xs
xsm
sm
md
lg

iPrice รายงานภาพรวมอีคอมเมิร์ซไทย-อาเซียน ไตรมาสที่ 3 ปี 2021

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในไตรมาสที่ 3 ปี 2021 นี้ iPrice Group บริษัทวิจัยการตลาด และเปรียบเทียบราคาสินค้าออนไลน์ ได้อัปเดตข้อมูลงานวิจัย The Map of E-commerce หรือสงครามอีคอมเมิร์ซ ที่รวบรวมข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ อันดับการใช้งานแอปพลิเคชัน และจำนวนผู้ติดตามทางโซเชียล ช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน ปี 2021 จากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซทั้ง 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย ซึ่งหยิบยกตลาดอีคอมเมิร์ซประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย และเวียดนามมาวิเคราะห์ โดยมีไฮไลต์ที่สำคัญ ดังนี้

‘Shopee’ ยึดสถิติร้านค้าอีคอมเมิร์ซที่ชาวมาเลเซีย เวียดนาม และไทยเข้าชมเว็บไซต์สูงสุด


ไม่ใช่แค่ไตรมาสที่ 3 ปี 2021 ที่ Shopee กลายมาเป็นร้านค้าอีคอมเมิร์ซขวัญใจชาวไทย และตลาดเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย และเวียดนาม) สำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย Shopee ก้าวขึ้นมาครองบัลลังก์ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2020 ในขณะที่ตลาดเวียดนามคว้าชัยไปตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2018 และตลาดมาเลเซียไตรมาสที่ 2 ปี 2019

มากไปกว่านั้น หากทำการเปรียบเทียบร้านค้าอีคอมเมิร์ซประเภททั่วไปทั้งหมดในงานวิจัย Map of E-commerce ของไทย มาเลเซีย และเวียดนาม จะพบว่า ส่วนแบ่งการตลาดของ Shopee ในตลาดมาเลเซียมีสูงถึง 71% ในขณะที่ตลาดไทย และเวียดนามมีเปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งการตลาดเท่ากันที่ 57%

ไฮไลต์ที่น่าสนใจคือ ร้านค้าอีคอมเมิร์ซทั่วไปในเวียดนามดูจะมีการแข่งขันอย่างเข้มข้น เพราะนอกจาก 3 อันดับแรกที่ iPrice Group หยิบยกขึ้นมาข้างต้นนี้แล้ว ร้านค้าอีคอมเมิร์ซประเภททั่วไปอื่นๆ ยังได้ส่วนแบ่งการตลาดอีกกว่า 14% ในขณะที่ตลาดไทยมีเพียง 6%

นักชอปไทยมีส่วนร่วม (Engagement) ต่อโพสต์บน Facebook ของร้านค้าอีคอมเมิร์ซ ‘น้อย’ ที่สุด

ปัจจุบันโลกโซเชียลกลายมาเป็นสื่อสำคัญทางโลกออนไลน์ไปแล้ว โดยยอดผู้ติดตามสามารถบ่งบอกคะแนนความนิยมของร้านค้าอีคอมเมิร์ซแทนจำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้เช่นกัน แต่ความสนใจ หรือความมีส่วนร่วม (Engagement) ต่อโพสต์ต่างๆ ของร้านค้าสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

จากการเก็บข้อมูลจำนวนการมีส่วนร่วมต่อโพสต์บน Facebook ของร้านค้าอีคอมเมิร์ซชั้นนำ 3 อันดับแรกของตลาดอีคอมเมิร์ซในมาเลเซีย เวียดนาม และไทย พบว่า นักชอปชาวไทยมีส่วนร่วมต่อโพสต์ของร้านค้าอีเมิร์ซน้อยที่สุด เพียง 20% เท่านั้น แม้จำนวนผู้ติดตามจะมีไม่ต่างจากตลาดอีคอมเมิร์ซประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย และเวียดนาม) แต่คาดส่วนใหญ่กดติดตามเพื่อรอการอัปเดตโปรโมชัน และแคมเปญน่าสนใจต่างๆ เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ประเทศที่นักชอปมีส่วนร่วมต่อโพสต์บน Facebook ของร้านค้าอีคอมเมิร์ซทั่วไปสูงสุดคือ มาเลเซีย คาดเป็นเพราะบัญชี Facebook ของ Shopee, Lazada และ PG Mall ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ทำให้ยอดการมีส่วนร่วมอาจรวมไปถึงนักชอปชาวต่างชาติที่ทำงานอยู่ในประเทศด้วยต่างจากไทย และตลาดเวียดนาม (36%) ที่ข้อมูลบนเพจเป็นภาษาท้องถิ่น

ชาวไทยใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลสูงสุด แต่มูลค่าตลาดฟิลิปปินส์สูงกว่า



หากนำตัวเลขผู้ใช้งานมาเปรียบเทียบกันจะเห็นว่า คนไทยมีการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลสูงสุดในภูมิภาคถึง 89.99% แบ่งเป็นก่อนการแพร่ระบาด 73.7% ช่วงแพร่ระบาดจนถึงครึ่งปีแรกปี 2021 อีก 16.2% และผู้ที่ไม่ได้ใช้งานมีเพียง 10.1% เท่านั้น

โดยการเปรียบเทียบนี้จะไม่รวมประเทศสิงคโปร์เพราะจำนวนประชากรที่มีจำกัด ทำให้การใช้ชีวิตควบคู่ไปกับธุรกิจดิจิทัลดูเป็นเรื่องปกติ แม้แต่แพลตฟอร์มชอปปิ้งออนไลน์ยักษ์ใหญ่ในภูมิภาคอย่าง Shopee และ Lazada ยังมีต้นกำเนิดจากประเทศนี้

สำหรับเหตุผลที่ผู้บริโภคหันมาใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลกันอย่างต่อเนื่องส่วนใหญ่เพราะเชื่อว่า ‘ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น/สะดวกสบายมากขึ้น’ หากขุดลึกไปถึงการใช้งานแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจะพบว่า ผู้คนส่วนใหญ่เน้นการชอปสินค้าทั่วไป (65%) สินค้าเพื่อสุขภาพ และความงาม (62%) เสื้อผ้า (60%) และอิเล็กทรอนิกส์ (53%)

นอกเหนือจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ จะเป็นแพลตฟอร์มขนส่งอาหาร (64%) วิดีโอ (57%) และดนตรี (51%) โดยแพลตฟอร์มดนตรีผู้คนใช้งานเพราะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มากกว่าการเชื่อว่าจะทำให้ชีวิตง่ายขึ้น/สะดวกสบายขึ้น


กำลังโหลดความคิดเห็น