เอเอฟพี - นักวิเคราะห์คาดราคาทองคำซึ่งในปัจจุบันซื้อขายกันที่ออนซ์ละกว่า 900 ดอลลาร์นั้น จะพุ่งทำสถิติสูงสุดทะลุระดับ 1,000 ดอลลาร์ในอีกไม่ช้านี้ อ้างปัจจัยนักลงทุนหวั่นเศรษฐกิจสหรัฐฯทรุด หันมาลงทุนในตลาดทองคำซึ่งเป็นแหล่งหลบภัยในเวลาที่เกิดความไม่แน่นอน ดีมานด์ที่เพิ่มสูงขึ้นในจีนและอินเดีย ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงลิ่ว เงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง และความหวั่นวิตกด้านภูมิรัฐศาสตร์
เมื่อวันจันทร์(14) ราคาทองคำในตลาดลอนดอนบุลเลียนมาร์เก็ต พุ่งทำสถิติสูงสุดที่ออนซ์ละ 914.30 ดอลลาร์
จอห์น เพย์น ผู้จัดการพอร์ตการลงทุนแห่ง Hexam Global Resources Absolute Return Fund กล่าวว่า ในทางจิตวิทยาแล้ว ณ ตอนนี้ ราคาทองคำในระดับ 1,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ถือเป็นเป้าหมายต่อไป
"ดูเหมือนว่าราคาทองคำจะมีปัจจัยหนุนให้สูงขึ้นอย่างมาก"
เพย์นกล่าวว่าปัจจัยสำคัญที่สุดที่ผลักดันราคาทองคำก็คือ เศรษฐกิจสหรัฐฯและเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง ขณะที่ราคาอาหารที่พุ่งสูงขึ้น ความวิตกกังวลทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ และราคาน้ำมันโลกซึ่งอยู่ในระดับใกล้ๆกับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ล้วนแต่เป็นปัจจัยทำให้ราคาทองคำทะยานขึ้นมาก
เงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงทำให้สินค้าโภคภัณฑ์ ดังเช่นน้ำมัน ทองคำ ซึ่งซื้อขายกันด้วยเงินดอลลาร์ มีราคาถูกลงสำหรับผู้ซื้อที่ถือเงินสกุลที่แข็งกว่าดอลลาร์ ส่งผลให้ดีมานด์ทองคำเพิ่มสูงขึ้น
บรรดาเทรดเดอร์ยังทุ่มเงินสดลงทุนในทองคำมากขึ้นเนื่องจากต้องการหาที่หลบภัยจากเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อาจเติบโตช้าหรือถดถอย นอกจากนี้ นักลงทุนยังมองว่าทองคำมีสถานะเป็นที่หลบภัยที่ปลอดภัย ในเวลาที่เกิดความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์
นอกจากนี้ ราคาน้ำมันโลกที่พุ่งสูงทะลุ 100 ดอลลาร์ ในช่วงต้นเดือนนี้ และปัจจุบันอยู่เหนือระดับ 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทำให้นักลงทุนจำนวนมากขึ้น หันมาลงทุนในตลาดทองคำ เนื่องจากต้องการแสวงหาเครื่องป้องกันภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ สืบเนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่พุ่งลิ่วในหลายประเทศ
ขณะเดียวกัน เมื่อวันจันทร์ เงินยูโรก็พุ่งสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ โดย 1 ยูโร แลกได้ 1.4914 ดอลลาร์ เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)จะตัดลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50% ในเดือนนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ
สำหรับปัจจัยอื่นๆนั้น ก็เช่น ความต้องการการผลิตทองรูปพรรณที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างคาดไม่ถึงในจีนและอินเดีย ก็หนุนให้ราคาทองคำทะยานขึ้นเช่นกัน
นิก เบียนโคว์สกี ผู้อำนวยการฝ่ายจดทะเบียนหุ้นและการวิจัยแห่งบริษัทหลักทรัพย์อีทีเอฟ เห็นด้วยว่าราคาทองคำกำลังมุ่งไปสู่การทำสถิติใหม่
"กระทรวงการคลังสหรัฐฯกล่าวว่ามีมุมมองแง่ลบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และตลาดต่างกำลังรอคอยให้มีการตัดลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมครั้งต่อไปของเฟด" เบียนโคว์สกีกล่าว
เบียนโคว์สกีกล่าวว่าการลดดอกเบี้ยจะเป็นปัจจัยลบต่อค่าเงินดอลลาร์ แต่เป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ
อย่างไรก็ดี โรบิ้น บฮาร์ นักวิเคราะห์แห่งยูบีเอส กล่าวเตือนว่า "เรากำลังวิตกมากขึ้นต่อโอกาสที่ราคาโลหะมีค่าทุกชนิดจะดิ่งลงอย่างมาก มากกว่าการที่ราคาพุ่งขึ้นสูงในช่วงสั้นๆ
ทั้งนี้ ทองคำซึ่งใช้กันทั้งในวงการทันตกรรมและภาคอิเล็กทรอนิกส์ ได้ทำราคาทุบสถิติสูงสุดในรอบ 28 ปี ที่ระดับ 850 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เมื่อต้นปีนี้ สืบเนื่องจากหลายๆปัจจัย ซึ่งรวมถึงความไม่สงบในปากีสถาน หลังการลอบสังหารเบนาซีร์ บุตโต อดีตนายกรัฐมนตรีและผู้นำฝ่ายค้าน เมื่อปลายปีที่แล้ว
ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นอย่างมากอันเป็นผลจากดีมานด์ที่เฟื่องฟูทั่วตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ อย่างไรก็ดี การเตะโด่งที่แท้จริงของราคาทองคำเกิดขึ้นในช่วงปลายปีที่แล้ว เมื่อมีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจของโลกจะเติบโตช้าลงและภาวะเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ภาพของภาวะ "stagflation" หรือภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว แต่เงินเฟ้อกลับสูงขึ้นนั้น ปรากฏเงาลางๆมากขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้คนก็พากันเกรงกลัวภาวะสินเชื่อตึงตัวอันเป็นผลมาจากการทรุดตัวของตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภทด้อยคุณภาพ หรือ "ซับไพรม์" ในสหรัฐฯ
เมื่อวันจันทร์(14) ราคาทองคำในตลาดลอนดอนบุลเลียนมาร์เก็ต พุ่งทำสถิติสูงสุดที่ออนซ์ละ 914.30 ดอลลาร์
จอห์น เพย์น ผู้จัดการพอร์ตการลงทุนแห่ง Hexam Global Resources Absolute Return Fund กล่าวว่า ในทางจิตวิทยาแล้ว ณ ตอนนี้ ราคาทองคำในระดับ 1,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ถือเป็นเป้าหมายต่อไป
"ดูเหมือนว่าราคาทองคำจะมีปัจจัยหนุนให้สูงขึ้นอย่างมาก"
เพย์นกล่าวว่าปัจจัยสำคัญที่สุดที่ผลักดันราคาทองคำก็คือ เศรษฐกิจสหรัฐฯและเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง ขณะที่ราคาอาหารที่พุ่งสูงขึ้น ความวิตกกังวลทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ และราคาน้ำมันโลกซึ่งอยู่ในระดับใกล้ๆกับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ล้วนแต่เป็นปัจจัยทำให้ราคาทองคำทะยานขึ้นมาก
เงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงทำให้สินค้าโภคภัณฑ์ ดังเช่นน้ำมัน ทองคำ ซึ่งซื้อขายกันด้วยเงินดอลลาร์ มีราคาถูกลงสำหรับผู้ซื้อที่ถือเงินสกุลที่แข็งกว่าดอลลาร์ ส่งผลให้ดีมานด์ทองคำเพิ่มสูงขึ้น
บรรดาเทรดเดอร์ยังทุ่มเงินสดลงทุนในทองคำมากขึ้นเนื่องจากต้องการหาที่หลบภัยจากเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อาจเติบโตช้าหรือถดถอย นอกจากนี้ นักลงทุนยังมองว่าทองคำมีสถานะเป็นที่หลบภัยที่ปลอดภัย ในเวลาที่เกิดความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์
นอกจากนี้ ราคาน้ำมันโลกที่พุ่งสูงทะลุ 100 ดอลลาร์ ในช่วงต้นเดือนนี้ และปัจจุบันอยู่เหนือระดับ 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทำให้นักลงทุนจำนวนมากขึ้น หันมาลงทุนในตลาดทองคำ เนื่องจากต้องการแสวงหาเครื่องป้องกันภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ สืบเนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่พุ่งลิ่วในหลายประเทศ
ขณะเดียวกัน เมื่อวันจันทร์ เงินยูโรก็พุ่งสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ โดย 1 ยูโร แลกได้ 1.4914 ดอลลาร์ เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)จะตัดลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50% ในเดือนนี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ
สำหรับปัจจัยอื่นๆนั้น ก็เช่น ความต้องการการผลิตทองรูปพรรณที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างคาดไม่ถึงในจีนและอินเดีย ก็หนุนให้ราคาทองคำทะยานขึ้นเช่นกัน
นิก เบียนโคว์สกี ผู้อำนวยการฝ่ายจดทะเบียนหุ้นและการวิจัยแห่งบริษัทหลักทรัพย์อีทีเอฟ เห็นด้วยว่าราคาทองคำกำลังมุ่งไปสู่การทำสถิติใหม่
"กระทรวงการคลังสหรัฐฯกล่าวว่ามีมุมมองแง่ลบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และตลาดต่างกำลังรอคอยให้มีการตัดลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมครั้งต่อไปของเฟด" เบียนโคว์สกีกล่าว
เบียนโคว์สกีกล่าวว่าการลดดอกเบี้ยจะเป็นปัจจัยลบต่อค่าเงินดอลลาร์ แต่เป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ
อย่างไรก็ดี โรบิ้น บฮาร์ นักวิเคราะห์แห่งยูบีเอส กล่าวเตือนว่า "เรากำลังวิตกมากขึ้นต่อโอกาสที่ราคาโลหะมีค่าทุกชนิดจะดิ่งลงอย่างมาก มากกว่าการที่ราคาพุ่งขึ้นสูงในช่วงสั้นๆ
ทั้งนี้ ทองคำซึ่งใช้กันทั้งในวงการทันตกรรมและภาคอิเล็กทรอนิกส์ ได้ทำราคาทุบสถิติสูงสุดในรอบ 28 ปี ที่ระดับ 850 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เมื่อต้นปีนี้ สืบเนื่องจากหลายๆปัจจัย ซึ่งรวมถึงความไม่สงบในปากีสถาน หลังการลอบสังหารเบนาซีร์ บุตโต อดีตนายกรัฐมนตรีและผู้นำฝ่ายค้าน เมื่อปลายปีที่แล้ว
ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นอย่างมากอันเป็นผลจากดีมานด์ที่เฟื่องฟูทั่วตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ อย่างไรก็ดี การเตะโด่งที่แท้จริงของราคาทองคำเกิดขึ้นในช่วงปลายปีที่แล้ว เมื่อมีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจของโลกจะเติบโตช้าลงและภาวะเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ภาพของภาวะ "stagflation" หรือภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว แต่เงินเฟ้อกลับสูงขึ้นนั้น ปรากฏเงาลางๆมากขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้คนก็พากันเกรงกลัวภาวะสินเชื่อตึงตัวอันเป็นผลมาจากการทรุดตัวของตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภทด้อยคุณภาพ หรือ "ซับไพรม์" ในสหรัฐฯ