xs
xsm
sm
md
lg

วิกฤตโรคระบาดเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน พลิกโฉมวงการอุตสาหกรรมโลกให้เชื่อมต่อทุกมิติ / Ravi Gopinath

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


บทความโดย Ravi Gopinath หัวหน้าฝ่ายดูแลระบบคลาวด์และหัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์บริษัท AVEVA
ในขณะที่โลกเริ่มปรับตัวเองใหม่อีกครั้งหลังการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ ธุรกิจต่างเผชิญกับสภาวการณ์ที่สั่นคลอนจากวิกฤตการณ์นี้อย่างสุดขั้ว และคงกลับไปเป็นเหมือนเดิมไม่ได้อีกแล้ว วิกฤตการณ์อันท้าทายครั้งนี้ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงานและการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรในช่วงเวลาที่คาดการณ์อะไรไม่ยากยิ่ง พูดง่ายๆ ก็คือ วิกฤตการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าการดำเนินธุรกิจเกิดความพลิกผันได้ชั่วข้ามคืน ทั้งในด้านกิจวัตรของพนักงาน ห่วงโซ่อุปทานถูกปั่นป่วนไปหมด มีการปิดการค้าชายแดนและความต้องการลดลงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ยิ่งบีบคั้นภาวะเศรษฐกิจ ดังนั้น กลุ่มธุรกิจที่ต้องการจะเติบโตและเผชิญกับโลกใบใหม่นี้อย่างกล้าหาญ ต้องเปี่ยมไปด้วยพลังจะถูกกระตุ้นด้วยการปฏิวัติโฉมหน้าองค์กร

จากวิกฤตการณ์ดังกล่าวได้เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วประมาณ 5 ปี ขณะที่เทคโนโลยีหลายตัวที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาได้ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อรองรับอนาคตที่ยั่งยืน และเกิดความคล่องตัวในอุตสาหกรรม มีดังนี้

เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง

ภาคอุตสาหกรรมได้นำเทคโนโลยีมาใช้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจอย่างรวดเร็ว บริษัทหลายแห่งที่ยังลังเลต่อการใช้ระบบคลาวด์ถูกบีบให้เร่งดำเนินการในช่วงการแพร่ระบาด และตอนนี้ธุรกิจดังกล่าวได้เห็นถึงประโยชน์จากการเปลี่ยนโฉมครั้งนี้

จากรายงานข้อมูลของ IDC ระบุว่า แนวโน้มการใช้งานระบบคลาวด์มีอัตราการเติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดดจากตลาดทั่วโลก ซึ่งคาดว่าปริมาณข้อมูลภาคอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าในอีก 4 ปีข้างหน้า หรือขนาดข้อมูลจะมีมากจำนวนถึง 159 เซตตะไบต์ ภายในปี 2567 ในจำนวนนี้มาจากกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงาน เช่น บริษัท BP Shell และ Equinor กำลังเร่งใช้ระบบคลาวด์เพิ่มขึ้น ในขณะที่บริษัทเชฟรอน มีแผนกำหนดให้พนักงานทำงานบนระบบคลาวด์ในปีนี้ด้วย

การใช้ประโยชน์จากระบบคลาวด์ของบริษัทต่างๆ นั้นสามารถผสานรวมผลิตภัณฑ์เดี่ยวหรือเชื่อมโยงกับ AI เข้ากับระบบอัจฉริยะได้หลากหลายยิ่งขึ้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)

เมื่อ AI มีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากการใช้งานที่เพิ่มขึ้นได้ช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานและการตัดสินใจได้ดีกว่าเดิมด้วยการใช้ระบบวิเคราะห์อัจฉริยะแบบรวมศูนย์เพื่อเชื่อมโยงกลุ่มข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน ทีมงานจึงสามารถใช้ประโยชน์จากกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ในการดำเนินงานทุกกิจกรรม และจากรายงานล่าสุดของ IDC คาดการณ์เม็ดเงินค่าใช้จ่ายการลงทุน AI เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลของบริษัททั่วโลกสูงถึง 98,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2566 ซึ่งมากกว่า 2,เท่าของการใช้จ่ายในปี 2562

การเรียนรู้ของเครื่องจักร (ML)

การใช้ประโยชน์จากพลังแห่งการเรียนรู้ของเครื่องจักรยังทำให้สามารถเปลี่ยนโฉมประสิทธิภาพของความสามารถของธุรกิจในการนำทรัพยากรมาบริหารจัดการด้วยการใช้กราฟแสดงผลแผนผังข้อมูลในการใช้ระบบ AI และ machine learning เพื่อเชื่อมต่อ ขณะที่ซอฟต์แวร์จะเข้าใจกระบวนการและส่วนประกอบที่สำคัญซึ่งจำเป็นสำหรับการจัดการสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดตลอดเวลา

การใช้กราฟแสดงผลข้อมูลเหล่านี้ช่วยกำหนดขอบเขตการดำเนินงานที่ปลอดภัยของสินทรัพย์ และสามารถแจ้งเจ้าของถึงหลักเกณฑ์สำคัญด้านความปลอดภัย ประสิทธิภาพการทำงาน หรือตัวชี้วัดอื่นๆ นั้นว่าตรงตามหรือเกินหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ได้โดยอัตโนมัติ

การเชื่อมต่อระบบทำงาน

ผลกระทบจากการการแพร่ระบาดไวรัสส่งผลให้พนักงานถูกล็อกดาวน์ บีบให้องค์กรอุตสาหกรรมทั่วโลกยิ่งต้องเร่งย้ายการทำงานไปสู่ระบบดิจิทัลให้เร็วที่สุด ด้วยการนำเทคโนโลยี เช่น คลาวด์ อุตสาหกรรมอัจฉริยะ (IIoT) เทคโนโลยี Digital Twins และ AI เพื่อให้บริษัทจึงต้องเอาชนะอุปสรรคด้านการดำเนินธุรกิจต่างๆ

ประสบการณ์หลากหลายและจำลองข้อมูล

ประสบการณ์หลากรูปแบบและการแสดงภาพข้อมูลกำลังขับเคลื่อนคุณค่าใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้าของเรา นวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่เอี่ยมเหล่านี้ยังช่วยให้บริษัทเห็นภาพการทำงานจากจอแสดงผลการปฏิบัติงานเดียวได้ทั้งแบบ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ แบบเรียลไทม์ หรือเห็นสภาพแวดล้อมเสมือนจริงราวกับอยู่ในที่นั้นๆ

ตัวอย่างเช่น บริษัท ADNOC ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในนครอาบูดาบี เป็นหนึ่งในบริษัทน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลกหากในมองในด้านการผลิต ปัจจุบันนี้สามารถประหยัดเงินได้ 100 ล้านปอนด์ต่อเดือนด้วยการติดตั้งผลิตภัณฑ์ของ AVEVA ที่มีระบบปฏิบัติงานทางไกล โดยระบบ Unified Operations Center (UOC) จะช่วยให้องค์กรมองเห็นโอกาสอันทรงคุณค่าครั้งใหม่ๆ เป็นครั้งแรก แม้แต่ในการปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการกำลังปรับปรุงอยู่ก็ตาม

ความร่วมมือเพื่ออนาคต

หลายบริษัทต่างกำลังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจและช่วยตัดสินใจ แม้ว่าอุตสาหกรรมจะเริ่มปรับตัวและนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างรวดเร็วแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่สิ่งที่ผู้คนในวันนี้ต้องการเหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ความน่าเชื่อถือและการเป็นหุ้นส่วน

ในช่วงการแพร่ระบาดโรคไวรัส เราจะเห็นว่า บริษัทต่างๆ ได้หันกลับมากำหนดเครื่องมือให้แก่พนักงานเพื่อให้ทำงานได้เหมาะสม เก็บรวบรวมข้อมูล รวมถึงคาดการณ์ว่าโรงงานจะเกิดความล้มเหลวเมื่อใด ในภูมิทัศน์ใหม่แห่งนี้ การเป็นหุ้นส่วนจึงเป็นสิ่งที่มีค่า จึงได้ทำให้เกิดความร่วมมือขึ้นระหว่างภาคเทคโนโลยี EPC และ OO โดยคาดการณ์ว่าจะเกิดการทำงานร่วมกันข้ามอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นทั้งในเรื่องข้อมูลตามแนวนอนและการพัฒนามาตรฐานด้านต่างๆ อีกด้วย

คน และข้อมูลอยู่เหนือทุกสิ่ง

แม้ในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บริษัทพลังงานยังคงมีสินทรัพย์ที่มีค่าอยู่ 2 อย่าง นั่นคือบุคลากรและข้อมูล ดังนั้นการผสานรวมข้อมูลเชิงลึกของมนุษย์และข้อมูลการดำเนินเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยพัฒนาให้องค์กรมีประสิทธิภาพ ชาญฉลาด และเติบโตอย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น


กำลังโหลดความคิดเห็น