xs
xsm
sm
md
lg

แนวโน้มเทคโนโลยี การมอนิเตอร์ระบบเครือข่ายมีความสำคัญมากขึ้นในปี 2565 / เซบาสเตียน ครูเกอร์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


บทความโดย มิสเตอร์เซบาสเตียน ครูเกอร์ รองประธาน Paessler ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดภาวะชะงักงันแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเป็นปัจจัยเร่งให้องค์กรต่างๆ ต้องปรับตัวสู่ภาวะปกติแบบใหม่ เศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคตจะทำให้เห็นองค์กรต่างๆ เปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็ว และเกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องมองหารูปแบบธุรกิจใหม่ที่รองรับต่อการให้บริการบนดิจิทัล ทั้งนี้ Paessler ได้คาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยีในปี 2565 ดังต่อไปนี้

การใช้งานคลาวด์จะสูงขึ้นในปี 2565

การแพร่ระบาดของโควิด-19 และการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นปัจจัยที่ทำให้การใช้งานบนคลาวด์มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น และส่งผลให้มีความจำเป็นต้องตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบคลาวด์ เครือข่าย หรือแอปพลิเคชันเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยในปีนี้ และปีต่อๆ ไป ประกอบกับการเติบโตของไฮบริดคลาวด์ ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องติดตามและคอยวัดผลเครือข่ายและสภาพแวดล้อมมากกว่าที่เคยเป็นมา

โครงสร้างพื้นฐานระบบไอทีจะมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น โซลูชันเฉพาะทางที่สามารถจัดการงานเทคนิคเชิงลึกในแต่ละงานจะมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด การจัดการแบบรวมศูนย์จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ ซึ่งวิธีการที่จะจัดการกับโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ซับซ้อน คือ ใช้โซลูชันการมอนิเตอร์ระบบที่สามารถตรวจสอบเครือข่ายได้ครอบคลุมหลากหลายรูปแบบมากที่สุด รวมถึงสามารถมอนิเตอร์แต่ละแผนกในองค์กรได้ด้วย

แผนกไอทีต้องรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น

การก้าวสู่ดิจิทัลทำให้แผนกไอทีมีหน้าที่รับผิดชอบสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แผนกไอทีจะกลายเป็นศูนย์กลางของการดำเนินธุรกิจต่างๆ และต้องติดต่อกับทุกแผนก แผนกไอทีต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลทั้งหมดได้รับการจัดเก็บและส่งมอบอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยไม่สะดุด องค์กรต้องมั่นใจว่ามีเครื่องมือในการตรวจสอบและมอนิเตอร์โครงสร้างพื้นฐานด้านไอที เพื่อช่วยให้ฝ่ายไอทีสามารถจัดการระบบดิจิทัล และตรวจสอบระบบได้ในทุกภาคส่วน ตามความรับผิดชอบที่มีเพิ่มมากขึ้น

ขยะดิจิทัลจะมีความสำคัญมากขึ้น

ในการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติปี 2564 มีการเรียกร้องให้ตระหนักถึงขยะดิจิทัล ทั้งนี้ การตรวจสอบด้านระบบไอทีจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการการจัดการขยะดิจิทัล ระบบการตรวจสอบสามารถช่วยปรับปรุงวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ดิจิทัล เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ทำงานในระดับที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ดิจิทัล และสามารถลดการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ และลดปริมาณขยะดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในการจัดการของเสียด้านไอทีทีมที่รับผิดชอบจำเป็นต้องได้รับข้อมูลที่ดี ดังนั้น ธุรกิจควรเน้นที่กลยุทธ์การตรวจสอบระบบเพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์จะใช้งานได้สูงสุดและมีอายุยืนยาว ทีมไอทีที่มีข้อมูลที่จำเป็นในการกำจัดจะสามารถลดขยะดิจิทัลได้ในระยะยาว ซึ่งช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคตข้างหน้าได้

AI เป็นเรื่องฝันเกินจริง หรือว่าเป็นสิ่งที่น่าจับตามอง

การพัฒนาเทคโนโลยีด้านคลาวด์ได้มีการนำ AI มาใช้งานบนคลาวด์มากขึ้น และมีแนวโน้มคาดว่าจะเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2565 นี้ หากพูดถึงหน้าที่ในการตรวจสอบเฝ้าระวังการทำงานของระบบเครือข่าย เทคโนโลยี AI รับบทสำคัญในการรวบรวมข้อมูลจำนวนมากที่เกิดขึ้น วิเคราะห์และจดจำรูปแบบของข้อมูลที่สัญจรอยู่บนเครือข่าย AI สามารถตรวจพบความผิดปกติและเรียนรู้เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา เพื่อให้องค์กรมีข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าเพื่อช่วยในการมองเห็นแนวโน้มและประมวลผลข้อมูลเหล่านั้น และนำมาใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาที่ได้เตรียมการจากข้อมูลที่มีไว้แล้ว 


ในอนาคตองค์กรต้องมองหาโซลูชันสำหรับการตรวจสอบที่ไม่ใช่แค่พร้อมสำหรับการทำงานร่วมกับคลาวด์ได้เท่านั้น แต่ยังต้องสามารถนำเอา AI เข้ามาปรับใช้ทำงานร่วมกันได้ในอนาคต

ขาดแรงงานที่มีทักษะสำหรับวันนี้และอนาคต

ทุกวันนี้ อุตสาหกรรมไอทีทั่วโลกพบปัญหาเดียวกัน คือ แรงงานขาดทักษะ แม้ว่าปัญหานี้จะมีผลกระทบมหาศาลแต่ยังหาวิธีแก้ไขปัญหานี้ในระยะเวลาอันสั้นนี้ไม่ได้และยังคงจะเรื้อรังส่งผลยุ่งยากไปจนถึงปีหน้า ทำให้มีความจำเป็นที่ต้องปรับกระบวนการทางด้านไอทีไปสู่การทำงานอัตโนมัติให้มากที่สุด และใช้คนเข้าแก้ไขปัญหาเฉพาะสำหรับกรณีที่เป็นปัญหาเร่งด่วนและมีความสำคัญทางธุรกิจ กระบวนการอัตโนมัติจะทำให้ฝ่ายไอทีมีเวลามากขึ้น และหันมามุ่งเน้นการสร้างการเติบโตทางธุรกิจ

นอกจากนี้ ปัญหาด้านแรงงานที่ขาดทักษะนั้น ส่งผลให้องค์กรธุรกิจต้องหันไปพึ่งพาผู้ให้บริการจัดการระดับสูง (high-level Managed Services Providers, MSP) ทำให้เกิดความต้องการบริษัทที่มีทีมงานมืออาชีพที่มีความสามารถตรวจสอบสภาพแวดล้อมไอทีขององค์กรผู้ใช้ปลายทางจากระยะไกลได้สูงขึ้นกว่าที่เคย ดังนั้น สิ่งที่จะพบคือ ธุรกิจผู้ให้บริการจัดการระบบนั้นจะพยายามทำข้อเสนอการให้บริการด้วยความเชี่ยวชาญของทีมงานที่มีอยู่มากขึ้นในปีนี้

การผสานกันระหว่าง “ไอที” และ “โอที

ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ไอที (Information Technology) และโอที (Operation Technology) ต้องทำงานร่วมกันมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลที่ถูกเร่งให้เร็วขึ้น เราเชื่อว่าภายในปี 2565 จะเกิดการร่วมมือเชิงพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างอุตสาหกรรมไอทีและโอทีมากขึ้นถึง 40% ที่จะนำเสนอโซลูชันที่มีความสามารถครบสมบูรณ์ ที่ทั้งลดระยะเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบลงได้ 20% พร้อมกับสนับสนุนการทำงานแบบอัตโนมัติซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถลดการลงทุนได้ถึง 40% ในการกำกับดูแลข้อมูล รวมถึงการจัดการองค์กรด้วยศาสตร์เทคโนโลยี และการดำเนินการในการจัดการแบบดิจิทัล

ปรับสู่ระบบดิจิทัล

สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไปทั่วโลก หลายบริษัทถูกบังคับให้ปรับสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็ว อีกทั้งความจำเป็นจากการทำงานจากระยะไกล จากการศึกษาของ Bitkom จะเห็นการใช้การประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอและเครื่องมือในการทำงานร่วมกันมากขึ้นกว่าในอดีต และการเกิดขึ้นของโมเดลธุรกิจดิจิทัลใหม่ๆ

กระบวนการทำงานแบบดิจิทัลและระบบการทำงานจากระยะไกลจะยังคงเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงและเกี่ยวข้องในองค์กรมากขึ้น การเฝ้าติดตามในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกกระจายศูนย์ออกไปยังคงเป็นความท้าทายหลักที่หลายๆ บริษัทนั้นยังต้องเผชิญอยู่ในขณะที่ยังต้องเดินหน้าธุรกิจให้เติบโตไปพร้อมๆ กัน
กำลังโหลดความคิดเห็น