คลอดรายชื่อ 5 กรรมการชั่วคราว ทีวีสาธารณะ "ทิพาวดี"ยันโปร่งใส เผย"ขวัญสรวง" นั่งประธาน "เทพชัย"รั้งเก้าอี้ผอ. ชี้ภาระเร่งด่วนตามกรอบ 180 วัน ขณะที่เงินประเดิมจากภาษีบาป รอเข้าครม.สัปดาห์หน้า หลังเงินรายได้ทีไอทีวียังไม่เคลียร์ กรรมการฯวางหลักเกณฑ์ทำงาน เป้าหมายออนแอร์ 1 ก.พ.นี้ พนักงานทีไอทีวี เดินหน้าฟ้องศาลปกครอง เผยนัดไต่สวนด่วนวันนี้ "สุรยุทธ์"ปลอบใจตกงานไม่นานสมัครใหม่ได้ ด้านปลัด สปน. เตรียมโอนเงินทีไอทีวี 500 ล้านให้ทีวีสาธารณะยืมใช้
คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการเตรียมความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเป็นสถานีทีวีสาธารณะ เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว เพื่อกำกับองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือสถานีโทรทัศน์ ทีพีบีเอส จำนวน 5 คน ตาม พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ พ.ศ.2551
ประกอบด้วย 1. นายขวัญสรวง อติโพธิ นักผังเมือง และอดีตอดีตอาจารย์ประจำคณะสถาปัตย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการ นโยบายองค์การการกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย 2. นายอภิชาต ทองอยู่ อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยในประเทศและต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญธนาคารโลก ด้านการพัฒนา และการบริหารองค์กร ดำรงตำแหน่งโฆษกคณะกรรมการนโยบายฯ
3.นายเทพชัย หย่อง บรรณาธิการเครือเนชั่น กรุ๊ป ดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการนโยบายฯ และรักษาการผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ไทยพีบีเอส หรือTPBS 4. นางนวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการนโยบายฯ 5. นายณรงค์ ใจหาญ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการนโยบายฯ
คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ส่วนทุนประเดิมตามาตรา 60 ของ พ.ร.บ. โดยการจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิตสุรา เบียร์และยาสูบ ให้ทีวีสาธารณะ ตามมติครม. ในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีสรรพสามิตสินค้าดังกล่าว ในแต่ละปีแต่ไม่เกิน 2,000 ล้านบาทนั้น กระทรวงการคลัง จะนำมาเสนอครม. ในวันที่ 22 ม.ค.นี้ เนื่องจากยังมีรายได้กว่า 10 เดือน ของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ที่กรมประชาสัมพันธ์จะต้องโอนผ่านมายังทีวีสาธารณะ
โดยคณะกรรมการนโยบายชั่วคราวฯทั้ง 5 คนนั้น ขณะนี้ได้ลาออกจากตำแหน่งและหน้าที่ทั้งหมดแล้ว เพื่อมาดำรงตำแหน่ง ซึ่งตนก็หมดหน้าที่ตรงนี้แล้ว และคาดว่าคณะกรรมการฯชุดนี้ จะสามารถบริหารจัดการต่าง ๆได้ใน 1 สัปดาห์นี้ นอกจากนี้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จะต้องออกระเบียบค่าตอบแทนให้กับคณะกรรมการทั้ง 5 คน เสนอไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา เนื่องจากไม่สามารถตั้งเงินเดือนและเบี้ยประชุมเองได้
คณะกรรมการนโยบายชั่วคราวฯ จะวางกฎกติกาการบริหารงาน เพื่อให้องค์กรตั้งขึ้นมา และขั้นแรกที่คณะอนุกรรมการเตรียมพร้อมการเปลี่ยนผ่านสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเป็นสถานีทีวีสาธารณะ และสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เตรียมร่างไว้ให้ เช่น ระเบียบพัสดุ ระเบียบการเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง ระเบียบการบริหารงานบุคคล และระเบียบข้อปฏิบัติทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นพื้นฐานที่องค์กรตั้งขึ้น
คณะกรรมการฯชุดนี้ มีหน้าที่ ประกอบด้วย 1. คณะกรรมการฯ จะมาดูร่างระเบียบว่าจะเอาหรือไม่ หรือจะเปลี่ยนแปลงตรงไหน 2. กำหนดกรอบแนวทางการทำงานโดยแต่งตั้งผู้ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการองค์กร ที่ไม่จำเป็นต้องเป็น 1 ใน 5 คณะกรรมการนโยบายชั่วคราว ตามมาตรา 58 วรรค 2 โดยมีคณะกรรมการบริหารฯ 9 คนบริหารองค์กร ซึ่งกลไกบางอย่าง ผู้อำนวยการฯสามารถดำเนินการได้ทันที แต่บางส่วนจะต้องตัดสินโดยคณะกรรมการบริหาร 3. กำหนดแนวการทำงาน กิจกรรม ผังรายการ รวมไปถึงอาจจะกำหนดโลโก้ทีวีใหม่ หรือไม่ เป็นต้น
โดยสำนักปลัดนายกรัฐมนตรี จะเร่งรัดตังคณะกรรมการสรรหาเพื่อสรรหาผู้มาทำหน้าที่คณะกรรมการนโยบายฯ ถาวร ตามกรอบเวลาของ พ.ร.บ. 180 วัน หรือ 6 เดือน และต้องเร่งออกข้อกำหนดเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพหรือวินัยที่บังคับในการทำงาน โดยมีสำนักงานตรวจสอบเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นผู้ตรวจสอบ
“นายเทพชัย เป็นหนึ่งในคณะกรรมการฯ ที่จะต้องมีคนที่ทำงานด้านสื่อ ซึ่ง นายเทพชัย ยืนยันว่า จะไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ เพราะได้ลาออกจากเครือเนชั่นแล้ว ตามเงื่อนไขของ มาตรา 21 ว่าด้วยคุณสมบัติของ พ.รบ.ฉบับนี้ ได้ย้ำกับคุณเทพชัย ถึงความเป็นกลาง และเหตุผลต่างๆ ที่จะไม่ไปเอื้อประโยชน์กับเครือเนชั่น ตามที่เป็นห่วงกัน ส่วนกรณีของ นายอภิชาติ ทองอยู่ แม้จะเคยลงรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคมหาชน และพรรคถิ่นไทย แต่ก็ได้ลาออกจากพรรคแล้ว เคยทำงานเกี่ยวกันการพัฒนาชุมชนรากหญ้า" คุณหญิงทิพาวดี กล่าว
ขณะเดียวกันตาม มาตรา 8 วรรค 1 ในเรื่องของรายได้ที่องค์กรนี้จะต้องไม่มีรายได้จากการโฆษณา แต่สามารถที่จะรับเงินสนับสนุนจากองค์กรได้ คือ หากองค์กรหรือบุคคลไหนชื่นชมองค์กรนี้ จะเป็นในรูปบริษัทหรือบุคคล ประสงค์จะบริจาคเงินก็สามารถให้เป็นลักษณะสนับสนุนการดำเนินการของโฆษณาดังนั้นจะเป็นแบบมีโฆษณาไม่ได้ก็จะขัดกับกฎหมาย
ส่วนพนักงานทีไอทีวี 800 กว่าคนนั้น ที่ผ่านมาก็ได้มีการเตรียมการ และแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้ามาโดยตลอดระยะเวลา 7 เดือนของการยกร่างกฎหมาย จึงเชื่อว่าในส่วนของพนักงาน ก็น่าจะมีการเตรียมตัวอยู่แล้ว และเมื่อคณะกรรมการชั่วคราว 5 คน ได้รับผิดชอบแล้ว ก็จะไปเจรจากับพนักงานว่าจะจ้างใครบ้างโดยวิธีใด
"ดิฉันไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาว่าจะจ้างใครบ้าง หรือจะรับจำนวนเท่าไร แต่เชื่อมั่นว่า กรรมการชั่วคราวจะดำเนินการให้สถานีเดินหน้าต่อไปได้ และครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลนี้มอบคืนคลื่นความถี่อันเป็นของสาธารณะ ให้กับสาธารณะ ดังนั้น ก็ต้องให้โอกาสกรรมการชั่วคราวดำเนินการและพวกเราก็ช่วยกันเสนอแนะกรรมการทั้ง 5 คนอย่างเป็นมิตรและสร้างสรรค์ ก็น่าจะทำให้กรรมการทั้ง 5 คน มีกำลังใจในการทำงานต่อไป"คุณหญิงทิพาวดี กล่าว
เริ่มออนแอร์ 1 ก.พ.นี้
นายขวัญสรวง อติโพธิ ประธานคณะกรรมการนโยบายฯ เปิดเผยว่า คณะกรรมการได้ร่วมประชุมกันว่า เพื่อให้สามารถดำเนินการทีวีสาธารณะออกมาเร็วที่สุด ภายใต้หลักการทำงานของทีวีสาธารณะ 5 ข้อ คือ
1.สร้างความสมดุลของการสื่อสารในสังคม 2. มีความเป็นอิสระ ปลอดจากการครอบงำ และซื่อตรงต่อจรรยาบรรณทางวิชาชีพ 3. ยึดถือการมีส่วนร่วมของประชาชน 4. มีการบริหารการดำเนินงานที่โปร่งใส เปิดเผย ตรวจสอบได้ และ5. เป็นพื้นที่กลางในการสื่อสารของสังคม พัฒนาเป็นรายการที่มีสัดส่วนและคุณภาพที่ดีและที่สำคัญก็คือมีความหลากหลายในมิติต่างๆ
ดังนั้น เบื้องต้นจึงได้กำหนดการทำงานออกเป็น 3 ระยะในช่วงเวลาที่คณะกรรมการนโยบายฯชุดนี้มีเวลาทำงานเพียง 180 วัน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ระยะที่ 1. ตั้งแต่วันนี้-วันที่ 1 ก.พ. 51 จะมีการเปิดรับสมัครพนักงานด้านฝ่ายข่าว ระหว่างวันที่ 16-19 ม.ค.นี้ เพื่อให้สามารถออกอากาศได้ทันในวันที่ 1 ก.พ. ในบางส่วน ระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1-29 ก.พ. จะต้องมีรายการข่าว และรายการอื่นๆออกอากาศได้อย่างน้อยประมาณ 50% และระยะที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.-15 ก.ค. จะต้องมีรายการข่าว และอื่นๆ แบบเต็มรูปแบบมากยิ่งขึ้น
ด้าน นายณรงค์ ใจหาญ กล่าวว่า การทำงานเบื้องต้น จะมีการโอนทรัพย์สินจากทางสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เฉพาะอุปกรณ์และเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ รวมถึงหนี้สินที่เกี่ยวข้องกับกิจการเท่านั้น โดยไม่รวมในส่วนของพนักงานทีไอทีวี แต่ทั้งนี้หากพนักงานทีไอทีวีต้องการทำงานต่อ ก็สามารถยื่นใบสมัครได้ตามที่ได้เปิดรับสมัครไป ส่วนกรณีค่าชดเชยการทำงานต่างๆ ระหว่างนี้ เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทาง สปน. และกรมประชาสัมพันธ์ โดยตรง ทางองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
"เทพชัย หย่อง" เคลียร์ปัญหา
ด้าน นายเทพชัย หย่อง กล่าวว่า การเข้ามาทำหน้าที่คณะกรรมการฯ ครั้งนี้ เนื่องจากตนต้องการเห็นทีวีสาธารณะ ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง จึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการวางรากฐานที่จะทำให้ทีวีสาธารณะเกิดขึ้นได้อย่างมั่นคง โดยไม่มีเจตนาในการที่จะดึงพรรคพวกเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์แต่อย่างใด
โดยในเช้าวานนี้ ตนได้ยื่นหนังสือลาออกกับทางเครือเนชั่นกรุ๊ป พร้อมกับแจ้งทางตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะที่เป็นหนึ่งผู้บริหารของเนชั่นกรุ๊ป ที่มีการลาออกจากตำแหน่ง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากที่ได้รับทราบอย่างอย่างไม่เป็นทางการว่า ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการ ส่วนหุ้นกว่า 1 แสนหุ้น ที่มีอยู่ในเครือเนชั่นกรุ๊ป จะมีการประกาศขายในตลาดหลักทรัพย์ ในวันที่ 16 ม.ค.นี้
ด้าน นายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า การทำทีวี เดิมทีทางคณะทำงานได้ดีไซน์ไว้ที่ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ หรือสถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์เดิม ตั้งแต่เริ่มต้น คงจะใช้ที่นั่นไปก่อน ส่วนวิธีการ และขั้นตอนทั้งหมด เป็นอำนาจของคณะกรรมการทั้ง 5 คน
"วันนี้สถานีโทรทัศน์สื่อสาธารณะ เริ่มต้นด้วยพนักงาน ผู้บริหาร 5 คน ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ เราต้องการคนที่มีประสบการณ์ ทำงานได้อยู่แล้ว เงินที่นำมาจัดจ้าง ก็มาจากเงินภาษีสรรพาสามิต โดยตั้งไว้ 1,800 ล้านบาท เดือนละ 150-160 ล้านบาท”
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีผู้ฟ้องร้องโดยหลักการไม่สามารถฟ้องร้องได้ เพราะเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ทุกอย่างต้องรัดกุมหมด เพราะเป็นเงื่อนไขที่เขียนไว้ในสัญญาว่า กฎหมายประกาศเมื่อใดทุกอย่างสิ้นสุด ตนหมดอำนาจแล้ว
ทีไอทีวีฟ้องศาลปกครอง
เมื่อเวลา 08.30 น. วานนี้ (15ม.ค.) ตัวแทนพนักงานสถานีโทรทัศน์ ทีไอทีวี ประมาณ 10 คน นำโดย น.ส.ตวงพร อัศวิไล บรรณาธิการข่าวประจำวันสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม ภายหลังจากที่มีการยุติการออกอากาศตั้งแต่ เวลา 24.00 น. เมื่อคืนวันที่ 14 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยเห็นว่าคำสั่งของกรมประชาสัมพันธ์ เป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม และขัดต่อสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน
"การเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ควรมีความโปร่งใส เพราะในครั้งนี้มีงบประมาณบริหารถึง 1,700 ล้านบาท คงปล่อยให้มีการแบ่งเค้กกันไม่ได้ เพราะจะทำให้ฝ่ายข่าวอ่อนแอแน่นอน ยืนยันว่าพวกเราไม่ใช่ตัวแทนอำนาจเก่าเหมือนตามที่บางคนกล่าวหา มาตรวจสอบได้เลย" นางสาวตวงพร กล่าว
ขณะที่ นายกรัฐมนตรี กล่าวยืนยันว่า จะดูแลเรื่องนี้อย่างดีที่สุดโดยการเปลี่ยนผ่านจะเป็นไปตามตัวบทกฎหมายโดยยึดเจตนารมณ์ของทีวีสาธารณะ และจะมีการดูแลเรื่องความโปร่งใสในการบริหารจัดการด้วย ส่วนเรื่องที่พนักงานตกงานนั้น คิดว่าไม่นานก็มาสมัครใหม่ได้
นอกจากนี้ กลุ่มพนักงานทีไอทีวี ยังได้ไปร้องต่อศาลปกครอง ในเรื่องนี้ด้วย โดย ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งกำหนดไต่สวนฉุกเฉิน ตามที่พนักงานไอทีวีร้อง ขอในวันนี้ (16ม.ค.) เวลา 13.30 น. โดยนายธีรวัฒน์ โชติธรรมโม บรรณาธิการข่าวเช้า กล่าวว่า การที่ศาลฯสั่งไต่สวนฉุกเฉิน แสดงว่า กระบวนการยุติธรรมยังมีอยู่ และการยื่นคำร้องเช่นนี้ ก็ไม่ใช่ต้องการกดดันคณะกรรมการชั่วคราว แต่ให้รู้ว่า สังคมต้องมีความชอบธรรม และคำสั่งปิดสถานีทีไอทีวีของอธิบดี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสาร และนำเสนอข่าวสารต่อประชาชน โดยในวันนี้ จะมีตัวแทนพนักงาน 5 คน เข้าร่วมฟังการไต่สวนด้วย
ยืมเงินทีไอทีวี 500 ล้านใช้ไปก่อน
นายจุลยุทธ์ หิรัญยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายชั่วคราวทั้ง 5 คน ได้ประชุมนัดแรกแล้ว ตนจะออกหนังสือคำสั่ง สปน. เพื่อให้ทราบว่า จะดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาเพื่อสรรหาคณะกรรมการนโยบายเพื่อกำกับองค์กรกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) คาดว่า เมื่อคณะกรรมการฯรับทราบก็จะดำเนินการสรรหาทันทีในกรอบ 180 วัน
ขณะเดียวกันในประเด็นของทุนดำเนินการของทีวีสาธารณะที่จะนำมาจากภาษีสรรพสามิตนั้น จะไม่เกี่ยวกับเงินรายได้ หรือจากค่าจัดเก็บโฆษณาที่สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีได้รับมากว่า 10 เดือน คาดว่ามีอยู่ประมาณ 500 ล้านบาท ที่กรมประชาสัมพันธ์ จัดเก็บไว้ คาดว่าจะนำส่วนนี้มายืมจ่ายไปก่อนในช่วงเปลี่ยนผ่าน ก่อนที่จะสามารถนำเงินจากภาษีมาดำเนินการทีวีสาธารณะ
นายจุลยุทธ์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินการตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด เพื่อเจรจาเรื่องค่าปรับแสนล้านบาทว่า ขณะนี้ ยังไม่มีความคืบหน้าในการตั้งคณะอนุญาโตตุลาการในส่วนของบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) และสถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม แม้ว่า ฝ่าย สปน.จะตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นมาแล้ว ขณะเดียวกันอนุญาโตตุลาการ ฝ่ายไอทีวี ได้ลาออกไปจึงยังไม่มีการตั้งขึ้นมาใหม่
นัดรวมตัวกันสมัครงาน
เมื่อวานนี้ เวลา 17.00 น. นายอัชฌา สุวรรณปากแพรก อดีตผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ได้เรียกประชุมพนักงานสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เพื่อแจ้งให้ทราบถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น โดยเน้นเรื่องการยื่นใบสมัครงานต่อในไทยพีบีเอส โดย ขอให้ทุกคนรวมตัวกันเป็นกลุ่ม และรอฟังการตัดสินจากศาลปกครองจนถึงที่สุดก่อน ทั้งนี้ คาดว่าภายในวันนี้ (16 ม.ค.) ตอนเย็นหรือไม่เกินวันพรุ่งนี้ (17 ม.ค.) ในช่วงเช้า ศาลปกครองจะมีคำตัดสินออกมา ซึ่งทางบริษัทอาจจะเป็นผู้รวบรวมใบสมัคร และเอกสารยื่นสมัครให้กับพนักงานที่ต้องการสมัครทำงานต่อไปกับไทยพีบีเอสก็ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางผู้จัดรายการทีไอทีวีบางรายได้มีการประชุมกันเมื่อวานนี้ เพื่อหารือถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและการดำเนินการต่อจากนี้ไป
นายก่อเกียรติ ลิมปพัทธ์ ผู้บริหาร บริษัท บอร์น ออปเปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า รู้สึกเสียดายที่ทีไอทีวีต้องสิ้นสุดลง แต่ยืนยันคงไม่มีการประท้วง คงต้องปล่อยให้เป็นไปตามครรลองของกฎหมาย
ตลท.ยัน ITV ยังคงสถานะ บจ.
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ เปิดเผยว่า จากการที่สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ถูกสั่งห้ามออกอากาศนั้น ไม่ได้มีผลกระทบต่อบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) หรือ ITV เนื่องจากถือเป็นคนละส่วนกันแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้าได้มีคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ภายหลังจากบอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ระหว่างสำนักงานปลัดสำนักนายรัฐมนตรี และไอทีวี
สำหรับ ปัจจุบัน บมจ.ไอทีวี ยังคงดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อยู่ ซึ่งอยู่ระหว่างการแก้ไขผลการดำเนินงาน โดยตลาดหลักทรัพย์ได้ขึ้นเครื่องหมาย NC ไว้ เพราะไอทีวี อยู่ในระหว่างการหาธุรกิจหลักใหม่
"ตอนนี้ขึ้นอยู่กับบริษัทฯ จะสามารถหาธุรกิจใหม่ได้หรือไม่ ซึ่งหากมีความคืบหน้าตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีผลการดำเนินงานที่เป็นบวก 3 ไตรมาส หรือ 1 ปี ติดต่อกัน ก็จะสามารถกลับเข้าสู่การซื้อขายในหมวดปกติ จากปัจจุบันที่อยู่ในหมวดเข้าข่ายถูกเพิกถอน แต่หากไม่สามารถหาธุรกิจหลัก หรือแก้ไขแผนฟื้นฟูได้ ก็จะถูกย้ายไปอยู่หมวดหลักทรัพย์ที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด หรือ NPG ซึ่งบริษัทฯก็ยังมีเวลาในการดำเนินงาน"
คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการเตรียมความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเป็นสถานีทีวีสาธารณะ เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายชั่วคราว เพื่อกำกับองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือสถานีโทรทัศน์ ทีพีบีเอส จำนวน 5 คน ตาม พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ พ.ศ.2551
ประกอบด้วย 1. นายขวัญสรวง อติโพธิ นักผังเมือง และอดีตอดีตอาจารย์ประจำคณะสถาปัตย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการ นโยบายองค์การการกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย 2. นายอภิชาต ทองอยู่ อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยในประเทศและต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญธนาคารโลก ด้านการพัฒนา และการบริหารองค์กร ดำรงตำแหน่งโฆษกคณะกรรมการนโยบายฯ
3.นายเทพชัย หย่อง บรรณาธิการเครือเนชั่น กรุ๊ป ดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการนโยบายฯ และรักษาการผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ไทยพีบีเอส หรือTPBS 4. นางนวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการนโยบายฯ 5. นายณรงค์ ใจหาญ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการนโยบายฯ
คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า ส่วนทุนประเดิมตามาตรา 60 ของ พ.ร.บ. โดยการจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิตสุรา เบียร์และยาสูบ ให้ทีวีสาธารณะ ตามมติครม. ในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีสรรพสามิตสินค้าดังกล่าว ในแต่ละปีแต่ไม่เกิน 2,000 ล้านบาทนั้น กระทรวงการคลัง จะนำมาเสนอครม. ในวันที่ 22 ม.ค.นี้ เนื่องจากยังมีรายได้กว่า 10 เดือน ของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ที่กรมประชาสัมพันธ์จะต้องโอนผ่านมายังทีวีสาธารณะ
โดยคณะกรรมการนโยบายชั่วคราวฯทั้ง 5 คนนั้น ขณะนี้ได้ลาออกจากตำแหน่งและหน้าที่ทั้งหมดแล้ว เพื่อมาดำรงตำแหน่ง ซึ่งตนก็หมดหน้าที่ตรงนี้แล้ว และคาดว่าคณะกรรมการฯชุดนี้ จะสามารถบริหารจัดการต่าง ๆได้ใน 1 สัปดาห์นี้ นอกจากนี้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จะต้องออกระเบียบค่าตอบแทนให้กับคณะกรรมการทั้ง 5 คน เสนอไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา เนื่องจากไม่สามารถตั้งเงินเดือนและเบี้ยประชุมเองได้
คณะกรรมการนโยบายชั่วคราวฯ จะวางกฎกติกาการบริหารงาน เพื่อให้องค์กรตั้งขึ้นมา และขั้นแรกที่คณะอนุกรรมการเตรียมพร้อมการเปลี่ยนผ่านสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเป็นสถานีทีวีสาธารณะ และสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เตรียมร่างไว้ให้ เช่น ระเบียบพัสดุ ระเบียบการเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง ระเบียบการบริหารงานบุคคล และระเบียบข้อปฏิบัติทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นพื้นฐานที่องค์กรตั้งขึ้น
คณะกรรมการฯชุดนี้ มีหน้าที่ ประกอบด้วย 1. คณะกรรมการฯ จะมาดูร่างระเบียบว่าจะเอาหรือไม่ หรือจะเปลี่ยนแปลงตรงไหน 2. กำหนดกรอบแนวทางการทำงานโดยแต่งตั้งผู้ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการองค์กร ที่ไม่จำเป็นต้องเป็น 1 ใน 5 คณะกรรมการนโยบายชั่วคราว ตามมาตรา 58 วรรค 2 โดยมีคณะกรรมการบริหารฯ 9 คนบริหารองค์กร ซึ่งกลไกบางอย่าง ผู้อำนวยการฯสามารถดำเนินการได้ทันที แต่บางส่วนจะต้องตัดสินโดยคณะกรรมการบริหาร 3. กำหนดแนวการทำงาน กิจกรรม ผังรายการ รวมไปถึงอาจจะกำหนดโลโก้ทีวีใหม่ หรือไม่ เป็นต้น
โดยสำนักปลัดนายกรัฐมนตรี จะเร่งรัดตังคณะกรรมการสรรหาเพื่อสรรหาผู้มาทำหน้าที่คณะกรรมการนโยบายฯ ถาวร ตามกรอบเวลาของ พ.ร.บ. 180 วัน หรือ 6 เดือน และต้องเร่งออกข้อกำหนดเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพหรือวินัยที่บังคับในการทำงาน โดยมีสำนักงานตรวจสอบเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นผู้ตรวจสอบ
“นายเทพชัย เป็นหนึ่งในคณะกรรมการฯ ที่จะต้องมีคนที่ทำงานด้านสื่อ ซึ่ง นายเทพชัย ยืนยันว่า จะไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ เพราะได้ลาออกจากเครือเนชั่นแล้ว ตามเงื่อนไขของ มาตรา 21 ว่าด้วยคุณสมบัติของ พ.รบ.ฉบับนี้ ได้ย้ำกับคุณเทพชัย ถึงความเป็นกลาง และเหตุผลต่างๆ ที่จะไม่ไปเอื้อประโยชน์กับเครือเนชั่น ตามที่เป็นห่วงกัน ส่วนกรณีของ นายอภิชาติ ทองอยู่ แม้จะเคยลงรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคมหาชน และพรรคถิ่นไทย แต่ก็ได้ลาออกจากพรรคแล้ว เคยทำงานเกี่ยวกันการพัฒนาชุมชนรากหญ้า" คุณหญิงทิพาวดี กล่าว
ขณะเดียวกันตาม มาตรา 8 วรรค 1 ในเรื่องของรายได้ที่องค์กรนี้จะต้องไม่มีรายได้จากการโฆษณา แต่สามารถที่จะรับเงินสนับสนุนจากองค์กรได้ คือ หากองค์กรหรือบุคคลไหนชื่นชมองค์กรนี้ จะเป็นในรูปบริษัทหรือบุคคล ประสงค์จะบริจาคเงินก็สามารถให้เป็นลักษณะสนับสนุนการดำเนินการของโฆษณาดังนั้นจะเป็นแบบมีโฆษณาไม่ได้ก็จะขัดกับกฎหมาย
ส่วนพนักงานทีไอทีวี 800 กว่าคนนั้น ที่ผ่านมาก็ได้มีการเตรียมการ และแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้ามาโดยตลอดระยะเวลา 7 เดือนของการยกร่างกฎหมาย จึงเชื่อว่าในส่วนของพนักงาน ก็น่าจะมีการเตรียมตัวอยู่แล้ว และเมื่อคณะกรรมการชั่วคราว 5 คน ได้รับผิดชอบแล้ว ก็จะไปเจรจากับพนักงานว่าจะจ้างใครบ้างโดยวิธีใด
"ดิฉันไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาว่าจะจ้างใครบ้าง หรือจะรับจำนวนเท่าไร แต่เชื่อมั่นว่า กรรมการชั่วคราวจะดำเนินการให้สถานีเดินหน้าต่อไปได้ และครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลนี้มอบคืนคลื่นความถี่อันเป็นของสาธารณะ ให้กับสาธารณะ ดังนั้น ก็ต้องให้โอกาสกรรมการชั่วคราวดำเนินการและพวกเราก็ช่วยกันเสนอแนะกรรมการทั้ง 5 คนอย่างเป็นมิตรและสร้างสรรค์ ก็น่าจะทำให้กรรมการทั้ง 5 คน มีกำลังใจในการทำงานต่อไป"คุณหญิงทิพาวดี กล่าว
เริ่มออนแอร์ 1 ก.พ.นี้
นายขวัญสรวง อติโพธิ ประธานคณะกรรมการนโยบายฯ เปิดเผยว่า คณะกรรมการได้ร่วมประชุมกันว่า เพื่อให้สามารถดำเนินการทีวีสาธารณะออกมาเร็วที่สุด ภายใต้หลักการทำงานของทีวีสาธารณะ 5 ข้อ คือ
1.สร้างความสมดุลของการสื่อสารในสังคม 2. มีความเป็นอิสระ ปลอดจากการครอบงำ และซื่อตรงต่อจรรยาบรรณทางวิชาชีพ 3. ยึดถือการมีส่วนร่วมของประชาชน 4. มีการบริหารการดำเนินงานที่โปร่งใส เปิดเผย ตรวจสอบได้ และ5. เป็นพื้นที่กลางในการสื่อสารของสังคม พัฒนาเป็นรายการที่มีสัดส่วนและคุณภาพที่ดีและที่สำคัญก็คือมีความหลากหลายในมิติต่างๆ
ดังนั้น เบื้องต้นจึงได้กำหนดการทำงานออกเป็น 3 ระยะในช่วงเวลาที่คณะกรรมการนโยบายฯชุดนี้มีเวลาทำงานเพียง 180 วัน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ระยะที่ 1. ตั้งแต่วันนี้-วันที่ 1 ก.พ. 51 จะมีการเปิดรับสมัครพนักงานด้านฝ่ายข่าว ระหว่างวันที่ 16-19 ม.ค.นี้ เพื่อให้สามารถออกอากาศได้ทันในวันที่ 1 ก.พ. ในบางส่วน ระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1-29 ก.พ. จะต้องมีรายการข่าว และรายการอื่นๆออกอากาศได้อย่างน้อยประมาณ 50% และระยะที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.-15 ก.ค. จะต้องมีรายการข่าว และอื่นๆ แบบเต็มรูปแบบมากยิ่งขึ้น
ด้าน นายณรงค์ ใจหาญ กล่าวว่า การทำงานเบื้องต้น จะมีการโอนทรัพย์สินจากทางสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เฉพาะอุปกรณ์และเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ รวมถึงหนี้สินที่เกี่ยวข้องกับกิจการเท่านั้น โดยไม่รวมในส่วนของพนักงานทีไอทีวี แต่ทั้งนี้หากพนักงานทีไอทีวีต้องการทำงานต่อ ก็สามารถยื่นใบสมัครได้ตามที่ได้เปิดรับสมัครไป ส่วนกรณีค่าชดเชยการทำงานต่างๆ ระหว่างนี้ เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทาง สปน. และกรมประชาสัมพันธ์ โดยตรง ทางองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
"เทพชัย หย่อง" เคลียร์ปัญหา
ด้าน นายเทพชัย หย่อง กล่าวว่า การเข้ามาทำหน้าที่คณะกรรมการฯ ครั้งนี้ เนื่องจากตนต้องการเห็นทีวีสาธารณะ ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง จึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการวางรากฐานที่จะทำให้ทีวีสาธารณะเกิดขึ้นได้อย่างมั่นคง โดยไม่มีเจตนาในการที่จะดึงพรรคพวกเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์แต่อย่างใด
โดยในเช้าวานนี้ ตนได้ยื่นหนังสือลาออกกับทางเครือเนชั่นกรุ๊ป พร้อมกับแจ้งทางตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะที่เป็นหนึ่งผู้บริหารของเนชั่นกรุ๊ป ที่มีการลาออกจากตำแหน่ง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากที่ได้รับทราบอย่างอย่างไม่เป็นทางการว่า ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการ ส่วนหุ้นกว่า 1 แสนหุ้น ที่มีอยู่ในเครือเนชั่นกรุ๊ป จะมีการประกาศขายในตลาดหลักทรัพย์ ในวันที่ 16 ม.ค.นี้
ด้าน นายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า การทำทีวี เดิมทีทางคณะทำงานได้ดีไซน์ไว้ที่ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ หรือสถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์เดิม ตั้งแต่เริ่มต้น คงจะใช้ที่นั่นไปก่อน ส่วนวิธีการ และขั้นตอนทั้งหมด เป็นอำนาจของคณะกรรมการทั้ง 5 คน
"วันนี้สถานีโทรทัศน์สื่อสาธารณะ เริ่มต้นด้วยพนักงาน ผู้บริหาร 5 คน ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ เราต้องการคนที่มีประสบการณ์ ทำงานได้อยู่แล้ว เงินที่นำมาจัดจ้าง ก็มาจากเงินภาษีสรรพาสามิต โดยตั้งไว้ 1,800 ล้านบาท เดือนละ 150-160 ล้านบาท”
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีผู้ฟ้องร้องโดยหลักการไม่สามารถฟ้องร้องได้ เพราะเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ทุกอย่างต้องรัดกุมหมด เพราะเป็นเงื่อนไขที่เขียนไว้ในสัญญาว่า กฎหมายประกาศเมื่อใดทุกอย่างสิ้นสุด ตนหมดอำนาจแล้ว
ทีไอทีวีฟ้องศาลปกครอง
เมื่อเวลา 08.30 น. วานนี้ (15ม.ค.) ตัวแทนพนักงานสถานีโทรทัศน์ ทีไอทีวี ประมาณ 10 คน นำโดย น.ส.ตวงพร อัศวิไล บรรณาธิการข่าวประจำวันสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม ภายหลังจากที่มีการยุติการออกอากาศตั้งแต่ เวลา 24.00 น. เมื่อคืนวันที่ 14 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยเห็นว่าคำสั่งของกรมประชาสัมพันธ์ เป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม และขัดต่อสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน
"การเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ควรมีความโปร่งใส เพราะในครั้งนี้มีงบประมาณบริหารถึง 1,700 ล้านบาท คงปล่อยให้มีการแบ่งเค้กกันไม่ได้ เพราะจะทำให้ฝ่ายข่าวอ่อนแอแน่นอน ยืนยันว่าพวกเราไม่ใช่ตัวแทนอำนาจเก่าเหมือนตามที่บางคนกล่าวหา มาตรวจสอบได้เลย" นางสาวตวงพร กล่าว
ขณะที่ นายกรัฐมนตรี กล่าวยืนยันว่า จะดูแลเรื่องนี้อย่างดีที่สุดโดยการเปลี่ยนผ่านจะเป็นไปตามตัวบทกฎหมายโดยยึดเจตนารมณ์ของทีวีสาธารณะ และจะมีการดูแลเรื่องความโปร่งใสในการบริหารจัดการด้วย ส่วนเรื่องที่พนักงานตกงานนั้น คิดว่าไม่นานก็มาสมัครใหม่ได้
นอกจากนี้ กลุ่มพนักงานทีไอทีวี ยังได้ไปร้องต่อศาลปกครอง ในเรื่องนี้ด้วย โดย ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งกำหนดไต่สวนฉุกเฉิน ตามที่พนักงานไอทีวีร้อง ขอในวันนี้ (16ม.ค.) เวลา 13.30 น. โดยนายธีรวัฒน์ โชติธรรมโม บรรณาธิการข่าวเช้า กล่าวว่า การที่ศาลฯสั่งไต่สวนฉุกเฉิน แสดงว่า กระบวนการยุติธรรมยังมีอยู่ และการยื่นคำร้องเช่นนี้ ก็ไม่ใช่ต้องการกดดันคณะกรรมการชั่วคราว แต่ให้รู้ว่า สังคมต้องมีความชอบธรรม และคำสั่งปิดสถานีทีไอทีวีของอธิบดี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสาร และนำเสนอข่าวสารต่อประชาชน โดยในวันนี้ จะมีตัวแทนพนักงาน 5 คน เข้าร่วมฟังการไต่สวนด้วย
ยืมเงินทีไอทีวี 500 ล้านใช้ไปก่อน
นายจุลยุทธ์ หิรัญยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายชั่วคราวทั้ง 5 คน ได้ประชุมนัดแรกแล้ว ตนจะออกหนังสือคำสั่ง สปน. เพื่อให้ทราบว่า จะดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาเพื่อสรรหาคณะกรรมการนโยบายเพื่อกำกับองค์กรกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) คาดว่า เมื่อคณะกรรมการฯรับทราบก็จะดำเนินการสรรหาทันทีในกรอบ 180 วัน
ขณะเดียวกันในประเด็นของทุนดำเนินการของทีวีสาธารณะที่จะนำมาจากภาษีสรรพสามิตนั้น จะไม่เกี่ยวกับเงินรายได้ หรือจากค่าจัดเก็บโฆษณาที่สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีได้รับมากว่า 10 เดือน คาดว่ามีอยู่ประมาณ 500 ล้านบาท ที่กรมประชาสัมพันธ์ จัดเก็บไว้ คาดว่าจะนำส่วนนี้มายืมจ่ายไปก่อนในช่วงเปลี่ยนผ่าน ก่อนที่จะสามารถนำเงินจากภาษีมาดำเนินการทีวีสาธารณะ
นายจุลยุทธ์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินการตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด เพื่อเจรจาเรื่องค่าปรับแสนล้านบาทว่า ขณะนี้ ยังไม่มีความคืบหน้าในการตั้งคณะอนุญาโตตุลาการในส่วนของบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) และสถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม แม้ว่า ฝ่าย สปน.จะตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นมาแล้ว ขณะเดียวกันอนุญาโตตุลาการ ฝ่ายไอทีวี ได้ลาออกไปจึงยังไม่มีการตั้งขึ้นมาใหม่
นัดรวมตัวกันสมัครงาน
เมื่อวานนี้ เวลา 17.00 น. นายอัชฌา สุวรรณปากแพรก อดีตผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ได้เรียกประชุมพนักงานสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เพื่อแจ้งให้ทราบถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น โดยเน้นเรื่องการยื่นใบสมัครงานต่อในไทยพีบีเอส โดย ขอให้ทุกคนรวมตัวกันเป็นกลุ่ม และรอฟังการตัดสินจากศาลปกครองจนถึงที่สุดก่อน ทั้งนี้ คาดว่าภายในวันนี้ (16 ม.ค.) ตอนเย็นหรือไม่เกินวันพรุ่งนี้ (17 ม.ค.) ในช่วงเช้า ศาลปกครองจะมีคำตัดสินออกมา ซึ่งทางบริษัทอาจจะเป็นผู้รวบรวมใบสมัคร และเอกสารยื่นสมัครให้กับพนักงานที่ต้องการสมัครทำงานต่อไปกับไทยพีบีเอสก็ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางผู้จัดรายการทีไอทีวีบางรายได้มีการประชุมกันเมื่อวานนี้ เพื่อหารือถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและการดำเนินการต่อจากนี้ไป
นายก่อเกียรติ ลิมปพัทธ์ ผู้บริหาร บริษัท บอร์น ออปเปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า รู้สึกเสียดายที่ทีไอทีวีต้องสิ้นสุดลง แต่ยืนยันคงไม่มีการประท้วง คงต้องปล่อยให้เป็นไปตามครรลองของกฎหมาย
ตลท.ยัน ITV ยังคงสถานะ บจ.
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ เปิดเผยว่า จากการที่สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ถูกสั่งห้ามออกอากาศนั้น ไม่ได้มีผลกระทบต่อบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) หรือ ITV เนื่องจากถือเป็นคนละส่วนกันแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้าได้มีคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ภายหลังจากบอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานและดำเนินการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ระหว่างสำนักงานปลัดสำนักนายรัฐมนตรี และไอทีวี
สำหรับ ปัจจุบัน บมจ.ไอทีวี ยังคงดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อยู่ ซึ่งอยู่ระหว่างการแก้ไขผลการดำเนินงาน โดยตลาดหลักทรัพย์ได้ขึ้นเครื่องหมาย NC ไว้ เพราะไอทีวี อยู่ในระหว่างการหาธุรกิจหลักใหม่
"ตอนนี้ขึ้นอยู่กับบริษัทฯ จะสามารถหาธุรกิจใหม่ได้หรือไม่ ซึ่งหากมีความคืบหน้าตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีผลการดำเนินงานที่เป็นบวก 3 ไตรมาส หรือ 1 ปี ติดต่อกัน ก็จะสามารถกลับเข้าสู่การซื้อขายในหมวดปกติ จากปัจจุบันที่อยู่ในหมวดเข้าข่ายถูกเพิกถอน แต่หากไม่สามารถหาธุรกิจหลัก หรือแก้ไขแผนฟื้นฟูได้ ก็จะถูกย้ายไปอยู่หมวดหลักทรัพย์ที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด หรือ NPG ซึ่งบริษัทฯก็ยังมีเวลาในการดำเนินงาน"