xs
xsm
sm
md
lg

มองไปข้างหน้าสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ ดีแทคร่วมผลักดันสู่ทุกภาคส่วนของสังคม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ในยุคที่ผู้คนทั่วโลกเชื่อมต่อเข้าหากันผ่านโลกออนไลน์ เทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในวิถีการดำเนินชีวิตของเรา การพัฒนาทักษะ, โครงสร้าง และสิ่งแวดล้อมต่างๆ เพื่อเอื้ออำนวยให้ผู้คนในสังคมสามารถใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั้นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นได้อย่างมากมายมหาศาล

ดีแทค เล็งเห็นถึงความสำคัญในจุดนี้ พร้อมร่วมผลักดัน และนำเสนอให้ประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลระดับสากล ด้วยยุทธศาสตร์ 6 ประการที่สอดคล้องต่อแผนของรัฐบาล ได้แก่ 1.โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล 2.ระบบนิเวศด้านนวัตกรรมดิจิทัล 3.เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสังคมที่เท่าเทียม 4.บริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ 5.ทุนมนุษย์ และ 6.กรอบการทำงานองค์รวมเพื่อดิจิทัลไทยแลนด์

การที่จะสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลให้เกิดขึ้นได้ อันดับแรก ดีแทคมองว่าต้องมุ่งสู่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เพราะการจะนำไทยสู่ดิจิทัลได้ชัดเจนที่สุดคือ การผลักดันให้มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในทุกพื้นที่อย่างรวดเร็ว ดังนั้น การพัฒนาโครงข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย หรือโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ 4G และ 3G จึงมีส่วนสำคัญในการเพิ่มการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยคาดว่าในปี 2020 จะมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 133% เป็นการเพิ่มขีดความสามารถของประชากร ซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่ม GNP ขึ้นเป็นมูลค่ากว่า 730,000 ล้านบาท ประชากรจะมีรายได้ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้มีบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายที่ครอบคลุม และเพียงพอ รัฐบาลต้องมีการวางแผนจัดสรรคลื่นความถี่อย่างเป็นระบบเพื่อเอื้อต่อการวางแผนลงทุนในอนาคต เช่น คลื่นความถี่ 700, 850, 1800, 2300 และ 2600MHz อีกทั้งยังมีผลต่อการวางแผนนำเข้าอุปกรณ์ การนำเข้าเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้มีบริการที่มีคุณภาพเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค

สำหรับดีแทค ที่ผ่านมา นอกจากการลงทุนติดตั้งโครงข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านเทคโนโลยี 4G และ 3G แล้ว การดำเนินการตามนโยบาย Internet for All ที่ต้องการให้ 80% ของคนไทยมีอินเทอร์เน็ตใช้ภายในปี 2560 สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนคนไทย ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา Smart Farmer กลุ่มเกษตรกรที่สามารถใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในการตรวจสอบราคา ซื้อขายวัตถุดิบ พัฒนากระบวนการเพาะปลูก จนถึงขายผลผลิตให้แก่ตลาด คือมีทั้ง Smart Market และ Smart Consumer เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน

หรือแม้แต่การใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ง่ายที่สุด คือ การเชื่อมโยงคนไทยเข้าด้วยกันผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น แอปพลิเคชัน แชต ให้คนในครอบครัวสามารถติดต่อถึงกันได้ตลอดเวลา ก็ถือเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตเช่นกัน

การใช้ดิจิทัลและเทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ และศักยภาพในการแข่งขัน ดังนั้น การสนับสนุนทั้งเงินทุน และสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการทำธุรกิจที่เติบโตได้อย่างแข็งแรงและยั่งยืน ถือเป็นเป้าหมายสำคัญ โดยในปี 2020 ธุรกิจ SME ต้องมีสัดส่วนใน GNP คิดเป็น 50% จากปัจจุบันอยู่ที่ 37% และต้องติด 20 อันดับแรกประเทศที่มีระบบนิเวศสำหรับ Startup ของโลก

การสนับสนุน Startup เป็นอีกส่วนสำคัญที่จะสร้างให้เกิดบริษัทด้านเทคโนโลยีที่แพร่หลายในทุกๆ อุตสาหกรรม ดีแทค มีโครงการ dtac Accelerate ซึ่งจัดมาเป็นปีที่ 4 (Batch 4) ติดต่อกัน ที่ผ่านมามี Startup ที่ผ่านเวทีนี้หลายร้อยราย มี 11 รายที่ได้รับรางวัล ได้รับเงินลงทุน และมีมูลค่ารวมกว่า 1,000 ล้านบาท เช่น Claim di, Skootar, Piggipo เป็นต้น และมีเป้าหมายภายในปี 2020 จะสร้างมูลค่ารวมถึง 2,000 ล้านบาท สนับสนุน Startup รายใหญ่ของไทยให้เกิดขึ้น พร้อมกับขึ้นเป็นโครงการบ่มเพาะ Startup อันดับ 1 ในอาเซียน

ทั้งหมดนี่คือพื้นฐานบางส่วนของยุทธศาสตร์ที่จะเป็นก้าวสำคัญในการผลักดันประเทศไทยให้สู่เศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งไม่ใช่แค่ภารกิจของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นใครในสังคม คุณสามารถร่วมผลักดันในการก้าวสู่ดิจิทัลยกระดับคุณภาพชีวิตให้แตกต่างจากเดิม และพร้อมก้าวสู่การแข่งขันทางธุรกิจ พร้อมกับพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่ประเทศไทย

(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)

กำลังโหลดความคิดเห็น