ว่าที่คุณแม่ที่ดื่มกาแฟวันละมากกว่า 2 แก้ว อาจมีความเสี่ยงแท้งเพิ่มขึ้นสองเท่า ทางที่ดีควรจำกัดหรืองดดื่มกาแฟ ชา เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือถ้าจะให้มั่นใจเต็มร้อย ควรหลีกเลี่ยงช็อกโกแลตร้อนด้วย
แพท โอเบรียน ที่ปรึกษาด้านสูตินรีแพทย์ และโฆษกของรอยัล คอลเลจ ออฟ ออปสเตทริเชียนส์ แอนด์ ไกเนโคโลจิสต์ของอังกฤษ กล่าวว่าจากข้อมูลการศึกษานี้ เห็นควรแนะนำให้สตรีมีครรภ์หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนระหว่าง 12 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะผู้ที่เคยแท้งมาก่อน
ทั้งนี้ คาเฟอีนอันตรายต่อทารกในครรภ์เนื่องจากสามารถตกค้างอยู่ในครรภ์มารดาเป็นเวลานาน และถ่ายทอดถึงทารกที่กำลังเจริญเติบโตแต่ร่างกายยังไม่สามารถเผาผลาญอาหารได้อย่างรวดเร็ว
คาเฟอีนยังสามารถทำลายพัฒนาการของเซลล์ ยับยั้งการไหลเวียนของเลือดในรก ส่งผลต่อระบบสนับสนุนชีวิตของทารก นอกจากนั้น ยังมีความกังวลกันว่า การที่แม่ดื่มกาแฟมากๆ อาจส่งผลต่อน้ำหนักตัวทารกและโอกาสในการคลอดก่อนกำหนด
นักวิจัยอเมริกันศึกษาจากสตรีมีครรภ์ 1,063 คนในซานฟรานซิสโกระหว่างเดือนตุลาคม 1996 ถึงเดือนเดียวกันปี 1998 โดยสตรีเหล่านี้ที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มกาแฟระหว่างตั้งครรภ์ และระยะเวลาในการตั้งครรภ์เมื่อเริ่มทำการศึกษาเฉลี่ยอยู่ที่ 71 วัน
นักวิจัยพบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟวันละอย่างน้อย 200 มิลลิกรัม หรือ 2 ถ้วยปกติขึ้นไป หรือกาแฟกระป๋องขนาด 12 ออนซ์ 5 กระป๋อง มีความเสี่ยงแท้งสองเท่าเมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนเลย โดยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนี้เกี่ยวพันกับคาเฟอีนล้วนๆ ไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น อายุหรือพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของมารดาแต่อย่างใด
ส่วนผู้หญิงที่ดื่มคาเฟอีนไม่ถึงวันละ 200 มิลลิกรัม มีความเสี่ยงแท้งเพิ่มขึ้นกว่า 40%
อนึ่ง ผลศึกษาที่ตีพิมพ์ในอเมริกัน เจอร์นัล ออฟ อ็อบสเตตริกส์ แอนด์ ไกเนโคโลจีฉบับนี้ เป็นผลงานของแผนกวิจัยในไกเซอร์ เพอร์มาเนนตีของสหรัฐฯ
ด้านสมาคมกาแฟอังกฤษกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ได้เสนอคำแนะนำในการดื่มกาแฟระหว่างตั้งครรภ์โดยอิงกับแนวทางของสำนักงานมาตรฐานอาหาร ที่แนะนำว่าว่าที่คุณแม่สามารถดื่มกาแฟได้สูงสุดวันละ 300 มิลลิกรัม หรือเท่ากับกาแฟสำเร็จรูป 4 แก้ว และกาแฟสด 3 แก้ว โดยที่ไม่เป็นอันตรายทั้งต่อตัวเองและลูกในครรภ์
แนวทางนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากรอยัล คอลเลจ ออฟ มิดไวฟ์ส และเซ็นเตอร์ ฟอร์ เพรกเนนซี นิวทริชัน
ฝ่ายโฆษกของสำนักงานมาตรฐานอาหารกล่าวว่า การวิจัยเกี่ยวกับการดื่มกาแฟระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งสำนักงานฯ เป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนนั้นใกล้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว และจะมีการทบทวนข้อเสนอแนะต่อไปหากเห็นว่าเหมาะสมมีความจำเป็น
แพท โอเบรียน ที่ปรึกษาด้านสูตินรีแพทย์ และโฆษกของรอยัล คอลเลจ ออฟ ออปสเตทริเชียนส์ แอนด์ ไกเนโคโลจิสต์ของอังกฤษ กล่าวว่าจากข้อมูลการศึกษานี้ เห็นควรแนะนำให้สตรีมีครรภ์หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนระหว่าง 12 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะผู้ที่เคยแท้งมาก่อน
ทั้งนี้ คาเฟอีนอันตรายต่อทารกในครรภ์เนื่องจากสามารถตกค้างอยู่ในครรภ์มารดาเป็นเวลานาน และถ่ายทอดถึงทารกที่กำลังเจริญเติบโตแต่ร่างกายยังไม่สามารถเผาผลาญอาหารได้อย่างรวดเร็ว
คาเฟอีนยังสามารถทำลายพัฒนาการของเซลล์ ยับยั้งการไหลเวียนของเลือดในรก ส่งผลต่อระบบสนับสนุนชีวิตของทารก นอกจากนั้น ยังมีความกังวลกันว่า การที่แม่ดื่มกาแฟมากๆ อาจส่งผลต่อน้ำหนักตัวทารกและโอกาสในการคลอดก่อนกำหนด
นักวิจัยอเมริกันศึกษาจากสตรีมีครรภ์ 1,063 คนในซานฟรานซิสโกระหว่างเดือนตุลาคม 1996 ถึงเดือนเดียวกันปี 1998 โดยสตรีเหล่านี้ที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มกาแฟระหว่างตั้งครรภ์ และระยะเวลาในการตั้งครรภ์เมื่อเริ่มทำการศึกษาเฉลี่ยอยู่ที่ 71 วัน
นักวิจัยพบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟวันละอย่างน้อย 200 มิลลิกรัม หรือ 2 ถ้วยปกติขึ้นไป หรือกาแฟกระป๋องขนาด 12 ออนซ์ 5 กระป๋อง มีความเสี่ยงแท้งสองเท่าเมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนเลย โดยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนี้เกี่ยวพันกับคาเฟอีนล้วนๆ ไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น อายุหรือพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของมารดาแต่อย่างใด
ส่วนผู้หญิงที่ดื่มคาเฟอีนไม่ถึงวันละ 200 มิลลิกรัม มีความเสี่ยงแท้งเพิ่มขึ้นกว่า 40%
อนึ่ง ผลศึกษาที่ตีพิมพ์ในอเมริกัน เจอร์นัล ออฟ อ็อบสเตตริกส์ แอนด์ ไกเนโคโลจีฉบับนี้ เป็นผลงานของแผนกวิจัยในไกเซอร์ เพอร์มาเนนตีของสหรัฐฯ
ด้านสมาคมกาแฟอังกฤษกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ได้เสนอคำแนะนำในการดื่มกาแฟระหว่างตั้งครรภ์โดยอิงกับแนวทางของสำนักงานมาตรฐานอาหาร ที่แนะนำว่าว่าที่คุณแม่สามารถดื่มกาแฟได้สูงสุดวันละ 300 มิลลิกรัม หรือเท่ากับกาแฟสำเร็จรูป 4 แก้ว และกาแฟสด 3 แก้ว โดยที่ไม่เป็นอันตรายทั้งต่อตัวเองและลูกในครรภ์
แนวทางนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากรอยัล คอลเลจ ออฟ มิดไวฟ์ส และเซ็นเตอร์ ฟอร์ เพรกเนนซี นิวทริชัน
ฝ่ายโฆษกของสำนักงานมาตรฐานอาหารกล่าวว่า การวิจัยเกี่ยวกับการดื่มกาแฟระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งสำนักงานฯ เป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนนั้นใกล้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว และจะมีการทบทวนข้อเสนอแนะต่อไปหากเห็นว่าเหมาะสมมีความจำเป็น