หัวเว่ย เผยผลการดำเนินธุรกิจในช่วงปีที่ผ่านมา ช่วยสนับสนุนให้ไทยเป็นผู้นำ 5G ในภูมิภาคอาเซียน ด้วยจำนวนผู้ใช้งานกว่า 4.3 ล้านคน สูงกว่าทั่วภูมิภาค 2.5 เท่า พร้อมให้บริการสถานีฐาน 5G มากกว่า 20,000 แห่ง วางเป้าปีนี้ 5G ครอบคลุม 70% ของประชากร และอัตราการเข้าถึงเพิ่มขึ้นเป็น 20% จาก 10% ในปัจจุบัน
อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ประเทศไทยถือเป็นตลาดสำคัญของหัวเว่ย และเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วที่สุด ตลอด 23 ปี นับตั้งแต่การก่อตั้งหัวเว่ย ประเทศไทยในปี พ.ศ.2542 ภายใต้พันธกิจ “เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย และร่วมสนับสนุนประเทศไทย”
โดยในช่วงปีที่ผ่านมา หัวเว่ยเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการติดตั้งสถานีฐาน 5G และขึ้นเป็นผู้จำหน่ายชิ้นส่วนอันดับ 1 ในไทย ภายใต้การเปิดใช้งานสถานีฐาน 5G มากกว่า 20,000 แห่ง จำนวนประชากรที่เข้าถึง 5G ครอบคลุมสูงถึง 70% และมีผู้ใช้ 5G ถึง 4.3 ล้านคน ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้ใช้ในประเทศอาเซียนอื่นๆ ถึง 2.5 เท่า
พร้อมนำเทคโนโลยี 5G ในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งด้านการแพทย์ 5G ท่าเรือ 5G และการเกษตร 5G ให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด นับเป็นการวางรากฐานสำหรับการขยายตัวในอนาคต และในพื้นที่ที่ไม่ใช่ 5G จำนวนผู้ใช้บรอดแบนด์ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 1.67 ล้านคนในปี พ.ศ.2564 อัตราการเข้าถึงเพิ่มขึ้นจาก 8% เป็น 60.4%
สำหรับในปี 2565 หัวเว่ยเตรียมพร้อมการลงทุนในประเทศไทย 4 ด้านหลักด้วยกัน ประการที่ 1 เติมเต็มการใช้งาน 5G ด้วยการเชื่อมต่อที่แพร่หลาย ประการที่ 2 สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลบนคลาวด์ ประการที่ 3 กระตุ้นการเปลี่ยนผ่านสู่วิถีชีวิตคาร์บอนต่ำด้วยดิจิทัล เพาเวอร์ และประการที่ 4 เสริมศักยภาพผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลและพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
“ภายในปี พ.ศ.2578 มูลค่าเศรษฐกิจที่รองรับเทคโนโลยี 5G จะสูงถึง 2.3 ล้านล้านบาท คาดการณ์โดยประมาณคิดเป็น 10% ของมูลค่าจีดีพีทั้งหมด โดยหวังว่า 5G จะครอบคลุม 70% ของจำนวนประชากร และอัตราการเข้าถึง 5G จะเพิ่มเป็น 20% จาก 10% ในปัจจุบัน”
ในส่วนของธุรกิจทั่วโลก หัวเว่ยมีรายได้ 636.8 พันล้านหยวนในปี พ.ศ.2564 มีผลกำไรสุทธิ 113.7 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้น 75.9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของบริษัทสูงถึง 142.7 พันล้านหยวนในปี พ.ศ.2564 คิดเป็น 22.4% ของรายรับทั้งหมดหัวเว่ย เผยคนไทยใช้งาน 5G แล้วกว่า 4.3 ล้านคน มากกว่าในภูมิภาค 2.5 เท่า
หัวเว่ยเผยผลการดำเนินธุรกิจในช่วงปีที่ผ่านมา ช่วยสนับสนุนให้ไทยเป็นผู้นำ 5G ในภูมิภาคอาเซียน ด้วยจำนวนผู้ใช้งานกว่า 4.3 ล้านคน สูงกว่าทั่วภูมิภาค 2.5 เท่า พร้อมให้บริการสถานีฐาน 5G มากกว่า 20,000 แห่ง วางเป้าปีนี้ 5G ครอบคลุม 70% ของประชากร และอัตราการเข้าถึงเพิ่มขึ้นเป็น 20% จาก 10% ในปัจจุบัน
อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ประเทศไทยถือเป็นตลาดสำคัญของหัวเว่ย และเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วที่สุด ตลอด 23 ปี นับตั้งแต่การก่อตั้งหัวเว่ย ประเทศไทยในปี พ.ศ.2542 ภายใต้พันธกิจ “เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย และร่วมสนับสนุนประเทศไทย”
โดยในช่วงปีที่ผ่านมา หัวเว่ยเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการติดตั้งสถานีฐาน 5G และขึ้นเป็นผู้จำหน่ายชิ้นส่วนอันดับ 1 ในไทย ภายใต้การเปิดใช้งานสถานีฐาน 5G มากกว่า 20,000 แห่ง จำนวนประชากรที่เข้าถึง 5G ครอบคลุมสูงถึง 70% และมีผู้ใช้ 5G ถึง 4.3 ล้านคน ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้ใช้ในประเทศอาเซียนอื่นๆ ถึง 2.5 เท่า
พร้อมนำเทคโนโลยี 5G ในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งด้านการแพทย์ 5G ท่าเรือ 5G และการเกษตร 5G ให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด นับเป็นการวางรากฐานสำหรับการขยายตัวในอนาคต และในพื้นที่ที่ไม่ใช่ 5G จำนวนผู้ใช้บรอดแบนด์ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 1.67 ล้านคนในปี พ.ศ.2564 อัตราการเข้าถึงเพิ่มขึ้นจาก 8% เป็น 60.4%
สำหรับในปี 2565 หัวเว่ยเตรียมพร้อมการลงทุนในประเทศไทย 4 ด้านหลักด้วยกัน ประการที่ 1 เติมเต็มการใช้งาน 5G ด้วยการเชื่อมต่อที่แพร่หลาย ประการที่ 2 สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลบนคลาวด์ ประการที่ 3 กระตุ้นการเปลี่ยนผ่านสู่วิถีชีวิตคาร์บอนต่ำด้วยดิจิทัล พาวเวอร์ และประการที่ 4 เสริมศักยภาพผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลและพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
“ภายในปี พ.ศ.2578 มูลค่าเศรษฐกิจที่รองรับเทคโนโลยี 5G จะสูงถึง 2.3 ล้านล้านบาท คาดการณ์โดยประมาณคิดเป็น 10% ของมูลค่าจีดีพีทั้งหมด โดยหวังว่า 5G จะครอบคลุม 70% ของจำนวนประชากร และอัตราการเข้าถึง 5G จะเพิ่มเป็น 20% จาก 10% ในปัจจุบัน”
ในส่วนของธุรกิจทั่วโลก หัวเว่ยมีรายได้ 636.8 พันล้านหยวนในปี พ.ศ.2564 มีผลกำไรสุทธิ 113.7 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้น 75.9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของบริษัทสูงถึง 142.7 พันล้านหยวนในปี พ.ศ.2564 คิดเป็น 22.4% ของรายรับทั้งหมด