'สามารถ' เตือนภัยคุกคามไซเบอร์ในช่วงเหตุการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ต้องหันมาใช้ช่องทางออนไลน์ในการสื่อสาร ซึ่งทำให้กลายเป็นเป้าโจมตีที่ง่ายกว่าเดิม
นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น เปิดเผยถึงเรื่องภัยคุกคามทางไซเบอร์ในปัจจุบันว่า “มาตรการ Social Distancing ทำให้ผู้คนใช้ชีวิตบนโลก Digital มากขึ้น เช่น การ VDO Conference ผ่าน Application Zoom ที่มีผู้ใช้งานเพิ่มจาก 10 ล้านคน เป็นมากกว่า 200 ล้านคนในเวลาอันรวดเร็ว รวมถึงตัวเลขธุรกรรมออนไลน์ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด ในขณะที่หน่วยงานภาครัฐก็ปรับบริการหลายอย่างมาอยู่บน Online Platform เมื่อผู้คนทำกิจกรรมบนโลก Digital มากขึ้น ภัยคุกคามทางไซเบอร์ จึงเป็นประเด็นที่กลับมาร้อนแรงอีกครั้ง
จากปี 2019 ทั่วโลกลงทุนด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ สูงถึงกว่าแสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ ส่วนในไทยมีมูลค่าการลงทุนราว 7 พันล้านบาท รวมถึงมีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562” สะท้อนให้เห็นว่า Cyber Security มีความสำคัญอย่างยิ่ง
บริษัท ซีเคียวอินโฟ จำกัด (SECUREiNFO) หนึ่งในกลุ่มบริษัทสามารถ ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านระบบรักษาความปลอดภัยอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Cyber Security แบบครบวงจร โดยเป็น Partner กับ IBM Security ผู้ให้บริการ Cyber Security Solution ระดับโลก และมีการจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังการคุกคามทางไซเบอร์ หรือ “Cyber Security Operation Center (CSOC)” ที่ให้บริการเฝ้าระวังภัยให้กับลูกค้าตลอด 24 ชม.ทั้ง 7 วัน (24x7) พร้อมนำเทคโนโลยี AI : Watson for Cyber Security ของ IBM มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเป็นรายแรกในประเทศไทย จึงเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังที่ครอบคลุมขึ้น
“ความสำคัญของศูนย์เฝ้าระวังการคุกคามทางไซเบอร์ หรือ Cyber Security Operation Center (CSOC) ที่นอกจากช่วยเฝ้าระวังภัยให้กับลูกค้าตลอด 24 ชม.ทั้ง 7 วันแล้ว ยังสร้างความคุ้มค่าสูงสุดให้กับองค์กรที่ใช้บริการ โดยองค์กรไม่ต้องลงทุนในการจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังด้าน Cyber Security ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีตลอดเวลา และยังช่วยลดภาระในการสรรหาบุคลากรที่มีความชำนาญด้านนี้โดยตรง ที่สำคัญยังสามารถตรวจสอบ เรียกดูข้อมูลด้านความปลอดภัยได้ทันทีตามความต้องการของผู้ใช้งานด้วย”
นายวัฒน์ชัย กล่าวทิ้งท้ายว่า “ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ องค์กรต่างๆต้องเริ่มหันมากำหนดแนวทางและนโยบายที่เข้มงวดในการดูแลเรื่องความปลอดภัย รวมถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล เพราะยุคนี้แค่ตระหนักเรื่องสุขภาพอาจไม่เพียงพอ ต้องเฝ้าระวังสุขภาพองค์กรที่อาจถูกคุกคามจากภัยไซเบอร์ด้วยเช่นกัน”