ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ประกาศแผนปลดพนักงานครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ 39 ปีของบริษัทตามความคาดหมาย โดย "สัตยา นาเดลลา (Satya Nadella)" ซีอีโอคนใหม่ของไมโครซอฟท์ระบุชัดเจนว่าจะลดพนักงานมากกว่า 18,000 คนตลอดปีหน้า (2015) ซึ่งเป็นผลจากการควบรวมกิจการกับหน่วยธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ของโนเกีย (Nokia) แผนลดพนักงาน 14% ของบริษัทนี้เป็นเพียง 1 ใน 5 เรื่องควรรู้จากแถลงการณ์ไมโครซอฟท์เท่านั้น ยังมีนโยบายน่าสนใจอื่นที่จะสะท้อนว่าไมโครซอฟท์จะเติบโตอย่างไรในอนาคต
1. ปลดคนโนเกีย 12,000 คน - เพราะไมโครซอฟท์และโนเกียต้องเผชิญกับการแข่งขันหฤโหดในตลาดสมาร์ทโฟน ทั้งคู่ต้องพยายามทำทุกอย่างเพื่อสร้างนวัตกรรมที่สามารถโดนใจผู้ใช้ในราคาไม่เกินเอื้อม ทางหนึ่งที่ทำได้คือการจัดโครงสร้างองค์กรให้ประหยัดต้นทุนสูงสุด เป็นผลให้พนักงานโนเกียมากกว่า 12,000 คนกำลังจะว่างงานในอนาคต
ไมโครซอฟท์นั้นจ่ายเงิน 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐซื้อหนวยธุรกิจของโนเกียภายใต้วิสัยทัศน์ของซีอีโอคนก่อน "สตีฟ บอลเมอร์ (Steve Ballmer)" สำหรับยุคซีอีโอคนใหม่ ไมโครซอฟท์ต้องการให้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟน (Windows Phone) บนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตสามารภทำงานเป็นหนึ่งเดียวกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์บนคอมพิวเตอร์พีซี ดังนั้นการรวมทีมงานจึงเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้วิสัยทัศน์ของบริษัทเป็นจริง
2. วิสัยทัศน์ของนาเดลลา - นับตั้งแต่รับตำแหน่งซีอีโอไมโครซอฟท์ในเดือนกุมภาพันธ์ ซีอีโอนาเดลลาตอกย้ำแนวคิดต่อสาธารณชนว่าจะพยายามปรับให้ยักษ์ใหญ่โลกซอฟต์แวร์ยุคเก่าอย่างไมโครซอฟท์สามารถแข่งขันได้ในยุคใหม่ที่อุปกรณ์พกพาครองตลาด ล่าสุดนโยบายนี้ยังคงถูกฉายภาพชัดในแถลงการณ์ครั้งใหม่จากไมโครซอฟท์
สโลแกนประจำตัวที่ติดตามซีอีโอไมโครซอฟท์ไปทุกแห่งจนถึงขณะนี้คือ "Mobile-first, cloud-first" หรือการให้ความสำคัญกับธุรกิจอุปกรณ์พกพาและระบบงานออนไลน์เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติงเป็นอันดับแรก ดังนั้นในตลาดฮาร์ดแวร์ ไมโครซอฟท์จึงยังเทความสนใจไปที่สินค้าแท็บเล็ตอย่างรุ่นเรือธง "เซอร์เฟส โปร 3 (Surface Pro 3)" ต่อไป แม้จะต้องแข่งขันกับพันธมิตรที่ร่วมหัวจมท้ายมานานอย่างเอชพี (HP), เดลล์ (Dell), เลอโนโว (Lenovo) และอื่นๆ
3. สรุปตัวเลข - หากรวมตัวเลขจากแถลงการณ์ จำนวนพนักงานโนเกียที่ไมโครซอฟท์มีแผนเลิกจ้างคือ 12,500 ตำแหน่ง คิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งจาก 28,000 ตำแหน่งที่ไมโครซอฟท์รับโอนมา โดยหลังปลดพนักงานแล้ว ไมโครซอฟท์จะยังมีพนักงานมากกว่าช่วงก่อนซื้อโนเกียเกิน 10,000 ตำแหน่ง ทำให้ไมโครซอฟท์เป็นบริษัทที่มีพนักงานมากกว่า 109,000 ตำแหน่ง (ข้อมูลจากสำนักข่าว Associated Press)
สำหรับค่าใช้จ่ายเรื่องเงินชดเชยพนักงานที่ถูกปลด (รายงานระบุว่ากระบวนการปลดจะเริ่มขึ้นทันทีในขณะนี้) คาดว่าจะเป็นภาระให้ไมโครซอฟท์ต้องจ่ายเงินมากกว่า 1.1-1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐตลอด 4 ไตรมาสนับจากนี้
นอกจากพนักงานโนเกีย ยังมีพนักงานของไมโครซอฟท์เองกว่า 5,000 ตำแหน่งที่จะถูกปลดระวาง จุดนี้ไมโครซอฟท์ยืนยันว่าพนักงานที่ถูกปลดจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับฝ่ายพัฒนาแท็บเล็ต คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก รวมถึงฮาร์ดแวร์เครื่องเกมเอ็กซ์บ็อกซ์ (Xbox) เนื่องจากทีมงานเหล่านี้สามารถเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาแท็บเล็ตพันธุ์ใหม่ที่เหล่าพันธมิตร OEM ของไมโครซอฟท์จะสามารถนำไปต่อยอดเป็นอุปกรณ์ไฮเทคในอนาคตได้ โดยหนึ่งในทีมที่ไมโครซอฟท์ตัดสินใจเลิกจ้างคือส่วนผลิตเกมสำหรับเอ็กซ์บ็อกซ์ (Xbox Entertainment Studios) นอกนั้นยังเป็นข้อมูลจากแหล่งข่าววงใน ที่ระบุว่าไมโครซอฟท์จะยุบแผนกงานทดสอบในกลุ่มงานวินโดวส์ (Operating System Group) และลดพนักงานในทีมขาย การตลาด และงานบริการ (Sales, Marketing and Services)
4. โนเกียจบแล้ว? - แถลงการณ์ของไมโครซอฟท์ไม่ได้ตอบคำถามนี้อย่างชัดเจน เพราะแม้ซีอีโอนาเดลลาจะไม่เห็นด้วย 100% กับการซื้อแผนกธุรกิจมือถือของโนเกียมาไว้ในอ้อมอกไมโครซอฟท์ แต่อย่างน้อย ตลาดอุปกรณ์พกพาก็เป็นส่วนหนึ่งในภาพใหญ่วิสัยทัศน์ของนาเดลลา ดังนั้น เจ.พี. โกวน์เดอร์ (J.P. Gownder) นักวิเคราะห์จากบริษัทวิจัยฟอร์เรสเตอร์ (Forrester) จึงเชื่อว่าการปรับโครงสร้างครั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อลดความซ้ำซ้อนระหว่างระบบงานโนเกียและไมโครซอฟท์เท่านั้น
สิ่งหนึ่งที่ไมโครซอฟท์ต้องการแยกทางจริงจังคือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) โดยนอกจากการปลดพนักงาน ไมโครซอฟท์ส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะยุติการทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์ระบบปฏิบัติการ Android คำประกาศนี้ทำให้สมาร์ทโฟนตระกูล "โนเกีย เอ็กซ์ (Nokia X)" ถึงกาลอวสานทันที โดยเรื่องนี้ซีอีโอนาเดลลาเผยกับพนักงานว่ามีแผนจะนำดีไซน์ของ Nokia X บางรุ่นมาปรับแต่งให้เป็นสมาร์ทโฟนตระกูลลูเมีย (Lumia) ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์
5. หุ้นทรงตัว - ในช่วง 5 เดือนที่นาเดลลาขึ้นเป็นซีอีโอไมโครซอฟท์ มูลค่าหุ้นเจ้าพ่อซอฟต์แวร์นั้นเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของนาเดลลากลับไม่ทรงผลในช่วงที่ไมโครซอฟท์ประกาศแถลงการณ์ล่าสุด โดยหุ้นไมโครซอฟท์ปรับเพิ่มเพียง 1% เท่านั้น ก่อนจะปิดที่ 44.53 เหรียญสหรัฐในช่วงวันที่ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมาตามเวลาในสหรัฐฯ สะท้อนว่านักลงทุนยังรอดูท่าทีและผลการดำเนินงานของไมโครซอฟท์ต่อไปในอนาคต
1. ปลดคนโนเกีย 12,000 คน - เพราะไมโครซอฟท์และโนเกียต้องเผชิญกับการแข่งขันหฤโหดในตลาดสมาร์ทโฟน ทั้งคู่ต้องพยายามทำทุกอย่างเพื่อสร้างนวัตกรรมที่สามารถโดนใจผู้ใช้ในราคาไม่เกินเอื้อม ทางหนึ่งที่ทำได้คือการจัดโครงสร้างองค์กรให้ประหยัดต้นทุนสูงสุด เป็นผลให้พนักงานโนเกียมากกว่า 12,000 คนกำลังจะว่างงานในอนาคต
ไมโครซอฟท์นั้นจ่ายเงิน 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐซื้อหนวยธุรกิจของโนเกียภายใต้วิสัยทัศน์ของซีอีโอคนก่อน "สตีฟ บอลเมอร์ (Steve Ballmer)" สำหรับยุคซีอีโอคนใหม่ ไมโครซอฟท์ต้องการให้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟน (Windows Phone) บนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตสามารภทำงานเป็นหนึ่งเดียวกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์บนคอมพิวเตอร์พีซี ดังนั้นการรวมทีมงานจึงเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้วิสัยทัศน์ของบริษัทเป็นจริง
2. วิสัยทัศน์ของนาเดลลา - นับตั้งแต่รับตำแหน่งซีอีโอไมโครซอฟท์ในเดือนกุมภาพันธ์ ซีอีโอนาเดลลาตอกย้ำแนวคิดต่อสาธารณชนว่าจะพยายามปรับให้ยักษ์ใหญ่โลกซอฟต์แวร์ยุคเก่าอย่างไมโครซอฟท์สามารถแข่งขันได้ในยุคใหม่ที่อุปกรณ์พกพาครองตลาด ล่าสุดนโยบายนี้ยังคงถูกฉายภาพชัดในแถลงการณ์ครั้งใหม่จากไมโครซอฟท์
สโลแกนประจำตัวที่ติดตามซีอีโอไมโครซอฟท์ไปทุกแห่งจนถึงขณะนี้คือ "Mobile-first, cloud-first" หรือการให้ความสำคัญกับธุรกิจอุปกรณ์พกพาและระบบงานออนไลน์เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติงเป็นอันดับแรก ดังนั้นในตลาดฮาร์ดแวร์ ไมโครซอฟท์จึงยังเทความสนใจไปที่สินค้าแท็บเล็ตอย่างรุ่นเรือธง "เซอร์เฟส โปร 3 (Surface Pro 3)" ต่อไป แม้จะต้องแข่งขันกับพันธมิตรที่ร่วมหัวจมท้ายมานานอย่างเอชพี (HP), เดลล์ (Dell), เลอโนโว (Lenovo) และอื่นๆ
3. สรุปตัวเลข - หากรวมตัวเลขจากแถลงการณ์ จำนวนพนักงานโนเกียที่ไมโครซอฟท์มีแผนเลิกจ้างคือ 12,500 ตำแหน่ง คิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งจาก 28,000 ตำแหน่งที่ไมโครซอฟท์รับโอนมา โดยหลังปลดพนักงานแล้ว ไมโครซอฟท์จะยังมีพนักงานมากกว่าช่วงก่อนซื้อโนเกียเกิน 10,000 ตำแหน่ง ทำให้ไมโครซอฟท์เป็นบริษัทที่มีพนักงานมากกว่า 109,000 ตำแหน่ง (ข้อมูลจากสำนักข่าว Associated Press)
สำหรับค่าใช้จ่ายเรื่องเงินชดเชยพนักงานที่ถูกปลด (รายงานระบุว่ากระบวนการปลดจะเริ่มขึ้นทันทีในขณะนี้) คาดว่าจะเป็นภาระให้ไมโครซอฟท์ต้องจ่ายเงินมากกว่า 1.1-1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐตลอด 4 ไตรมาสนับจากนี้
นอกจากพนักงานโนเกีย ยังมีพนักงานของไมโครซอฟท์เองกว่า 5,000 ตำแหน่งที่จะถูกปลดระวาง จุดนี้ไมโครซอฟท์ยืนยันว่าพนักงานที่ถูกปลดจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับฝ่ายพัฒนาแท็บเล็ต คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก รวมถึงฮาร์ดแวร์เครื่องเกมเอ็กซ์บ็อกซ์ (Xbox) เนื่องจากทีมงานเหล่านี้สามารถเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาแท็บเล็ตพันธุ์ใหม่ที่เหล่าพันธมิตร OEM ของไมโครซอฟท์จะสามารถนำไปต่อยอดเป็นอุปกรณ์ไฮเทคในอนาคตได้ โดยหนึ่งในทีมที่ไมโครซอฟท์ตัดสินใจเลิกจ้างคือส่วนผลิตเกมสำหรับเอ็กซ์บ็อกซ์ (Xbox Entertainment Studios) นอกนั้นยังเป็นข้อมูลจากแหล่งข่าววงใน ที่ระบุว่าไมโครซอฟท์จะยุบแผนกงานทดสอบในกลุ่มงานวินโดวส์ (Operating System Group) และลดพนักงานในทีมขาย การตลาด และงานบริการ (Sales, Marketing and Services)
4. โนเกียจบแล้ว? - แถลงการณ์ของไมโครซอฟท์ไม่ได้ตอบคำถามนี้อย่างชัดเจน เพราะแม้ซีอีโอนาเดลลาจะไม่เห็นด้วย 100% กับการซื้อแผนกธุรกิจมือถือของโนเกียมาไว้ในอ้อมอกไมโครซอฟท์ แต่อย่างน้อย ตลาดอุปกรณ์พกพาก็เป็นส่วนหนึ่งในภาพใหญ่วิสัยทัศน์ของนาเดลลา ดังนั้น เจ.พี. โกวน์เดอร์ (J.P. Gownder) นักวิเคราะห์จากบริษัทวิจัยฟอร์เรสเตอร์ (Forrester) จึงเชื่อว่าการปรับโครงสร้างครั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อลดความซ้ำซ้อนระหว่างระบบงานโนเกียและไมโครซอฟท์เท่านั้น
สิ่งหนึ่งที่ไมโครซอฟท์ต้องการแยกทางจริงจังคือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) โดยนอกจากการปลดพนักงาน ไมโครซอฟท์ส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะยุติการทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์ระบบปฏิบัติการ Android คำประกาศนี้ทำให้สมาร์ทโฟนตระกูล "โนเกีย เอ็กซ์ (Nokia X)" ถึงกาลอวสานทันที โดยเรื่องนี้ซีอีโอนาเดลลาเผยกับพนักงานว่ามีแผนจะนำดีไซน์ของ Nokia X บางรุ่นมาปรับแต่งให้เป็นสมาร์ทโฟนตระกูลลูเมีย (Lumia) ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์
5. หุ้นทรงตัว - ในช่วง 5 เดือนที่นาเดลลาขึ้นเป็นซีอีโอไมโครซอฟท์ มูลค่าหุ้นเจ้าพ่อซอฟต์แวร์นั้นเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของนาเดลลากลับไม่ทรงผลในช่วงที่ไมโครซอฟท์ประกาศแถลงการณ์ล่าสุด โดยหุ้นไมโครซอฟท์ปรับเพิ่มเพียง 1% เท่านั้น ก่อนจะปิดที่ 44.53 เหรียญสหรัฐในช่วงวันที่ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมาตามเวลาในสหรัฐฯ สะท้อนว่านักลงทุนยังรอดูท่าทีและผลการดำเนินงานของไมโครซอฟท์ต่อไปในอนาคต