ผู้จัดการรายวัน – ไทยหนุนเปิดเสรีการบินในกลุ่ม IMT-GT ดึงโลว์คอสต์จากอินโดฯเข้าหาดใหญ่ ชวนนักท่องเที่ยวแดนอิเหนาเข้าไทยโตเท่าตัว บูมเศรษฐกิจท่องเที่ยวภาคใต้ จี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลดค่าแลนด์ดิ้งสนามบิน หาดใหญ่ ขณะที่ความร่วมมือในกลุ่ม GMS มั่นใจเกิดนักท่องเที่ยวหมุนเวียนกันในภูมิภาคเป็นกว่า 50 ล้านคน ในปี 2558
นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะทำงานพิเศษด้านการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจท่องเที่ยวอาเซียน ได้เห็นชอบในข้อเสนอของกิจกรรมร่วมกันในการอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางภายในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้งทางบกและทางทะเล ประกอบด้วยการจัดทำสัญลักษณ์ป้ายบอกทางสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ การอำนวยความสะดวกสำหรับรถโดยสารท่องเที่ยว การวิเคราะห์ตลาดและผลปนะโยชนี่จะได้รับจากข้อตกลงการเปิดเสรีทางอากาศในกลุ่มประเทศสมาชิก เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับเมืองที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจว่าจะเป็นจุดหมายปลายทางของเส้นทางการบินร่วมกัน(city-pairs)
ทั้งนี้ในส่วนของการอำนวยความสะดวกทางอากาศ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวระหว่าง 3 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย ภายใต้กรอบความร่วมมือ IMT-GT ซึ่งประเทศไทยจะได้ประโยชน์ในการส่งเสริมท่องเที่ยวทางภาคใต้ของไทย ดังนั้นในที่ประชุมประเทศไทยจึงเน้นย้ำถึงความสำคัญของนโยบายเปิดเสรีทางบกโดยรถโดยสารท่องเที่ยว และ ทางอากาศโดยสายการบินต้นทุนต่ำ(โลว์คอสต์) เชื่อมต่อระหว่าง 3 ประเทศ
ในรายละเอียดของการสนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวดังกล่าว คือ ต้องการให้ทั้ง 3 ประเทศ ใช้สายการบินโลว์คอสต์เปิดเส้นทางบินระหว่างกัน และมีการเจรจากับทางท่าอากาศยาน เพื่อขอลดค่าแลนด์ดิ้ง เป็นการจูงใจแก่สายการบินโลว์คอสต์ จุดประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้เดินทางไปมาระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในประเด็นนี้ สำหรับประเทศไทย เห็นว่า หากสามารถดึงสายการบินโลว์คอสต์จาก เมืองเมดาน ประเทศอินโดนีเซียน มาลงที่สนามบินหาดใหญ่ จ.สงขลา ไทยจะสามารถเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศอินโดนีเซียได้กว่าเท่าตัว
สำหรับปีที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวจากอินโดนีเซียมาเที่ยวทางภาคใต้ของไทยประมาณ 5 หมื่นคน ส่วนใหญ่ ใช้วิธีเดินทางโดยเครื่องบิน มาลงที่ ปีนังประเทศมาเลเซีย แล้วเดินทางต่อโดยรถเข้ามาเที่ยวหาดใหญ่ แต่นักท่องเที่ยวมีความกังวลเรื่องความไม่ปลอดภัยจากสถานการณ์ 4 จังหวัดภาคใต้ของไทย ดังนั้นหาก มีเที่ยวบินตรง มั่นใจว่า ชาวอินโดนีเซียน จะเข้ามาเที่ยวหาดใหญ่เพิ่มขึ้น สามารถฟื้นธุรกิจท่องเที่ยว และเศรษฐกิจภาคใต้ของไทยได้
ส่วนการอำนวยความสะดวกทางบก เสนอให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศ ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา เรื่องของขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมือง และการเดินทางข้ามแดนระหว่างประเทศดังกล่าว และเพื่อจัดทำแผนปฎิบัติการให้เป็นรูปธรรม เพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางทั้งทางบกและทางอากาศ ควรมีการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจของอาเซียน เพื่อจัดทำ concept paper ซึ่งไทยรับที่จะเป็นผู้ประสานงานด้านการเดินทาง ทางบกและทางอากาศ ขณะที่ประเทศสิงคโปร์รับที่จะเป็นผู้ประสานงานด้านการเดินทางทางทะเล โดยรับเป็นผู้สำรวจท่าเรือ ที่มีอยู่ทั้งหมด ให้สามารถรองรับเรือท่องเที่ยวได้ โดยจะต้องเป็นมากว่าท่าเทียบเรือเพื่อขนส่งสินค้านั้น
สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ จะร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการกำหนดมาตรฐานการจัดทำสัญลักษณ์ป้ายบอกทาง การเชื่อมโยงของการเดินทาง ทางอากาศ และทางทะเล เพื่อร่างแผนปฎิบัติการร่วมกันเสนอต่อเจ้าหน้าที่อาวุโสการขนส่ง(STOM) ต่อไป
ที่ต้องเสนอต่อเจ้าหน้าที่อาวุโสการขนส่งอาเซียน เพราะ ในกรอบความร่วมมืออาเซียนใหญ่ จะประกอบด้วยหลายหน่วยงานที่จะต้องมีการทำงานที่เชื่อมโยงกัน โดยทั้งเรื่องท่องเที่ยว และการขนส่ง ก็เป็นส่วนหนึ่งในอาเซียน ซึ่งทั้งสองกลุ่มควรท่จะส่งตัวแทนมาร่วมเป็นคณะทำงานของกันและกัน เพื่อกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกัน ซึ่งการเตรียมความพร้อมทั้งหมดดังกล่าว ถือเป็นการเตรียมตัวเพื่อรับการเปิดเสรีบริการอาเซียน ในปี 2553 โดยคณะทำงานเพาะกิจอาเซียน จะต้องเร่งศึกษาโครงสร้างการทำงานให้เสร็จภายในปีนี้ เพื่อนำข้อสรุปเสนอในการประชุมเวิร์คกิ้งกรุ๊ปอีกครั้งในปีหน้าที่ประเทศเวียดนาม
ทางด้าน ร.ท.สุวิทย์ ยอดมณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่อเที่ยวและกีฬา กล่าวภายหลังการประชุมรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวจากประเทศ ไทย ลาว พม่า กัมพูชา จีน และเวียดนาม ซึ่งระบุว่า จากการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว การเปิดเสรีบริการ ไปจนถึงโครงการ single visa ใน 6 ประเทศ ที่จะถือวีซ่าเพียงใบเดียว สามารถเดินทางเที่ยวได้ จะช่วยเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(GMS) ได้มากกว่าเท่าตัว หรือเป็นจำนวนรวมกว่า 50 ล้านคนต่อปี ภายในปี 2558 จากปีก่อน ที่มีนักท่องเที่ยวของภูมิภาคนี้เดินทางระหว่างกันประมาณ 24 ล้านคน
นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะทำงานพิเศษด้านการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจท่องเที่ยวอาเซียน ได้เห็นชอบในข้อเสนอของกิจกรรมร่วมกันในการอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางภายในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้งทางบกและทางทะเล ประกอบด้วยการจัดทำสัญลักษณ์ป้ายบอกทางสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ การอำนวยความสะดวกสำหรับรถโดยสารท่องเที่ยว การวิเคราะห์ตลาดและผลปนะโยชนี่จะได้รับจากข้อตกลงการเปิดเสรีทางอากาศในกลุ่มประเทศสมาชิก เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับเมืองที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจว่าจะเป็นจุดหมายปลายทางของเส้นทางการบินร่วมกัน(city-pairs)
ทั้งนี้ในส่วนของการอำนวยความสะดวกทางอากาศ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวระหว่าง 3 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย ภายใต้กรอบความร่วมมือ IMT-GT ซึ่งประเทศไทยจะได้ประโยชน์ในการส่งเสริมท่องเที่ยวทางภาคใต้ของไทย ดังนั้นในที่ประชุมประเทศไทยจึงเน้นย้ำถึงความสำคัญของนโยบายเปิดเสรีทางบกโดยรถโดยสารท่องเที่ยว และ ทางอากาศโดยสายการบินต้นทุนต่ำ(โลว์คอสต์) เชื่อมต่อระหว่าง 3 ประเทศ
ในรายละเอียดของการสนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวดังกล่าว คือ ต้องการให้ทั้ง 3 ประเทศ ใช้สายการบินโลว์คอสต์เปิดเส้นทางบินระหว่างกัน และมีการเจรจากับทางท่าอากาศยาน เพื่อขอลดค่าแลนด์ดิ้ง เป็นการจูงใจแก่สายการบินโลว์คอสต์ จุดประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้เดินทางไปมาระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในประเด็นนี้ สำหรับประเทศไทย เห็นว่า หากสามารถดึงสายการบินโลว์คอสต์จาก เมืองเมดาน ประเทศอินโดนีเซียน มาลงที่สนามบินหาดใหญ่ จ.สงขลา ไทยจะสามารถเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศอินโดนีเซียได้กว่าเท่าตัว
สำหรับปีที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวจากอินโดนีเซียมาเที่ยวทางภาคใต้ของไทยประมาณ 5 หมื่นคน ส่วนใหญ่ ใช้วิธีเดินทางโดยเครื่องบิน มาลงที่ ปีนังประเทศมาเลเซีย แล้วเดินทางต่อโดยรถเข้ามาเที่ยวหาดใหญ่ แต่นักท่องเที่ยวมีความกังวลเรื่องความไม่ปลอดภัยจากสถานการณ์ 4 จังหวัดภาคใต้ของไทย ดังนั้นหาก มีเที่ยวบินตรง มั่นใจว่า ชาวอินโดนีเซียน จะเข้ามาเที่ยวหาดใหญ่เพิ่มขึ้น สามารถฟื้นธุรกิจท่องเที่ยว และเศรษฐกิจภาคใต้ของไทยได้
ส่วนการอำนวยความสะดวกทางบก เสนอให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศ ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา เรื่องของขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมือง และการเดินทางข้ามแดนระหว่างประเทศดังกล่าว และเพื่อจัดทำแผนปฎิบัติการให้เป็นรูปธรรม เพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางทั้งทางบกและทางอากาศ ควรมีการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจของอาเซียน เพื่อจัดทำ concept paper ซึ่งไทยรับที่จะเป็นผู้ประสานงานด้านการเดินทาง ทางบกและทางอากาศ ขณะที่ประเทศสิงคโปร์รับที่จะเป็นผู้ประสานงานด้านการเดินทางทางทะเล โดยรับเป็นผู้สำรวจท่าเรือ ที่มีอยู่ทั้งหมด ให้สามารถรองรับเรือท่องเที่ยวได้ โดยจะต้องเป็นมากว่าท่าเทียบเรือเพื่อขนส่งสินค้านั้น
สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ จะร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการกำหนดมาตรฐานการจัดทำสัญลักษณ์ป้ายบอกทาง การเชื่อมโยงของการเดินทาง ทางอากาศ และทางทะเล เพื่อร่างแผนปฎิบัติการร่วมกันเสนอต่อเจ้าหน้าที่อาวุโสการขนส่ง(STOM) ต่อไป
ที่ต้องเสนอต่อเจ้าหน้าที่อาวุโสการขนส่งอาเซียน เพราะ ในกรอบความร่วมมืออาเซียนใหญ่ จะประกอบด้วยหลายหน่วยงานที่จะต้องมีการทำงานที่เชื่อมโยงกัน โดยทั้งเรื่องท่องเที่ยว และการขนส่ง ก็เป็นส่วนหนึ่งในอาเซียน ซึ่งทั้งสองกลุ่มควรท่จะส่งตัวแทนมาร่วมเป็นคณะทำงานของกันและกัน เพื่อกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกัน ซึ่งการเตรียมความพร้อมทั้งหมดดังกล่าว ถือเป็นการเตรียมตัวเพื่อรับการเปิดเสรีบริการอาเซียน ในปี 2553 โดยคณะทำงานเพาะกิจอาเซียน จะต้องเร่งศึกษาโครงสร้างการทำงานให้เสร็จภายในปีนี้ เพื่อนำข้อสรุปเสนอในการประชุมเวิร์คกิ้งกรุ๊ปอีกครั้งในปีหน้าที่ประเทศเวียดนาม
ทางด้าน ร.ท.สุวิทย์ ยอดมณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่อเที่ยวและกีฬา กล่าวภายหลังการประชุมรัฐมนตรีด้านการท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวจากประเทศ ไทย ลาว พม่า กัมพูชา จีน และเวียดนาม ซึ่งระบุว่า จากการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว การเปิดเสรีบริการ ไปจนถึงโครงการ single visa ใน 6 ประเทศ ที่จะถือวีซ่าเพียงใบเดียว สามารถเดินทางเที่ยวได้ จะช่วยเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(GMS) ได้มากกว่าเท่าตัว หรือเป็นจำนวนรวมกว่า 50 ล้านคนต่อปี ภายในปี 2558 จากปีก่อน ที่มีนักท่องเที่ยวของภูมิภาคนี้เดินทางระหว่างกันประมาณ 24 ล้านคน