xs
xsm
sm
md
lg

AIS ร่วมสถาบันวิจัย AI พัฒนาระบบตรวจจับความรู้สึกจากเสียงภาษาไทย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เอไอเอส ร่วมกับสถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIResearch) นำชุดข้อมูลจำแนกอารมณ์จากเสียงพูดภาษาไทยเป็นครั้งแรกของโลก พร้อมนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านงานบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น เปิดให้นักพัฒนาที่สนใจนำไปใช้งานได้ทันที

นายซันเจย์ แอนดรูว์ โทมัส หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า ในปัจจุบัน เทคโนโลยี AI ด้านภาษาถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวางมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษ ซึ่งถือเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลในเรื่องการสร้างความเข้าใจลูกค้าในมุมมองด้านอารมณ์และความรู้สึก

ขณะเดียวกัน ก็จะช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถประเมินสภาวะทางอารมณ์ของลูกค้า เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านงานบริการได้ดียิ่งขึ้น โดยพิจารณาจาก Customer insight ด้านอารมณ์ของลูกค้าที่มาจากการให้บริการในด้านต่างๆ

“AIS เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน AI ภาษาไทย โดยเฉพาะการตรวจจับอารมณ์โดยเสียงภาษาไทย ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ต้องการ Expert Domain และดาต้าขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดการใช้งานได้จริง ดังนั้น ความร่วมมือระหว่างเอไอเอส และ AIResearch จึงถือเป็นจุดเริ่มต้น ในการผลักดันผลงานของนักวิจัยไทยเป็นที่จดจำและยอมรับในสายตาโลก”


ทั้งนี้ ชุดข้อมูล THAI SER สามารถจำแนกอารมณ์จากเสียงได้ 5 อารมณ์ ได้แก่ โกรธ เศร้า สุข หงุดหงิด และปกติ โดยมีความแม่นยำอยู่ที่ 70% และมีความพร้อมที่จะใช้งานสูงถึง 80% ส่วนที่เหลืออีก 20% เพื่อให้แบบจำลองพื้นฐานมีผลการวิเคราะห์ที่ความแม่นยำสุงสูงขึ้น และพร้อมใช้งานในสภาพแวดล้อมการทำงานจริงขององค์กรต่างๆ ที่จะต้องพัฒนาตามแต่ละบริบทต่อไป

สำหรับตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีชุดข้อมูลจำแนกอารมณ์จากเสียงพูดภาษาไทย หรือ THAI SER ไปใช้งานจริง ได้แก่
1.การวิเคราะห์อารมณ์ของลูกค้าจาก ‘เสียงพูด’
2.การจัดลำดับการให้บริการลูกค้าจาก ‘อารมณ์’ ของลูกค้า
3.มอบหมายสายลูกค้าให้แก่ CSR ตามความสามารถในการรับมืออารมณ์ต่างๆ
4.ฝึกสอน และเตรียมความพร้อมให้แก่ CSR ในการปฏิบัติงานจริง
5.ช่วยเพิ่มความสามารถในการเข้าใจสถานการณ์ และเพิ่มโอกาสในการปิดการขาย

เบื้องต้น ชุดข้อมูลจำแนกอารมณ์จากเสียงพูดภาษาไทย หรือ THAI SER พร้อมแล้วที่จะให้นักพัฒนา กลุ่ม Startup ผู้ประกอบการ SME ผู้ให้บริการ และองค์กรต่างๆ เข้ามาศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และนำแพลตฟอร์มนี้ไปต่อยอดในการออกแบบแอปพลิเคชัน หรือโซลูชันต่างๆ ที่รองรับ AI ภาษาไทยมากขึ้น โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย


กำลังโหลดความคิดเห็น