อยากรู้หรือไม่ถ้าพูดได้ เจ้าตูบอยากบอกอะไร นักวิจัยฮังการีขันอาสาหาคำตอบ ด้วยการพัฒนาซอฟต์แวร์แปลความหมายเสียงเห่า ที่ทีมงานอวดอ้างว่าแม่นยำกว่าการตีความของคนเล็กน้อย
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่คิดค้นขึ้นมาเป็นพิเศษทำการวิเคราะห์เสียงเห่ากว่า 6,000 ครั้งของสุนัขล่าแกะในฮังการี 14 ตัว ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ กัน 6 แบบ
ในการทดสอบของนักวิจัยที่นำโดยซีเซบา โมลนาร์ จากมหาวิทยาลัยเอลเตในบูดาเปสต์ พบว่าคอมพิวเตอร์ที่รันโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อการณ์นี้ สามารถแยกแยะได้ว่าสุนัขอยู่ในสถานการณ์ที่มีคนแปลกหน้า ต่อสู้ ออกไปเดินเล่น อยู่ตัวเดียว เล่น หรือเมื่อเห็นลูกบอล
ขั้นตอนคือ บันทึกเสียงเห่าแล้วนำมาแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล จากนั้น จึงใช้ซอฟต์แวร์ศึกษาความแตกต่างของเสียงเห่าแต่ละเสียง
นักวิจัยเผยว่า คอมพิวเตอร์สามารถระบุสถานการณ์ต่างๆ ได้ถูกต้องถึง 43% ซึ่งแม้ไม่สูงนักแต่ยังสูงกว่าความถูกต้องจากการแยกแยะของคน 3%
คอมพิวเตอร์จะวิเคราะห์เสียงเห่าอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดในสถานการณ์ที่มีการต่อสู้และมีคนแปลกหน้า แต่การทำงานจะมีประสิทธิภาพต่ำที่สุดในสถานการณ์ที่น้องหมากำลังเล่นสนุกอยู่
ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารแอนิมอล ค็อกนิชัน ยังบ่งชี้ว่าเสียงเห่าของเจ้าตูบมีท่วงทำนองต่างๆ กันขึ้นกับอารมณ์ในขณะนั้น
นักวิจัยยังทำการทดสอบขั้นที่สอง โดยให้คอมพิวเตอร์ระบุตัวสุนัขจากเสียงเห่า ซึ่งปรากฏว่าซอฟต์แวร์สามารถระบุตัวสุนัขได้ถูกต้องถึง 52% ซึ่งถือว่าทำได้ดีกว่าคนเช่นเดิม และสะท้อนว่าเสียงเห่าของสุนัขแต่ละตัวมีเอกลักษณ์ของตัวเอง แม้บางคนไม่ทันสังเกตก็ตาม
นอกจากนั้น ทีมนักวิจัยมีแผนทดลองเปรียบเทียบเสียงเห่าระหว่างหมาต่างพันธุ์กันในอนาคต และอาจมีการนำเทคโนโลยีนี้ไปพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เพื่อผลิตอุปกรณ์สื่อสารระหว่างคนกับน้องหมา เนื่องจากพิสูจน์แล้วว่า แม้แต่คนที่ไม่เคยคลุกคลีกับสุนัข ยังสามารถเข้าใจสาส์นที่สอดแทรกมากับเสียงเห่าได้จากการใช้ซอฟต์แวร์นี้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่คิดค้นขึ้นมาเป็นพิเศษทำการวิเคราะห์เสียงเห่ากว่า 6,000 ครั้งของสุนัขล่าแกะในฮังการี 14 ตัว ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ กัน 6 แบบ
ในการทดสอบของนักวิจัยที่นำโดยซีเซบา โมลนาร์ จากมหาวิทยาลัยเอลเตในบูดาเปสต์ พบว่าคอมพิวเตอร์ที่รันโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อการณ์นี้ สามารถแยกแยะได้ว่าสุนัขอยู่ในสถานการณ์ที่มีคนแปลกหน้า ต่อสู้ ออกไปเดินเล่น อยู่ตัวเดียว เล่น หรือเมื่อเห็นลูกบอล
ขั้นตอนคือ บันทึกเสียงเห่าแล้วนำมาแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล จากนั้น จึงใช้ซอฟต์แวร์ศึกษาความแตกต่างของเสียงเห่าแต่ละเสียง
นักวิจัยเผยว่า คอมพิวเตอร์สามารถระบุสถานการณ์ต่างๆ ได้ถูกต้องถึง 43% ซึ่งแม้ไม่สูงนักแต่ยังสูงกว่าความถูกต้องจากการแยกแยะของคน 3%
คอมพิวเตอร์จะวิเคราะห์เสียงเห่าอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดในสถานการณ์ที่มีการต่อสู้และมีคนแปลกหน้า แต่การทำงานจะมีประสิทธิภาพต่ำที่สุดในสถานการณ์ที่น้องหมากำลังเล่นสนุกอยู่
ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารแอนิมอล ค็อกนิชัน ยังบ่งชี้ว่าเสียงเห่าของเจ้าตูบมีท่วงทำนองต่างๆ กันขึ้นกับอารมณ์ในขณะนั้น
นักวิจัยยังทำการทดสอบขั้นที่สอง โดยให้คอมพิวเตอร์ระบุตัวสุนัขจากเสียงเห่า ซึ่งปรากฏว่าซอฟต์แวร์สามารถระบุตัวสุนัขได้ถูกต้องถึง 52% ซึ่งถือว่าทำได้ดีกว่าคนเช่นเดิม และสะท้อนว่าเสียงเห่าของสุนัขแต่ละตัวมีเอกลักษณ์ของตัวเอง แม้บางคนไม่ทันสังเกตก็ตาม
นอกจากนั้น ทีมนักวิจัยมีแผนทดลองเปรียบเทียบเสียงเห่าระหว่างหมาต่างพันธุ์กันในอนาคต และอาจมีการนำเทคโนโลยีนี้ไปพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เพื่อผลิตอุปกรณ์สื่อสารระหว่างคนกับน้องหมา เนื่องจากพิสูจน์แล้วว่า แม้แต่คนที่ไม่เคยคลุกคลีกับสุนัข ยังสามารถเข้าใจสาส์นที่สอดแทรกมากับเสียงเห่าได้จากการใช้ซอฟต์แวร์นี้