xs
xsm
sm
md
lg

นูทานิคซ์เผยเทรนด์มัลติคลาวด์เจอ 3 ความท้าทาย ความปลอดภัย-การเชื่อมเป็นหนึ่ง-ต้นทุน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นูทานิคซ์ เผย 3 ความท้าทายขององค์กรในการดิจิทัลทรานส์ฟอร์มบนมัลติคลาวด์ ประกอบด้วย ความปลอดภัย การเชื่อมต่อเป็นหนึ่ง และการบริหารต้นทุน ชี้เอไอ และ ระบบออโตเมชันช่วยได้ พร้อมอาสาช่วยฝ่ายไอทีรับมือการบริหารจัดการข้อมูลภายใต้กฎหมาย PDPA โฟกัส 3 กลุ่มตลาดหลัก ได้แก่ ภาคการเงินการธนาคาร ภาครัฐ และภาคการผลิต

นายทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์ กล่าวว่า เมื่อองค์กรต้องการก้าวไปสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์ม ในขณะที่องค์กรใช้งานคลาวด์แบบมัลติคลาวด์ ด้วยสภาพแวดล้อมของโครงสร้างคลาวด์ที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความท้าทาย 3 อันดับแรกที่องค์กรคำนึงถึง ได้แก่ เรื่องความปลอดภัย 49% เรื่องการเชื่อมต่อจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันเป็นหนึ่งเดียว 49% และเรื่องของต้นทุนทำอย่างไรให้ประหยัด 43% ดังนั้น การทำงานเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายดังกล่าวต้องมีระบบเอไอและระบบออโตเมชันเข้ามาประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นการมอนิเตอร์ การแจ้งเตือนเรื่องไซเบอร์ ซิเคียวริตี รวมถึงการวิเคราะห์เพื่อหาโซลูชันที่ลดต้นทุนให้มากที่สุด

นอกจากเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของระบบแล้ว เรื่องของข้อมูลลูกค้าก็สำคัญ เมื่อมี พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ทำอย่างไรให้ฝ่ายไอทีสามารถรับมือกับภัยคุกคามที่จะสร้างความเสี่ยงและเกิดผลกระทบเสียหายต่อข้อมูลได้ การเข้าถึงข้อมูลต้องมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบผู้เข้าถึงข้อมูลได้ว่าเป็นใคร และที่สำคัญคือจะเก็บข้อมูลที่อยู่กระจัดกระจายในมัลติคลาวด์ได้อย่างไร ซึ่งประเด็นนี้เป็นสิ่งที่องค์กรต้องการมากที่สุด 45% ที่จะรวบรวมข้อมูลไว้ในที่เดียวกัน


นูทานิคซ์ สามารถตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรที่ต้องการทรานส์ฟอร์มองค์กรตนเองได้ โดยในปีนี้บริษัทโฟกัสกลุ่มลูกค้าด้านการเงินการธนาคาร ภาครัฐ, ภาคการผลิต ซึ่งอยู่ในกลุ่มดิจิทัลทรานส์ฟอร์มองค์กร โดยแพลตฟอร์มคลาวด์ของนูทานิคซ์ประกอบด้วย โครงสร้างพื้นฐานไฮบริดคลาวด์ และการบริหารจัดการมัลติคลาวด์ ที่มาพร้อมสตอเรจแบบรวมศูนย์ บริการด้านดาต้าเบส และบริการด้านเดสก์ท็อป เพื่อรองรับแอปพลิเคชันและเวิร์กโหลดทุกประเภทที่อยู่ในทุกสภาพแวดล้อม

เทคโนโลยีคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพสูง และลดความซับซ้อนให้วิธีการจัดซื้อ การติดตั้งใช้งาน และการบริหารจัดการบริการด้านไอทีต่างๆ สามารถลดค่าใช้จ่ายด้วยลดการใช้เทคโนโลยีที่ไม่จำเป็นได้จำนวนมาก และช่วยให้ทีมทางเทคนิคมีภาระงานลดลง เพื่อให้สามารถมุ่งทำงานที่สร้างมูลค่าสูงกว่า ทำให้นำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว การปรับขนาดการทำงานได้ตามต้องการ และการเชื่อมโยงไปทำงานบนพับลิคคลาวด์ ช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญๆ ได้เร็วขึ้น ที่สำคัญคือ ปกป้องบริการและข้อมูลขององค์กรจากความล้มเหลวของฮาร์ดแวร์ภัยพิบัติ และการโจมตีทางไซเบอร์


อย่างไรก็ตาม บริษัทวิจัย IDC ได้คาดการณ์ว่าขนาดของปริมาณการใช้ข้อมูลทั่วโลก (global datasphere) จะสูงถึง175 เซตตะไบท์ (ZB) ภายในปี 2568 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลส่วนใหญ่นี้ไม่ได้นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์หรือไม่ได้ถูกนำไปใช้ตรงตามกำหนดเวลา หรือไม่สามารถนำไปวิเคราะห์ได้อย่างคุ้มค่า จะเกิดอะไรขึ้นหากมีวิธีการง่ายๆ ที่จะทำให้องค์กรสามารถควบคุมและใช้ประโยชน์จากการขยายตัวของดาต้าเบส โดยสามารถรวบรวมและบริหารจัดการดาต้าเบสทั้งหมดภายใต้ระบบบริหารจัดการเดียว และจะเกิดอะไรขึ้นหากสามารถทำให้ดาต้าเบสเป็นแบบเสมือนได้ และหากทำเช่นนั้นมีทางเป็นไปได้ว่าจะประหยัดค่าไลเซนส์ต่างๆ ด้านดาต้าเบสที่แพงมากไปพร้อมๆ กับเพิ่มประสิทธิภาพได้ถึง 5 เท่า

ดังนั้น นูทานิคซ์จึงนำดาต้าเบสทั้งหมดขององค์กรมาไว้ด้วยกันและดำเนินงานด้านดาต้าเบสต่างๆ ด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว ซึ่งสามารถติดตามตรวจสอบ เพิ่มความสามารถ และบริหารจัดการดาต้าเบสเหล่านั้นได้ง่ายและเร็วขึ้น เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้คลาวด์ นูทานิคซ์ได้เพิ่มความสามารถที่ทันสมัยให้โซลูชัน DBaaS ซึ่งทำให้โหลดด้านการดูแลระบบเป็นอัตโนมัติ ผลลัพธ์ที่ได้คือโซลูชันด้านดาต้าเบสที่ทำงานตามความต้องการขององค์กรมีความพร้อมใช้ตลอดเวลา ปลอดภัยตลอดเวลา และคุ้มค่าการลงทุนอย่างมาก


กำลังโหลดความคิดเห็น