ผู้จัดการรายวัน- ภาครัฐเตือนเอกชนรับมือกระแสโลกาภิวัตน์ด้วยการสร้างปัจจัยพื้นฐานให้เข้มแข็ง เผยอุตสาหกรรมที่เน้นแรงงานต่างด้าวหรือย้ายฐานไปอาศัยแต่แรงงานราคาต่ำอีก 5 ปีก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน สศช.แนะใช้ภูมิศาสตร์ไทยเป็นจุดแข็ง เร่งเข็น 4 อุตสาหกรรมปักธงนำร่องพัฒนาเซาท์เทิรน์ซีบอร์ด
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง”อนาคตอุตสาหกรรมไทย” ซึ่งจัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) วานนี้(21ม.ค.) ว่า ประเทศไทยจะเดินถอยหลังหากภาคอุตสาหกรรมไม่ปรับตัวเพื่อรับโจทย์ที่ถูกกำหนดโดยกติกาโลกหรือโลกาภิวัตน์ด้วยการดูแลปัจจัยพื้นฐานให้เข้มแข็งโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาที่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งรัฐ เอกชน และปัญญาชน ให้สามารถสู้กับเวทีโลกได้ ไม่ใช่เน้นให้ดูแลตัวแปรที่ถูกกำหนดจากตลาดโลกเช่น น้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน ที่ไทยกำลังเผชิญอยู่
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า การส่งออกปีนี้น่าจะขยายตัวได้ในระดับ 10-12% โดยมี 5 อุตสาหกรรมหลักขับเคลื่อนได้แก่ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อาหาร สิ่งทอ และพลาสติก อย่างไรก็ตามอีกไม่เกิน 5 ปีข้างหน้าหากภาคอุตสาหกรรมไทยยังเน้นอาศัยแรงงานต่างด้าวมาเป็นข้อได้เปรียบการผลิตก็จะไม่สามารถอยู่ได้ ผู้ประกอบการควรใช้ภูมิศาสตร์ของไทยที่อยู่รอบประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังพัฒนาเป็นจุดแข็งในการแสวงหาตลาด และการผลิตที่เน้นจริยธรรม มีธรรมาภิบาล แต่ไม่ใช่ย้ายฐานไปเพื่ออาศัยแรงงานเพราะก็จะอยู่ไม่ได้เช่นกัน
นอกจากนี้จำเป็นที่ไทยควรมุ่งเน้นอุตสาหกรรมการบริการเพราะอีก 3 ปีข้างหน้าผู้สูงอายุของไทยจะมีเพิ่มเป็น 7.2 ล้านคนจาก 6 ล้านคนในขณะนี้รายได้ของประเทศส่วนหนึ่งจะมาจากเงินออมการมองไปยังสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและบริการจึงไม่ควรมองข้าม ขณะเดียวกันไทยมีความหลากหลายด้านชีวภาพควรเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นจะต้องทบทวนใหม่
อย่างไรก็ตามสศช.เตรียมที่จะรายงานด้านเศรษฐกิจทั้งหมดต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่หลังโปรดเกล้าแต่งตั้งแล้วซึ่งแผนดำเนินงานต่างๆ จะอยู่ภายใต้กรอบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 10 เป็นหลักโดยการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้หรือเซาท์เทิร์นซีบอร์ดสศช.จะดำเนินการต่อเนื่องที่ขณะนี้คงจะต้องรอให้เอกชนเสนอแผนที่จะเข้ามาลงทุนที่จะต้องทำแผนการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยรัฐได้ปักธงที่จะเปิดรับ 4 อุตสาหกรรมหลักเบื้องต้นคือ เหล็กต้นน้ำ ปิโตรเคมี อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเขตอันดามัน และพลังงานทางเลือก
“ล่าสุดที่สนใจแต่ก็ยังไม่ได้ทำแผนส่งมาคือกิจการเหล็กจากญี่ปุ่น 2 รายและปิโตรเคมีเฟส 3 บางส่วนที่ปตท.จะนำมาพัฒนา อุตสาหกรรมอาหารเองมีอยู่แล้วก็จะดูว่าจะต่อยอดอย่างไร ทั้งนี้หลักการพัฒนาจะต่างจากอีสเทิร์นซีบอร์ดที่รัฐไปวางกรอบไว้แต่เซาท์เทิร์นซีบอร์ดเอกชนจะเสนอมาแล้วชุมชนจะต้องยอมรับก่อนเพื่อให้อยู่ได้ระยะยาว ซึ่งสศช.เองก็ไปดูพื้นที่มาแล้วก็อยู่ที่เอกชนเสนอมาเช่นกันซึ่งแต่ละอุตสาหกรรมอาจจะอยุ่คนละพื้นที่ได้ นอกจากนี้ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียหรือเอดีบีเองก็สนใจที่จะสนับสนุนเงินลงทุนเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้วย”นายอำพนกล่าว
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า เซาท์เทิรน์ซีบอร์ดควรจะได้ข้อยุติให้เร็วที่สุดเพราะไม่เช่นนั้นแล้วการลงทุนก็อาจไปประเทศอื่นได้โดยเฉพาะหลายประเทศก็มีการพัฒนาเช่นกัน ดังนั้นการเน้นสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องที่ดีแต่ควรจะต้องมีการทำความเข้าใจกับชุมชนอย่างจริงจังด้วย
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง”อนาคตอุตสาหกรรมไทย” ซึ่งจัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) วานนี้(21ม.ค.) ว่า ประเทศไทยจะเดินถอยหลังหากภาคอุตสาหกรรมไม่ปรับตัวเพื่อรับโจทย์ที่ถูกกำหนดโดยกติกาโลกหรือโลกาภิวัตน์ด้วยการดูแลปัจจัยพื้นฐานให้เข้มแข็งโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาที่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งรัฐ เอกชน และปัญญาชน ให้สามารถสู้กับเวทีโลกได้ ไม่ใช่เน้นให้ดูแลตัวแปรที่ถูกกำหนดจากตลาดโลกเช่น น้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน ที่ไทยกำลังเผชิญอยู่
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า การส่งออกปีนี้น่าจะขยายตัวได้ในระดับ 10-12% โดยมี 5 อุตสาหกรรมหลักขับเคลื่อนได้แก่ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อาหาร สิ่งทอ และพลาสติก อย่างไรก็ตามอีกไม่เกิน 5 ปีข้างหน้าหากภาคอุตสาหกรรมไทยยังเน้นอาศัยแรงงานต่างด้าวมาเป็นข้อได้เปรียบการผลิตก็จะไม่สามารถอยู่ได้ ผู้ประกอบการควรใช้ภูมิศาสตร์ของไทยที่อยู่รอบประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังพัฒนาเป็นจุดแข็งในการแสวงหาตลาด และการผลิตที่เน้นจริยธรรม มีธรรมาภิบาล แต่ไม่ใช่ย้ายฐานไปเพื่ออาศัยแรงงานเพราะก็จะอยู่ไม่ได้เช่นกัน
นอกจากนี้จำเป็นที่ไทยควรมุ่งเน้นอุตสาหกรรมการบริการเพราะอีก 3 ปีข้างหน้าผู้สูงอายุของไทยจะมีเพิ่มเป็น 7.2 ล้านคนจาก 6 ล้านคนในขณะนี้รายได้ของประเทศส่วนหนึ่งจะมาจากเงินออมการมองไปยังสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและบริการจึงไม่ควรมองข้าม ขณะเดียวกันไทยมีความหลากหลายด้านชีวภาพควรเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นจะต้องทบทวนใหม่
อย่างไรก็ตามสศช.เตรียมที่จะรายงานด้านเศรษฐกิจทั้งหมดต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่หลังโปรดเกล้าแต่งตั้งแล้วซึ่งแผนดำเนินงานต่างๆ จะอยู่ภายใต้กรอบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 10 เป็นหลักโดยการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้หรือเซาท์เทิร์นซีบอร์ดสศช.จะดำเนินการต่อเนื่องที่ขณะนี้คงจะต้องรอให้เอกชนเสนอแผนที่จะเข้ามาลงทุนที่จะต้องทำแผนการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยรัฐได้ปักธงที่จะเปิดรับ 4 อุตสาหกรรมหลักเบื้องต้นคือ เหล็กต้นน้ำ ปิโตรเคมี อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเขตอันดามัน และพลังงานทางเลือก
“ล่าสุดที่สนใจแต่ก็ยังไม่ได้ทำแผนส่งมาคือกิจการเหล็กจากญี่ปุ่น 2 รายและปิโตรเคมีเฟส 3 บางส่วนที่ปตท.จะนำมาพัฒนา อุตสาหกรรมอาหารเองมีอยู่แล้วก็จะดูว่าจะต่อยอดอย่างไร ทั้งนี้หลักการพัฒนาจะต่างจากอีสเทิร์นซีบอร์ดที่รัฐไปวางกรอบไว้แต่เซาท์เทิร์นซีบอร์ดเอกชนจะเสนอมาแล้วชุมชนจะต้องยอมรับก่อนเพื่อให้อยู่ได้ระยะยาว ซึ่งสศช.เองก็ไปดูพื้นที่มาแล้วก็อยู่ที่เอกชนเสนอมาเช่นกันซึ่งแต่ละอุตสาหกรรมอาจจะอยุ่คนละพื้นที่ได้ นอกจากนี้ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียหรือเอดีบีเองก็สนใจที่จะสนับสนุนเงินลงทุนเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้วย”นายอำพนกล่าว
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า เซาท์เทิรน์ซีบอร์ดควรจะได้ข้อยุติให้เร็วที่สุดเพราะไม่เช่นนั้นแล้วการลงทุนก็อาจไปประเทศอื่นได้โดยเฉพาะหลายประเทศก็มีการพัฒนาเช่นกัน ดังนั้นการเน้นสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องที่ดีแต่ควรจะต้องมีการทำความเข้าใจกับชุมชนอย่างจริงจังด้วย