"ปกรณ์" ชี้เหตุตลาดหุ้นไทยล่าหลังตลาดหุ้นเอเชีย หลังนโยบายแปรูปรัฐวิสาหกิจยังไม่มีความชัดเจน ระบุตลาดหุ้นมาเลเชียมีรัฐวิสาหกิจระดมทุนกว่า 40 บริษัท ขณะที่ตลาดหุ้นไทยมีเพียง 7 บริษัทเท่านั้น เล็งหารือกระทรวงการคลังลดสัดส่วนถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจหวังเพิ่มสภาพคล่อง ดันน้ำหนักลงทุนในดัชนี MSCI เพิ่ม "ภัทรียา" ยันปีนี้ มีบริษัทลูกรัฐวิสาหกิจระดมทุนแน่นอน
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า อัตราการเติบโตของตลาดหุ้นไทยที่อยู่ในระดับต่ำกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคเกิดจากความไม่ชัดเจนในเรื่องนโยบายของภาครัฐบาล โดยเฉพาะกรณีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งหากพิจารณาเทียบเคียงนโยบายในเรื่องดังกล่าว ระหว่างตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นมาเลเซียจะพบว่า ปัจจุบันมีรัฐวิสาหกิจที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยเพียง 7 บริษัท ขณะที่ในตลาดหุ้นมาเลเชียมีรัฐวิสาหกิจเข้ามาจดทะเบียนแล้วกว่า 40 บริษัท
ทั้งนี้ ผลจากเรื่องดังกล่าวส่งผลทำให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยของดัชนี MSCI ซึ่งถือว่าเป็นดัชนีที่นักลงทุนต่างชาติใช้เป็นเครื่องมือในการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียลดลง โดยปัจจุบันตลาดหุ้นไทยมีน้ำหนักในดัชนี MSCI เพียง 1.5% ซึ่งแนวทางในการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการหารือกับกระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในรัฐวิสาหกิจที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว เพื่อให้มีการลดสัดส่วนการถือครองหุ้นจะได้เป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ตลาดหุ้น
สำหรับแผนในการพัฒนาในตลาดทุนจะเน้น 3 ด้านหลัก คือ การเพิ่มมูลค่าตลาดรวม (มาร์เกตแคป) รวมถึงการเพิ่มนักลงทุนให้มากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนของนักลงทุนสถาบัน เนื่องจากช่วยลักษณะการลงทุนของนักลงทุนสถาบันจะช่วยสร้างเสถียรภาพในการลงทุนได้ และเรื่องสุดท้าย คือ การปฏิรูปตลาด
โดยก่อนหน้านี้ ได้มีการตั้งอนุกรรมการเพิ่มสรรหาบริษัทเข้ามาระดมทุนทั้งในตลาดหลักทรัพย์ (SET) และตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยสิ้นปีที่ผ่านมา มีบริษัทที่ยื่นเรื่องเพื่อขอเข้าจดทะเบียนรวม 107 บริษัท โดยแบ่งเป็นจะเข้าจดทะเบียนใน SET จำนวน 48 บริษัท และใน mai จำนวน 59 บริษัท ซึ่งทั้ง 107 บริษัทมีมูลค่ามาร์เกตแคปรวมประมาณ 3 แสนล้านบาท
"จำนวนบริษัทขนาดใหญ่โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่เข้ามาระดมทุนมีเพียง 7 บริษัท ขณะที่ในตลาดหุ้นมาเลเชียมีมากกว่า 40 บริษัทถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย หากไม่เร่งส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจเข้ามาระดมทุนมากกว่าที่เป็นอยู่ จะทำให้ตลาดหุ้นไทยเกิดความล้าหลังต่อไป"นายปกรณ์กล่าวเช่นนั้น ในส่วนของการเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนสถาบัน จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนอยู่ประมาณ 11% ตลท.ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อเข้ามาดูแลในเรื่องดังกล่าว โดยการเพิ่มจำนวนนักลงทุนสถาบัน โดยตลท.มีความสนใจที่จะดึงกองทุนสำหรับผู้เกษียณอายุจากประเทศญี่ปุ่น เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย เนื่องจากเป็นกองทุนที่มีเงินลงทุนสูงมาก ซึ่งในปี2551 อาจจะมีการไปนำเสนอข้อมูลตลาดหุ้นไทยให้แก่นักลงทุนในกลุ่มดังกล่าว
นอกจากนี้ การเพิ่มสินค้าเพิ่มให้นักลงทุนมีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น ตลท.ได้ตั้งคณะทำงานโดยมีนายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการกองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เป็นประธาน เพื่อสอบถามและศึกษาในการเพิ่มสินค้าประเภทใหม่ที่นักลงทุนสถาบันมีความสนใจที่จะลงทุน รวมถึงมีการตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาการเพิ่มธุรกรรมการซื้อขายในตลาดซื้อคืนพันธบัตรภาคเอกชน(ไพรเวทรีโป้)
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ในปีนี้ จะมีบริษัทรัฐวิสาหกิจเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่จะเป็นรัฐวิสาหกิจที่ไม่มีสินทรัพย์เป็นสมบัติของชาติ เพื่อที่จะไม่ได้รับผลทบจากการเข้าจดทะเบียน หรือ รัฐวิสาหกิจที่มีสินทรัพย์ที่เป็นสมบัติของชาตินั้นก็จะต้องมีการแยกหน่วยธุรกิจไม่เกี่ยวข้องกับสมบัติชาติดังกล่าวออกไปโดยการตั้งบริษัทลูก เพื่อที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยบริษัทรัฐวิสาหกิจที่มีความพร้อมที่สุดในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ คือ บริษัท ไปรษณีย์ไทย
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า อัตราการเติบโตของตลาดหุ้นไทยที่อยู่ในระดับต่ำกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคเกิดจากความไม่ชัดเจนในเรื่องนโยบายของภาครัฐบาล โดยเฉพาะกรณีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งหากพิจารณาเทียบเคียงนโยบายในเรื่องดังกล่าว ระหว่างตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นมาเลเซียจะพบว่า ปัจจุบันมีรัฐวิสาหกิจที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยเพียง 7 บริษัท ขณะที่ในตลาดหุ้นมาเลเชียมีรัฐวิสาหกิจเข้ามาจดทะเบียนแล้วกว่า 40 บริษัท
ทั้งนี้ ผลจากเรื่องดังกล่าวส่งผลทำให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยของดัชนี MSCI ซึ่งถือว่าเป็นดัชนีที่นักลงทุนต่างชาติใช้เป็นเครื่องมือในการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียลดลง โดยปัจจุบันตลาดหุ้นไทยมีน้ำหนักในดัชนี MSCI เพียง 1.5% ซึ่งแนวทางในการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการหารือกับกระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในรัฐวิสาหกิจที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว เพื่อให้มีการลดสัดส่วนการถือครองหุ้นจะได้เป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ตลาดหุ้น
สำหรับแผนในการพัฒนาในตลาดทุนจะเน้น 3 ด้านหลัก คือ การเพิ่มมูลค่าตลาดรวม (มาร์เกตแคป) รวมถึงการเพิ่มนักลงทุนให้มากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนของนักลงทุนสถาบัน เนื่องจากช่วยลักษณะการลงทุนของนักลงทุนสถาบันจะช่วยสร้างเสถียรภาพในการลงทุนได้ และเรื่องสุดท้าย คือ การปฏิรูปตลาด
โดยก่อนหน้านี้ ได้มีการตั้งอนุกรรมการเพิ่มสรรหาบริษัทเข้ามาระดมทุนทั้งในตลาดหลักทรัพย์ (SET) และตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยสิ้นปีที่ผ่านมา มีบริษัทที่ยื่นเรื่องเพื่อขอเข้าจดทะเบียนรวม 107 บริษัท โดยแบ่งเป็นจะเข้าจดทะเบียนใน SET จำนวน 48 บริษัท และใน mai จำนวน 59 บริษัท ซึ่งทั้ง 107 บริษัทมีมูลค่ามาร์เกตแคปรวมประมาณ 3 แสนล้านบาท
"จำนวนบริษัทขนาดใหญ่โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่เข้ามาระดมทุนมีเพียง 7 บริษัท ขณะที่ในตลาดหุ้นมาเลเชียมีมากกว่า 40 บริษัทถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย หากไม่เร่งส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจเข้ามาระดมทุนมากกว่าที่เป็นอยู่ จะทำให้ตลาดหุ้นไทยเกิดความล้าหลังต่อไป"นายปกรณ์กล่าวเช่นนั้น ในส่วนของการเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนสถาบัน จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนอยู่ประมาณ 11% ตลท.ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อเข้ามาดูแลในเรื่องดังกล่าว โดยการเพิ่มจำนวนนักลงทุนสถาบัน โดยตลท.มีความสนใจที่จะดึงกองทุนสำหรับผู้เกษียณอายุจากประเทศญี่ปุ่น เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย เนื่องจากเป็นกองทุนที่มีเงินลงทุนสูงมาก ซึ่งในปี2551 อาจจะมีการไปนำเสนอข้อมูลตลาดหุ้นไทยให้แก่นักลงทุนในกลุ่มดังกล่าว
นอกจากนี้ การเพิ่มสินค้าเพิ่มให้นักลงทุนมีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น ตลท.ได้ตั้งคณะทำงานโดยมีนายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการกองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เป็นประธาน เพื่อสอบถามและศึกษาในการเพิ่มสินค้าประเภทใหม่ที่นักลงทุนสถาบันมีความสนใจที่จะลงทุน รวมถึงมีการตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาการเพิ่มธุรกรรมการซื้อขายในตลาดซื้อคืนพันธบัตรภาคเอกชน(ไพรเวทรีโป้)
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ในปีนี้ จะมีบริษัทรัฐวิสาหกิจเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่จะเป็นรัฐวิสาหกิจที่ไม่มีสินทรัพย์เป็นสมบัติของชาติ เพื่อที่จะไม่ได้รับผลทบจากการเข้าจดทะเบียน หรือ รัฐวิสาหกิจที่มีสินทรัพย์ที่เป็นสมบัติของชาตินั้นก็จะต้องมีการแยกหน่วยธุรกิจไม่เกี่ยวข้องกับสมบัติชาติดังกล่าวออกไปโดยการตั้งบริษัทลูก เพื่อที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยบริษัทรัฐวิสาหกิจที่มีความพร้อมที่สุดในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ คือ บริษัท ไปรษณีย์ไทย