พลิกโฉมอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย ยอดส่งออกพุ่งแซงตลาดในประเทศเป็นครั้งแรก ปิดฉากปีหมูไม่ต่ำกว่า 6.8 แสนคัน จากเดิมประเมิน 6.2 แสนคัน ขณะที่ตลาดในประเทศแค่ 6.3 แสนคัน ประกาศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกอย่างแท้จริง ประเมินทิศทางอุตฯ รถยนต์ปีหนู เชื่อยังคงเติบโตไปได้ดี ยอดผลิตพุ่ง 1.4 ล้านคัน จากปีที่ผ่านมาแตะ 1.3 ล้านคัน โดยส่งออกยังเป็นพระเอกมากกว่า 7 แสนคัน
นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผย "ผู้จัดการรายวัน" ว่า ช่วงปลายเดือนธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมของผู้ประกอบการ เพื่อสรุปสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยในปีที่แล้วมา และทิศทางแนวโน้มในปี 2551 ซึ่งต่างเห็นว่าภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์ยังไปได้ดี แม้ว่าตลาดในประเทศจะชะลอตัวลงก็ตาม
"ในปีที่ผ่านมานับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย เพราะค่อนข้างจะชัดเจนแล้วว่า ยอดส่งออกจะมีปริมาณมากกว่ายอดขายภายในประเทศเป็นครั้งแรก โดยมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 6.8 แสนคันแน่นอน ขณะที่ตลาดในประเทศน่าจะอยู่ประมาณ 6.3 แสนคันเท่านั้น และแนวโน้มในปี 2551 นี้ ปริมาณการส่งออกยังคงจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง นั่นหมายความว่าไทยได้กลายเป็นฐานการผลิตรถยนต์ เพื่อการส่งออกอย่างแท้จริงแล้ว"
ทั้งนี้ปริมาณการส่งออกในปีที่ผ่านมาประมาณ 6.8 แสนคัน ถือว่าเหนือความคาดหมายของบรรดาผู้ประกอบการที่เคยประเมินไว้ เนื่องจากครั้งแรกคาดว่าจะมียอดส่งออกประมาณ 6.2 แสนคัน แต่จากตัวส่งออกในช่วง 11 เดือน มกราคม-พฤศจิกายนของปีที่ผ่านมา สามารถทำได้มากกว่า 6.2 แสนคัน ฉะนั้นช่วงเดือนธันวาคมที่เหลือ จึงไม่มีปัญหาที่จะทำยอดส่งออกทะลุ 6.8 แสนคัน
นายศุภรัตน์กล่าวว่า ผลจากยอดส่งออกที่ขยายตัวเป็นอย่างมาก ทำให้ภาพรวมการผลิตรถยนต์ในไทย ได้มีการปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยคาดว่าจะมีปริมาณการผลิตในปี 2550 ที่ผ่านมา ไม่ต่ำกว่า 1.29 แสนคัน จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.25 ล้านคันเท่านั้น ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น่ายินดีมากของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย
"จากการรวบรวมเป้าหมายการผลิต รวมถึงออเดอร์ส่งออกของแต่ละบริษัทรถยนต์ในปี 2551 พบว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คาดมียอดการผลิตทั้งหมดประมาณ 1.4 ล้านคัน โดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์จากไทยสู่ต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% หรือมากกว่า 7 แสนคัน ขณะที่ตลาดในประเทศน่าจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง เมื่อมีการเลือกตั้งและได้รัฐบาลใหม่ แต่คงจะไม่ขยายตัวมากนัก ดีที่สุดคงจะเติบโตไม่เกิน 5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา"
สำหรับสาเหตุการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย แน่นอนย่อมมาจากการส่งออกเป็นหลัก และต่อไปจะมีปริมาณมากกว่าตลาดในประเทศ เนื่องจากผู้ส่งออกรายต่างๆ ได้มีการขยายตลาดใหม่มากขึ้น ขณะที่ตลาดส่งออกเดิมก็ยังคงไปได้ด้วยดี และจากการรวบรวมตัวเลขเป้าหมายการส่งออกแต่ละยี่ห้อ เชื่อมั่นว่ามีไม่ต่ำกว่า 7 แสนคันแน่นอน
นายศุภรัตน์กล่าวว่า ในส่วนของโตโยต้าคาดว่าจะมียอดการส่งออกเพิ่มประมาณ 10% ขณะที่ยี่ห้ออื่นๆ ก็มีการส่งออกขยายตัวมากขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะนิสสันที่ล่าสุดได้มีการลงทุนใช้ไทยเป็นฐานการผลิตปิกอัพรุ่นใหม่ และเพิ่งเริ่มส่งออกเมื่อปลายปีที่ผ่านมา แต่การส่งออกอย่างจริงจังจะเริ่มในปีนี้ ฉะนั้นปริมาณการส่งออกจึงย่อมเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัว ซึ่งจากความเคลื่อนไหวเหล่านี้ทำให้เชื่อว่า ยอดส่งออกรถยนต์จากไทยในปีนี้และต่อๆ ไป จะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ตลาดรถยนต์ในประเทศน่าจะมีการปรับตัวดีขึ้น เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรช่วงปลายปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะมีรัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้ง ภายในเดือนกุมภาพันธ์ตามแผนที่วางไว้ จากนั้นรัฐบาลใหม่คงจะได้เข้ามาแก้ไขปัญหาเร่งด่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่แข็งตัว รวมถึงปัจจัยลบอื่นๆ ตรงนี้จะทำให้ความเชื่อมั่นต่างๆ กลับมา และส่งผลให้ประชาชนกล้าที่จะตัดสินใจซื้อรถมากขึ้น แต่นั่นอยู่บนพื้นฐานของการไม่มีสถานการณ์พลิกผันมากระทบเป็นสำคัญ
นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผย "ผู้จัดการรายวัน" ว่า ช่วงปลายเดือนธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมของผู้ประกอบการ เพื่อสรุปสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยในปีที่แล้วมา และทิศทางแนวโน้มในปี 2551 ซึ่งต่างเห็นว่าภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์ยังไปได้ดี แม้ว่าตลาดในประเทศจะชะลอตัวลงก็ตาม
"ในปีที่ผ่านมานับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย เพราะค่อนข้างจะชัดเจนแล้วว่า ยอดส่งออกจะมีปริมาณมากกว่ายอดขายภายในประเทศเป็นครั้งแรก โดยมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 6.8 แสนคันแน่นอน ขณะที่ตลาดในประเทศน่าจะอยู่ประมาณ 6.3 แสนคันเท่านั้น และแนวโน้มในปี 2551 นี้ ปริมาณการส่งออกยังคงจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง นั่นหมายความว่าไทยได้กลายเป็นฐานการผลิตรถยนต์ เพื่อการส่งออกอย่างแท้จริงแล้ว"
ทั้งนี้ปริมาณการส่งออกในปีที่ผ่านมาประมาณ 6.8 แสนคัน ถือว่าเหนือความคาดหมายของบรรดาผู้ประกอบการที่เคยประเมินไว้ เนื่องจากครั้งแรกคาดว่าจะมียอดส่งออกประมาณ 6.2 แสนคัน แต่จากตัวส่งออกในช่วง 11 เดือน มกราคม-พฤศจิกายนของปีที่ผ่านมา สามารถทำได้มากกว่า 6.2 แสนคัน ฉะนั้นช่วงเดือนธันวาคมที่เหลือ จึงไม่มีปัญหาที่จะทำยอดส่งออกทะลุ 6.8 แสนคัน
นายศุภรัตน์กล่าวว่า ผลจากยอดส่งออกที่ขยายตัวเป็นอย่างมาก ทำให้ภาพรวมการผลิตรถยนต์ในไทย ได้มีการปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยคาดว่าจะมีปริมาณการผลิตในปี 2550 ที่ผ่านมา ไม่ต่ำกว่า 1.29 แสนคัน จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.25 ล้านคันเท่านั้น ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น่ายินดีมากของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย
"จากการรวบรวมเป้าหมายการผลิต รวมถึงออเดอร์ส่งออกของแต่ละบริษัทรถยนต์ในปี 2551 พบว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คาดมียอดการผลิตทั้งหมดประมาณ 1.4 ล้านคัน โดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์จากไทยสู่ต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% หรือมากกว่า 7 แสนคัน ขณะที่ตลาดในประเทศน่าจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง เมื่อมีการเลือกตั้งและได้รัฐบาลใหม่ แต่คงจะไม่ขยายตัวมากนัก ดีที่สุดคงจะเติบโตไม่เกิน 5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา"
สำหรับสาเหตุการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย แน่นอนย่อมมาจากการส่งออกเป็นหลัก และต่อไปจะมีปริมาณมากกว่าตลาดในประเทศ เนื่องจากผู้ส่งออกรายต่างๆ ได้มีการขยายตลาดใหม่มากขึ้น ขณะที่ตลาดส่งออกเดิมก็ยังคงไปได้ด้วยดี และจากการรวบรวมตัวเลขเป้าหมายการส่งออกแต่ละยี่ห้อ เชื่อมั่นว่ามีไม่ต่ำกว่า 7 แสนคันแน่นอน
นายศุภรัตน์กล่าวว่า ในส่วนของโตโยต้าคาดว่าจะมียอดการส่งออกเพิ่มประมาณ 10% ขณะที่ยี่ห้ออื่นๆ ก็มีการส่งออกขยายตัวมากขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะนิสสันที่ล่าสุดได้มีการลงทุนใช้ไทยเป็นฐานการผลิตปิกอัพรุ่นใหม่ และเพิ่งเริ่มส่งออกเมื่อปลายปีที่ผ่านมา แต่การส่งออกอย่างจริงจังจะเริ่มในปีนี้ ฉะนั้นปริมาณการส่งออกจึงย่อมเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัว ซึ่งจากความเคลื่อนไหวเหล่านี้ทำให้เชื่อว่า ยอดส่งออกรถยนต์จากไทยในปีนี้และต่อๆ ไป จะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ตลาดรถยนต์ในประเทศน่าจะมีการปรับตัวดีขึ้น เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรช่วงปลายปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะมีรัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้ง ภายในเดือนกุมภาพันธ์ตามแผนที่วางไว้ จากนั้นรัฐบาลใหม่คงจะได้เข้ามาแก้ไขปัญหาเร่งด่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่แข็งตัว รวมถึงปัจจัยลบอื่นๆ ตรงนี้จะทำให้ความเชื่อมั่นต่างๆ กลับมา และส่งผลให้ประชาชนกล้าที่จะตัดสินใจซื้อรถมากขึ้น แต่นั่นอยู่บนพื้นฐานของการไม่มีสถานการณ์พลิกผันมากระทบเป็นสำคัญ