xs
xsm
sm
md
lg

Sea ดัน Garena-Shopee-SeaMoney ยกระดับเศรษฐกิจและคนไทย

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ และ กฤตย์ พัฒนเตชะ
Sea (Group) ประกาศวิสัยทัศน์ดำเนินธุรกิจเพื่อขับเคลื่อนไทยสู่ดิจิทัลผ่าน 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ บริการเกมออนไลน์ "การีนา" (Garena) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของอาเซียนและไต้หวัน “ช้อปปี้" (Shopee) และบริการดิจิทัลเพย์เมนต์ "ซีมันนี่" (SeaMoney) วางทิศทางมุ่งเร่งการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล คู่การสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่ตอบโจทย์ตลาดแรงงานยุคดิจิทัล พร้อมยกระดับความพร้อมของคนให้ก้าวทันเทคโนโลยีตามยุทธศาสตร์ 10 in 10 Initiative

น.ส.มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) กล่าวว่าเทคโนโลยีดิจิทัลและโลกออนไลน์เป็นปัจจัยที่ 5 ที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วโลก โดยประชากรราว 60% ของโลกได้เข้ามาอยู่บนโลกออนไลน์แล้ว ดังนั้น การสร้าง ’Digital Nation’ ให้สอดรับกับ ‘Digitalization’ ที่เกิดขึ้น จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ความก้าวหน้าของเศรษฐกิจและสังคมทิ้งใครไว้ข้างหลัง

"Sea เล็งเห็นว่าเราต้องมุ่งทำให้ผู้คนเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างเท่าเทียมขึ้น และทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ สามารถบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการทำธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ คล่องตัว และยั่งยืนมากขึ้น ดังนั้น Sea ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Digital Nation ผ่าน 2 แกนหลัก ได้แก่ 1.) Digital Economy Acceleration และ 2.) Digital Workforce and People Readiness Development"

Sea ย้ำว่าเศรษฐกิจดิจิทัลจะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะยาวของประเทศไทย โดยรายงาน Google and Temasek e-Conomy SEA (2019) ยังได้ระบุว่ามูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลไทยจะมีมูลค่าถึง 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2568 ดังนั้น Sea จึงมุ่งใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มและบริการที่มีในการยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมหลักที่เป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย ด้วยการติดอาวุธเทคโนโลยีดิจิทัลและให้ความรู้ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในกลุ่มคนที่ยังไม่มีความรู้และมีแนวโน้มถูก Disrupt สูง เพื่อสนับสนุนให้เกิด Resilience และ Adaptability ในการดำเนินธุรกิจ

นอกจากนี้ ยังมีการเชื่อมโยงผู้ประกอบการเข้ากับโอกาสในตลาดใหม่ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านระยะทางและภูมิภาค ร่วมกับการใช้ Digital Platform เป็นศูนย์กลางในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการนำเสนอ ‘New Excitement’ ที่ตอบโจทย์ความต้องการและพฤติกรรมผู้บริโภคที่หลากหลายและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา


ตัวอย่างอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทยที่ Sea นำ Digital Platform และ Digital Services เข้าไปพัฒนา คือ 1.) ภาคการเกษตร เช่น การร่วมมือกับกระทรวงเกษตรฯ จัดหลักสูตรอบรมยกระดับเกษตรกรไทยเป็นผู้ค้าออนไลน์ โดยตั้งเป้าอบรมเกษตรกร 1,000 รายตลอดปี 2563 2.) ภาคธุรกิจ SMEs เช่น โปรแกรมช่วยเหลือผู้ขายรายใหม่ที่ขาดประสบการณ์ทางด้านอีคอมเมิร์ซ ให้สามารถขยายช่องทางการขายบนโลกออนไลน์ได้อย่างเต็มศักยภาพ พร้อมให้ความรู้ แนะนำทักษะพื้นฐาน และการสนับสนุนด้านเงินทุนที่จำเป็นในการทำธุรกิจออนไลน์ และการร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในโครงการ ‘Shopee Seller Support Package’ เพื่อช่วยเหลือ SMEs และผู้ขายที่ธุรกิจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ให้คงศักยภาพในการแข่งขันและสามารถดำเนินธุรกิจได้ 3.) ภาคการท่องเที่ยว เช่น การร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่กว่า 30 ล้านคน

เพื่อพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคลให้ตอบโจทย์ตลาดแรงงานยุคดิจิทัล และพัฒนาคนในตลาดที่ Sea เข้าไปดำเนินธุรกิจให้สามารถก้าวทันเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตได้อย่างเหมาะสม บริษัทฯ จึงจัดทำโครงการที่หลากหลาย ภายใต้ “ยุทธศาสตร์ 10 in 10 initiative” เพื่อพัฒนาคนดิจิทัลผ่าน 2 แนวทางหลัก คือ 1.) พัฒนาทักษะดิจิทัลสำหรับการประกอบอาชีพยุคดิจิทัล เพื่อยกระดับศักยภาพและทักษะเฉพาะด้านที่เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน เช่น โครงการพัฒนาทักษะด้าน Coding & Data Analytic เช่น ‘Shopee Code League’ การแข่งขันวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการและรับการฝึกอบรมแล้วกว่า 45,000 คน และโครงการพัฒนาทักษะด้านการตลาดและการจัดการธุรกิจบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อติดอาวุธทักษะให้ผู้ประกอบการชาวไทยพร้อมต่อยอดธุรกิจออนไลน์

รวมถึงโปรแกรมการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง (Action Learning Projects) บนความร่วมมือระหว่างซีมันนี่ กับ MIT (Massachusetts Institute of Technology) และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างทักษะและความชำนาญผ่านการทำงานจริงสำหรับนิสิตหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตจากทั้ง 2 สถาบัน รวมถึงโครงการพัฒนาทักษะการพัฒนาเกมและการบริหารจัดการธุรกิจเกมและอีสปอร์ต เช่น การร่วมพัฒนาหลักสูตรร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ พร้อมด้วยโปรแกรมฝึกงาน และการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม เช่น Games and Interactive Media, Game Marketing และ eSports Management

2.) พัฒนาทักษะดิจิทัล ความรู้ ความเข้าใจที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล โดยกระจายความรู้และการเข้าถึงทักษะดิจิทัลอย่างทั่วถึงสู่ประชากรในทุกอาชีพ ทุกพื้นที่ และทุกวัย เพื่อส่งเสริมให้คนไทยสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสมและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วยด้าน People Training เช่น e-Commerce workshop และ Digital Literacy workshop สำหรับผู้ค้าออนไลน์ในภูมิภาคต่างๆ นักเรียนนักศึกษา และกลุ่ม Active Senior ที่เพิ่มจำนวนขึ้นตามเทรนด์สังคมสูงวัย ด้าน Knowledge Hub เช่น “10 in 10” VDO Series ที่มุ่งเผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัลในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม และด้าน Enabling Education in Everyday Life เช่น โครงการ Garena Scholarship ที่ร่วมมือกับ StartDee เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีความคุ้นเคยกับการใช้ Digital Tools ในการเรียนรู้ และส่งเสริมการหาความรู้นอกห้องเรียน นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้เด็กจากครอบครัวที่มีรายได้น้อยได้มีโอกาสเข้าถึงช่องทางการเรียนรู้ทางเลือกที่มีความยืดหยุ่น ตอบโจทย์การจัดสรรเวลาของเด็กๆ และส่งเสริมให้การเรียนรู้ภายในโรงเรียนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงรอยต่อของเปิดเทอมใหม่ที่ถูกกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19


นอกจากนี้ Sea ยังเผยตัวเลข Digital Talent จากยุทธศาสตร์ “10 in 10 Initiative” ในประเทศไทย พร้อมเปิดตัวโครงการใหม่ ‘Garena Academy’ มุ่งขับเคลื่อนวงการ Digital Content โดยบอกว่านับตั้งแต่ประกาศยุทธศาสตร์ “10 in 10 Initiative” ในเดือนพฤษภาคม 2562 จนถึงปัจจุบัน Sea ได้ฝึกอบรม Digital Talent แล้วกว่า 350,000 คน ในประเทศไทย โดยในปี 2563 นี้ บริษัทฯ ได้มุ่งใช้ความเชี่ยวชาญเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรม Digital Content ของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นอีกปัจจัยในการนำรายได้เข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศและเพิ่มโอกาสทางอาชีพให้แก่คนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ชูโครงการ ‘Garena Academy’ เป็นโครงการเรือธง ภายใต้คอนเซ็ปต์ประจำปี 2563 ‘Level up your passion’ มุ่งส่งเสริมผู้ที่มีใจรักให้สามารถสร้างอาชีพและรายได้ผ่านโลกเกมและอีสปอร์ตได้

นายกฤตย์ พัฒนเตชะ Director, Head of Garena Online (Thailand) Co., Ltd. เผยว่านับตั้งแต่เปิดแพลตฟอร์มเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์ www.GarenaAcademy.com ได้รับความสนใจสูง โดยมีผู้เข้าชมเว็บไซต์กว่า 100,000 คน และมีคนรุ่นใหม่เข้าไปทำแบบทดสอบ Career Assessment เพื่อค้นหาอาชีพในวงการเกมและอีสปอร์ตที่เหมาะกับตัวเองเป็นจำนวนราว 10,000 คน ซึ่งยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

"เราได้ CareerVisa ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินอาชีพมาช่วยออกแบบแบบทดสอบค้นหาอาชีพที่เหมาะสม การีนาหวังว่าข้อมูลและอินไซต์ในอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตจากการีนา จะเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์สำหรับคนรุ่นใหม่ โรงเรียน และอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ของประเทศ”

สำหรับ “Garena Academy” เป็นครั้งแรกของการรวบรวมข้อมูลอาชีพจากผู้นำอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตอย่างการีนาและพันธมิตรต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องที่เกี่ยวกับอาชีพใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับอุตสาหกรรมดังกล่าว ซึ่งสังคมยังไม่คุ้นเคยดีนัก เป็นการขานรับการเติบโตของอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตที่เติบโตขึ้นและตลาดแรงงานที่เปิดกว้างมากขึ้น


กำลังโหลดความคิดเห็น