หัวเว่ยมองภัยคุกคามทางไซเบอร์กลายเป็นเรื่องสำคัญ กระตุ้นองค์กรทั่วโลกถึงเวลาที่ต้องร่วมมือกันเพื่อพัฒนาแนวทางป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ
นายเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ว่า การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมากขึ้นย่อมมาพร้อมกับภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์และความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งสามารถสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในระดับที่ประเมินค่าไม่ได้ หากหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ขาดมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
"หัวเว่ย ประเทศไทย เล็งเห็นถึงความสำคัญของความปลอดภัยทางไซเบอร์ในปัจจุบัน และมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านดังกล่าวให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา ได้ร่วมมือกับภาครัฐบาลและภาคเอกชนในประเทศไทยเดินหน้าผลักดันหลากหลายโครงการ เพื่อวางรากฐานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องข้อมูลร่วมกัน เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการและหน่วยงานต่างๆ ในการรับมือกับภัยคุกคามในอนาคต เช่น การจัดนิทรรศการสัปดาห์วิชาการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมรับพระราชบัญญัติป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และงานสัมมนาประจำปีด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เป็นต้น"
หัวเว่ยอธิบายว่า ปัจจุบัน ภาคเศรษฐกิจและสังคมโลกกำลังเร่งมุ่งหน้าเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านทางด้านเครือข่ายยุคดิจิทัล และสู่ความเป็นอัจฉริยะ โลกไซเบอร์ได้ผสานเข้ากับเศรษฐกิจและสังคมจนเป็นเนื้อเดียว และการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัลมีความลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น คลาวด์ บิ๊กดาต้า AI และ 5G ต่างสร้างโมเมนตัมใหม่ๆ ให้แก่การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงหลังสถานการณ์ระบาดของโควิด-19
ในขณะเดียวกัน ความท้าทายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้กลายเป็นปัญหาที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ขอบเขตของเครือข่ายต่างๆ เริ่มเลือนหาย จุดอ่อนในระบบเริ่มมีมากขึ้น พื้นที่ที่สุ่มเสี่ยงต่อการโจมตีทางไซเบอร์ก็กว้างใหญ่ขึ้น และเหตุการณ์การเจาะระบบความปลอดภัยที่มีเป้าหมายเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญมีจำนวนถี่ขึ้นตามไปด้วย
ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนที่ว่านี้ บทบาทพื้นฐานของความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงมีความสำคัญมากขึ้น ครอบคลุมถึงคำถามที่ว่าเราจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นทางดิจิทัลได้อย่างไร เพิ่มศักยภาพของความน่าเชื่อถือด้านความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานสำคัญได้อย่างไร จะปกป้องการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลขององค์กรต่างๆ ได้อย่างไร รวมถึงจะสามารถจัดการความเสี่ยง ทำให้เกิดการปฏิบัติตามมาตรฐาน และต้องทำให้แน่ใจได้ว่าความปลอดภัยทางเครือข่ายและข้อมูล ความท้าทายและโอกาสต่างๆ ในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จะสามารถช่วยปกป้องการพัฒนาของเศรษฐกิจดิจิทัลได้
จากข้อมูลสถิติภัยคุกคามทางไซเบอร์ของไทยในปี 2565 โดยสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) พบว่าประเทศไทยมีอัตราการเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มสูงขึ้นถึงเท่าตัว จากปี 2564 ที่มี 135 เหตุการณ์ เป็น 772 เหตุการณ์ในปี 2565 ส่วนใหญ่เป็นการโจมตีข้อมูลบนเว็บไซต์ด้านการศึกษาและภาคสาธารณะ
ด้วยเหตุนี้ หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) ได้ประกาศความมุ่งมั่นในการจะผลักดันรากฐานของความปลอดภัยทางไซเบอร์ใน ประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ด้วยการร่วมมือกับทั้งภาครัฐบาล ภาคเอกชนชั้นนำ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายในอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันประเทศไทยให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างปลอดภัยและมั่นคง
ทั้งนี้ ในปี 2566 หัวเว่ย ประเทศไทยยืนยันว่าจะยังคงมุ่งนำเสนอโซลูชันเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมและมีความปลอดภัย ทั้งยังมุ่งมั่นที่จะยกระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์ในประเทศไทยไปอีกขั้น ด้วยการยกระดับประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องข้อมูลให้แก่โครงสร้างพื้นฐานไอซีทีในไทย ควบคู่กับการแบ่งปันองค์ความรู้และหลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับเทคโนโลยี 5G ให้แก่หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ในไทย และลูกค้า เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่อีโคซิสเต็มด้านไซเบอร์ของประเทศ
ส่วนในด้านการปกป้องข้อมูล หัวเว่ยจะสนับสนุนธุรกิจและสตาร์ทอัปต่างๆ ในไทยในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคลาวด์ที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นไปตามข้อกำหนดของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับดัชนีความปลอดภัยทางไซเบอร์ในระดับโลก (GCI) ให้แก่ประเทศไทย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แก่ประเทศในระดับสากล
นอกจากแนวทางเชิงกลยุทธ์ด้านการเผยแพร่องค์ความรู้ หัวเว่ย ประเทศไทยจะเดินหน้าสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง ด้วยโครงการฝึกอบรมนักพัฒนาที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีให้ได้ถึง 20,000 คน ภายในระยะเวลา 3 ปี
ประธานกรรมการบริหารคนใหม่ของหัวเว่ย ประเทศไทยกล่าวทิ้งท้ายว่า หัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเปิดกว้าง และมีเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องข้อมูลสำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีของประเทศ รวมทั้งสร้างอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัลที่ปลอดภัยและเข้าถึงได้
"ด้วยความมุ่งมั่นดังกล่าว หัวเว่ย ประเทศไทย มั่นใจว่าหน่วยงานต่างๆ ทั้งในระดับองค์กรหรือแม้แต่ในระดับบุคคลทั่วไปจะมั่นใจและได้รับความปลอดภัยมากขึ้นในการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน สานต่อพันธกิจ “เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย สนับสนุนประเทศไทย” เพื่อนำประเทศไทยสู่การเชื่อมต่ออัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบและปลอดภัยในยุคดิจิทัล"