สนามบินสุวรรณภูมิฉาวไม่สิ้น แฉความไม่ชอบพากลบริหารโรงแรม สงสัยทุจริตในการสั่งจ่ายเงิน จนเป็นเหตุให้กรรมการผู้จัดการโรงแรมถูกบีบให้ต้องลาออก เจอพิรุธแก้ไขระเบียบจ่ายเงิน จากเดิมไม่มีประธานเป็นผู้ลงนามเปลี่ยนเป็นให้อำนาจร่วมกับกรรมการแค่1คน เผยพล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร พัวพัน สั่งจ่ายทั้งที่โรงแรมไม่มีเงินสำรองต้องขอโอดีจากแบงก์ทหารไทย 104 ล้านบาท
วานนี้ ( 8 ม.ค.) ร.อ.อ.อดุล เปล่งขำ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการคมนาคม ได้ยื่นหนังสือถึงสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฎิบัติหน้าที่ สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อผ่านไปยัง พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ประธานกรรมาธิการคมนาคม โดยขอให้ตรวจสอบทุจริตในโรงแรมสุวรรณภูมิ (รทส.)
ร.อ.อ.อดุล ระบุว่า ได้รับการร้องเรียนความไม่ชอบมาพากลในการจ้าง บริษัท กิจการร่วมค้ายูนิเวอร์แซลเวอร์ฮอสพิแทลลิที (UH Group) เนื่องจากมีการทุจริตในการสั่งจ่ายเงิน และ การบริหาร กล่าวคือ ได้มีการจ่ายค่าบริหารให้กับบริษัท กิจการร่วมค้ายูนิเวอร์แซลฯ ทั้งๆที่การตกลงตามมติที่ประชุมยังไม่เรียบร้อย โดยมีข้อขัดแย้งในคณะกรรมการบริหารโรงแรม และยังมีการเจรจาต่อรองในเรื่องค่าบริหาร ซึ่งสูงกว่าโรงแรมทั่วไปมาก
ต่อมา กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทท่าอากาศยานไทย ปฎิเสธลงนามในการจ่ายเงินให้กับกลุ่มบริษัทกิจการร่วมค้ายูนิเวอร์แซลฯทำให้กรรมการผู้จัดการของโรงแรมถูกบีบให้ต้องลาออก
ประการสำคัญ พบว่ามีการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบการจ่ายเงิน จากเดิมที่ไม่มีประธานโรงแรมเป็นผู้ลงนามในเช็คสั่งจ่ายได้มีการแก้ไขให้ประธานโรงแรม เป็นผู้มีอำนาจในการลงนามในเช็คร่วมกับกรรมการอีก 1 คน
“ประเด็นนี้ ได้มีการเพิ่มเติมการลงนามโดยประธานโรงแรม พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร และ นางกัลยา ผกากรอง กรรมการ และจ่ายเงินให้กับ บริษัทกิจการร่วมค้ายูนิเวอร์แซลฯ ในวันเดียวกัน ที่ได้มีการประชุมแก้ไขระเบียบ โดยที่โรงแรมสุวรรณภูมิไม่มีเงินสำรอง ต้องขอเบิกเงินล่วงหน้า(โอดี)จากธนาคารทหารไทยประมาณ 104 ล้านบาท”
ร.อ.อ.อดุล ยังระบุด้วยว่า การกระทำดังกล่าวทำให้โรงแรมสุวรรณภูมิเสียประโยชน์อย่างมาก แต่คณะกรรมการโดยประธานกลับเอื้ออำนวยให้กับกลุ่มผู้บริหาร จึงเรียกร้องให้ตรวจสอบการกระทำดังกล่าว โดยก่อนนี้ โรงแรมสุวรรณภูมิมีปัญหามาโดยตลอด โดยเฉพาะเงื่อนงำการเข้ามาบริหารของกลุ่มบริษัทกิจการร่วมค้ายูนิเวอร์แซลฯ
คณะกรรมการตรวจสอบสัญญาการจ้างบริหารโรงแรมสุวรรณภูมิที่มีพลเรือเอกบรรณวิทย์ เก่งเรียน เป็นประธาน ได้ตรวจสอบพบว่า ในการยื่นซองเสนอเข้ามาบริหารโรงแรมฯ ปรากฏว่ามีผู้ซื้อซองเอกสาร 8 ราย มีเพียง 5 รายที่ยื่นข้อเสนอไม่ปรากฏชื่อของกลุ่มบริษัทกิจการร่วมค้ายูนิเวอร์แซลฯ ว่ามีการซื้อซองประมูล แต่กับผ่านการคัดเลือกและนำไปสู่การลงนามในสัญญา
ขณะเดียวกัน ยังพบว่า กลุ่มบริษัทกิจการร่วมค้ายูนิเวอร์แซลฯ มีคุณสมบัติขัดกับข้อกำหนดในร่างทีโออาร์ที่ระบุว่าต้องเป็นนิติบุคคล แต่นี้ไม่ถือเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อีกทั้ง ผู้ที่ยื่นข้อเสนอต้องเป็นเจ้าของหรือได้รับสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าของเครือข่ายบริหารโรงแรม (Hotel Chain) ก่อนวันยื่นประมูลซึ่งกลุ่มบริษัทกิจการร่วมค้ายูนิเวอร์แซลฯ ยังไม่มีสิทธิใช้ซื้อโนโวเทลในวันที่ยื่นข้อเสนอ แต่มีหนังสือรับรองและแต่งตั้งโอนสิทธิจากบริษัท เอเอพีซี (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นสำนักงานสาขาของแอคคอร์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรายเดียวในประเทศไทยเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเสนอผลการตรวจสอบให้กับคณะกรรมการบริษัทโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และคณะกรรมการฯได้มีมติส่งหนังสือหารือสำนักงานอัยการสูงสุด โดยขอหารือใน 2 ประเด็น คือ 1.สัญญาจ้างบริหารโรงแรมสุวรรณภูมิเป็นโมฆะตามกฎหมายหรือไม่ และ 2.หากสัญญาจ้างดังกล่าวเป็นโมฆะ จะเรียกร้องค่าเสียหายได้เพียงใดและจะดำเนินการอย่างไรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ
ทั้งนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดได้มีหนังสือตอบกลับมาลงวันที่ 27 ก.ย.2550 ลงนามโดยนายสงวน ตียะไพบูลย์สิน รองอัยการสูงสุดปฏิบัติราชการแทนอัยการสูงสุดแจ้งผลการพิจารณาเห็นว่าจากข้อมูลที่ปรากฏไม่สามารถบอกได้ว่าการคัดเลือกและการทำสัญญาดังกล่าวเกิดจากความเข้าใจผิดในตัวบุคคลหรือคู่สัญญาที่จะมีเจตนาที่จะทำให้เกิดการเข้าใจผิดและนำไปสู่การลงนามในสัญญาดังกล่าว จึงไม่สามารถระบุได้ว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะและเมื่อผลเป็นเช่นนี้จึงไม่ต้องพิจารณาในประเด็นที่ 2
ทว่า ความสงสัยก็ยังคงอยู่ ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 1 ต.ค.2550 ที่ประชุมคณะกรรมการโรงแรมได้มีมติให้ทำหนังสือหารือไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดอีกครั้ง โดยได้กำหนดประเด็นการหารือให้มีความครอบคลุมและชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อที่จะนำไปสู่การตัดสินใจเพื่อหาทางออกในเรื่องนี้ต่อไป
สำหรับการตรวจสอบโครงการดังกล่าว เป็นเพราะการดำเนินโครงการนี้ เกิดขึ้นในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ และผู้บริหารชุดที่ผ่านมา โดยมีการมองกันว่ามีการทุจริตและไม่โปร่งใสเพราะเป็นช่วงที่มีการรีบเร่งเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ
วานนี้ ( 8 ม.ค.) ร.อ.อ.อดุล เปล่งขำ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการคมนาคม ได้ยื่นหนังสือถึงสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฎิบัติหน้าที่ สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อผ่านไปยัง พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ประธานกรรมาธิการคมนาคม โดยขอให้ตรวจสอบทุจริตในโรงแรมสุวรรณภูมิ (รทส.)
ร.อ.อ.อดุล ระบุว่า ได้รับการร้องเรียนความไม่ชอบมาพากลในการจ้าง บริษัท กิจการร่วมค้ายูนิเวอร์แซลเวอร์ฮอสพิแทลลิที (UH Group) เนื่องจากมีการทุจริตในการสั่งจ่ายเงิน และ การบริหาร กล่าวคือ ได้มีการจ่ายค่าบริหารให้กับบริษัท กิจการร่วมค้ายูนิเวอร์แซลฯ ทั้งๆที่การตกลงตามมติที่ประชุมยังไม่เรียบร้อย โดยมีข้อขัดแย้งในคณะกรรมการบริหารโรงแรม และยังมีการเจรจาต่อรองในเรื่องค่าบริหาร ซึ่งสูงกว่าโรงแรมทั่วไปมาก
ต่อมา กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทท่าอากาศยานไทย ปฎิเสธลงนามในการจ่ายเงินให้กับกลุ่มบริษัทกิจการร่วมค้ายูนิเวอร์แซลฯทำให้กรรมการผู้จัดการของโรงแรมถูกบีบให้ต้องลาออก
ประการสำคัญ พบว่ามีการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบการจ่ายเงิน จากเดิมที่ไม่มีประธานโรงแรมเป็นผู้ลงนามในเช็คสั่งจ่ายได้มีการแก้ไขให้ประธานโรงแรม เป็นผู้มีอำนาจในการลงนามในเช็คร่วมกับกรรมการอีก 1 คน
“ประเด็นนี้ ได้มีการเพิ่มเติมการลงนามโดยประธานโรงแรม พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร และ นางกัลยา ผกากรอง กรรมการ และจ่ายเงินให้กับ บริษัทกิจการร่วมค้ายูนิเวอร์แซลฯ ในวันเดียวกัน ที่ได้มีการประชุมแก้ไขระเบียบ โดยที่โรงแรมสุวรรณภูมิไม่มีเงินสำรอง ต้องขอเบิกเงินล่วงหน้า(โอดี)จากธนาคารทหารไทยประมาณ 104 ล้านบาท”
ร.อ.อ.อดุล ยังระบุด้วยว่า การกระทำดังกล่าวทำให้โรงแรมสุวรรณภูมิเสียประโยชน์อย่างมาก แต่คณะกรรมการโดยประธานกลับเอื้ออำนวยให้กับกลุ่มผู้บริหาร จึงเรียกร้องให้ตรวจสอบการกระทำดังกล่าว โดยก่อนนี้ โรงแรมสุวรรณภูมิมีปัญหามาโดยตลอด โดยเฉพาะเงื่อนงำการเข้ามาบริหารของกลุ่มบริษัทกิจการร่วมค้ายูนิเวอร์แซลฯ
คณะกรรมการตรวจสอบสัญญาการจ้างบริหารโรงแรมสุวรรณภูมิที่มีพลเรือเอกบรรณวิทย์ เก่งเรียน เป็นประธาน ได้ตรวจสอบพบว่า ในการยื่นซองเสนอเข้ามาบริหารโรงแรมฯ ปรากฏว่ามีผู้ซื้อซองเอกสาร 8 ราย มีเพียง 5 รายที่ยื่นข้อเสนอไม่ปรากฏชื่อของกลุ่มบริษัทกิจการร่วมค้ายูนิเวอร์แซลฯ ว่ามีการซื้อซองประมูล แต่กับผ่านการคัดเลือกและนำไปสู่การลงนามในสัญญา
ขณะเดียวกัน ยังพบว่า กลุ่มบริษัทกิจการร่วมค้ายูนิเวอร์แซลฯ มีคุณสมบัติขัดกับข้อกำหนดในร่างทีโออาร์ที่ระบุว่าต้องเป็นนิติบุคคล แต่นี้ไม่ถือเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อีกทั้ง ผู้ที่ยื่นข้อเสนอต้องเป็นเจ้าของหรือได้รับสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าของเครือข่ายบริหารโรงแรม (Hotel Chain) ก่อนวันยื่นประมูลซึ่งกลุ่มบริษัทกิจการร่วมค้ายูนิเวอร์แซลฯ ยังไม่มีสิทธิใช้ซื้อโนโวเทลในวันที่ยื่นข้อเสนอ แต่มีหนังสือรับรองและแต่งตั้งโอนสิทธิจากบริษัท เอเอพีซี (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นสำนักงานสาขาของแอคคอร์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรายเดียวในประเทศไทยเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเสนอผลการตรวจสอบให้กับคณะกรรมการบริษัทโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และคณะกรรมการฯได้มีมติส่งหนังสือหารือสำนักงานอัยการสูงสุด โดยขอหารือใน 2 ประเด็น คือ 1.สัญญาจ้างบริหารโรงแรมสุวรรณภูมิเป็นโมฆะตามกฎหมายหรือไม่ และ 2.หากสัญญาจ้างดังกล่าวเป็นโมฆะ จะเรียกร้องค่าเสียหายได้เพียงใดและจะดำเนินการอย่างไรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ
ทั้งนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดได้มีหนังสือตอบกลับมาลงวันที่ 27 ก.ย.2550 ลงนามโดยนายสงวน ตียะไพบูลย์สิน รองอัยการสูงสุดปฏิบัติราชการแทนอัยการสูงสุดแจ้งผลการพิจารณาเห็นว่าจากข้อมูลที่ปรากฏไม่สามารถบอกได้ว่าการคัดเลือกและการทำสัญญาดังกล่าวเกิดจากความเข้าใจผิดในตัวบุคคลหรือคู่สัญญาที่จะมีเจตนาที่จะทำให้เกิดการเข้าใจผิดและนำไปสู่การลงนามในสัญญาดังกล่าว จึงไม่สามารถระบุได้ว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะและเมื่อผลเป็นเช่นนี้จึงไม่ต้องพิจารณาในประเด็นที่ 2
ทว่า ความสงสัยก็ยังคงอยู่ ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 1 ต.ค.2550 ที่ประชุมคณะกรรมการโรงแรมได้มีมติให้ทำหนังสือหารือไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดอีกครั้ง โดยได้กำหนดประเด็นการหารือให้มีความครอบคลุมและชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อที่จะนำไปสู่การตัดสินใจเพื่อหาทางออกในเรื่องนี้ต่อไป
สำหรับการตรวจสอบโครงการดังกล่าว เป็นเพราะการดำเนินโครงการนี้ เกิดขึ้นในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ และผู้บริหารชุดที่ผ่านมา โดยมีการมองกันว่ามีการทุจริตและไม่โปร่งใสเพราะเป็นช่วงที่มีการรีบเร่งเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ