งานวิจัยชิ้นใหม่ระบุวัยรุ่นที่สูบบุหรี่หรือมีแม่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะมีปัญหาการฟังหรือทำความเข้าใจในสิ่งที่ได้ยิน
ในการทดสอบวัยรุ่น 67 คน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเยลในสหรัฐฯพบว่า วัยรุ่นที่สูบบุหรี่มักมีปัญหาในการตั้งใจฟังหรือตีความเสียงที่ได้ยินขณะที่ถูกหันเหความสนใจ
นอกจากนั้น การสแกนสมองยังพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในส่วน white matter (บริเวณสีขาวของสมองและไขสันหลัง เป็นบริเวณที่มีใยประสาทอยู่เป็นจำนวนมาก) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดข้อความ
รายงานที่อยู่ในนิตยสารนิวไซเอนทิสต์แจงว่า วัยรุ่นที่สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มีแนวโน้มมีพื้นที่ที่เป็นไวท์แมตเทอร์มากขึ้น
การวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า เด็กที่มีไวท์แมตเทอร์ในสมองมากผิดปกติ จะมีปัญหาในการถ่ายทอดและตีความเสียง เนื่องจากบริเวณดังกล่าวทำงานไม่ประสานกับส่วนอื่นๆ ของสมอง
นักวิจัยเยลเชื่อว่า การผลิตไวท์แมตเทอร์มากเกินไปเกิดจากนิโคตินไปกระตุ้นสารประกอบเคมีที่ชื่อว่า อะเซทิลโคลีน
นอกจากนั้น การทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์โดยให้วัยรุ่น ซึ่งอายุระหว่าง 13-18 ปี จดจำคำต่างๆ โดยระหว่างนั้นจะถูกรบกวนสมาธิด้วยภาพหรือเสียงรอบข้าง พบว่าในกลุ่มเด็กผู้ชายที่เข้ารับการทดสอบ เด็กที่สูบบุหรี่หรือแม่สูบขณะตั้งครรภ์จำคำได้แม่นยำแค่ 77% ขณะที่เด็กอีกกลุ่มจำได้ถึง 85%
ส่วนในกลุ่มเด็กผู้หญิง สัดส่วนจะอยู่ที่ 84% และ 90% ตามลำดับ
เลสลี จาค็อบเซน หัวหน้านักวิจัยกล่าวว่า ผลการวิจัยอาจมีนัยสำคัญ เช่น ในห้องเรียนที่เด็กๆ อาจคุยกันและมีสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งจะยิ่งส่งผลต่อการได้ยินและทำความเข้าใจในสาส์นที่ได้รับสำหรับเด็กที่สัมผัสควันบุหรี่ทั้งทางตรงและทางอ้อม และเมื่อประกอบกับความผิดปกติทางพฤติกรรม ก็อาจทำให้เด็กมีปัญหาการเรียนการสอบ
ในการทดสอบวัยรุ่น 67 คน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเยลในสหรัฐฯพบว่า วัยรุ่นที่สูบบุหรี่มักมีปัญหาในการตั้งใจฟังหรือตีความเสียงที่ได้ยินขณะที่ถูกหันเหความสนใจ
นอกจากนั้น การสแกนสมองยังพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในส่วน white matter (บริเวณสีขาวของสมองและไขสันหลัง เป็นบริเวณที่มีใยประสาทอยู่เป็นจำนวนมาก) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดข้อความ
รายงานที่อยู่ในนิตยสารนิวไซเอนทิสต์แจงว่า วัยรุ่นที่สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มีแนวโน้มมีพื้นที่ที่เป็นไวท์แมตเทอร์มากขึ้น
การวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า เด็กที่มีไวท์แมตเทอร์ในสมองมากผิดปกติ จะมีปัญหาในการถ่ายทอดและตีความเสียง เนื่องจากบริเวณดังกล่าวทำงานไม่ประสานกับส่วนอื่นๆ ของสมอง
นักวิจัยเยลเชื่อว่า การผลิตไวท์แมตเทอร์มากเกินไปเกิดจากนิโคตินไปกระตุ้นสารประกอบเคมีที่ชื่อว่า อะเซทิลโคลีน
นอกจากนั้น การทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์โดยให้วัยรุ่น ซึ่งอายุระหว่าง 13-18 ปี จดจำคำต่างๆ โดยระหว่างนั้นจะถูกรบกวนสมาธิด้วยภาพหรือเสียงรอบข้าง พบว่าในกลุ่มเด็กผู้ชายที่เข้ารับการทดสอบ เด็กที่สูบบุหรี่หรือแม่สูบขณะตั้งครรภ์จำคำได้แม่นยำแค่ 77% ขณะที่เด็กอีกกลุ่มจำได้ถึง 85%
ส่วนในกลุ่มเด็กผู้หญิง สัดส่วนจะอยู่ที่ 84% และ 90% ตามลำดับ
เลสลี จาค็อบเซน หัวหน้านักวิจัยกล่าวว่า ผลการวิจัยอาจมีนัยสำคัญ เช่น ในห้องเรียนที่เด็กๆ อาจคุยกันและมีสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งจะยิ่งส่งผลต่อการได้ยินและทำความเข้าใจในสาส์นที่ได้รับสำหรับเด็กที่สัมผัสควันบุหรี่ทั้งทางตรงและทางอ้อม และเมื่อประกอบกับความผิดปกติทางพฤติกรรม ก็อาจทำให้เด็กมีปัญหาการเรียนการสอบ