จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบไปยังทุกประเทศ องค์กร และผู้คน ทำให้ ‘หัวเว่ย’ เร่งผลักดันนวัตกรรมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาผ่านบทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีต่อสู่กับโรคระบาด และสร้างโลกที่ทุกคนมีส่วนร่วมกันมากยิ่งขึ้น
เคน หู รองประธานหัวเว่ย กล่าวถึงบทบาทของหัวเว่ยที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ทุกประเทศกับรับมือกับวิกฤตร่วมกันว่า การพัฒนานวัตกรรมไม่ใช่แค่เรื่องของการแก้ปัญหาที่เผชิญในวันนี้ จะเป็นการมองหาหนทางที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
“หลังจากที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ สิ่งที่ตามมาคือ ต้องคิดว่าจะสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างไรให้พัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาธุรกิจ และโลกที่เกิดความเท่าเทียมในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้ต้องมุ่งมั่นในการผลักดันเครื่องมือให้ทุกคนเข้าถึงดิจิทัลได้”
ในช่วงที่ผ่านมา หัวเว่ยทำงานร่วมกับผู้ให้บริการโครงข่ายจำนวนมากเพื่อทำให้เครือข่ายสัญญาณกว่า 300 เครือข่ายใน 170 ประเทศมีเสถียรภาพ อย่างในอินโดนีเซีย หัวเว่ยได้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลรูปแบบใหม่กับการขนส่งติดตั้งสถานีฐานกว่า 5,000 แห่งได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่ในหนิงเซี่ย ประเทศจีน เราเตอร์แบบอินทิเกรต (integrated router) ของหัวเว่ยทำให้ผู้ใช้งานระดับองค์กรสามารถเข้าถึงระบบคลาวด์แบบ Multi-Cloud ได้ ซึ่งช่วยให้พวกเขาเคลื่อนย้ายข้อมูลสู่คลาวด์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
“เมื่อเรามองไปถึงแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เราจะต้องมั่นใจว่านวัตกรรมจะไม่ใช่แค่เรื่องของวันนี้ แต่เป็นเรื่องของการหาหนทางให้แก่วันหน้า ร่วมถึงการสร้างมูลค่าทางสังคมให้มากขึ้น”
อย่างไรก็ตาม การที่เทคโนโลยีอย่าง 5G, คลาวด์ และ AI มีบทบาทสำคัญในภาคการผลิต รวมถึงยังช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านทั้งการนำโครงข่าย 5G และแอปพลิเคชันที่นำ AI มาประยุกต์ใช้ร่วมกับคลาวด์ จะช่วยเพิ่มผลผลิตสำหรับสายการผลิตโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนได้เป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ หัวเว่ยคาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ.2568 กว่า 97% ของบริษัทขนาดใหญ่ทั้งหมดจะใช้งานเทคโนโลยี AI นอกจากนี้ ยังได้ประมาณการว่า 55% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศจีนในปี พ.ศ.2568 จะถูกขับเคลื่อนโดยเศรษฐกิจแบบดิจิทัล และรายได้กว่า 60% ของผู้ให้บริการระดับโลกจะมาจากลูกค้าระดับอุตสาหกรรม
“ทุกอุตสาหกรรมควรจะเน้นด้านการพัฒนาศักยภาพ สร้างอีโคซิสเต็ม และสร้างมูลค่าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านนวัตกรรม 3 ด้านหลักของหัวเว่ย คือ เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และแอปพลิเคชัน”
ในแง่ของเทคโนโลยี หัวเว่ยมีโซลูชัน 5G Super Uplink มาช่วยเพิ่มความเร็วในการอัปโหลด ลดปัญหาคอขวดในการรับส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ขณะที่ผลิตภัณฑ์ประมวลผลแบบเอดจ์คอมพิวติ้ง (edge computing) ที่ทำงานร่วมกับ 5G ช่วยให้ประมวลผลได้เร็วขึ้น 10 เท่า
สุดท้ายคือศูนย์ปฏิบัติการ Wireless X Labs ในการนำ 5G ไปประยุกต์ใช้ในหลายภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการผลิต การสาธารณสุข การเงิน และการคมนาคม และร่วมกันค้นคว้าว่า 5G จะสามารถช่วยให้อุตสาหกรรมเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไรบ้าง
“แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะปิดโอกาสหลายอย่างลงไป แต่เทคโนโลยีและนวัตกรรมก็ได้เปิดหน้าต่างแห่งความหวังด้วยเช่นกัน”