xs
xsm
sm
md
lg

แอป Whoscall จับมือ ศปอส.ตร. เร่งให้ความรู้พฤติกรรมหลอกลวงผ่านออนไลน์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



Whoscall แอปพลิเคชันระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จักและป้องกันสแปม ร่วมมือกับศูนย์ PCT หรือศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.) เพื่อให้ความรู้ถึงพฤติกรรมที่น่าสงสัยและการหลอกลวงออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนสามารถรู้เท่าทันการหลอกลวงที่อาจเกิดขึ้นและใช้เครื่องมือต่างๆ ตรวจสอบความถูกต้อ

โดยตั้งแต่ Whoscall เปิดตัวเมื่อ พ.ศ.2553 Gogolook สามารถปกป้องผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมากกว่า 90 ล้านผู้ใช้ทั่วโลก โดยศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานรัฐแห่งที่ 4 ที่ Gogolook ผสานความร่วมมือ ประกอบด้วย กองตำรวจสืบสวนอาชญากรรมประเทศไต้หวัน หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินประเทศเกาหลีใต้ และรัฐบาลเมืองฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น

ศูนย์ PCT และ Gogolook ร่วมกันประชาสัมพันธ์เพื่อรณรงค์ป้องกันภัยไซเบอร์และสร้างองค์ความรู้ให้ประชาชนไม่หลงกลเหยื่อมิจฉาชีพ การฉ้อโกงจากเบอร์แปลกปลอม การหลอกลวง (phishing) ทางอีเมลหรือข้อความ SMS และอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือทางโซเชียลมีเดีย ประชาชนสามารถเข้าถึงเครื่องมือทั้งแอปพลิเคชันระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จัก Whoscall ที่สามารถช่วยป้องกันภัยจากมิจฉาชีพที่อาจโทร.มาล่อลวง และแชตบอทไลน์ แม่รู้ดี ( เพิ่มเพื่อนได้จากไลน์ไอดี @maeroodee ) เพื่อเช็กข้อความและข่าวสารที่น่าสงสัยแบบทันที กับหน่วยงานพันธมิตรตรวจสอบข่าวและข้อเท็จจริง


พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. และ ผอ.ศปอส.ตร. ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานงานตำรวจแห่งชาติ (Police Cyber Force) กล่าวว่า การสื่อสารทางคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต รวมถึงการชำระเงินและรับข่าวสารมีมากขึ้นในช่วงการระบาดใหญ่ทั่วโลกของ COVID-19 ทำให้สถิติของอาชญากรรมไซเบอร์และการฉ้อโกงออนไลน์เพิ่มขึ้นตาม ทั้งอีเมลหลอกลวง การหลอกให้หลงรักออนไลน์ไปจนถึงการฉ้อโกงจากคอลเซ็นเตอร์ และข้อมูลที่บิดเบือนเกี่ยวกับ COVID-19 อาชญากรได้ฉวยโอกาสจากสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้นและเข้าถึงคนที่ทันไม่ระวังตัว สิ่งสำคัญคือการช่วยให้ประชาชนสามรถแยกแยะกิจกรรมที่ไม่ชอบมาพากลได้ง่ายขึ้น และใช้เครื่องมือดิจิทัลช่วยติดตามและตรวจสอบข้อความที่ได้รับ


กำลังโหลดความคิดเห็น