ซิสโก้สาธิตความสามารถ Generative AI ในคลาวด์ซิเคียวริตี ชูลดความซับซ้อนในการดำเนินการด้านความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เปิดตัวโซลูชันใหม่ Security Service Edge (SSE) มอบประสบการณ์การทำงานแบบไฮบริดที่เหนือกว่า และเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงจากทุกที่ ทุกอุปกรณ์ และทุกแอปพลิเคชัน ครอบคลุมทั้งไฟร์วอลล์ มัลติคลาวด์ และแอปพลิเคชันซิเคียวริตี
จีทู พาเทล รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายระบบรักษาความปลอดภัยและการทำงานร่วมกันของซิสโก้ กล่าวว่า Cisco Secure Access ช่วยขจัดภาระและความยุ่งยากสำหรับผู้ใช้ และมอบประสบการณ์ที่เหนือกว่าด้วยการเข้าถึงแอปพลิเคชันทั้งหมดได้อย่างราบรื่น ไม่ใช่เพียงแค่แอปพลิเคชันบางตัวเท่านั้น เพื่อรองรับการทำงานแบบไฮบริดได้อย่างปลอดภัย
"ความสามารถด้านการตรวจสอบเครือข่ายที่เหนือชั้นทำให้เรามีข้อได้เปรียบเหนือกว่าบริษัทอื่นๆ และทำให้เราเชื่อมั่นว่าซิสโก้คือบริษัทที่นำเสนอเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในโลกเมื่อความปลอดภัยต้องทำงานร่วมกับเครือข่าย”
ซิสโก้ (CSCO) ถือเป็นหนึ่งในผู้นำของตลาดระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยระดับองค์กร การนำเสนอเทคโนโลยีใหม่สำหรับคลาวด์ซิเคียวริตีที่ขับเคลื่อนด้วย AI นั้นจะเพิ่มความสะดวกในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ และช่วยให้บุคลากรทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจากทุกที่ ท่ามกลางสถานการณ์ภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ซิสโก้ย้ำว่า ได้ลงทุนในการพัฒนานวัตกรรมล้ำสมัยในด้านเอไอ (AI) และแมชชีน เลิร์นนิ่ง (Machine Learning) ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพให้ทีมงานฝ่ายรักษาความปลอดภัย โดยจะช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อนในการดำเนินงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
Security Service Edge ถูกวางจุดขายไว้ที่การเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันและทรัพยากรทั้งหมดอย่างปลอดภัยได้จากทุกที่ รองรับสภาพแวดล้อมด้านไอทีในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เห็นได้จากการศึกษาล่าสุดโดยซิสโก้ หัวข้อ “My Location, My Device (ตำแหน่งของฉัน อุปกรณ์ของฉัน) : ความท้าทายใหม่ด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ของงานรูปแบบไฮบริด” ชี้ให้เห็นว่า 9 ใน 10 (91%) ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยกล่าวว่าพนักงานของตนใช้อย่างน้อย 2 เครือข่ายในการล็อกอินเข้าสู่ระบบของที่ทำงาน และ 28% กล่าวว่าพนักงานของตนใช้มากกว่า 5 เครือข่าย และองค์กรส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาผลิตภัณฑ์ที่ติดตั้งเฉพาะจุดซึ่งเชื่อมโยงกันไปมาในลักษณะที่ซับซ้อนที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับสภาพแวดล้อมแบบกระจัดกระจาย
"ทุกวันนี้ผู้ใช้ต้องเจอประสบการณ์การเข้าถึงที่ต้องยืนยันตัวตนครั้งแล้วครั้งเล่าตลอดทั้งวัน ซึ่งบั่นทอนประสิทธิภาพการทำงาน แต่ด้วย Cisco Secure Access ซึ่งเป็นโซลูชัน SSE ใหม่ของซิสโก้ การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีที่ผู้ใช้เชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันจะได้รับการจัดการอยู่เบื้องหลัง ทำให้ได้สิ่งที่ต้องการรวดเร็วยิ่งขึ้น และผลลัพธ์ที่ตามมาคือ ผู้ใช้จะมีความปลอดภัยมากขึ้น ขณะที่การดำเนินการมีความยุ่งยากน้อยลงทั้งต่อผู้ใช้และทีมงานฝ่ายไอที"
วีระ อารีรัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทย กล่าวว่า องค์กรเหล่านี้จึงต้องการแพลตฟอร์มแบบบูรณาการที่จะช่วยให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันและอุปกรณ์ใดๆ ก็ตามได้อย่างราบรื่นและปลอดภัยในทุกสถานที่ เนื่องจากในโลกปัจจุบันมีการใช้งานเครือข่ายกระจัดกระจายอย่างกว้างขวาง ธุรกิจต่างๆ ต้องการวิธีที่ชาญฉลาดในการจัดการการเชื่อมต่อ ควบคู่ไปกับการปกป้ององค์กรให้รอดพ้นจากภัยคุกคามใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ขณะที่องค์กรธุรกิจในไทยปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบการทำงานแบบไฮบริดและการทำงานจากทุกที่
"นั่นคือการที่นวัตกรรมของเรา เช่น Cisco Secure Access สามารถตอบโจทย์และมอบคุณประโยชน์สูงสุดให้แก่ทุกองงค์กร”
ทั้งนี้ Cisco Secure Access ถือเป็นส่วนหนึ่งของ Cisco Security Cloud โดยจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยและระบบเครือข่ายในผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของซิสโก้ รวมถึงความสามารถในการตรวจสอบเครือข่ายแบบในตัวจาก Cisco ThousandEyes และสามารถบูรณาการเข้ากับโซลูชันของบริษัทอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย โซลูชัน Cisco Secure Access จะเริ่มวางจำหน่ายอย่างจำกัดในเดือนกรกฎาคม 2566 และจะวางจำหน่ายทั่วไปในเดือนตุลาคม 2566
ในอีกด้าน ซิสโก้ประกาศว่าได้นำเสนอความสามารถของ Generative AI มาใช้ใน Security Cloud ในด้านลดความซับซ้อนของนโยบาย โดย Cisco Security Cloud จะใช้ประโยชน์จาก Policy Assistant ที่ขับเคลื่อนด้วย Generative AI ซึ่งช่วยให้ผู้ดูแลระบบรักษาความปลอดภัยและระบบไอทีสามารถอธิบายนโยบายความปลอดภัยแบบละเอียด และประเมินวิธีการปรับใช้ที่ดีที่สุดในแง่มุมต่างๆ ของโครงสร้างพื้นฐานด้านการรักษาความปลอดภัย สำหรับการใช้งานครั้งแรก ลูกค้าจะสามารถให้เหตุผลกับ AI Assistant ของซิสโก้ เพื่อประเมินและกำหนดนโยบายไฟร์วอลล์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเทคโนโลยีนี้จะสามารถใช้งานได้ในปลายปีนี้
นอกจากนี้ AI ยังมีบทบาทต่อการตรวจจับและแก้ไขภัยคุกคามอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก SOC Assistant ของ Cisco จะสนับสนุนศูนย์ปฏิบัติการด้านการรักษาความปลอดภัย (Security Operations Center - SOC) เพื่อให้สามารถตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้เร็วขึ้น กล่าวคือ เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น โปรแกรมผู้ช่วยดังกล่าวจะตรวจสอบบริบทของเหตุการณ์โดยพิจารณาจากอีเมล เว็บ อุปกรณ์ปลายทาง และเครือข่าย แล้วแจ้งให้นักวิเคราะห์ SOC ทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้นและก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ ฟีเจอร์การสรุปข้อมูลเหตุการณ์จะพร้อมใช้งานภายในสิ้นปี 2566 ส่วนฟีเจอร์อื่นๆ จะพร้อมใช้งานในช่วงครึ่งแรกของปี 2567
ขณะที่ผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น ไฟร์วอลล์ Cisco Secure Firewall 4200 Series จะวางจำหน่ายโดยทั่วไปในเดือนกันยายน 2023 โดยรองรับระบบปฏิบัติการเวอร์ชัน 7.4 ระบบปฏิบัติการ 7.4 จะพร้อมใช้งานโดยทั่วไปสำหรับอุปกรณ์ตระกูล Secure Firewall ที่เหลือในเดือนธันวาคม 2566