โรงงานอัจฉริยะคงไม่ได้เป็นคำศัพท์ไอทีที่ห่างไกลอีกต่อไป เพราะขณะนี้กลุ่มโรงงานผลิตได้นำเครื่องจักรที่ทันสมัยมาผนวกรวมเข้ากับพลังแห่งการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ร่วมกับระบบโครงข่ายสื่อสารที่ล้ำหน้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อก้าวสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะ ด้วยเทคโนโลยี Industrial Internet of Things (IIoT) ซึ่งเป็นตัวผลักดันอันสำคัญที่สุดในอุตสาหกรรม 4.0 จากจุดเริ่มต้นพัฒนาการของ Internet of Things (IoT) ได้ขยายตัวไปยังภาคอุตสาหกรรม โรงงานและคลังสินค้ามากขึ้น กลายเป็นปัจจัยสำคัญให้ผู้ผลิตในหลายอุตสาหกรรมได้รับประโยชน์ และยังเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย จากรายงานของบริษัท Mckinsey ระบุเทคโนโลยี IIoT จะสามารถสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจทั่วโลกจาก 1.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นถึง 3.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2568
เทคโนโลยี IIoT กำลังเป็นตัวแปรสำคัญที่มีศักยภาพสูงต่อวงการอุตสาหกรรมการผลิตทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ละอุตสหากรรมการผลิตมีแนวโน้มการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล การปรับเปลี่ยนระบบภายในโรงงานไปสู่ระบบดิจิทัลให้มีความชาญฉลาดมากขึ้น ด้วยการรวมระบบปฏิบัติการภายในด้วยเทคโนโลยี IIoT เพื่อใช้เชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์ อุปกรณ์ ระบบควบคุม และแพลตฟอร์มอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถมองเห็นและควบคุมอุปกรณ์ รวมถึงกระบวนการต่างๆ ได้ทั้งในคลังสินค้าและโรงงาน โดยนำระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI มาใช้ร่วมกับ Big Data ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ขั้นสูง (Analytics) และข้อมูลเชิงลึก (Insight) ทั้งหมดนี้จะช่วยกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตได้เปิดประตูสู่แหล่งรายได้ใหม่ (Revenue Stream) และพัฒนาความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า
ข้อจำกัดของโครงสร้างพื้นฐาน
ทว่า การจะก้าวไปสู่โรงงานอัจฉริยะดังกล่าว หากเราต้องพึ่งพาแต่ระบบคลาวด์เพียงเพื่อรองรับกระบวนการวิเคราะห์แบบเรียลไทม์และให้ตัดสินใจจะใช้อุปกรณ์ทุกๆ ชิ้นนั้นคงเป็นไปไม่ได้ เพราะแค่เฉพาะปริมาณข้อมูลที่รับมาจากเซ็นเซอร์และทุกอุปกรณ์ต่างๆ ก็มีจำนวนมากจนล้นเกินรับได้
ดังนั้น ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการการเปลี่ยนเข้าสู่ระบบดิจิทัล ผู้ประกอบการโรงงานด้านการผลิตจะต้องตระหนักให้มาก คือ การจัดการโครงข่ายโทรคมนาคมภายในเพื่อให้ขับเคลื่อนการปฏิบัติงานสำคัญต่อธุรกิจได้ต่อเนื่อง รวมถึงการมีศูนย์ข้อมูล (Data Center) เก็บข้อมูลการปฏิบัติงานจากอุปกรณ์ในโรงงานแบบเรียลไทม์และทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถประเมินสภาพของอุปกรณ์ได้ตามจริงพร้อมด้วยการประยุกต์ใช้การบริการล่างหน้า ทั้งยังช่วยลดอุปสรรคและอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ กระบวนการทั้งหมดนี้กลุ่มโรงงานผลิตสามารถยกระดับและจัดการระบบไอทีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ การผลิตถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดเพื่อให้เกิดกระบวนการผลิตที่สามารถใช้งานได้ยาวนานในอนาคตได้สำเร็จ
จุดแรกคือความต่อเนื่องและคุณภาพของระบบพลังงาน เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายพลังงานขาดตอนหรือล่าช้าซึ่งอาจจะส่งผลลบต่อความพร้อมของระบบ จึงมีความจำเป็นที่ต้องทำให้อุปกรณ์ที่อยู่ในระบบเครือข่ายจำต้องใช้ระบบไฟฟ้าสำรองใช้ โดยเฉพาะผ่านการเชื่อมต่อกับเครื่องสำรองไฟ (UPS) ดังนั้นกลุ่มผู้ผลิตควรจะใช้เครื่องสำรองไฟคุณภาพระดับอุตสาหกรรมที่มีความทนทานระดับสูงได้
ต่อมาคือคุณภาพอากาศ คงเป็นที่ทราบกันดีว่าคุณภาพอากาศในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นย่ำแย่เพียงใด ฝุ่นและละอองที่ลอยฟุ้งอยู่ในนั้นสามารถทำให้อุปกรณ์ IT ต่างๆ เกิดความไม่เสถียรและลดทอนอายุการใช้ได้ถ้าลอยไปติดที่อยู่พัดลมที่บริเวณเซิร์ฟเวอร์ วิธีการป้องกันสามารถทำได้โดยการใช้ตู้ Rack IT ที่ป้องกันฝุ่นหรือปิดแน่นสนิท และกล่องสายไฟซึ่งป้องกันไม่ให้อากาศที่ยังไม่ได้กรองเข้ามาในตัวอุปกรณ์ และวิธีการที่มีความสำคัญเท่าๆ กันก็คือ การเพิ่มระบบทำความเย็นที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเข้าไปเพื่อผลิตอากาศสะอาด และสร้างสภาพแวดล้อมที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้
นอกจากนี้ คือ ความปลอดภัยทางกายภาพ หากคอมพิวเตอร์และระบบสำรองข้อมูลมีการติดตั้งเหมือนกับสภาพโรงงานทั่วไปแล้ว ก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีคนเข้าไปล้วงข้อมูล ความเสี่ยงในที่จะมีคนเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นจะยิ่งทำให้เพิ่มช่องโหว่ให้แก่ระบบคอมพิวเตอร์ จึงมีข้อแนะนำว่าควรใช้ตู้ที่สามารถล็อกได้เพื่อป้องกันอุปกรณ์และติดเซ็นเซอร์ที่บานประตู
ที่ขาดไม่ได้คือการมองเห็นส่วนปลาย (Edge) ของระบบเครือข่าย ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงงานและสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย บางครั้งการออกแบบด้านเทคนิคทำให้ความสามารถช่วยเหลือเข้าไม่ถึง การสังเกตการณ์จากระยะไกลจึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้าน IT สามารถมองเห็นได้เพื่อประเมินผลประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ได้ทันที
ความท้าทายต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการเริ่มต้นไปสู่โรงงานอัจฉริยะ ดังนั้นแนวทางที่จะช่วยให้โรงงานใช้ประโยชน์มากขึ้น คือ การรวมองค์ประกอบด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบไอทีไว้ในตู้อุปกรณ์เพียงตู้เดียว (Micro Data Center) นอกจากมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเสริมความเสถียรของระบบในสภาวะที่ไม่เอื้ออำนวยได้อีกด้วย
กล่าวได้ว่า การนำ IIoT มาใช้สามารถช่วยให้องค์กรเพิ่มมูลค่าและทรัพยากรด้าน IT แต่การบำรุงรักษาอุปกรณ์เหล่านี้ก็มีความสำคัญเช่นกัน หากองค์กรประยุกต์ใช้ระบบศูนย์ข้อมูลร่วมกับการทำงานระยะไกลก็จะสามารถช่วยลดความล่าช้าและการขัดข้องในสายการผลิตได้ ดังนั้น อัตราเร็วในการผลิตงาน ณ ปัจจุบันนี้คือ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่เพิ่มขึ้นและการลดความเสี่ยงในช่วงเวลาการผลิต ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดเพื่อให้เกิดกระบวนการผลิตที่สามารถใช้งานได้ยาวนานในอนาคตได้สำเร็จ