาติ ต้องความสำคัญกับตลาดในทุกเซกเมนต์ เพื่อกระจายรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการทุกภาคส่วน ตั้งแต่ระดับไฮเอนด์ ลงไปจนถึงระดับผู้ประกอบการท้องถิ่นและเอสเอ็มอี 2.ให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศ(โดเมสติก) เท่ากับๆกับตลาดต่างประเทศ เพราะปัจจุบัน มองว่า ททท.ให้ความสำคัญกับตลาดต่างประเทศมากกว่า
ทั้งนี้ สทน.ต้องการให้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะกำกับดูและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) มอบนโยบาบให้ ททท. เดินแผนงานแบบสมดุลย์ เพราะทุกตลาดมีความสำคัญเทียบเท่ากัน และ หน้าที่ การตลาดของ ททท. จะต้องไม่เลือก หรือแบ่งทำเพียงตลาดไฮเอนด์ เท่านั้น เพื่อให้ได้รายได้เข้าประเทศจำนวนมาก แต่ไม่คำนึงความอยู่รอดของผู้ประกอบการรายเล็ก ส่วนตลาดโดเมสติก
“อยากให้มองว่าทุกตลาดมีความสำคัญเท่ากัน ททท.ต้องหานักท่องเที่ยวมาเติมเต็มทุกเซกเมนต์ ไม่ใช่ว่านักท่องเที่ยวไฮเอนด์จะดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมได้เพียงตลาดเดียว ส่วนตลาดในประเทศ ถ้าททท.มีนโยบายมุ่งมั่นชัดเจนเหมือนแผนของตลาดต่างประเทศก็เชื่อว่าตลาดจะดีขึ้น เพราะดูจากมูลค่าตลาดโดเมสติก ที่ผ่านมา ที่ก่อเกิดเงินหมุนเวียน 3-4 แสนล้านบาทต่อปี ก็เป็นเม็ดเงินที่ไม่น้อยเลย ซึ่งประเทศ จีน และ ญี่ปุ่น มีรายได้จากโดเมสติกเฉลี่ย 70% ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมด”
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ยังคงมีอยู่ในทุกรัฐบาลของอุตสาหกรรมกรท่องเที่ยว คือ ไม่สามารถเห็นภาพความร่วมมือระหว่างรัฐกับเอกชน ใน 3 หน่วยงานหลัก ที่เป็นผู้นำของอุตสาหกรรมนี้ คือ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คือ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ , การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) และเอกชนที่อยู่ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย เติบโตได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น หากเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง อย่างสิงคโปร์ ฮ่องกง ซึ่งประเทศไทยเหนือกว่าตรงที่ มีพื้นที่กว้างใหญ่กว่า หาดทรายชายทะเล และ สินค้าท่องเที่ยว่หลากหลาย แต่ประเทศไทยยังบริหารจัดการไม่เป็น และการต่อยอดความคิดก็สู้สิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศเล็กๆไม่ได้
“ทุกวันนี้มีแต่พูดกันว่ารัฐกับเอกชนจะทำงานร่วมกันมากขึ้นแต่ในทางปฎิบัติ ยังไม่สามารถทำได้จริง ถ้าทำได้เชื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยจะโตปีละกว่า 10% จากปัจจุบันโตเฉลี่ย 5-6%” นายเจริญ กล่าว
ด้านแหล่งข่าวจากภาคเอกชนท่องเที่ยว กล่าวเสริมว่า ปัญหาทางการเมืองก็เป็นปัจจัยลบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ล่าสุดโฉมหน้าของคณะรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ มองว่าส่อไปในทางพร้อมที่จะเผชิญหน้ากัน จึงกังวลว่าจะเกิดความรุนแรงซึ่งจะกระทบต่อตลาดการท่องเที่ยวโดยตรง