งานวิจัยใหม่ตีแสกหน้าความเชื่อที่มีมานานที่ว่า พลังสมองของคนเราจะถึงขีดสูงสุดระหว่างช่วงอายุ 18-26 ปี และเริ่มถดถอยลงนับจากนั้น
งานนี้นายจ้างและผู้วางนโยบายที่มีอคติคงต้องคิดใหม่ เมื่อได้อ่านงานวิจัยของลาร์ส ลาร์เซน นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยออรัสของเดนมาร์ก ซึ่งศึกษาจากทหารอเมริกัน 4,300 คน ที่เคยเข้ารับการทดสอบความสามารถทางสติปัญญาเมื่อสมัครเข้ารับราชการทหารขณะอายุ 20 ปี และทดสอบอีกครั้งในสองทศวรรษให้หลัง ซึ่งได้ข้อสรุปว่าสติปัญญาของมนุษย์จะเพิ่มพูนตามวัย
เมื่อนำผลการทดสอบทั้งสองครั้งมาเปรียบเทียบ นักวิจัยพบว่าทักษะคณิตศาสตร์ของอดีตทหารผ่านศึกสงครามเวียดนาม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ขณะที่ทักษะด้านภาษากลับมีพัฒนาการอย่างชัดเจนในการทดสอบครั้งที่สอง
ศาสตราจารย์ลาร์เซนกล่าวว่างานวิจัยในชื่อ ‘ความเสถียรของสติปัญญาจากวัยผู้ใหญ่ช่วงต้นจนถึงวัยกลางคน’ แสดงให้เห็นว่าพลังสมองไม่ได้เสื่อมถอยลงนับจากช่วงต้นของวัยผู้ใหญ่อย่างที่เคยคิดกัน เห็นได้ชัดจากทักษะด้านภาษาที่มีพัฒนาการต่อเนื่องตามวัย
ในรายงานซึ่งตีพิมพ์อยู่ในวารสารอินเทลลิเจนศ์ ศาสตราจารย์ลาร์เซนอธิบายว่า พัฒนาการดังกล่าวอาจเป็นผลจากการฝึกฝนที่ต่อเนื่องยาวนาน เพื่อตอบรับความท้าทายใหม่ๆ ในโลกที่หมุนผ่านไปทุกวัน
นอกจากนั้น พัฒนาการนี้ยังชัดเจนจนสามารถลบล้างความเชื่อที่ว่า เซลล์สมองจะเริ่มถูกทำลายเมื่อคนเราย่างเข้าสู่วัยที่มีเลข 3 นำหน้า
หากรายงานฉบับนี้ถูกต้อง เท่ากับว่าการค้นพบของลาร์เซนสนับสนุนมาตรการริเริ่มของมหาวิทยาลัยหลายแห่งในการเปิดรับสมัครนักศึกษาที่มีอายุมากขึ้น
ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์เดลิเมล์ได้อ้างอิงกรณีของวิลเลียม คูเปอร์ ที่กลายเป็นบัณฑิตอาวุโสที่สุดในอังกฤษ หลังรับปริญญาตรีสาขาสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยวูล์ฟเวอร์แฮมป์ตัน เมื่อเร็วๆ นี้ขณะอายุ 89 ปี หรือหลังจากเลิกเรียนหนังสือมาแล้วกว่า 70 ปี
“การกลับไปเรียนหนังสือใหม่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ผมอาจยิ้มดีใจแต่อีกห้านาทีถัดไปกลายเป็นกลุ้มได้ อย่างไรก็ตาม ผมแนะนำว่าใครที่อยากกลับไปเรียน จงทำอย่างที่ใจอยาก
“ตอนแรกผมคิดว่าเขาจะไม่รับผมเข้าเรียนแล้ว แต่ผมได้รู้จักเพื่อนใหม่มากมายและอาจารย์ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี”
กระนั้น คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ความสำเร็จของคุณตาคูเปอร์ยังมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า คุณตาไม่มีแนวโน้มจะทิ้งหนังสือไปเที่ยวผับเหมือนนักศึกษาวัยละอ่อนอื่นๆ
งานนี้นายจ้างและผู้วางนโยบายที่มีอคติคงต้องคิดใหม่ เมื่อได้อ่านงานวิจัยของลาร์ส ลาร์เซน นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยออรัสของเดนมาร์ก ซึ่งศึกษาจากทหารอเมริกัน 4,300 คน ที่เคยเข้ารับการทดสอบความสามารถทางสติปัญญาเมื่อสมัครเข้ารับราชการทหารขณะอายุ 20 ปี และทดสอบอีกครั้งในสองทศวรรษให้หลัง ซึ่งได้ข้อสรุปว่าสติปัญญาของมนุษย์จะเพิ่มพูนตามวัย
เมื่อนำผลการทดสอบทั้งสองครั้งมาเปรียบเทียบ นักวิจัยพบว่าทักษะคณิตศาสตร์ของอดีตทหารผ่านศึกสงครามเวียดนาม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ขณะที่ทักษะด้านภาษากลับมีพัฒนาการอย่างชัดเจนในการทดสอบครั้งที่สอง
ศาสตราจารย์ลาร์เซนกล่าวว่างานวิจัยในชื่อ ‘ความเสถียรของสติปัญญาจากวัยผู้ใหญ่ช่วงต้นจนถึงวัยกลางคน’ แสดงให้เห็นว่าพลังสมองไม่ได้เสื่อมถอยลงนับจากช่วงต้นของวัยผู้ใหญ่อย่างที่เคยคิดกัน เห็นได้ชัดจากทักษะด้านภาษาที่มีพัฒนาการต่อเนื่องตามวัย
ในรายงานซึ่งตีพิมพ์อยู่ในวารสารอินเทลลิเจนศ์ ศาสตราจารย์ลาร์เซนอธิบายว่า พัฒนาการดังกล่าวอาจเป็นผลจากการฝึกฝนที่ต่อเนื่องยาวนาน เพื่อตอบรับความท้าทายใหม่ๆ ในโลกที่หมุนผ่านไปทุกวัน
นอกจากนั้น พัฒนาการนี้ยังชัดเจนจนสามารถลบล้างความเชื่อที่ว่า เซลล์สมองจะเริ่มถูกทำลายเมื่อคนเราย่างเข้าสู่วัยที่มีเลข 3 นำหน้า
หากรายงานฉบับนี้ถูกต้อง เท่ากับว่าการค้นพบของลาร์เซนสนับสนุนมาตรการริเริ่มของมหาวิทยาลัยหลายแห่งในการเปิดรับสมัครนักศึกษาที่มีอายุมากขึ้น
ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์เดลิเมล์ได้อ้างอิงกรณีของวิลเลียม คูเปอร์ ที่กลายเป็นบัณฑิตอาวุโสที่สุดในอังกฤษ หลังรับปริญญาตรีสาขาสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยวูล์ฟเวอร์แฮมป์ตัน เมื่อเร็วๆ นี้ขณะอายุ 89 ปี หรือหลังจากเลิกเรียนหนังสือมาแล้วกว่า 70 ปี
“การกลับไปเรียนหนังสือใหม่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ผมอาจยิ้มดีใจแต่อีกห้านาทีถัดไปกลายเป็นกลุ้มได้ อย่างไรก็ตาม ผมแนะนำว่าใครที่อยากกลับไปเรียน จงทำอย่างที่ใจอยาก
“ตอนแรกผมคิดว่าเขาจะไม่รับผมเข้าเรียนแล้ว แต่ผมได้รู้จักเพื่อนใหม่มากมายและอาจารย์ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี”
กระนั้น คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ความสำเร็จของคุณตาคูเปอร์ยังมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า คุณตาไม่มีแนวโน้มจะทิ้งหนังสือไปเที่ยวผับเหมือนนักศึกษาวัยละอ่อนอื่นๆ