ผลวิจัยใหม่พบผู้หญิงที่นิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อต่ออักเสบที่เข่ามากขึ้นถึงสองเท่า
ปกติแล้ว ผู้หญิงจะมีนิ้วนางและนิ้วชี้ยาวเท่ากัน ขณะที่ผู้ชายนิ้วนางจะยาวกว่า
ศาสตราจารย์ไมเคิล โดเฮอร์ตี้ จากมหาวิทยาลัยนอตติ้งแฮม อังกฤษ ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัยยอมรับว่า ยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงที่นิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้มีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเสื่อมมากกว่าปกติ และจำเป็นต้องศึกษาขยายผลต่อไป
ทั้งนี้ นักวิจัยจากนอตติ้งแฮมวิเคราะห์มือของผู้ป่วยโรคข้อต่ออักเสบ 2,000 คน และมือของผู้ที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคนี้ ในกลุ่มคนอายุ 60 ปี
รายงานที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารอาร์ทริทิส แอนด์ รูมาติสม์แจงว่า นักวิจัยได้เอ็กซ์เรย์มือของผู้ป่วย และประเมินความยาวของนิ้วใน 3 วิธีด้วยกัน ได้แก่ เปรียบเทียบความยาวของนิ้วนางและนิ้วชี้ด้วยสายตา วัดความยาวของนิ้วทั้งสองจากโคนถึงข้อต่อบน และวัดความยาวของกระดูก
และหลังจากนำปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อาทิ การบาดเจ็บที่ข้อต่อ และการละเลยการออกกำลังกาย มาพิจารณาประกอบด้วยแล้ว พบว่ากลุ่มที่นิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้มีความเสี่ยงเป็นโรคข้อต่ออักเสบที่เข่าสูงกว่า
งานวิจัยนี้ถือเป็นชิ้นแรกที่มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของนิ้วนางและนิ้วชี้กับโรคข้อต่ออักเสบ
การวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงที่นิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้มักมีพรสวรรค์ด้านกีฬา โดยที่ผู้เชี่ยวชาญได้แต่สันนิษฐานว่า สาเหตุอาจมาจากเรื่องของพันธุกรรม
ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนชี้ว่า ความยาวของนิ้วอาจเกี่ยวพันกับการได้รับฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนขณะอยู่ในครรภ์มารดา โดยทฤษฎีนี้อิงกับข้อเท็จจริงที่ว่า ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง ในครรภ์ของผู้หญิงแต่ละคนจะแตกต่างกัน และเชื่อว่ากลไกนี้มีผลต่อพัฒนาการของสมองและความยาวของนิ้วของทารก
ก่อนหน้านี้ นักวิจัยยังระบุว่าความยาวของนิ้วบ่งชี้ถึงลักษณะนิสัยของคนๆ นั้น โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลพบว่า ผู้ชายที่นิ้วชี้สั้นกว่านิ้วนางมาก อาจเป็นสัญญาณของอาการซึมเศร้าและพฤติกรรมรักร่วมเพศ ในทางกลับกัน ผู้หญิงที่นิ้วมีลักษณะเดียวกันนี้มีแนวโน้มเป็นเลสเบี้ยน
ขณะเดียวกัน งานวิจัยในแคนาดาเมื่อสามปีที่แล้วพบว่า นิ้วชี้ที่สั้นกว่าบ่งชี้ว่าเด็กอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว
ปีที่แล้ว นักจิตวิทยามหาวิทยาลัยบาทในอังกฤษ พบว่าอาจทำนายผลการเรียนของเด็กได้จากการวัดความยาวของนิ้ว กล่าวคือเด็กที่นิ้วนางกับนิ้วชี้ยาวเท่ากันมีแนวโน้มเก่งเลข ส่วนเด็กที่นิ้วชี้สั้นกว่ามีแนวโน้มชำนาญด้านภาษา
ปกติแล้ว ผู้หญิงจะมีนิ้วนางและนิ้วชี้ยาวเท่ากัน ขณะที่ผู้ชายนิ้วนางจะยาวกว่า
ศาสตราจารย์ไมเคิล โดเฮอร์ตี้ จากมหาวิทยาลัยนอตติ้งแฮม อังกฤษ ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัยยอมรับว่า ยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงที่นิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้มีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเสื่อมมากกว่าปกติ และจำเป็นต้องศึกษาขยายผลต่อไป
ทั้งนี้ นักวิจัยจากนอตติ้งแฮมวิเคราะห์มือของผู้ป่วยโรคข้อต่ออักเสบ 2,000 คน และมือของผู้ที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคนี้ ในกลุ่มคนอายุ 60 ปี
รายงานที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารอาร์ทริทิส แอนด์ รูมาติสม์แจงว่า นักวิจัยได้เอ็กซ์เรย์มือของผู้ป่วย และประเมินความยาวของนิ้วใน 3 วิธีด้วยกัน ได้แก่ เปรียบเทียบความยาวของนิ้วนางและนิ้วชี้ด้วยสายตา วัดความยาวของนิ้วทั้งสองจากโคนถึงข้อต่อบน และวัดความยาวของกระดูก
และหลังจากนำปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อาทิ การบาดเจ็บที่ข้อต่อ และการละเลยการออกกำลังกาย มาพิจารณาประกอบด้วยแล้ว พบว่ากลุ่มที่นิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้มีความเสี่ยงเป็นโรคข้อต่ออักเสบที่เข่าสูงกว่า
งานวิจัยนี้ถือเป็นชิ้นแรกที่มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของนิ้วนางและนิ้วชี้กับโรคข้อต่ออักเสบ
การวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงที่นิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้มักมีพรสวรรค์ด้านกีฬา โดยที่ผู้เชี่ยวชาญได้แต่สันนิษฐานว่า สาเหตุอาจมาจากเรื่องของพันธุกรรม
ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนชี้ว่า ความยาวของนิ้วอาจเกี่ยวพันกับการได้รับฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนขณะอยู่ในครรภ์มารดา โดยทฤษฎีนี้อิงกับข้อเท็จจริงที่ว่า ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง ในครรภ์ของผู้หญิงแต่ละคนจะแตกต่างกัน และเชื่อว่ากลไกนี้มีผลต่อพัฒนาการของสมองและความยาวของนิ้วของทารก
ก่อนหน้านี้ นักวิจัยยังระบุว่าความยาวของนิ้วบ่งชี้ถึงลักษณะนิสัยของคนๆ นั้น โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลพบว่า ผู้ชายที่นิ้วชี้สั้นกว่านิ้วนางมาก อาจเป็นสัญญาณของอาการซึมเศร้าและพฤติกรรมรักร่วมเพศ ในทางกลับกัน ผู้หญิงที่นิ้วมีลักษณะเดียวกันนี้มีแนวโน้มเป็นเลสเบี้ยน
ขณะเดียวกัน งานวิจัยในแคนาดาเมื่อสามปีที่แล้วพบว่า นิ้วชี้ที่สั้นกว่าบ่งชี้ว่าเด็กอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว
ปีที่แล้ว นักจิตวิทยามหาวิทยาลัยบาทในอังกฤษ พบว่าอาจทำนายผลการเรียนของเด็กได้จากการวัดความยาวของนิ้ว กล่าวคือเด็กที่นิ้วนางกับนิ้วชี้ยาวเท่ากันมีแนวโน้มเก่งเลข ส่วนเด็กที่นิ้วชี้สั้นกว่ามีแนวโน้มชำนาญด้านภาษา