จบการประมูลคลื่นความถี่ 5G คลื่น 700 MHz ทำรายได้เข้ารัฐสูงสุด 51,459 ล้านบาท ตามด้วย 2600 MHz 37,164 ล้านบาท และ 26 GHz 11,570 ล้านบาท รวมเป็นเงินค่าใบอนุญาตทั้งหมด 100,193 ล้านบาท
โดยคลื่นความถี่ 700 MHz จำนวน 3 ใบอนุญาต ใบละ 5 MHz มีเข้าร่วมประมูลทั้งหมด 3 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) ในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส, บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (ทียูซี) ในเครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคท
ผลการประมูลหลังผ่านการเคาะใบอนุญาต 20 ครั้ง จบที่ใบอนุญาตละ 17,153 ล้านบาท ทั้งหมด 3 ใบอนุญาต รวมเป็นเงิน 51,459 ล้านบาท
ตามด้วยคลื่นความถี่ 2600 MHz ทั้งหมด 19 ใบอนุญาต ใบละ 10 MHz มีเข้าร่วมประมูล 3 รายเช่นเดิม คือ เอไอเอส ทรูมูฟ เอช และ กสท หลังผ่านการเคาะราคาครั้งที่ 2 จบที่ใบละ 1,956 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 37,164 ล้านบาท
สุดท้ายคลื่นความถี่ 26 GHz ทั้งหมด 27 ใบอนุญาต ๆ ละ 100 MHz มีผู้เข้าร่วมประมูลทั้งหมด 4 ราย ประกอบไปด้วย เอไอเอส ทรูมูฟ เอช เพิ่มด้วย บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (ดีทีเอ็น) ในเครือบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
การประมูลจบภายในการเสนอราคาครั้งเดียว เนื่องจากมีการเสนอราคาเพียง 26 ใบอนุญาต ทำให้ราคาประมูลอยู่ที่ใบละ 445 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 11,570 ล้านบาท
รวมการประมูลคลื่นความถี่ 5G ทั้ง 3 คลื่น 48 ใบอนุญาต ทำงานเข้ารัฐได้ทั้งหมด 100,193 ล้านบาท